Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2528
แนวทางการขอจัดตั้งวิทยาลัยเอกชนข้อคิดเบื้องแรกสำหรับนักลงทุน             
 


   
search resources

Education




โครงการจัดตั้งวิทยาลัยเอกชนค่อนข้างจะเป็นงานใหญ่ซึ่งต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติตามกฎทบวงมหาวิทยาลัยอย่างมากๆ

หลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่ว่านี้ล้วนกำหนดขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตราต่างๆ แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2522 ด้วยกันทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นถ้าจะศึกษาข้อตัวบทกฎหมายกันให้ละเอียดแล้ว ก็คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ ไป

ในชั้นนี้ "ผู้จัดการ" จึงขอนำหลักเกณฑ์และระเบียบวิธีปฏิบัติที่สำคัญๆ เท่านั้นมากล่าวถึง แต่ก็คิดว่าน่าจะพอช่วยให้เห็นเป็นแนวทางได้บ้าง

การกำหนดวัตถุประสงค์

ผู้จัดทำโครงการจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อจัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและพร้อมกันนั้นให้ระบุวัตถุประสงค์ในการเปิดสอนแต่ละสาขาวิชาลงไปด้วย โดยควรมีลักษณะดังนี้คือ

-จะเป็นสถาบันที่มุ่งทำหน้าที่ให้การศึกษาวิชาชีพชั้นสูง เน้นภารกิจหลักด้านการวิจัยและการบริการทางวิชาการในระดับอุดมศึกษา

-สาขาวิชาที่จะเปิดสอนนั้นสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาทางวิชาการ เป็นผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวม ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ

ที่ตั้งและทำเลที่ตั้ง

วิทยาลัยจะต้องตั้งในแหล่งชุมชนที่มีความสะดวกด้านชุมชน สาธารณูปการ เป็นทำเลที่ดีไม่มีภัยต่างๆ เกิดขึ้นง่าย มีบรรยากาศเหมาะสม เช่น ไม่อยู่ติดกับแหล่งเสื่อมโทรมหรือแหล่งสำราญต่างๆ และห่างไกลพอสมควรจากความอึกทึกครึกโครมที่จะรบกวนการเรียนการสอน

บริเวณ

จำนวนพื้นที่กฎทบวงฉบับที่ 3 (พ.ศ.2525) กำหนดไว้ว่า

-สาขาวิชาที่ไม่ต้องมีห้องทดลอง ห้องปฎิบัติการหรือโรงฝึกงานต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 6 ไร่

-สาขาที่ต้องมีห้องทดลอง ห้องปฎิบัติการหรือโรงฝึกงานจะต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 8ไร่

-สาขาวิชาเกษตรกรรมที่ต้องมีที่ดินสำหรับฝึกงาน ต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 158 ไร่

-จำนวนพื้นที่ดินเหล่านี้จะต้องเป็นที่ดินผืนเดียวกัน และวิทยาลัยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ในด้านหลักเกณฑ์ข้ออื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องบริเวณก็เช่นว่า เป็นที่เอกเทศไม่ประปนกับสถานที่อื่น จะต้องมีที่ว่างและสภาพแวดล้อมดีสำหรับการพักผ่อน การกีฬา การจราจรภายในวิทยาลัย และมีแผนผังการก่อสร้างที่แน่นอน เช่น ส่วนใดจะใช้เป็นที่เรียน หอพัก และส่วนใดควรจะเป็นสถานที่ของกิจกรรมนอกหลักสูตร เป็นต้น

อาคาร

จะต้องมีแผนการก่อสร้างอาคารในส่วนต่างๆ ที่แน่นอน และอาคารมีพื้นที่เพียงพอกับวัตถุประสงค์ของการใช้อาคารนั้นๆ เฉพาะตัวอาคารเรียนจะต้องมีส่วนประกอบต่างๆ เพื่อจัดให้การศึกษาตามสาขาวิชาที่ระบุไว้ เช่น มีห้องบรรยายกี่ห้อง ห้องสัมมนากี่ห้อง ห้องปฎิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฎิบัติการทางภาษา

