Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2528
ยุทธจักรวิทยาลัยเอกชน ยังฟาดฟันกันอยู่ในวงแคบๆ             
 

   
related stories

โครงการมหาวิทยาลัยรังสิต มิติใหม่ของการลงทุนขั้นอุดมศึกษา

   
search resources

Education




ในปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาซึ่งดำเนินงานโดยเอกชนสามารถเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ไปจนถึงระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในบางสาขาวิชานั้น เพิ่งจะมีจำนวนเพียง 17 แห่ง

นับว่าเป็นจำนวนที่น้อยกว่าอาบอบนวดหลายสิบเท่าตัวทีเดียว

จาก 17 แห่งนี้ เปิดทำการสอนแล้ว 12 แห่ง ส่วนอีก 5 แห่ง อันได้แก่วิทยาลัยคริสเตียนของโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ซึ่งจะเปิดสอนสาขาพยาบาลระดับปริญญาตรี วิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุลที่จังหวัดนครราชสีมา วิทยาลัยศรีโสภนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ร้อยเอ็ดวิทยาลัยที่จังหวัดร้อยเอ็ด และวิทยาลัยรังสิตที่จังหวัดปทุมธานี ยังคงอยู่ระหว่างเตรียมการ

เพราะเพิ่งจะได้รับอนุญาตให้จัดตั้งจากทบวงมหาวิทยาลัยในช่วงระหว่างปี 2526 ถึงต้นปี 2528 นี้เอง

สำหรับอีก 12 แห่งที่เปิดทำการสอนแล้วนั้น สภาพโดยทั่วไปก็เป็นดังนี้

วิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513 ยกวิทยฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อต้นปี 2528 มี เจริญ คันธวงศ์ เป็นอธิการบดี จำนวนนักศึกษา 5,067 คน อาจารย์ทั้งที่ประจำและอาจารย์พิเศษ จำนวน 225 คน เปิดสอนคณะบัญชี บริหารธุรกิจ และนิเทศศาสตร์ ระดับปริญญาตรี

วิทยาลัยกรุงเทพ ก่อตั้งขึ้นโดย สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เจ้าของบริษัท โอสถสภา (เต๊กเฮงหยู) ร่วมกับเจริญ คันธวงศ์

วิทยาลัยเกริก ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513 พร้อมกับวิทยาลัยกรุงเทพ ยกวิทยฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อต้นปี 2528 เช่นเดียวกัน ปัจจุบันมี เบ็ญจา ปิยสิรานนท์ เป็นอธิการบดี จำนวนนักศึกษา 2,326 คน อาจารย์ 176 คน เปิดสอนคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ (การเงินการธนาคาร) และคณะศิลปศาสตร์ (สังคมศาสตร์, ภาษาอังกฤษ) ระดับปริญญาตรี

วิทยาลัยเกริก พัฒนาตัวเองขึ้นมาจากโรงเรียนกวดวิชา ก่อตั้งโดยอาจารย์เกริก ปิยสิรานนท์

วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งรุ่นเดียวกับวิทยาลัยกรุงเทพและวิทยาลัยเกริก และยกวิทยะฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเรียบร้อยแล้วเช่นกัน มีไสว สุทธิพิทักษ์ เป็นอธิการบดี จำนวนนักศึกษา 4,859 คน อาจารย์ 160 คน เปิดสอนคณะบริหารธุรกิจ บัญชี เศรษฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ระดับปริญญาตรี

จะเริ่มเปิดหลักสูตรปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจในปีการศึกษา 2529 เป็นต้นไป

ธุรกิจบัณฑิตก่อตั้งโดยไสว สุทธิพิทักษ์ ซึ่งเป็นอีกผู้หนึ่ง ไสว สุทธิพิทักษ์ ซึ่งเป็นอีกผู้หนึ่งที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการโรงเรียนกวดวิชาในอดีตเช่นเดียวกับอาจารย์เกริก

