Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน16 กรกฎาคม 2553
สตาร์บัคส์ไร้แผนนำเข้าแบรนด์ใหม่ ชูกรีนสโตร์-ขยายตลาดนอนคอฟฟี่             
 


   
www resources

โฮมเพจ สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ไทยแลนด์)

   
search resources

สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ไทยแลนด์), บจก.
Starbucks
Coffee




สตาร์บัคส์ ยันยังไม่มีแผนนำอีก 2 แบรนด์เชนกาแฟเข้ามาเมืองไทย ชี้แบรนด์สตาร์บัคส์ ยังแข็งแกร่ง และมีศักยภาพอีกมาก แม้ตลาดแข่งขันรุนแรง พร้อมขยายบทบาทกลุ่มอื่นที่ไมใช่กาแฟ สานต่อนโยบายบริษัทแม่ ชู “สตาร์บัคส์แชร์แพลเน็ต” พร้อมปรับสโตร์สู่ กรีนสโตร์

นายเมอร์เรย์ ดาร์ลิ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ ไทยแลนด์ จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดกาแฟในไทยมีการแข่งขันที่รุนแรงแต่ก็ยังมีโอกาสในการลงทุน และขยายตัวอีกมาก แม้ว่าทุกวันนี้ เชนกาแฟรีเมียมจะมีส่วนแบ่งเพียง 10% จากตลาดรวมก็ตาม อย่างไรก็ตาม สตาร์บัคส์ยังไม่มีนโยบายที่จะนำแบรนด์กาแฟในเครือเข้ามาเปิดตลาดในไทยอีก ซึ่งขณะนี้มีอีก 2 แบรนด์ คือ ซีแอทเทิลเบสท์คอฟฟี่ และ เวีย ที่อยู่ระหว่างทดลองตลาดในต่างประเทศ ขณะเดียวกัน แบรนด์สตาร์บัคส์ยังมีศักยภาพในการขยายตัวอีกมาก

ทั้งนี้ ในตลาดเมืองไทย จากการสำรวจพบว่า คนไทยดื่มกาแฟ 7 แก้วต่อสัปดาห์ โดยดื่มกาแฟนอกบ้าน 5 แก้ว และเป็นสตาร์บัคส์ 3 แก้วต่อสัปดาห์ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตลาดอะเวย์ฟอร์มโฮม หรือ Away from Home จะเป็นตลาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา เติบโตถึง 60% โดยปัจุบันสตาร์บัคส์จำหน่ายกาแฟมากกว่า 1 ล้านแก้วต่อเดือน และมีการเติบโตด้านยอดขายกว่า 8% จากปีที่แล้ว

โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผานมา สตาร์บัคส์ได้เปิดตัว สตาร์บัคส์ไทยแลนด์ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ ขณะนี้มีแฟนเพจมากกว่า 57,000 คน ทั้งที่เปิดมาแค่ครึ่งปี ขณะที่สตาร์บัคส์การ์ดที่ใช้มากว่า 6 ปีแล้ว มีสมาชิกประมาณ 75,000 ใบ และมียอดการใช้จ่ายบัตรสูงขึ้น 20%

ขณะที่แผนลงทุนในอนาคตนั้น คาดว่า จากนี้ไปคงอาจจะไม่ขยายตัวมากเท่ากับ 12 ปีก่อนหน้านี้ ที่ปัจุจบันมีสาขารวม 133 สาขาแล้ว แต่ก็ยังมีแผนรุกต่อเนื่อง ทั้งการขยายสาขาเฉลี่ย 10 สาขาต่อปี ซึ่งปีนี้ เปิดไปแล้ว 5 สาขา และจะเปิดอีก 5 สาขาในครึ่งปีหลัง รวมทั้งขยายบทบาทธุรกิจที่ไม่ใช่กาแฟมากขึ้น เช่น อาหาร และเครื่องดื่มอื่น รวมทั้งสินค้ากาแฟขวดด้วยซึ่งสัดส่วนยอดขายที่ไมใช่กาแฟตอนนี้อยู่ที่ 15%

สำหรับผลกระทบจากการชุมนุมของม็อบที่ผ่านมา ส่งผลให้สตาร์บัคส์ต้องปิดบริการ 5 สาขา เช่น ตึกมาลีนนท์ บิ๊กซีราชดำริ สาขาในเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องประกัน ซึ่งบริษัทแม่เข้าใจดี และก็ยังให้ความสำคัญกับตลาดไทยต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นแล้ว โดยลูกค้ากลับมาใช้บริการมากขึ้น โดยเฉพาะคนไทยที่มีมากถึง 75% ส่วนลูกค้าต่างชาติยังไม่มากเหมือนเดิม

นายเมอร์เรย์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้สตาร์บัคส์ทั่วโลกได้ใช้นโยบาย สตาร์บัคส์ แชร์ แพลเน็ท โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ การสรรหาอย่างมีจริยธรรมในการทำธุรกิจ การอนุรักษ์ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนช่วยเหลือชุมชนที่สตาร์บัคส์อาศัยอยู่ โดยในส่วนของ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้ชูนโยบาย กรีนสโตร์ ซึ่งเริ่มแล้วที่อเมริกา

และในเอเชียเริ่มที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกเมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนไทยเพิ่งเริ่มที่สาขาเซ็นทรัลพระรามสาม แต่ยังไม่เต็มรูปแบบ คาดว่า สิ้นปีนี้จะเต็มรูปแบบทั้งสาขาใหม่ที่จะเปิดและการทยอยปรับสาขาเก่าทั้งหมด ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี สิ่งที่ดำเนินการเช่น การปรับเปลี่ยนสไตล์การตกแต่งในร้าน การคำนึงถึงเรื่องการประหยัดพลังงาน เช่น เปลี่ยนหลอดไฟ เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us