ภ า พ ร ว ม
ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ จะได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งการประมวลผลข้อมูล แต่ SAP
แห่งเยอรมนี กลับเป็นต้นตำรับโปรแกรมด้านการบัญชีทุกประเภท ซอฟต์แวร์ ERP
(Enterprise Resource Planning) เป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมและมีลูกค้าชั้นนำอย่าง
โฟล์กสวาเกน, อีสต์แมน เคมิคอล, ไมโครซอฟท์ และบริษัทอีก 12,500 แห่ง เพื่อเชื่อมโยงทั้งด้านการเงิน
ทรัพยากรมนุษย์ การผลิต การจัดจำหน่าย และส่วนสนับสนุนงานสำนักงาน ทั้งนี้
ยอดขายราว 80% มาจากนอกเยอรมนี
SAP รุกเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เสนอซอฟต์แวร์สำหรับงานทั้งในส่วน front office
และส่วน back office รวมทั้งบริการให้เช่าหรือซื้อผ่าน mySAP.com ซึ่งดูแลธุรกรรมระหว่างลูกค้าของ
SAP และคู่ค้า นอกจากนั้น SAP ยังพยายามไล่ให้ทันคู่แข่งด้วย การตั้งสำนักงานสาขาในสหรัฐฯ
เพื่อสร้างตลาดออนไลน์สำหรับบริษัทขนาดใหญ่และซัปพลายเออร์ SAP แตกต่างจากบริษัทเยอรมนีทั่วไปอย่างมากในแง่ของการเป็นกิจการที่มีสำนึกแบบผู้ประกอบการ
แต่รูปแบบการทำงานกลับไม่เคร่งครัด เห็นได้จากการที่พนักงานบริษัทเยอรมนีทั่วไปมักสวมสูทไปทำงาน
แต่พนักงานของ SAP กลับสวมรองเท้าลำลอง และสามารถเลือกเวลาทำงานได้ แต่เนื่องจากตลาดแรงงานส่วนนี้มีการแข่งขันกันสูง
SAP จึงต้องเสียมือดีให้กับบริษัทที่เป็นคู่แข่งจำนวนมากจน ในที่สุดจึงต้องเสนอให้ผลตอบแทนในรูปหุ้นแก่พนักงานแบบเดียวกับบริษัทอเมริกันอื่นๆ
ปัจจุบันผู้บริหารกิจการของ SAP มีสามคนคือ Hasso Plattner, Dietmar Hopp
และ Klaus Tschira ถือหุ้นกิจการอยู่ราว 60%
ค ว า ม เ ป็ น ม า
Hasso Plattner วิศวกรซอฟต์แวร์ (ประธานกรรมการร่วมและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม)
Hans-Werner Hector, Dietmar Hopp และ Klaus Tschira ร่วมกัน ก่อตั้งกิจการ
SAP เมื่อปี 1972 เมื่อโครงการที่พวกเขาทำให้กับไอบีเอ็มถูกโยกไปอยู่ ที่หน่วยงานอื่น
ทั้งสี่ตกลงที่จะร่วมกันเขียนโปรแกรมให้กับบริษัทไอซีไอซึ่งเป็นลูกค้าของไอบีเอ็ม
จึงไดัตั้ง SAP ขึ้นมา (ชื่อเต็มของ SAP คือ Systems, Application, and Projects)
คนทั้งสี่ขอยืมคอมพิวเตอร์มาทำงานชิ้นนี้ร่วมกันแบบหามรุ่งหามค่ำจนกระทั่งสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้
โดยในขณะที่บริษัทซอฟต์แวร์คู่แข่งผลิตสินค้าที่ใช้กับการดำเนินการในส่วนต่างๆ
ของบริษัท แต่ทีมงานทั้งสี่กลับคิดค้นระบบรวมที่เชื่อมโยงทั้งองค์กรด้วยกัน
ปี 1973 ได้มีการเปิดตัวระบบประมวลผลธุรกรรมด้านบัญชีที่ชื่อ R/1 ต่อมาในปี
1981 เมื่อมีลูกค้าราว 200 ราย จึงได้มีการปรับปรุงโปรแกรมให้เป็น R/2 ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ของเมนเฟรมที่เชื่อมฐานข้อมูลภายนอกกับระบบการสื่อสารเข้าด้วยกัน
