|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธุรกิจที่ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยและสามารถขยายเติบโตในต่างประเทศ ของกลุ่มไมเนอร์ ฟู๊ดส์ กรุ๊ป อย่างแบรนด์เดอะ พิซซ่า คอมปะนี หรือธุรกิจร้านอาหาร กาแฟ อย่างแบล็คอคอนยอน ย่อมดึงดูดความสนของทำธุรกิจหรือเตรียมที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ และด้วยภาวะเศรษฐกิจที่หลายธุรกิจต่างได้รับผลกระทบอย่างถ้วนหน้าแต่ธุรกิจอาหารโดยเฉพาะ 2 แบรนด์ที่กล่าวมาโตต่อเนื่อง เกิดการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งทั้ง 2 แบรนด์ได้กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้น่าสนใจ
แบรนด์ไทยชนะแบรนด์นอก
"พิซซ่า คอมปะนี" รู้ใจผู้บริโภค
กว่า 10 ปีแล้วที่ไมเนอร์ ฟู้ดส์ กรุ๊ป ได้สร้างแบรนด์พิซซ่าสัญชาติไทยภายใต้แบรนด์ "เดอะ พิซซ่า คอมปะนี" ขึ้น หลังจากเป็นแฟรนไชซีของพิซซ่า ฮัท ธุรกิจพิซซ่า รายใหญ่สัญชาติอเมริกันมา 20 กว่าปี เมื่อวันหนึ่งฝรั่งมาทวงคืน จึงต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงข้ามคืนหรือภายใน 1 เดือนเท่านั้นของการสร้างธุรกิจใหม่เป็นของตนเอง และทุกวันนี้พูดได้ว่าสามารถเอาชนะแบรนด์นอกรายดังกล่าวได้
จนเกิดเป็นกรณีศึกษาของการท้าชนระหว่างพิซซ่าแบรนด์ไทยและแบรนด์นอกระดับโลกให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สถาบันการศึกษาชั้นนำระดับโลกให้ได้ศึกษากัน
อรรถ ประคุณหังสิต ผู้จัดการทั่วไปธุรกิจแฟรนไชส์ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป บอกเล่าถึง กลยุทธ์ข้ามคืนที่สามารถตีตื้นจนสามารถเอาชนะแบรนด์พิซซ่าระดับโลกได้ดังนี้ 1.พฤติกรรมผู้บริโภค จากการดำเนินธุรกิจพิซซ่ามานานกว่า 30 ปีทำให้รู้ถึงพฤติกรรมผู้บริโภคพิซซ่าชาวไทย โดยเฉพาะรสชาติที่เป็นที่ชื่นชอบ ทั้งนี้เมื่อมาบริหารแบรนด์ของตนเอง จึงปรับจุดที่เคยเป็นจุดอ่อนเมื่อครั้งบริหารแบรนด์เดิม เพราะของการทำพิซซ่าประกอบด้วยแป้งโดว์ทำสำหรับทำพิซซ่า คุณภาพซอส ท้อปปิ้งและชีส ซึ่งทั้ง 4 ส่วนประกอบนี้นำมาพิจราณาว่ามีจุดอ่อนด้านใด
เขาพบว่าจากการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยและบริษัทคลุกคลีกับธุรกิจพิซซ่ามานาน จึงมีคำตอบว่าพิซซ่ามีรสชาติที่จืด จึงได้ปรับปรุงรสชาติซองให้มีความเข้นขึ้น ท็อปปิ้งหรือหน้าพิซซ่ามีปริมาณน้อยจึงเพิ่มเป็น 2 เท่า รวมถึงรสชาติของชีสซึ่งบริษัทมีโรงงานชีสเองจึงปรับรสชาติใหม่ให้ถูกใจผู้บริโภคชาวไทย ทำให้ทุกวันนี้พิซซ่า คอมปะนีมีสาขาทั่วไทยถึง 224 สาขาแล้ว
2.คุณสมบัติแฟรนไชซี ทุกวันนี้สัดส่วนของสาขาแฟรนไชส์มี 50 สาขาจาก 224 สาขาก็ตาม แต่พบว่าความสนใจในการเข้ามาลงทุนพิซซ่า คอมปะนี มีต่อเนื่องแม้เงินลงทุน 11 ล้านบาท แต่พบว่ากลุ่มผู้ลงทุนระดับบนหรือมีกำลังทรัพย์ให้ความสนใจ แต่สิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญกับผู้ที่จะเข้ามาลงทุนกับพิซซ่า คอมปะนี คือต้องการคนท้องถิ่น เพราะคนท้องถิ่นจะรู้จักตลาด รู้พฤติกรรมของคนเพื่อให้บริษัททราบข้อมูลในเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ กลยุทธ์การตลาดที่นำมาใช้ และต้องเป็นคนที่มีความมุ่งมั่น ความต้องการที่ต้องการทำธุรกิจอย่างจริงจัง เพราะสิ่งที่บริษัทต้องการไม่ได้ต้องการนักลงทุนหรือผู้ที่มีเงินแล้วจ้างคนอื่นบริหารแต่ต้องการคนที่ลงมือทำเองหรือต้องมาเรียนรู้งานระบบด้วยตนเอง