พื้นที่ใช้สอยของอาคาร ทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานไว้ เช่น

-ห้องทำงานผู้อำนวยการ จะต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 25 ตารางเมตร

-ห้องพักอาจารย์ผู้สอน มีพื้นที่ 12 ตารางเมตรต่อคน

-เสมียน 3.5 ตารางเมตรต่อคน

-ห้องเรียนแบบ ก. สำหรับนักศึกษาจำนวน 300 คน จะต้องมีพื้นที่อย่างต่ำ 300 ตารางเมตร หรือคนละ 1 ตารางเมตร

-ห้องเรียนแบบ จ. สำหรับนักศึกษา 25 คน จะต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 38 ตารางเมตร ห้องสัมมนาหรือห้องประชุมสำหรับ 30 คน ต้องมีพื้นที่ 54 ตารางเมตร เป็นต้น

นอกจากนี้เกณฑ์มาตรฐานสำหรับห้องปฎิบัติการห้องวิจัยวิทยาศาสตร์ โรงฝึกงาน ห้องสมุด โรงอาหาร ทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดจำนวนพื้นที่ใช้สอยต่อคนไว้ทั้งสิ้น

อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวกับที่ตั้งบริเวณและอาคาร

จะต้องมีบริการสาธารณูปโภคพอเพียง เช่น ประปา ไฟฟ้า การถ่ายเทสิ่งโสโครก มีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในบริเวณและอาคารต่างๆ พร้อมสรรพ

อุปกรณ์การศึกษา

มีอุปกรณ์การสอนทั่วไปประจำห้องบรรยาย ห้องเรียนต่างๆ และอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการสอนแต่ละสาขาวิชาครบถ้วนเพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียนแต่ละครั้ง อย่างเช่นการสอนวิทยาศาสตร์ปฏิบัติ ต้องมีอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ ถ้าเป็นการสอนทางบริหารธุรกิจจะต้องมีอุปกรณ์ประเภทเครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลข ถ้าเป็นการสอนทางวิศวกรรมศาสตร์จะต้องมีโรงงาน เครื่องไม้เครื่องมือครบถ้วน

จำนวนเงินทุนประเดิมและทรัพย์สินที่จะใช้ในการจัดตั้ง

วิทยาลัยเอกชนต้องมีที่ดินอันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเป็นของตนเอง แต่ในกรณีต้องใช้ที่ดินมากเพื่อประโยชน์ในการศึกษานอกเหนือไปจากที่ดินเดิมอันเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัยเอกชนแล้ว อาจผ่อนผันให้มีที่ดินในรูปสิทธิครอบครองได้ในจำนวนพื้นที่ที่ไม่เกี่ยวกับความมั่นคงทางหลักทรัพย์ของวิทยาลัยนั้นๆ

การตีราคาที่ดินให้ใช้ราคาที่ได้สินทรัพย์นั้นมา หากได้มากเกิน 3 ปี ให้ประเมินราคาได้โดยอาศัยราคาปานกลางซึ่งกำหนดโดยกรมที่ดิน

การโอนที่ดิน ผู้รับใบอนุญาตจะต้องโอนที่ดินเป็นของวิทยาลัยทันทีเมื่อได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นวิทยาลัยเอกชนตามกฎหมายแล้ว

เกี่ยวกับอาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในที่ดินของวิทยาลัย ก็เช่นเดียวกันที่สิทธิและกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นของวิทยาลัย การตีราคาอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ให้ใช้ราคาทุนคิดหักค่าเสื่อมโดยอาศัยอัตราอายุการใช้งานดังนี้ อาคารที่เป็นตึก 40 ปี อาคารไม้ 10-15 ปี

ส่วนสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์เครื่องขยายเสียง พิมพ์ดีด รถยนต์ จะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของวิทยาลัย ยกเว้นในบางกรณีอาจจะผ่อนผันให้เช่าได้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

สินทรัพย์ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากที่ดินและอาคารนี้ การตีราคาทรัพย์สินให้ใช้ราคาทุน แต่หักค่าเสื่อมโดยกำหนดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ทั้งหลายเหล่านี้ไว้ไม่เกิน 10 ปี

เกี่ยวกับผู้สอน

จะต้องมีสัญญาจ้างผู้สอนโดยระบุรายละเอียดเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน

กำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนแก่ผู้สอนและพนักงานในอัตราที่สมควรแก่วิทยฐานะโดยอย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าอัตราที่ทางราชการกำหนดไว้

วางหลักเกณฑ์เรื่องการขึ้นเงินเดือนไว้ให้ชัดเจนเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะให้ความมั่นคงแก่ผู้สอนและพนักงาน

เกี่ยวกับนักศึกษา

กำหนดเครื่องแบบที่สุภาพสำหรับนักศึกษา

กำหนดระเบียบเกี่ยวกับวินัยไว้พอสมควรแก่การวางใจได้ว่านักศึกษาจะปฏิบัติตนอยู่ในวินัยอันดีงาม

กำหนดระเบียบข้อบังคับและบทบาทลงโทษเกี่ยวกับนักศึกษาไว้

กำหนดค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ให้ชัดเจนและเป็นไปตามกฎของทบวงมหาวิทยาลัย

โครงการจัดการศึกษา

การจัดการศึกษาจะต้องมีอัตราส่วนระหว่างผู้สอนประจำต่อจำนวนนักศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ต่อ 20

หรือเมื่อรวมผู้สอนประจำและผู้สอนพิเศษเข้าด้วยกันจะต้องเป็นสัดส่วนต่อจำนวนนักศึกษาเท่ากับ 1 ต่อ 10 โดยผู้สอนต้องมีวุฒิอย่างน้อยปริญญาตรีและมีวุฒิตรงตามสาขาวิชาที่สอนอย่างน้อย 3 คน ทำหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละสาขาที่จัดสอนนั้นๆ

จะต้องระบุจำนวนนักศึกษาเต็มตามโครงการ แยกตามสาขาวิชาและแต่ละระดับการศึกษา โดยระบุแยกออกมาเป็นจำนวนปีจนกว่าจะเต็มโครงการ

ด้านตัวผู้สอนก็ต้องระบุจำนวนที่คาดว่าจะเต็มโครงการ แยกตามวุฒิและสาขาวิชาเอก แสดงออกมาเป็นปีเช่นกัน

หลักสูตร

ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร สำหรับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 4 ภาคการศึกษาปกติหรือไม่เกิน 6 ภาค ในหลักสูตร 4 ภาคการศึกษาปกตินี้ นักศึกษาจะใช้เวลาเรียนได้ไม่เกิน 8 ภาคการศึกษาปกติ ส่วนหลักสูตร 6 ภาคการศึกษา จะใช้เวลาเรียนได้ไม่เกิน 12 ภาค

หลักสูตรปริญญาตรีกำหนดให้มีระยะเวลาการศึกษาปกติ จะใช้เวลาเรียนได้ไม่เกิน 16 ภาค

แบ่งการศึกษาเป็นระบบ 2 ภาคในหนึ่งปีการศึกษา โดยต้องมีเวลาเรียนในชั้นอย่างน้อย 16 สัปดาห์ต่อภาค

จำนวนหน่วยกิต ในหลักสูตรประกาศนียบัตรต้องมีหน่วยกิตอย่างน้อย 80 หน่วยกิตปริญญาตรีอย่างน้อย 120 หน่วยกิต

หลักสูตรจะต้องประกอบด้วยวิชาศิลปศาสตร์และวิชาชีพ รายละเอียดของหลักสูตรให้ยึดตามข้อพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรเฉพาะสาขาวิชาที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเกณฑ์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us