Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2553
Institutional Investor, the Watcher             
โดย ดร.นิรัญชา ลิ่วเฉลิมวงศ์
 


   
search resources

Knowledge and Theory




ช่วงม็อบที่ผ่านมาท่านผู้อ่านหลายๆ คนอาจจะมีโอกาสสัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่ เช่น ได้หยุดงานยาวโดยไม่ต้องลา โดนตัดไฟ ส่วนประสบการณ์ใหม่ของผู้เขียน คืออยู่บ้านและจมอยู่หน้าทีวีแบบมาราธอนยาวนานที่สุดในชีวิต เนื่องจากออกไปไหนก็ไม่ค่อยสะดวกและอาจไม่ปลอดภัย ส่วนมากนั่งติดตามสถานการณ์ทางทีวี อันที่จริง ผู้เขียนก็ดูบ้าง ไม่ดูบ้าง แต่ก็เปิดทิ้งไว้ไม่ให้ตกข่าว

ฟังผ่านๆ หูไปหลายวันเข้าก็เริ่มรู้สึก ว่าได้ยินคำว่า สถาบัน สถาบัน สถาบัน บ่อยมาก อ๊ะๆ อย่าเพิ่งคิดไปไกลค่ะ งานนี้ไม่ได้ มาแสดงความคิดเห็นเรื่องการเมือง แต่พอ ได้ยินคำว่าสถาบันบ่อยเข้า เลยทำให้นึกถึงนักลงทุนสถาบันขึ้นมา เพราะเกี่ยวข้องกับเรื่อง corporate governance เต็มๆ

ในทางทฤษฎี นักลงทุนสถาบันมีความสำคัญมากในฐานะกลไกของการควบคุมดูแลกิจการ เนื่องจากนักลงทุนรายย่อยไม่ค่อยมีแรงจูงใจในการสอดส่องความประพฤติของผู้บริหาร ส่วนมากนักลงทุนรายย่อยมีงานประจำทำกันด้วย วันๆ แค่ทำงานประจำก็ตัวเป็นเกลียว เจียดเงินมาลงทุนซื้อหุ้นก็ห่วงหน้าพะวงหลัง แค่ต้องนั่งหมกมุ่นคอยดูราคาเก็งกำไรเตรียมซื้อขายทั้งวัน เจ้านายก็แทบจะไล่ออก ซื้อครั้งหนึ่งก็ไม่ได้มากมายอะไร ถ้าจะต้องทำมากกว่านี้ ไปบวชชีดีกว่า (เพราะคงโดนไล่ออกจริงๆ) ก็หวังว่าเพื่อนๆ นักลงทุนคนอื่นคงจะว่างทำหน้าที่นี้แทน ท้ายที่สุดทุกๆ คนก็คิดแบบเดียวกันนี้ คือหวังว่านักลงทุนคนอื่นจะสละเวลามาสอดส่องแทนตนเอง สุดท้ายก็เลยไม่มีใครทำหน้าที่นี้ ลักษณะแบบนี้ในตำราเรียกกันว่าปัญหา free rider ดังนั้นจะหวังให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเป็นกลไกหลักสำหรับ corporate governance คงไม่ค่อยไหว

เมื่อนักลงทุนรายย่อยปล่อยไปตามบุญตามกรรม ก็ตกเป็นหน้าที่กลไกตลาดจัดการ บริษัทไหนผู้บริหารดูไม่รุ่ง เดี๋ยวก็โดนเทกโอเวอร์เองตามธรรมชาติ แต่ในความเป็นจริงผู้บริหารมีเทคนิคมากมายที่จะป้องกันการโดน hostile takeover เช่นเทคนิค poison pill ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทำให้ต้นทุนของฝ่ายที่ต้องการมาซื้อกิจการ หรือ acquirer แพงขึ้น อย่างการออกหุ้นเพิ่มทุนโดยให้ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อในราคาถูกเพื่อ dilute หุ้นที่ acquirer ถืออยู่ และจะได้ตามเก็บตามซื้อยากขึ้นและใช้เงินมากขึ้นจนถอดใจไปเอง

ยิ่งเทกโอเวอร์ในประเทศไทยยิ่งไม่ต้องพูดถึง เนื่องจากส่วนมากผู้ถือหุ้นใหญ่กับ ผู้บริหารเป็นกลุ่มเดียวกัน และผู้ถือหุ้นใหญ่ก็ใหญ่จริง คือถือหุ้นอยู่เยอะจริงๆ มีสิทธิ์มีเสียงในการคัดค้านได้สบายๆ ดังนั้นจะรอกลไกตลาดทำหน้าที่สอดส่องนั้นก็ค่อนข้างจะยากสักหน่อย อาจจะช่วยได้บ้างในแง่ที่ว่า การถูกคุกคามจากเทกโอเวอร์ เป็นการส่งสัญญาณให้กับตลาดว่า acquirer เชื่อว่าผู้บริหารกิจการนั้นๆ ไม่มีประสิทธิภาพ

Institutional investor หรือนักลงทุนสถาบัน จึงน่าจะเป็นตัวช่วยสุดท้ายที่ทุกคนฝากความหวังเอาไว้ เนื่องจากลงทุนเป็นอาชีพหลัก เป็นตัวแทนนักลงทุน มีหน้าที่หลักในการดูแล portfolio อยู่แล้ว ดังนั้นไม่ต้องแอบเจ้านายมาซื้อขายหุ้น จึงน่าจะเป็นหน่วยที่คอยทำหน้าที่นี้ได้ดีที่สุด