อรรถ ขยายความว่า การลงมือทำเองนั้นโอกาสความประสบความสำเร็จสูงทั้งการบริหาร และความผูกพันธ์กับธุรกิจและสามารถถ่ายโอนหรือเป็นมรดกให้กับลูกหลานต่อไปได้ เช่นแบรนด์แดรี่ ควีน ซึ่งทุกวันนี้ไมเนอร์ ฟู้ดส์ กรุ๊ป ได้ซื้อสิทธิ์บริหารจากต่างประเทศและบริหารในไทยมานานมา 14 ปีและเตรียมขายแฟรนไชส์แล้วนั้น ในต่างประเทศมี 6,000 สาขาใน 6,000 สาขาเป็นแฟรนไชซีมากถึง 5,000 สาขา ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าแฟรนไชซีเหล่านี้บริหารกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นพ่อและเป็นธุรกิจที่ต่อเนื่องมาถึงรุ่นลูกที่เข้ามาบริหารงานแล้ว
"ธุรกิจอาหารต้องการคนที่มีความทุ่มเท เพราะยอมรับว่าบางครั้งพนักงานที่จ้างมาบริหารนั้นมีความไม่เสนอต้นเสมอปลายเหมือนกับเจ้าของลงมาดูเอง และจะบอกกับผู้ลงทุนทุกครั้งว่าเราไม่ใช่แค่ขายพิซซ่า แต่เราขายบริการซึ่งเกี่ยวข้องกับคน ผู้ที่มาลงทุนต้องมีความสามารถในการพัฒนาคนได้ เพราะทีมบริหารร้านที่หมุนเวียนกันและที่ประจำกว่า 50 คน มีการศึกษาระดับ ม.3 จนถึงปริญญาตรี จึงต้องพัฒนาให้ทีมงานทำงานได้ดี มีความสำเร็จสูง"
3.ทำเล จะเห็นได้ว่าทำเลหลักของแบรนด์ไมเนอร์ ฟู้ดส์ กรุ๊ป คือห้างสรรพสินค้าและดิสเคาท์สโตร์ขนาดใหญ่ ซึ่ง อรรถ บอกว่า เพราะเป็นทำเลที่มีความเสี่ยงต่ำ หากมองกันที่จำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในห้างเป็นแม่เหล็กสำคัญฉะนั้นโอกาสการเปิดร้านก็มีความสำเร็จสูงตามไปด้วยหรือโอกาสความสำเร็วมากกว่าอาคารพาณิชย์ แต่กรณีของพื้นที่ต่างจังหวัดนั้นต้องตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนหรืออยู่กลางเมืองผู้คนมองเห็นได้ชัด และข้อดีของการตั้งในห้างสรรพสินค้าช่วยลดต้นทุนการวางระบบร้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบน้ำ ระบบไฟ เพราะในห้างสรรพสินค้ามีการวางโครงสร้างพื้นที่ไว้แล้วแตกในตึกแถวต้องมารื้อและวางระบบกันใหม่ซึ่งมีต้นทุนที่สูงกว่า
พร้อมบอกถึงเคล็ดลับทำเลที่ดีของเดอะ พิซซ่า คอมปะนีว่า ในห้างสรรพสินค้าต้องอยู่ที่ประตูทางเข้าบริเวณชั้นล่าง หรือประตูทางเข้าด้านที่จอดรถ สำหรับแบรนด์แดรี่ ควีน ใช้พื้นที่ขนาดเล็กหรือ 20 ตารางเมตรนั้นต้องตั้งบริเวณบันไดเลื่อนซึ่งเป็นจุดขายหลัก หรือจุดที่คนเดินผ่านไปมาจำนวนมาก ส่วนในื้นที่ต่างจังหวัดจะตั้งที่หน้ามหาวิทยาลัย โรงพยาบาล เป็นต้น
'แบล็คแคนยอน' จี้รัฐหนุนทำเล
สนับสนุนรายเล็กโอกาสเกิดธุรกิจ
แบล็คแคนยอน ธุรกิจร้านอาหารกาแฟ ที่ทุกวันนี้มีสาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศนั้นเป็นสิ่งที่าการันตีถึงความสำเร็จของผู้บนริหาร ที่สามารถนำพาธุรกิจแบรนด์ไทยออกสู่ต่างประเทศและเป็นที่จับตาของบรรดาเอสเอ็มที ที่วันนี้แบรนดืดังกล่าวก็เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ มาก่อนเช่นกัน
ปัจจุบันแบล็คแคนยอนมีสาขาในประเทศไทย 206 สาขา คิดเป็นสัดส่วนเสาขาของบริษัท 60% และอีก 40% เป็นสาขาแฟรนไชซี ขณะที่สาขาในต่างประเทศเป็นการขยายแฟรนไชส์ทั้งหมดประกอบด้วย 7 ประเทศรวม 36 สาขา ได้แก่ สิงคดปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา ยูเออี (ดูไบ) บาเรนท์ และสาขาล่าสุดคือที่เซี่ยงไฮ้ ที่เพิ่งเปิดไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