กิจการ SAP เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 1988 เป็นปีที่ Plattner เริ่มโครงการสร้างซอฟต์แวร์สำหรับตลาดเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ครั้นถึงปี 1992 ในขณะที่ยอดขายซอฟต์แวร์ R/2 เริ่มหดตัว SAP จึงเริ่มวางตลาดซอฟต์แวร์
R/3 อย่างไรก็ตาม SAP ยังคงดูเป็นกิจการแปลกหน้าสำหรับตลาดนอกยุโรป ทำให้บริษัทตั้งศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นที่แคลิฟอร์เนีย
เพื่อดึงดูดความสนใจจากซิลิกอน แวลลีย์ นอกจากนั้นในปี 1993 SAP ยังจัดทำแคมเปญโฆษณาโดยใช้เงิน
2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาเมื่อ SAP ทำยอดขายได้สูงกว่าที่คาดหมายไว้ บริษัทจึงได้ขยับขึ้นเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เครือข่ายชั้นนำของโลก
ปีเดียวกันนั้นบริษัท ยังได้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์สร้าง Windows NT-compatible
ปี 1995 สหรัฐฯ ได้กลายมาเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ SAP Plattner ซึ่งมีบุคลิกผู้นำและนิยมการแข่งขันได้นำเอาวิธีการบริหารงานแบบอเมริกันมาใช้
เช่น นโยบายแบบเปิดกว้าง การร่วมโต๊ะกินข้าวกลางวันกับพนักงาน และในปีนี้เองที่
SAP ได้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เน็ตสเคป (ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของยูโอแอลไทม์
วอร์เนอร์) และซัน ไมโครซิสเต็มส์พัฒนาซอฟต์แวร์ R/3 ที่ใช้ได้กับอินเทอร์เน็ต
SAP เปิดสำนักงานแห่งหนึ่งในสิงคโปร์เมื่อปี 1996 เพื่อสร้างฐานในเอเชีย
แต่ปีนี้ Dector ได้ตัดสินใจขายหุ้นในมือ 10% ออกไป และลาออกจากบริษัทไปหลังจากมีปากเสียงกับ
Hopp ต่อมาในปี 1997 บริษัทก็ได้ตั้งบริษัทร่วมทุนด้านอินเทอร์เน็ตที่เน้นกิจการขนาดเล็ก
โดยร่วมทุนกับอินเทล และ Pandesic (ต่อมากิจการ ล้มเลิกไปในปี 2000)
ปีถัดมา SAP ก็เข้าตลาด NYSE โดยมี Henning Kagermann ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการร่วมกับ
Plattner ปี 1999 บริษัทขยายกิจการด้านอินเทอร์เน็ตต่อ มีการเปิดตัว mySAP.com
เพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมด้าน e-commerce ต่อมาใน ปี 2000 SAP ทานกระแสเรียกร้องจากพนักงานไม่ได้จึงได้จัดแผนให้ผลตอบแทนใน
รูปหุ้นแก่พนักงานหลังจากที่ต้องสูญเสียพนักงานระดับผู้จัดการสำคัญๆ ไปกว่า
200 คน ในช่วง 18 เดือนก่อนหน้า
หลังจากนั้นบริษัทได้เปิดสาขาในสหรัฐฯ ชื่อ SAPMarkets เพื่อแข่งกับคู่แข่งอเมริกันในตลาด
e-commerce นอกจากนั้นยังได้เพิ่มหุ้นที่ถืออยู่เป็นส่วนน้อยในกิจการผลิตซอฟต์แวร์
"Commerce One" โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการร่วมมือกันพัฒนาตลาดออนไลน์ต่อไป