พลโทพิจิตร กุลละวณิชย์ หรือเจ้าของฉายา “เสือใหญ่” นั้น อาจกล่าวได้ว่าในรอบ
4 ปีที่ผ่านมานี้นับเป็นนายทหารที่มีบทบาทสูงอย่างยิ่งผู้หนึ่ง ด้วยตัวพลโทพิจิตรเองและปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้นักการเมืองและนักธุรกิจบางคนถึงกับออกปากว่า
“พลโทพิจิตรนั้นไม่ธรรมดา” แต่ก็ไม่สามารถขยายความไปได้มากกว่านี้
ว่า “ไม่ธรรมดาอย่างไรกันแน่”
การกล่าวขวัญถึงพลโทพิจิตรนั้นก็เช่นเดียวกับพลโทชวลิตที่ว่า มิใช่มีศักยภาพสูงเพียงพอที่จะเป็นผู้นำกองทัพเท่านั้น
แต่ไกลถึงการเป็นผู้นำประเทศอีกด้วย
จากสมมุติฐานข้างต้นนั่นเองที่นำไปสู่การพิจารณาด้านแนวทาง นอกเหนือไปจากบทบาทเชิงปรากฏการณ์ที่เห็นที่เป็นอยู่
แนวที่ชัดเจนที่สุดของพลโทพิจิตรนั้นอยู่ที่แนวในการพิทักษ์ชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์
จนถึงได้ฉายาว่า “นายทหารพิทักษ์ราชบัลลังก์” ซึ่งนับจากปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง
2475 เป็นต้นมาก็เห็นจะมีพลโทพิจิตรที่ได้รับยกย่องเช่นนี้
สำหรับแนวทางทางด้านเศรษฐกิจนั้นยืนยันได้ว่า เป็นเพียงแนวทางในการมองและแก้ปัญหาเพียงเฉพาะหน้า
บนพื้นฐานของจิตใจที่รักและห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎรเท่านั้น
จุดสำคัญที่ทำให้พลโทพิจิตรเข้ามาศึกษาปัญหาทางเศรษฐกิจนั้น เริ่มจากในระดับท้องถิ่น
คือ เนื่องจากการรับผิดชอบในการพัฒนาชุมชนที่เขาค้อภายหลังการสลายฐานที่มั่นและกำลังของพรรคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
(พคท.) เนื่องจากความต้องการที่จะให้ราษฎรที่เขาค้อมีหลักประกันในการดำรงชีพ
มีการยกระดับความเป็นอยู่โดยลำดับ พลโทพิจิตรก็ได้สั่งการรวมทั้งเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยตนเองต่อพื้นที่เขาค้อโดยตลอด
ตั้งแต่การวางแผนด้านการผลิต (รวมทั้งการระดมทุนจากผู้ที่ต้องการช่วยเหลือราษฎร)
วางแผนด้านการตลาด โดยเน้นที่ด้านการจัดตั้งราษฎรในพื้นที่นั้นให้มีวินัยอย่างยิ่งเพื่อเป็นหลักประกันความสำเร็จ
พลโทพิจิตรได้เคยให้สัมภาษณ์ผู้เขียนชัดเจนว่า การที่จะให้บรรลุเป้าหมายนั้นจะต้องกำหนดรายได้ต่อหัวต่อปีไว้
และทำให้ได้ตามที่มุ่งมั่นนั้น นั่นเป็นในระดับท้องถิ่นส่วนในระดับชาตินั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตั้งเป้าหมายรายได้ประชาชาติให้แน่นอนลงไปว่า
เป็นเท่าใดแน่ และดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ “หากทำในแต่ละท้องถิ่นได้ผลตามเป้าหมายก็จะส่งผลถึงประเทศโดยรวมด้วย”
