Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2528
ใครๆ เรียกเขาว่า "บิ๊กเสือ"             
 


   
search resources

พิจิตร กุลละวณิชย์
Political and Government




“บิ๊กเสือ” หรือพลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2475 เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7 คนของจวน กุลละวณิชย์ มีบ้านเดิมอยู่แปดริ้ว ฉะเชิงเทรา บ้านเดียวกับอดีตประธานสภาที่ชื่อประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานธนาคารกรุงเทพ และเป็นเพื่อนรักของคุณพ่อพลโทพิจิตรด้วย

พลโทพิจิตรจบมัธยม 6 จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน เข้าเรียนเตรียมนายร้อยเมื่อปี 2490 และเข้าเรียนโรงเรียนนายร้อย จปร. เมื่อปี 2492 เป็นนักเรียนนายร้อย จปร.รุ่นที่ 2 ตามหลักสูตรใหม่ที่เรียกว่า หลักสูตรเวสต์ปอยต์

เป็นรุ่นน้องพลโทชวลิต ยงใจยุทธ หรือ “บิ๊กจิ๋ว” หนึ่งรุ่น

เผอิญขณะที่เรียนอยู่ปีที่ 2 นั้นมีผลการเรียนดีเด่นมาก ก็เลยถูกส่งตัวไปเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยเวสต์ปอยต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมกับเพื่อนร่วมรุ่นอีกคนหนึ่งชื่อวิจิตร สุขมาก (ปัจจุบันติดยศพลตรี)

สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยเวสต์ปอยต์ในปี 2501 จากนั้นก็ไปเรียนต่อที่โรงเรียนทหารราบสหรัฐฯ ฟอร์ดเบนนิ่ง รัฐจอร์เจีย ในหลักสูตรผู้บังคับหมวด, หลักสูตรจู่โจม RANGER และหลักสูตรโดดร่ม AIRBONE

เมื่อกลับมาได้เริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นครูอยู่แผนกวิชาการรบพิเศษและส่งทางอากาศ โรงเรียนทหารราบศูนย์การทหารราบลพบุรี ทำหน้าที่ฝึกสอนนายทหารและนายสิบในหลักสูตรจู่โจมและโดดร่มหลายรุ่นและจากการสอนหลักสูตรจู่โจมอันเข้มข้นนี่เองทำให้ได้รับสมญานามว่า “เสือใหญ่” ตาม LOGO ของ RANGER มาตั้งแต่นั้น

ระหว่างปี 2504-2505 ไปเรียนหลักสูตร ผบ.พัน ที่ฟอร์ดเบนนิ่ง แล้วกลับมาเป็นนายทหารยุทธการและการฝึกของกองพันทางอากาศที่ 1 (ร.31 พัน 3 รอ. ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นกองพันส่งทางอากาศกองพันแรกของกองทัพบก

ปี 2508 - 2509 เข้าเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

จบจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบกก็ย้ายไปรับตำแหน่งเป็นหัวหน้ายุทธการและการฝึก ศูนย์สงครามพิเศษลพบุรี หลังจากนี้ก็เดินทางไปร่วมรบที่ประเทศเวียดนามกับกรมทหารอาสาสมัครจงอางศึก มีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยหัวหน้ายุทธการและหัวหน้ายุทธการตามลำดับ

ครั้งที่ยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้ายุทธการในเวียดนามนั้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ายุทธการก็คือ พลโทชวลิต ยงใจยุทธ

ต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นรองผู้บังคับการหัวหน้ายุทธการในเวียดนามนั้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ายุทธการก็คือ พลโทชวลิต ยงใจยุทธ เป็นผู้ช่วย และ พลตรีสิทธิ จิรโรจน์ เป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบก (ยศขณะนั้นทุกท่าน)

จากนั้นไปปฏิบัติราชการพิเศษในประเทศลาว ตำแหน่งรองผู้บังคับการหน่วยรบพิเศษเฉพาะกิจราทิกุลอยู่ 1 ปี คือระหว่างปี 2514-2515 และเป็นผู้บังคับการหน่วยเดียวกันนี้จนถึงปี 2517

เมื่อกลับจากราชการพิเศษในประเทศลาว ก็เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยหัวหน้ากองยุทธการ กรมยุทธการทหารบก

ในปี 2521-2523 เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 4

ต้นปี 2523 เลื่อนขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 4

กลางปี 2524 เป็น ผบ.พล 1 รอ

ปี 2526 เป็นรองแม่ทัพภาค 1 และรักษาราชการเป็น ผบ.พล 1 รอ.ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง

เดือนตุลาคม 2527 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1

และเดือนตุลาคม 2527 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1

และเดือนเมษายน 2529 นี้ มีความแน่นอนค่อนข้างมากที่จะได้ติดยศพลเอกในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

ส่วนว่าจะได้ควบตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ด้วยหรือไม่นั้น “โน คอมเม้นต์”

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us