Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2553
“ไทยแลนด์ บูติก อวอร์ดส” รางวัลเล็กๆ แด่โรงแรมเล็กๆ             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ โครงการประกวด Thailand Boutique Awards

   
search resources

บัตรกรุงไทย, บมจ.
Boutique hotels




“เราแข่งกันประกวด ‘ของใหญ่’ มาตลอด รางวัลนี้เป็นการประกวด ‘ของเล็ก’ แต่แข่งขันกันทางความคิดและสร้างสรรค์” คำพูดติดตลกของผู้บริหารเคทีซี แม้จะดูสองแง่สองง่าม แต่สะท้อนวิธีคิดบางอย่างที่คนไทยต้องลองกลับมามองจุดแข็งในตลาดท่องเที่ยวของเราเสียใหม่

...ปัจจุบัน ไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ได้เปลี่ยนแปลงไป ความคาดหวังจากการท่องเที่ยวไม่ใช่แค่ความเพลิดเพลินในการไปเยี่ยมชมตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ซื้อของ หรือรับประทานอาหารอร่อยๆ เท่านั้น แต่เป็น “ประสบการณ์” การเดินทางที่แตกต่าง ดังนั้น ที่พักของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ (ที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ) จึงไม่ใช่เป็นเพียงสถานที่หลับนอน แต่จะเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์การเดินทาง...

ข้อความข้างต้นปรากฏในโฮมเพจของเว็บไซต์ www.thailandboutique awards.com

จริงๆ แล้ว “โรงแรมบูติก” น่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทยมาไม่ต่ำกว่า 10 ปีและกระแสนิยมโรงแรมบูติกของนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ในประเทศไทยก็มีมานานหลายปีแล้วเช่นกัน

ทั้งนี้เพราะโรงแรมบูติกส่วนใหญ่จะมีความชัดเจนในแง่ของเอกลักษณ์และคอนเซ็ปต์ โดยเฉพาะความเชื่อมโยงกับคุณค่าของโลเกชั่นอันเป็นธรรมชาติ ประวัติ ศาสตร์ และวัฒนธรรมที่แวดล้อม อันถือเป็น “จุดแข็ง” ของประเทศไทย และเป็น “แม่เหล็ก” ที่แท้จริงที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวระดับไฮเอ็นด์ได้เป็นอย่างดี

หากมีการสำรวจจริงๆ ทั่วประเทศไทยมีโรงแรมบูติกขนาดเล็กที่มีคุณภาพและมีเอกลักษณ์โดดเด่นถูกใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อาจถึงหลักหมื่นหลักแสนก็ได้

น่าเสียดายที่ ณ วันนี้ แม้แต่ผู้ที่ควรมีส่วนรับผิดชอบโดยตรงอย่าง “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)” ยังไม่เคยมีการสำรวจอย่างจริงจัง ทั้งที่ ททท.บัญญัติให้ “ความเทรนดี้” ถือเป็น 1 ในหลากหลายสินค้าเพื่อการท่องเที่ยวที่ ททท.พยายาม ประชาสัมพันธ์ไปทั่วโลก

โรงแรมบูติกไทยส่วนใหญ่มักจะเป็นธุรกิจขนาดกลางและเล็ก โดยมีเจ้าของเป็นผู้บริหารดูแลเอง จึงมักขาดประสบการณ์ในธุรกิจท่องเที่ยวและขาดความชำนาญด้านการตลาด เกือบทุกแห่งมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนและช่องทางการตลาดที่ไม่อาจสู้ “พลังทุน” ของผู้ประกอบการรายใหญ่และเชนต่างชาติได้

ที่ผ่านๆ มา โรงแรมบูติกไทยจึงแทบไม่มีโอกาสได้คิดถึงเวทีตลาดโลก เพราะแค่จะรักษาตัวรอดท่ามกลางการแข่งขันในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเมืองไทยยังทำยาก โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์การเมืองที่ไม่ดีเช่น 2-3 ปีนี้

ท่ามกลางสภาพเลวร้ายของธุรกิจโรงแรม ณ ปัจจุบัน อย่างน้อยก็ยังมีข่าวดีจากนโยบายของรัฐบาลเรื่องการนำค่าที่พักโรงแรมในประเทศไทยมาลดหย่อนภาษีได้ และข่าวการเปิดตัวเวทีประกวด โรงแรมบูติกขนาดเล็ก หรือ “Thailand Boutique Awards” ซึ่งมีเจ้าภาพสำคัญ 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ททท. กรุงเทพธุรกิจ มาสเตอร์การ์ด และเคทีซี

อันที่จริง นี่อาจไม่ใช่รางวัลเพื่อโรงแรมบูติกรางวัลแรก เพราะในเวที Thailand Tourism Awards ที่จัดโดย ททท.ก็มีรางวัลสำหรับโรงแรมบูติก “ดีเด่น” อยู่แล้ว