พลโทพิจิตรกล่าวในตอนหนึ่งซึ่งคนใกล้ชิดผู้หนึ่งได้วิจารณ์แนวความคิดทางด้านเศรษฐกิจของพลโทพิจิตรว่า
“แนวทางด้านเศรษฐกิจของพลโทพิจิตรนั้นชัดเจนในระดับท้องถิ่นเท่านั้น
แต่นั่นก็เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเติบโตในอนาคตไม่ใช่หรือ” หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ
พลโทพิจิตรนั้นเป็นเพียงนักยุทธวิธีคนสำคัญคนหนึ่งเท่านั้น ในทางเศรษฐกิจในหมู่ทหารระดับสูง
พลโทพิจิตรนั้นถึงจะไม่ใช่หัวหอกคนสำคัญของคำสั่ง 66 แต่ก็เป็นในแง่ของการจัดการกดขี่ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะในแง่ของการขจัดการกดขี่ทั้งสิ้น โดยเฉพาะพลโทพิจิตรยืนเต็มตัวในการคัดค้านและต่อสู้กับกลุ่มทุนผูกขาด
และเรื่องนี้ พลโทพิจิตรแรงกว่านายทหาร 66 คนอื่นๆ ที่หลงเหลืออยู่ในกองทัพขณะนี้เสียด้วยซ้ำ
โดยเฉพาะในด้านการพิจารณว่า พรรคการเมือง (บางพรรค) เป็นตัวแทนของกลุ่มทุนและรับใช้ทุนของตนแทนรับใช้ประชาชน
ซึ่งพลโทพิจิตรรังเกียจอย่างยิ่ง
สำหรับแนวความคิดเกี่ยวกับปัญหาธนาคารพาณิชย์หรือกลุ่มทุนการเงินที่กำหนดนโยบายการผลิตและการตลาดของประเทศนั้น
พลโทพิจิตรไม่เคยแสดงทัศนะที่ชัดเจนออกมาให้อ้างอิงได้
“พลตรีพิจิตรต้องการให้ทุนเสรี (ในประเทศไทย) พัฒนาอย่างเต็มที่ ในภาคชนบทนั้นให้ความสนใจต่อการพัฒนาในแบบการพัฒนาหมู่บ้านในเกาหลี
̒แซมาเอิลอันดอง̓ (รวมทั้งกิ๊บบุช-ของอิสราเอลด้วย) โดยนำไปประยุกต์ใช้ที่เขาค้อ
ซึ่งผลที่ได้ก็น่าภูมิใจ เพราะผลผลิตสามารถที่จะเลี้ยงตนเองได้และส่งขายเป็นทุนสะสมในการพัฒนาต่อไป
ความสนใจในการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีของพลตรีพิจิตรนั้น มิได้เฉพาะในการพัฒนาชนบท
แต่สนใจในการพัฒนาเสรษฐกิจโดยรวมของเกาหลีทีเดียว เพราะจากข้อมูลที่พลตรีพิจิตรได้รับนั้นรายได้ต่อหัวของประชาชนเกาหลีนั้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
ซึ่งพลตรีพิจิตรมีความมุ่งหวังที่จะให้เศรษฐกิจของไทยรุดหน้าเช่นนั้นบ้าง”
จากแหล่งข่าว เล่มที่ 12 7-13 พฤศจิกายน 2526 นั้นคือ พลตรี)
มาถึงปี 2528 พลโทพิจิตรให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องการพัฒนาเขาค้ออีกครั้งหนึ่ง
มีการขยายความคิดในการพัฒนาพื้นที่นั้นคือ กล่าวว่าอยากให้เขาค้อเป็น “กึ่งกิ๊บบุชแต่เป็นแบบไทยๆ
ทุกคนมีพื้นดินของตนในการทำกินไม่ใช่ใครเป็นเจ้าของผืนใหญ่ คนเหล่านี้เป็นลูกจ้างทำ
แต่ต้องมีความร่วมแรงร่วมใจกัน และถ้ามีเครื่องจักรที่ทันสมัยขึ้นมาก็ให้เป็นของกลาง
