|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว เทคนิคสร้างการรับรู้ 'แบรนด์' ของสินค้าไอที นอกจากการวางกระจายสินค้าผ่านดีลเลอร์ให้มากเข้าไว้แล้ว การเข้าร่วมออกบูทตามมหกรรมขายสินค้าต่างๆ ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญที่แบรนด์ยักษ์ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอเซอร์ เอชพี แคนนอน เอปสัน ฯลฯ ต่างจำเป็นต้องพาเหรดเข้าร่วมทุกงาน เพื่อเป็นการประกาศให้ผู้บริโภครับรู้ว่าเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง
แต่มาวันนี้ เทคนิคการสร้าง 'แบรนด์' ได้เปลี่ยนไป เจ้าของแบรนด์ดังมองถึงวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพื่อเข้าถึงตลาดกลุ่มใหม่ที่ยังไม่รู้จักแบรนด์ดีพอ รวมไปถึงแฟนพันธุ์แท้ จึงทำให้เกิดการนำแนวคิด 'แบรนด์ชอป' เข้ามาใช้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสสัมผัสผลิตภัณฑ์อื่นภายใต้ชายคาแบรนด์เดียวกันให้ดียิ่งขึ้น
แคนนอน คอนเซ็ปต์ สโตร์ เป็นแบรนด์ชอปที่มีที่มาที่ไปจากนายใหญ่คนใหม่ของ บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด 'วาตารุก นิชิโอกะ' ประธานและประธานกรรมการบริหารที่ดัดแปลงแนวคิดที่ต้องการสร้างแบรนด์ชอปบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และจำนวนผู้ใช้งานที่ยังไม่แพร่หลาย จึงทำให้แนวคิดดังกล่าวต้องแปรเปลี่ยนมาเป็นแคนนอน คอนเซ็ปต์ สโตร์ แทน
'ทางแคนนอนได้เปิดคอนเซ็ปต์ สโตร์ ที่เซ็นทรัล ชลบุรี เป็นแห่งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่มี' วาตารุก นิชิโอกะ เล่าให้ฟัง
ทำไม แคนนอน ถึงเปิดคอนเซ็ปต์ สโตร์ ในประเทศไทย คำตอบที่ได้จากประธานบริษัทหนุ่มคือ ประเทศไทยเป็นตลาดหนึ่งในประเทศยุทธศาสตร์สำคัญของแคนนอนในเอเชีย และเป็นตลาดที่มีศักยภาพที่ยังมีโอกาสเติบโตสูง
สาเหตุที่แคนนอนเลือก เซ็นทรัล ชลบุรี เป็นทำเลที่ตั้งแห่งที่ 2 ต่อจากคอนเซ็ปต์ สโตร์ต้นแบบที่จังหวัดภูเก็ตมาแล้ว เพราะเป็นจังหวัดที่มีอัตราการเติบโตด้านเศรษฐกิจสูง ทั้งมีความต้องการด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพมากขึ้นเรื่อยๆ
ทั้งนี้ แคนนอนมุ่งหวังให้เป็นแหล่งในการอัปเดตเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับผู้ใช้สินค้าแคนนอน เพื่อตอกย้ำแนวคิด 'โททัล อิมเมจจิ้ง รีโวลูชั่น' ด้วยการจำลองพื้นที่ภายในชอปให้ผู้ที่เข้ามาภายในชอปแห่งนี้ได้มีโอกาสสัมผัสสินค้าในกลุ่ม 'อิมเมจจิ้ง' ที่ประกอบไปด้วยกล้องดิจิตอลคอมแพกต์ จนถึงกล้องดิจิตอลเอสแอลอาร์ครบไลน์ และโซลูชั่นการพิมพ์จากพรินเตอร์ของแคนนอน
ภายในแคนนอน คอนเซ็ปต์ สโตร์ แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ มุมกล้องดิจิตอลแบบคอมแพกต์ มุมกล้องดิจิตอลเอสแอลอาร์ที่มีเลนส์ต่างๆ ให้ลองสัมผัส ได้ทดลองถ่าย เรียกว่า เลนส์ใหญ่ๆ ตัวเป็นแสนบาท สามารถขอมาทดลองใช้งานได้ หลังจากถ่ายเสร็จ ก็จะได้สัมผัสกับโซลูชั่นการพิมพ์จากพรินเตอร์หลากหลายขนาด ตั้งแต่พรินเตอร์ที่พรินต์รูปขนาดโปสการ์ด จนถึงพรินเตอร์ที่พรินต์ภาพได้ใหญ่ถึง เอ3
นอกจากจะพบกับรูปแบบการนำเสนอสินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์การถ่ายภาพแบบครบวงจรแล้ว ผู้ที่เข้ามาใช้บริการภายในแบรนด์ชอปของแคนนอนแห่งนี้ยังสามารถสอบถามเกี่ยวกับสินค้า ร่วมทำกิจกรรม ร่วมเวิร์กชอปและทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของสินค้าประเภทต่างๆ บริการซ่อมบำรุง รวมถึงสินค้าที่เป็นซูเวเนียร์เฉพาะซับแบรนด์ที่หาไม่ได้จากดีลเลอร์ จะหาซื้อได้ที่คอนเซ็ปต์ สโตร์แห่งนี้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้าไปถึงกรุงเทพฯ เหมือนในอดีต
ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ก็มองหาช่องทางการสื่อสารเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ซึ่งวิธีที่ได้ผลก็คือ ผ่านทางแบรนด์ชอปของตัวเอง จึงได้เปิดแบรนด์ชอป 'Microsoft Experience Center' แห่งที่ 2 ที่ จ.เชียงใหม่ ขึ้นมา หลังจากประสบความสำเร็จอย่างดีจากที่ ไอทีมอลล์ ฟอร์จูน ในกรุงเทพฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยร่วมมือกับบริษัท เชียงใหม่ สยามทีวี จำกัด ดีลเลอร์รายใหญ่ที่ขายสินค้าไอทีในเชียงใหม่ที่ไม่สนับสนุนการใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่ไม่ถูกต้องลิขสิทธิ์
Microsoft Experience Center เป็นที่แรกที่ทาง 'ไมโครซอฟท์' ร่วมลงทุนกับ 'สยามทีวี' ในลักษณะที่ไมโครซอฟท์เรียกว่า Shop in Shop คือ ตั้งอยู่ภายในร้านค้าของคู่ค้าและบริหารจัดการโดยคู่ค้า ภายใต้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากไมโครซอฟท์
Microsoft Experience Center จะเป็นสถานที่สำหรับทดลองการใช้งานซอฟต์แวร์แท้ล่าสุดจากไมโครซอฟท์ โดยมีพนักงานที่คอยให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเองได้
คอมพิวเตอร์ที่นำเข้ามาขายภายในร้านของสยามทีวี มีเพียง 40% ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ที่เหลืออีก 60% เป็นเครื่องเปล่า ซึ่งทางร้านจะแนะนำให้ลูกค้าเลือกซื้อระบบปฏิบัติการที่ถูกลิขสิทธิ์ไปใช้
'ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเข้าใจและยอมซื้อซอฟต์แวร์ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ไปใช้ แต่มีลูกค้าราว 10% ที่ไม่ยอม อยากจะลงของเถื่อน ซึ่งทางร้านก็จะไม่ลงให้ และจะไม่ขายเครื่องที่ไม่มีซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ออกไปเด็ดขาด' ดร.พิทักษ์ ปลื้มพิทักษ์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เชียงใหม่ สยามทีวี จำกัด กล่าว
|
|
|
|
|