Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2528
ผู้นำไอบีเอ็มคนใหม่จอห์น เฟลโลส์ อาร์เคอร์ ผู้มีสมญานามว่า อ่อนนอก แข็งใน             
 


   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
Computer
จอห์น เฟลโลส์ อาเคอร์




เมื่อไม่นานมานี้นักศึกษาระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกลุ่มหนึ่งตั้งคำถามขึ้นมาว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไอบีเอ็มคนใดจะได้รับตำแหน่งประธานคนต่อไป ตอนแรกพวกเขาก็ไม่มั่นใจกันนัก แต่หลังจากที่ได้ชมภาพยนตร์ที่บันทึกเทปวิดีโอเกี่ยวกับบทสนทนาในหมู่ผู้ใหญ่ของไอบีเอ็มแล้ว พวกเขาก็ได้คำตอบกันโดยไม่ยากนัก เพราะมีบุรุษฉกรรจ์เพียงผู้เดียวที่โดดเด่นที่สุดในกลุ่มนั้น เขาผู้นั้นก็คือ จอห์น เฟลโลส์ อาเคอร์ อดีตนักศึกษาคณะบริหารอุตสาหกรรมจากมหาวิทยาลัยเยล ผู้มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เฉลียวฉลาดฉับไว และเป็นคนเปิดเผย

อาเคอร์ผู้สวมวิญญาณเซลส์แมนเต็มตัวดูเป็นคนเอาการเอางาน และจริงใจ เขามีความเข้าใจธุรกิจที่คุมอยู่อย่างถ่องแท้ ไอบีเอ็มเป็นบริษัทที่ขายตั้งแต่หมึกพิมพ์ดีดไปจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์แห่งนี้มีมูลค่ากะโดยคร่าวๆ แล้วราว 46,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และคนที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารได้นั้นจะต้องเป็นคนที่กร้าวแกร่งและมีความนุ่มนวลในการชักจูงใจผู้คนได้ดีพอ อาเคอร์จัดอยู่ในประเภทนี้ เพราะเขาเป็นคนที่มุ่งมั่นคงแต่มิใช่เป็นคนที่ดื้อด้าน เรียกร้องแต่ ไม่กดขี่ เขาสรุปตัวเองว่า เป็นผู้ที่ไม่เคยพอใจอะไรง่ายๆ สักที ไม่มีน้ำอดน้ำทนกับสิ่งต่างๆ รอบตัว มีท่าทียโสโอหังแม้ใจจริงไม่เป็นอย่างนั้นก็ตาม แต่ผู้ร่วมงานกลับมองเขาว่า เป็นผู้มีบุคลิกนุ่มนวลแต่เฉียบขาด เข้าทำนองพวกอ่อนนอกแข็งใน

หนุ่มใหญ่ผู้นี้ต้องการที่จะขยายงานของไอบีเอ็มให้เติบโตก้าวหน้าต่อไป โดยจะต้องลบภาพลักษณ์ของไอบีเอ็มที่เป็นเครื่องจักรกลที่ไม่มีน้ำใจออกไปให้ได้ ผู้คนที่ชื่นชมอาเคอร์บอกว่า หากจะต้องการใครสักคนที่สร้างภาพลักษณ์ให้ไอบีเอ็มดูเป็นมิตร แต่ยังคงความเป็นผู้นำล่ะก็ ก็มีเพียงอาเคอร์เท่านั้นที่จะทำได้ ผู้ที่เคยร่วมงานกับเขาบอกว่า เขาเคยเข้าประชุมถกเถียงกับอาเคอร์ แต่ไม่อาจเถียงได้ชนะ แต่เมื่อเลิกประชุมแล้วก็ยังเดินออกมาอย่างยิ้มแย้มแจ่มใสได้

อาเคอร์เริ่มงานเป็นผู้นำร่องเรือบรรทุกเครื่องบินของราชนาวีสหรัฐฯ หลังจากที่สำเร็จการศึกษา จากนั้นก็ได้เข้ามาทำงานให้กับบริษัทไอบีเอ็ม โดยเริ่มไต่ตั้งแต่เป็นเซลส์แมนระดับต้นๆ จนไต่เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการสาขาบอสตัน จนกระทั่งปี 1971 ก็ได้รับตำแหน่งสำคัญ คือ ได้รับเลือกให้เป็นผู้ช่วยรองประธานคนก่อนคือ แฟรงค์ ที คารีย์ ซึ่งงานนี้จะเกี่ยวกับการเขียนสุนทรพจน์ การจัดการประชุม และโดยธรรมเนียมของไอบีเอ็มแล้ว เป็นขั้นพื้นฐานของผู้นำระดับสูงสุด ด้วยความที่เป็นผู้รอบรู้นับตั้งแต่เรื่องของเกมกีฬาไปจนถึงประวัติศาสตร์ของประเทศอเมริกา เขาจึงเป็นผู้ที่มีความสามารถคุยกับผู้คนรอบด้านได้ ความช่ำชองในงานทำให้เขาได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นประธานของบริษัทเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ 1983 สิ่งที่ทำให้เขาโดดเด่นจากผู้บริหารรายอื่นๆ คือ ความสามารถพิเศษในการบริหารธุรกิจในด้านที่ไม่คุ้นเคย เช่น การพัฒนาสินค้า อาเคอร์มักจะให้อำนาจการตัดสินใจแก่ผู้บริหารระดับรองๆ โดยเปิดโอกาสให้มากเพียงพอจนแทบจะไม่รู้สึกว่ามีเขาแทรกกลางอยู่

เขาได้ยกเรื่องของงานออกจากครอบครัวอย่างเด็ดขาด มีชีวิตอยู่กับภรรยาและลูกๆ อีก 3 คนที่ไปเข้าโรงเรียนในโรงเรียนไกลบ้านออกไป ดังนั้นเขาจึงใช้เวลาว่างไปดูละครหรือบัลเลต์กับภรรยา และหลงใหลกีฬาหลายอย่าง จนถึงขั้นสะสมรูปปั้นทองเหลืองของนักกีฬาบาสเกตบอลชื่อดัง เจอร์รีย์ เวสต์ อาเคอร์มีความเข้าใจว่า ผู้คนรอบด้านรวมไปถึงตัวเขาเองด้วย ได้กำหนดระดับขีดขั้นความสามารถให้กับตัวเขาสูงมาก และการบริหารไอบีเอ็มให้ได้ก็ต้องใช้ความสามารถอย่างยิ่ง คุณความดีอย่างหนึ่งของเขาคือ ไม่ทอดทิ้งผู้ร่วมงาน เมื่อเขาได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไปก็ได้เรียกผู้ร่วมงานเข้ามาบอกว่า ใครจะเป็นผู้ที่มาทำหน้าที่แทนเขา

เขามีความตั้งใจจริงที่จะแสดงให้โลกภายนอกรู้ว่า ไอบีเอ็ม ไม่ใช่บริษัทยึดมั่นเหมือนแท่นศิลา พยายามปรับปรุงภาพลักษณ์เข้ากับผู้อื่นได้ แต่ในขณะเดียวกันเขาก็มีความตั้งใจที่จะเห็นบริษัทนี้เจริญเติบโตในทุกๆ ภาคจนถึงระดับล้านล้านเหรียญให้ได้ หลายคนเชื่อว่าเขาจะต้องทำได้สำเร็จแน่ นายจอห์น เฟลโลส์ อาเคอร์ บุรุษผู้มีสมญาว่า อ่อนนอก แข็งใน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us