ไม่ใช่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คือต้องเป็นลักษณะของไทยๆ คืออย่างนี้ครับ ในชุมชนหนึ่งแต่ละครอบครัวรู้สึกว่าตนได้ทำอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
ในขณะเดียวกันก็เกิดประโยชน์ต่อครอบครัวด้วย เกิดความรักสามัคคีกัน ก็เป็นลักษณะของสังคมไทยเดิมๆ
ที่เรามักลืมกัน อย่างความช่วยเหลือรวมหมู่กันที่เรียกว่า “ลงแขก”
นั้น เราก็ลืมกันไปแล้ว หายไปหมดแล้ว เดี๋ยวนี้มีแต่จ้างกันดำนา เกี่ยวข้าวแทรกเตอร์ ก็ต้องจ้างกัน
เมื่อก่อนมันไม่เป็นอย่างนี้ จะเห็นได้ว่า ความเจริญทางวัตถุที่เราไปรับเขาเข้ามานั้น
ทำให้ความเจริญทางด้านจิตใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่มีมาแต่เดิมนั้นลดน้อยลงไป
อันนี้อันตราย อันนี้ที่ผมพูดนี่ต้องเข้าใจนะครับว่า ไม่ใช่ผมมีโซเชียลลิสต์
ไอเดีย ไม่ใช่นะครับ”
ที่ยกมาข้างต้นก็เป็นการเน้นแนวความคิดในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจของพลโทพิจิตรจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับชาติ
จากล่างขึ้นสู่บน โดยเริ่มต้นจากพื้นที่ในความรับผิดชอบของตนจากเขาค้อ สู่บางพื้นที่ชายแดนในความรับผิดชอบของกองทัพภาคที่
1
และด้วยทราบกันแพร่หลายยิ่งขึ้นว่าพลโทพิจิตรร้อนใจและห่วงใยในปัญหาเศรษฐกิจที่กระทบถึงราษฎรนั้น
ก็ทำให้ผู้ประกอบการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในปัญหาเศรษฐกิจด้านต่างๆ มักจะเข้ามาปรึกษาหารือหรือขอคำแนะนำตลอดจนให้ข้อมูลกับพลโทพิจิตรเสมอ
ไม่ว่าข้าว เหล้า น้ำมัน ฯลฯ ซึ่งพลโทพิจิตรก็พยายามรักษาท่าทีเพียงรับรู้หรือมีความเห็นบ้างเท่านั้น
เพราะเพียงฐานะของแม่ทักกองทัพภาคที่ 1 ยังไม่อาจทำอะไรได้มากกว่านี้ โดยเฉพาะในแง่ของการตัดสินใจทางนโยบาย
และอาจจะทำให้ถูกมองเลยระดับจาก “ความตั้งใจดี” หรือความหวังดีที่มีต่อประเทศชาติและราษฎร
กลายเป็นเรื่องของการ “จัดการนอกสั่ง” ก้าวก่ายหรือถึงขั้นต้องการแข่งบารมีกับผู้รับผิดชอบสูงสุดในปัจจุบัน
ไม่มีข้อสรุปว่า ใครเหมาะสมหรือเหมาะกว่า กรุณาตัดสินกันเอง
เส้นทางเติบโตของพลโทชวลิตและพลโทพิจิตรนั้นใครจะไปได้ไกลแค่ไหนนั้น แม้จะไม่รู้กันในชั่วข้ามคืนนี้
แต่ก็คงอีกไม่เนิ่นนานนัก และต้องยอมรับว่า ความคิดของมนุษย์นั้นมีการพัฒนาและแปรเปลี่ยนเสมอ
ดังนั้นกุมหลักกันให้มั่น และอย่ามองอย่างตายตัว
“อำนาจ” นั้นเป็นตัวแปรในการเปลี่ยนแนวความคิดและพฤติกรรมอย่างสำคัญ
จึงอาจกล่าวได้ว่า แนวคิดและพฤติกรรมนั้นมีสิทธิเปลี่ยนแปลงกันได้ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระมัดระวัง