Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน23 กรกฎาคม 2553
อีซูซุชี้ตลาดรถปีเสือทุบสถิติสูงสุด-ปิกอัพเสาหลัก ฮอนด้าเพิ่มเป้าขาย             
 


   
search resources

ตรีเพชรอีซูซุเซลส์, บจก. - TPIS
Automotive




“อีซูซุ” ฟันธง! ตลาดรถยนต์ไทยปีเสือไฟพุ่ง 7.25 แสนคัน ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากปี 2548 ทำได้ 7.03 แสนคัน ยืนยันปิกอัพยังเป็นเสาหลักของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย จี้ รัฐบาลสนับสนุน หวั่นถูกตุรกีและบราซิลแย่งฐานผลิต ด้าน “ฮอนด้า” ปรับเป้าขายปีนี้เป็น 110,000 คัน ชี้ ตลาดเก๋งมาแรง ไม่เกิน 5 ปี สัดส่วนขายเท่าปิกอัพ

นายฮิโรชิ นาคางาวา กรรมการผู้จัดการบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า อีซูซุ มองปิกอัพยังมีความสำคัญ และเป็นเสาหลักอันดับแรกของอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย เพราะความต้องการปิกอัพทั้งในไทย และตลาดต่างประเทศ มีโอกาสขยายตัวอีกมาก จึงอยู่ที่รัฐบาลจะทำให้ปิกอัพในไทย มีความเข้มแข็ง และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้หรือไม่

“การที่รัฐบาลออกนโยบายสนับสนุนอีโคคาร์ ถือเป็นสิ่งที่เหมาะสมในการเป็นอีกเสาหลักหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยแข็งแกร่ง และการที่บริษัทรถยนต์บางรายขอลดภาษีอีโคคาร์นั้น เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องพิจารณาความเหมาะสมหลายๆ ด้าน แต่สิ่งที่ควรตระหนักปิกอัพเป็นรถสำหรับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ใช้งานได้หลากหลาย และเป็นเสาหลักลำดับแรกของอุตสากรรมรถยนต์ไทย จึงควรจะพิจารณาปรับภาษีสรรพสามิตเช่นกัน”

นายชิเงรุ วาคาบายาชิ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดรถยนต์ไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2553 มีจำนวน 3.56 แสนคัน เทียบกับปีที่ผ่านมาช่วงเดียวกัน มีอัตราการเติบโตกว่า 54%

“อีซูซุ คาดว่า ตลาดรถยนต์ไทยถึงสิ้นปีจะอยู่ที่ 7.25 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่ทำได้ 5.48 แสนคัน และหากเป็นไปตามคาด จะทำลายสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ตลาดรถยนต์ของไทย ซึ่งในอดีตเคยมียอดขายสูงสุด 7.03 แสนคัน ในปี 2548 โดยแบ่งเป็นปิกอัพ 3.51 แสนคัน รถยนต์นั่ง 3.19 แสนคัน และรถประเภทอื่นๆ 5.43 หมื่นคัน โดยอีซูซุตั้งเป้ายอดขายปีนี้ไว้ 1.39 แสนคัน ครองส่วนแบ่งในตลาดปิกอัพ 40% ใกล้เคียงกับโตโยต้าที่ 41%”

ทั้งนี้ หากดูสถิติยอดขายรถในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่า รถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตสูงมาก และปิกอัพมีสัดส่วนลดลงต่ำกว่า 50% แต่ไม่ได้หมายความว่า อุตสาหกรรมการผลิตปิกอัพในไทย จะไม่มีศักยภาพในการขยายตัว เพราะปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อตลาดปิกอัพไทย ยังมีทิศทางที่เป็นบวกอย่างมาก

นายวาคาบายาชิ กล่าวว่า ประชากรไทยกว่า 60% มีอาชีพทางการเกษตร ค้าขาย และข้าราชการ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้ปิกอัพส่วนใหญ่ และเป็นกลุ่มเดียวกับที่อยู่ในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของปิกอัพเช่นกัน แม้ช่วงนี้ราคาข้าวจะไม่ค่อยดีนัก แต่พืชผลทางการเกษตรอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยางพารา ข้าวโพด มันสำปะหลัง และอ้อย ล้วนมีความต้องการที่สูงขึ้น