ประวิตร จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด บอกถึงสิ่งสำคัญในการประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจว่าประด้วยปัจจัยหลักคือ ทำเล กลุ่มลูกค้า สินค้า และเงินลงทุน โดยเฉพาะในส่วนของเงินลงทุนนั้นต้องให้สัดส่วนที่มากกับเงินของตนเองแล้วกู้ยืมบางส่วนหรือในสัดส่วนที่น้อยกว่า ซึ่งการลงทุนแบล็คแคนยอนนั้นลงทุน 5 ล้านบาท คืนทุนประมาณ 3 ปี และผู้ลงทุนหรือแฟรนไชซีต้องเข้ามาบริหาร เพราะหวังว่าเมื่อลงทุนแล้วจ้างผู้จัดการร้านบริหารโอกาสความสำเร็จก็จะน้อยว่า
ส่วนทำเลนั้น ประวิตร มองว่า ทำเลในห้างสรรพสินค้ายังเป็นทำเลของธุรกิจ แต่โอกาสของผู้ประการรายกลางหรือรายเล็กจะได้พื้นที่ทำเลในห้างสรรพสินค้านั้นค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะแบรนด์ไทยเสียเปรียบเพราะเจ้าของพื้นที่จะกันทำเลไว้ให้กับแบรนด์ต่างประเทศ และราคาค่าเช่าในห้างสรรพสินค้ามีราคาสูงทุกวันนี้ราคาต่อตารางเมตรที่ 2,500-4,000 บาทถ้าเป็นร้านที่ต้องใช้พื้นที่ 100 ตารางเมตรก็ต้องจ่าย 3-4 แสนบาท และมัดจำเงินสุดอีก 6 เดือน ซึ่งปัจจัยค่าเช่าเป็นปัจจัยสำคัญเพราะต้นทุนหลักมาจากค่าเช่า
"ทำเลในห้างสรรพสินค้านั้นตนมอว่าทำเลที่เขาเรียกว่าสามแพร่งนั้นดีต่อการทำธุรกิจเพราะคนที่ด้านมาทุกทิศทุกทางสามารถมองเห็นร้านที่ตั้งอยู่เหมือนคนเดินเข้ามาชน แต่การที่เอสเอ็มอีรายเล็ก รายกลาง จะมีโอกาสได้ทำเลในห้างนั้นลำบาก การส่งเสริมจากภาครัฐนั้นต้องสนับสนุนด้านทำเลด้วย เพราะถ้าทำเลไม่มี หรือไม่ได้ทำเลที่ดีการสนับสนุนก็ไม่เกิดประโยชน์" ประวิตรกล่าว
7-11 เปิดกลยุทธ์ความสำเร็จ
"โอกาสในการอยู่รอดของการทำธุรกิจในปัจจุบัน ลูกค้าเป็นผู้ตัดสิน ฉะนั้นผู้ประกอบการต้องไม่อยู่นิ่ง ต้องศึกษาความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคตลอดเวลาพร้อมทั้งปรับตัว ปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง" ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บอกถึงคีย์ซัคเซสของเซเว่นอีเลฟเว่นร้านอิ่มสะดวกที่ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 20 ปี
เขามองว่าผู้บริโภค มีการเปลี่ยนตลอดเวลาตามสภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ สังคม ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ถึงจุดที่ลึกที่สุดอย่างเช่นสภาพเศรษฐกิจส่งผลต่อการจับจ่ายซื้อของชิ้นเล็กลงเพราะราคาถูกว่าผู้ประกอบการเมื่อรู้แล้วจะทำอย่างไร ขณะเดียวกันผู้ประกอบการต้องเจอกับภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นและคู่แข่งจำนวนมาก พร้อมกับกฏระเบียบของภาครัฐที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ
ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ล้วนส่งผลต่อผู้ประกอบการทั้งสิ้น ฉะนั้นเมื่อวางจำหน่ายสินค้าหรือผลิตสินค้าออกมาต้องทำให้ผู้บริโภคคุ้มค่า คุ้มราคา ช่วยประหยัดเงิน สะดวกรวดเร็วและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