วิทยาลัยศรีปทุม ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513 เป็นรุ่นบุกเบิกอีกแห่งหนึ่งเช่นเดียวกับ 3 แห่งข้างต้น ปัจจุบันมี ประสิทธิ์ สุนทโรทก เป็นอธิการจำนวนนักศึกษา 4,285 คน อาจารย์ 73 คน เปิดสอนคณะโปลีเทคนิค (สาขาช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างยนต์ ช่างอิเล็กทรอนิกส์)ในระดับ ปวส. คณะบริหารธุรกิจในระดับ ปวส. และระดับปริญญาตรีบางสาขาและคณะนิติศาสตร์ ระดับปริญญาตรี

วิทยาลัยศรีปทุมเริ่มต้นโดยอาศัยโรงเรียนช่างกลไทยสุริยะเป็นพื้นฐาน ผู้ก่อตั้งคือ ประสิทธิ์ สุนทโรทก

วิทยาลัยหอการค้า ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2513 ยกวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อต้นปี 2528 มีปัจจัย บุนนาค เป็นอธิการบดี จำนวนนักศึกษา 4,885 คน อาจารย์ 374 คน เปิดสอนคณะบัญชี บริหารธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์ ระดับปริญญาตรี

ก่อตั้งโดยหอการค้าไทย

วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2515 มีภราดาประทีป ม.โกมลมาศ เป็นอธิการ จำนวนนักศึกษา 3,098 คน อาจารย์ 141 คน เปิดสอนระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจในสาขาการตลาด การบริหารทั่วไป การเงินการธนาคาร การบัญชี และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ เป็นกิจการหนึ่งในเครือของคริสตจักรอัสสัมชัญ

วิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2516 ยืน ปาระเคน เป็นอธิการ จำนวนนักศึกษา 2,220 คน อาจารย์ 110 คน เปิดสอนระดับ ปวส. คณะเทคโนโลยีอุสาหกรรม ระดับ ปวส. และปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ

ก่อตั้งโดยยืน ปาระเคน

วิทยาลัยเทคนิคสยาม ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2516 มีพรชัย มงคลวนิช เป็นอธิการ จำนวนนักศึกษา 4,029 คน อาจารย์ 159 คน เปิดสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ระดับ ปวส. คณะบริหารธุรกิจระดับ ปวส. และระดับปริญญาตรี

เทคนิคสยามพัฒนาตัวเองขึ้นมาจากโรงเรียนช่างกลสยาม มีพรชัย มงคลวณิช เป็นผู้ก่อตั้ง

วิทยาลัยพายัพ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2517 มีอำนวย ทะพิงค์แก เป็นอธิการ จำนวนนักศึกษา 1,643 คน อาจารย์ 254 คน เปิดสอนคณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ระดับปริญญาตรี และพยาบาลศาสตร์ แมคคอร์ระดับอนุปริญญา

ผู้ก่อตั้งคือ อำนวย ทะพิงค์แก

วิทยาลัยคณาสวัสดิ์ ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2522 มีปัญญา ปุยเปีย เป็นอธิการ จำนวนนักศึกษา 2,356 คน อาจารย์ 161 คน เปิดสอนคณะศิลปศาสตร์ ระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจและคณะเกษตรศาสตร์ (สาขาพืชไร่) ระดับ ปวส.

อยู่ที่จังหวัดมหาสารคาม ก่อตั้งโดยปัญญา ปุยเปีย

วิทยาลัยแสงธรรม ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2519 มีบาทหลวงวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช เป็นอธิการ จำนวนนักศึกษา 191 คน อาจารย์ 27 คน เปิดสอนคณะมนุษยศาสตร์สาขาปรัชญา และคณะศาสนศาสตร์สาขาเทววิทยา ระดับปริญญาตรี

ก่อตั้งโดยสภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย

วิทยาลัยหัวเฉียว ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2524 มีนายแพทย์บุญธรรม สุนทรเกียรติ เป็นอธิการ จำนวนนักศึกษา 130 คน อาจารย์ 44 คน เปิดสอนคณะพยาบาลศาสตร์ระดับปริญญาตรี

ก่อตั้งโดยโรงพยาบาลหัวเฉียว มูลนิธิ ปอเต็กตึ๊ง

เมื่อรวมเบ็ดเสร็จวิทยาลัยเอกชนทั้ง 12 แห่งที่เปิดทำการสอนอยู่แล้วนี้มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 27,053 คน จำนวนอาจารย์ 1,904 คน

จะสังเกตได้ว่าคณะที่เปิดสอนกันมากที่สุดนั้น ได้แก่ คณะบริหารธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับปริญญาตรี จะมีระดับ ปวส. ก็เพียงที่วิทยาลัยคณาสวัสดิ์ วิทยาลัยศรีปทุม และวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

รองลงมาคือคณะเศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาตรี

ส่วนที่เป็นคณะด้านวิศวกรรมศาสตร์จะเปิดสอนกันแค่ระดับ ปวส. ยังไม่ถึงระดับปริญญาตรี ทั้งนี้คงเนื่องจากการเปิดสอนระดับปริญญาตรีในคณะดังกล่าวจะต้องมีการตระเตรียมการอย่างมากทั้งด้านหลักสูตร บุคลากร และสถานที่ซึ่งจะต้องมีโรงฝึกงาน เครื่องมือเครื่องใช้ครบถ้วน เป็นต้น

แต่ก็มีวิทยาลัยหลายแห่งประกาศว่าการเปิดสอนในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชานี้จะสามารถเริ่มได้อีกไม่นานนี้แน่นอน

ในจำนวน 12 วิทยาลัยนี้ มี 2 วิทยาลัยที่ตั้งขึ้นเพื่อเป้าหมายเฉพาะ คือคงไม่ขยายไปสู่คณะอื่นๆ อีก ได้แก่ วิทยาลัยหัวเฉียว ซึ่งมุ่งผลิดพยาบาลระดับปริญญาตรีเพื่อเข้าทำงานในโรงพยาบาลหัวเฉียว และวิทยาลัยแสงธรรม ซึ่งเป็นวิทยาลัยสำหรับผู้ต้องการเตรียมตัวเป็นบาทหลวงโดยเฉพาะ

เป็นที่น่าสังเกตต่อไปว่า ในระยะเริ่มต้นของแผนพัฒนาฉบับที่ 5 นี้ หรือเมื่อย้อนหลังไปตั้งแต่ 3 ปีที่แล้วเป็นต้นมา การขยายตัวของคณะบริหารธุรกิจเริ่มชะลอลงตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากกำลังผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบันเมื่อรวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนแล้ว

มีจำนวนเกินความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ

หลายแห่งเริ่มที่จะพัฒนาหลักสูตรขึ้นไปถึงระดับเอ็มบีเอ หรือปริญญาโททางด้านบริหารธุรกิจซึ่งยังมีที่ว่างอยู่มากในตลาด

และหลายแห่งก็เริ่มเปิดสอนสาขาวิชาที่คนกำลังขาดแคลนกันจริงๆ อย่างเช่น สาขาแพทย์พยาบาล วิศวกรรมศาสตร์ในระดับที่สูงกว่า ปวส. และสาขาวิชาที่จะสร้างผู้ชำนาญการเฉพาะด้านขึ้น

แนวโน้มเช่นนี้เป็นแนวโน้มใหม่ในวงการสถาบันอุดมศึกษาภาคเอกชน และก็เป็นแนวโน้มที่หากใครจะลงมือทำนั้นก็จะต้องลงทุนหนักกว่าเก่าหลายเท่าตัวนัก

ลองเปรียบเทียบดูก็แล้วกันว่า ถ้าเปิดสอนสาขาบริหารธุรกิจอย่างมากอุปกรณ์ที่ต้องลงทุนก็เพียงเครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลขหรืออาจจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย แต่ถ้าเป็นสาขาแพทย์พยาบาล วิศวกรรมศาสตร์นั้นเครื่องมือเครื่องไม้จะต้องลงทุนสูงกว่ากันกี่เท่า นี่ยังไม่ต้องพูดถึงตัวอาจารย์ผู้สอน

นี่อาจเรียกว่าเป็นยุคของวิทยาลัยเอกชน ซึ่งกำลังต้องการผู้ลงทุนที่มีฝีมือและมีสายตายาวไกลจริงๆ ยุคที่เจ้าของโรงเรียนกวดวิชาหรือโรงเรียนช่างกลพาณิชย์จะขยับปรับศักยภาพของตนเองขึ้นมาจัดตั้งวิทยาลัยแบบเก่าๆ ที่ผ่านมาแล้ว ก็คงจะเกิดยากเสียแล้วสำหรับยุคนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us