ในประเทศอย่างอังกฤษ อเมริกา และแคนาดา นักลงทุนสถาบันมีบทบาทมากในตลาดทุน เนื่องจากมีสัดส่วนการลงทุนมากกว่าครึ่งของมูลค่าตลาด นักลงทุนสถาบันที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายก็อย่างเช่น CalPERS ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของแคลิฟอร์เนีย เป็นผู้ลงทุน สถาบันที่เรียกว่าเป็น activist ตัวยง มีอิทธิพลต่อตลาดมาก มีการแสดงความเห็น ออกสิทธิ์ออกเสียงตลอดเวลา ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ในการเป็นกลไกควบคุมดูแลกิจการ

สำหรับในประเทศไทย ผู้ถือหุ้นสถาบันหลักๆ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ และกองทุนรวมต่างๆ โดยรวมแล้วมีสัดส่วนการลงทุนต่ำมาก เทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย อย่างมาเลเซีย หรือฮ่องกง โดยเฉลี่ยประเทศเพื่อนๆ แถวบ้านเรา จะมีสัดส่วนผู้ถือหุ้น สถาบันอยู่ที่ประมาณ 20% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด แต่ของเราอยู่ที่ประมาณ 7% เท่านั้น ถึงแม้จะส่งเสริมกันแทบแย่ก็ไม่เป็นผลเท่าไรนัก

ทั้งตลาดหลักทรัพย์และ ก.ล.ต.ของเรา มีความพยายามที่จะส่งเสริมและสนับสนุนนักลงทุนสถาบันให้มีบทบาทมากขึ้น โดยเน้นให้ความรู้นักลงทุน รายย่อยว่าการลงทุนกับสถาบันดีอย่างไร สนับสนุนให้นักลงทุนสถาบันนำเสนอกองทุน แบบใหม่ๆ อย่างกองทุนประเภท ETF อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนมากก็ยังอยู่ในมือของนักลงทุนรายย่อย อยู่ดี ซึ่งเป็นเรื่องน่าคิดว่าทำไมนักลงทุนถึงนิยมลงทุนเองมากกว่าลงทุนผ่านกองทุน

โดยส่วนตัว ผู้เขียนว่าการส่งเสริมโดยการให้ความรู้แก่นักลงทุนรายย่อย อาจจะไม่ค่อยสัมฤทธิผลมากนัก เพราะดูๆ ไปแล้ว การที่นักลงทุนรายย่อยในเมืองไทยไม่ค่อยสนใจลงทุนผ่านกองทุน เป็นไปได้ว่านักลงทุนรายย่อยมีความรู้เรื่องการลงทุนดีอยู่แล้ว มั่นใจในการลงทุนของตนเอง ไม่จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญของผู้จัดการกองทุน แถมนักลงทุนรายย่อยบางท่านเน้นเก็งกำไร กล้าได้กล้าเสีย กล้าเสี่ยง แต่ผู้จัด การกองทุนคงทำแบบนั้นไม่ได้ นโยบายการลงทุนของกองทุนจึงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่สะใจรายย่อย จึงไม่ค่อยได้รับความนิยม

นอกจากนั้นยังเป็นไปได้ว่า บริษัทที่ free float จริงจังในตลาดมีไม่มาก หุ้นที่มี liquidity มีน้อย ดังนั้นหุ้นที่คนสนใจซื้อขายมีไม่กี่ตัว ทำให้การตัดสินใจลงทุนไม่ซับซ้อน นักลงทุนรายย่อยจึงรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งกองทุนก็ได้

สรุปว่าสำหรับตลาดฯ ของไทยนั้นหวังพึ่งนักลงทุนสถาบัน ในแง่เป็นกลไก corporate governance ก็อาจจะไม่ค่อยมีประสิทธิผลเท่ากับของประเทศอื่นๆ แต่มองในแง่ดี มีนักลงทุนรายย่อยเยอะๆ ก็ดีกว่าไม่มีใครมาลงทุนเลย นักลงทุนรายย่อยยุคใหม่ที่สนใจ governance ก็มีมาก คอยดูแลปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง ดูอย่างช่วงวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ตลาดหุ้นไทยก็ผ่านมาได้อย่างสวยงาม ก็ต้องขอบคุณนักลงทุนรายย่อย ในขณะที่นักลงทุนสถาบันและต่างชาติแตกตื่น นักลงทุนรายย่อยยังช่วยพยุงตลาดไว้ให้ผ่านมาได้

ส่วนเรื่อง governance แบบไทยๆ นั้น ในเมื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่เขามีส่วนได้เสียมาก ก็ลองไว้ใจเขาบ้าง ส่วนกลไกอื่นๆ นั้น อาจจะต้องพึ่งกฎเกณฑ์ กฎหมาย กลไกโน่นนิด นี่หน่อยก็น่าจะพอไหว positive thinking บ้างอะไรบ้าง แบบที่กำลัง in trend จะได้ไม่ตกยุคนะคะท่านผู้อ่าน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us