หากถามว่าสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคืออะไร ต้องยอมรับว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มต้องการสินค้าและบริการที่แตกต่างกันตามวัย พฤติกรรม รูปแบบการใช้ชีวิตและช่วงเวลาที่เข้ามาใช้บริการ สิ่งที่เซเว่นอีเลฟเว่นตอบโจทย์หรือรู้ถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการความสะดวกของสถานที่ตั้งและบริการ เป็นร้านที่สะอาดปลอดภัยซึ่งต้องการการบริการที่ดีรวดเร็วและถูกต้อง สินค้าและบริการนั้นต้องหลากหลายมีราคาที่เหมาะสมรวมถึงมีสินค้าที่มีคุณภาพ สะอาดและอร่อย
ปิยะวัฒน์ บอกว่า ปัจจุบันเซเว่นอีเลฟเว่นดำเนินธุรกิจมา 20 ปีเริ่มขายแฟรนไชส์สาขาแรกเมื่อ 18 ปีที่แล้ว ปัจจุบันแฟรนไชซีรายแรกยังดำเนินการอยู่และมีลูกเข้ามารับช่วงขยายสาขาต่อ ปัจจุบันเซเว่นฯ มี 5,000 สาขา ตั้งเป้าภายใน 3 ปีนี้จะครบ 7,000 สาขา แต่เนื่องจากความสนใจลงทุนกับเซเว่นฯ ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้นคาดว่าตัวเลขสาขาจะทะลุเป้าเป็น 10,000 สาขาใน 3 ปีนี้
ทั้งนี้พบว่าความสนใจที่มีต่อธุรกิจที่ดำเนินรูปแบบแฟรนไชส์นั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จถึง 80% เมื่อเทียบกับการเริ่มต้นธุรกิจด้วยตัวเองความสำเร็จนั้นมีเพียง 20% หรือแม้แต่การซื้อกิจการที่เขาดำเนินงานอยู่แล้วมาดำเนินงานต่อโอกาสความสำเร็จก็มีเพียงครึ่งเดียวหรือ 50% เท่านั้น
ปิยะวัฒน์ บอกถึงเห็นหัวใจการบริหารงานของเซเว่นฯ ที่เป็นลักษณะเด่นของธุรกิจว่า 1.เครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศช่วยสนับสนุนข้อมูล ช่วยคิด ช่วยปรับปรุงการทำงาน 2.ระบบไอทีช่วยในการรับรู้ยอดขาย ช่วยตัดสินใจในการตัด คัด สั่ง เรียงสินค้า 3.เครือข่ายการกระจายสินค้าครอบคลุมทุกภาคช่วยลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภค และ 4.มีทีมงานจากส่วนกลางช่วยสนับสนุนข้อมูลประกอบการตัดสินใจและช่วยทำกิจกรรมทางการตลาด
ภายใต้นโยบายการดำเนินธุรกิจทำให้เกิดประโยชน์แก่ 3 ฝ่ายคือ 1.ลูกค้า ได้รับความสะดวก และการบริการที่ดี ได้รับความพึงพอใจ 2.แฟรนไชซี ลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน ได้รับประโยชน์จากการเป็นเครือข่ายและได้รับการถ่ายทอดระบบบริหารที่เป็นมาตรฐานพร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาและมีการปรับปรุง-พัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3.เซเว่นอีเลฟเว่น สามารถขยายสาขาเพื่อเข้าถึงลูกค้าในชุมชนได้มากขึ้น สร้างความภักดีของลูกค้าและเพิ่มยอดขายและกำไรเพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน
"ทุกวันนี้ยังมีคำถามจากผู้ลงทุนว่าร้านค้าปลีกอิ่มตัวหรือยัง ผมก็จะตอบว่าถ้าปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้ธุรกิจอิ่มตัว หรือการเข้ามาทำธุรกิจแฟรนไชส์จะยั่งยืนหรือไม่ ผมก็จะตอบอีกว่าผู้ประกอบการแฟรนไชส์จะอยู่ได้ก้ต่อเมื่อมีรายได้และผลกำไรเพิ่มขึ้นทันกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นการที่จะลงทุนกับธุรกิจค้าปลีกรายใด้นั้นต้องพิจารณาว่าบริษัทรายนั้นๆ จะต้องมีการคิดค้นนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้" ปิยะวัฒน์ กล่าวในตอนท้าย
อลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ที่ 3 จากขวา) เป็นประธานในงานสัมมนา "ไขความสำเร็จสุดยอดธุรกิจแฟรนไชส์" จัดโดยสมาคมแฟรนไชส์ไทยและบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ห้องประชุมคอนเวนชั่นฮอลล์ สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อเร็ๆว นี้
|
|
|
|
|