ส่วนสภาวะราคาน้ำมันปัจจุบันไม่สูงจนเกินไปนัก เช่นเดียวกับการผ่อนปรนเงื่อนไขไฟแนนซ์ ขณะที่ความผันผวนทางการเมือง ดูจากเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี 2549 จนถึงความไม่สงบในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จะพบว่า ไม่มีผลต่อการตลาดรถแต่อย่างใด

“การส่งออกรถยนต์จากไทยมีการฟื้นตัวชัดเจน โดยตลาดทั่วโลกยังมีความต้องการเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจใหม่ ไม่ว่าจะเป็น บราซิล จีน อินเดีย และ แอฟริกา และการส่งออกปิกอัพจากไทยปัจจุบันมีสัดส่วนกว่า 70% ซึ่งแนวโน้มการส่งออกปิกอัพจากไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า จะเพิ่มเป็นกว่า 8.11 แสนล้านบาท จากเมื่อปี 2551 อยู่ที่ 3.77 แสนล้านบาท และไทยจะเป็นฐานการผลิตปิกอัพที่ใหญ่สุดในโลก มีสัดส่วน 35% จากปริมาณ 2.619 ล้านคันทั่วโลก โดยปัจจุบันอยู่ที่ 31% จากจำนวนผลิต 1.97 ล้านคัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับไทยจะรักษาสถานะฐานการผลิตปิกอัพไว้ได้หรือไม่ เพราะมีคู่แข่งสำคัญอย่าง ประเทศตุรกี และบราซิล ชิงความได้เปรียบอยู่” นายวาคาบายาชิ กล่าวและว่า

สำหรับตรุกีเป็นประเทศสมาชิกอียู จึงได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งออก และตำแหน่งที่ตั้งอยู่ระหว่างทวีปยุโรปและเอเชีย จึงทำให้ได้เปรียบทางด้านการขนส่ง และตลาดมีการขยายตัวเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับประเทศบราซิล ตรงนี้จะทำให้เป็นคู่แข่งสำคัญในการแย่งชิงฐานผลิตปิกอัพจากไทย ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องรักษาความแข่งแกร่งเอาไว้ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้

นายอาซึชิ ฟูจิโมโตะ ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ฮอนด้าช่วงหกเดือนแรกของปี (ม.ค.-มิ.ย.2553) ทำได้ 51,782 คัน เพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (39,967 คัน) และจากกระแสตอบรับอย่างดีเยี่ยมของผู้บริโภค ที่มีต่อแบรนด์และคุณภาพรถยนต์ ล่าสุด บริษัทปรับเป้ายอดขายปี 2553 เพิ่มเป็น 110,000 คัน (เดิมคาดไว้ประมาณ 95,000 คัน) หรือคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 17% ของตลาดรถยนต์โดยรวม

สำหรับตลาดรถยนต์รวมปีนี้ น่าจะทำได้เกิน 650,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ประมาณ 20% และคาดว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 800,000 คันในอีกสามปีข้างหน้า

“เราเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของตลาดรถยนต์ประเทศไทย พิจารณาจากเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ ระดับรายได้สูงขึ้น และนโยบายด้านการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลไทย เราเชื่อว่า ตลาดรถยนต์จะมีแนวโน้มขยายตัวในระยะยาว และส่วนแบ่งตลาดรถยนต์นั่งจะขยับขึ้นไปอยู่ในระดับเดียวกับรถปิกอัพที่จำหน่ายในประเทศไทย ภายในอีกครึ่งทศวรรษข้างหน้า”

ทั้งนี้ บริษัทพบว่า ผู้บริโภคชาวไทยค่อยๆ เปลี่ยนความต้องการในการขับขี่จากปิกอัพ และรถซีดานขนาดใหญ่ มาเป็นรถขนาดเล็กที่ประหยัดเชื้อเพลิง พร้อมความใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ดังนั้น การที่ผู้บริโภคเลือกใช้รถเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับฮอนด้า ซึ่งมีกำหนดเปิดตัวรถอีโคคาร์ในเมืองไทยปี 2554 และคาดว่า จะได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากผู้บริโภคเมื่อออกสู่ตลาด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us