ทว่า แง่งามของเวที Thailand Boutique Awards ที่แตกต่างจากเวทีของ ททท. อยู่ที่ความพยายามเน้นการเข้าถึงโรงแรมบูติกขนาดเล็ก ที่มีจำนวนห้องเพียง 4-50 ห้องเท่านั้น ซึ่งหมายถึงการมุ่งเป้าหมายไปยังผู้ประกอบการขนาดเล็กเป็นหลัก

“รางวัลนี้ถือเป็นความริเริ่มในการจัดประกวดโรงแรมบูติกขนาดเล็กครั้งแรกของประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการคือ การช่วยเหลือและส่งเสริมโรงแรมบูติกขนาดเล็กทั่วประเทศที่อาจได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองและสภาวะเศรษฐกิจ ในปัจจุบันให้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและเป็นที่รู้จักของกลุ่มผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น” สถาพร สิริสิงห ในฐานะตัวแทนจากเคทีซี เกริ่นเปิดตัวรางวัล

เวทีนี้มีรางวัลรวมทั้งสิ้น 61 รางวัล แบ่งเป็นรางวัลยอดเยี่ยมและดีเด่นใน 6 ประเภท ได้แก่ 1. ประเภทสถาปัตยกรรมและการออกแบบ 2. ประเภทการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมที่มีอยู่ 3. ประเภทอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรม 5. ประเภทส่งเสริมประสบการณ์ชีวิต (หรือโรงแรมที่มีธีม) และ 6. ประเภท ท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งมีเพียงรางวัลยอดเยี่ยม

ในแต่ละประเภทจะยังแบ่งเป็นรางวัลสำหรับโรงแรมในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เนื่องจากผู้จัดเห็นว่าทุกภูมิภาค มีเอกลักษณ์ความงามที่แตกต่างกัน โดยไม่อาจนำมาเปรียบกันได้ว่าเอกลักษณ์แบบไหนโดดเด่นกว่ากัน

โดยรางวัลพิเศษและสูงสุดของเวทีนี้คือ “Excellence Award” สำหรับสุดยอดโรงแรมบูติกที่โดดเด่นครบในทุกองค์รวม ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ศิลปะและวัฒนธรรม สวยงามตามธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีการบริหารจัดการที่ลงตัว

โรงแรมที่สนใจสามารถสมัครผ่านทางเว็บไซต์โครงการ www.thailandboutique awards.com ซึ่งเว็บนี้ยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวแนะนำโรงแรมบูติกที่ตนประทับใจเข้ามาได้ด้วย โดยเริ่มส่งชื่อเข้าประกวดได้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม และจะประกาศผลผู้เข้า รอบ 31 สิงหาคม 2553

ต่อจากนั้นจะมีผู้มากประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบล็อกเกอร์จากเว็บเนชั่นไปเยี่ยมชมและสำรวจรอบแรก ก่อนที่ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากสาขาอาชีพจะร่วมกันพิจารณาคัดเลือกโรงแรมที่เหมาะกับรางวัลแต่ละประเภท และประกาศผลในวันที่ 17 พฤศจิกายน ศกนี้

“เคทีซีหวังว่าการประกวดครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้โรงแรมขนาดเล็กปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพของตนเอง รวมถึงความแข็งแกร่งของช่องทางการตลาดและประชาสัมพันธ์ของเคทีซีและพันธมิตรจะช่วยโรงแรมขนาดเล็กเหล่านี้ให้ยืนหยัดในอุตสาหกรรมได้ เพราะที่ผ่านมาคนกลุ่มนี้ยังไม่มีใครดูแลเขามาก่อน”

รางวัลอาจเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยสำหรับโรงแรมบูติกที่ได้รับรางวัล สิ่งที่น่าจะมีความหมายและมีค่ามากกว่า น่าจะเป็นโอกาสในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โรงแรมผ่านช่องทางของเคทีซีและพันธมิตรทั้ง 3 ราย ตลอดจนโอกาสในการขายที่จะเพิ่มขึ้นผ่านการทำตลาด และโปรโมชั่นร่วมกับเคทีซี

แม้ดูเหมือนจะไม่ใช่หน้าที่ของเคซีทีในการเข้ามาเป็นแกนนำจัดตั้งรางวัลนี้ แต่หากย้อนกลับไปมองความพยายามสร้างจุดยืนในการเป็นผู้นำเจาะตลาดท่องเที่ยวของบริษัทบัตรเครดิตของคนไทย ก็จะเห็นชัดว่างานนี้ก็คืออีกก้าวบนโรดแมปดังกล่าว

เริ่มจากการเป็นผู้ออกบัตรคนไทยรายแรกที่มีฝ่ายบริการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ โดยมีสถาพรเข้ามาเป็นผู้บริหารระดับสูงที่ดูด้านนี้โดยเฉพาะในตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ฝ่ายการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและสันทนาการ ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีที่แล้ว

มาถึงยุคออนไลน์ เคทีซีก็ทุ่มเทสร้างเว็บไซต์ “Ktc World” แยกออกมาเป็นเว็บที่ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลเรื่องการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ นับตั้งแต่ 4 ปีก่อนจนวันนี้ก็มีสมาชิกลงทะเบียนในเว็บนี้กว่า 4 หมื่น คน

ไม่เพียงเป็นชุมชนออนไลน์สำหรับผู้รักการท่องเที่ยว เว็บ Ktc World ยังสามารถจัดการเรื่องบุ๊กกิ้งได้ โดยเกือบทุกแพ็กเกจต้องตัดผ่านบัตรเคทีซีเท่านั้น และยังมีแผนก “Ktc Travel Service” คอยให้บริการด้านข้อมูลและการใช้จ่ายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ

อีกกลยุทธ์ที่ตอกย้ำภาพลักษณ์บัตรเครดิตเพื่อ การท่องเที่ยวของเคทีซีได้ดี คือการเป็นผู้อุปถัมภ์หลัก ในงานเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก หรือ “TTAA Travel Fair” งานท่องเที่ยวใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีวอลุ่มการใช้จ่ายสูงถึง 274 ล้านบาท (เพิ่มจากปีก่อนเกือบ 60 ล้านบาท)

นอกจากนี้ เคทีซียังนับเป็นผู้ออกบัตรรายแรกๆ ซึ่งออกบัตรเครดิตร่วมกับแบรนด์อื่น (Co-brand) ที่มีธุรกิจแวดล้อมการท่องเที่ยวแทบรอบด้าน เช่น บัตรเครดิตร่วมกับการบินไทยและบางกอกแอร์เวย์ส บัตรเครดิตร่วมกับโรงแรมเบสต์เวสต์เทิร์น และบัตรเครดิตร่วมกับ Big Camera เป็นต้น

“จุดแข็งของเราคือเราเจาะเรื่องท่องเที่ยวก่อนบัตรเครดิตไทยยี่ห้ออื่น และเรามียอดการใช้จ่ายจากเรื่องท่องเที่ยวในอัตราที่สูงมากถึง 10% ถ้าเทียบกับคนอื่น ผมว่าเรากินขาด” สถาพรภูมิใจเสนอ

น่าสังเกตว่า ผู้รับผลประโยชน์จากเวทีนี้คงไม่ได้มีเพียงโรงแรมขนาดเล็กและภาคการท่องเที่ยวของไทย แต่เคทีซีก็ได้รับประโยชน์ไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องของการตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นบัตรเครดิตที่เป็นผู้นำในตลาดเรื่องการท่องเที่ยว

นอกจากนี้ จุดเด่นทางด้านความคิดสร้างสรรค์ของโรงแรมบูติกยังจะเป็นตัวเชื่อมโยง และตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำบัตรเครดิตที่มีความคิดสร้างสรรค์ของเคทีซี ซึ่งเคยโดดเด่นมากเมื่อ 3-4 ปีก่อน

เมื่อผลการประกวดออกมา สถาพรยังมองว่าทั้งเคทีซีและกรุงเทพธุรกิจสามารถ “ต่อยอด” ได้ทันที โดยอาจร่วมกันทำหนังสือรวมเล่ม และแน่นอนว่าเคทีซีย่อมใช้โอกาสนี้ออกโปรโมชั่นพิเศษสุดที่ไม่อาจหาได้จากบัตรเครดิตอื่น ร่วมกับโรงแรมที่ได้รับรางวัลเหล่านี้ มากกว่านั้น เคทีซียังอาจรับเป็นเจ้าภาพในการทำเว็บเฉพาะสำหรับการจองห้องพักโรงแรม เหล่านี้โดยใช้ความชำนาญจากที่ได้ทำอยู่แล้ว และใช้ Ktc touch เป็นช่องทางสำรองห้องพักไปด้วยก็ยังได้ รวมถึงการจัดเวิร์กชอปด้านการจัดการและด้านการตลาดสำหรับโรงแรมเหล่านี้

จากกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่การประกวดซึ่งนับว่าเป็นขั้นตอนสรรหาสมาชิก (โรงแรมคุณภาพ) มาอยู่ใน “มือ” จนถึงการหา “เครื่องมือ” และช่องทางต่างๆ เพื่อทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ เส้นทางนี้อาจเทียบได้กับธุรกิจให้บริการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์แก่กลุ่มโรงแรมขนาดเล็กที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นตามจำนวนโรงแรมบูติก โดยรายได้หลักมาจากค่าธรรมเนียมสมาชิกและค่าบริการต่างๆ

ทั้งนี้ อาจเร็วเกินไปที่จะถามถึงความเป็นไปได้ในการเกิดขึ้นของหน่วยธุรกิจใหม่ของเคทีซี ณ วันแรกของการเปิดตัวเวทีประกวดรางวัลนี้ แต่เมื่อผู้จัดการ 360º สอบถามถึงความหมายทางธุรกิจของเคทีซีที่ซ่อนอยู่ในการจัดประกวดนี้

สถาพรตอบเพียงว่า “ด้วยเหตุนี้เราถึงต้องมีผู้จัดการที่มีหน้าที่เฉพาะในการดูแลโครงการนี้ จ้างมาเพื่อทำตรงนี้อย่างเดียวเลย”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us