Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2553
“เวียดนาม” ในบทบาทประตูสู่ทะเลของ “หยุนหนัน”             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

International
Greater Mekong Subregion




ที่ผ่านมาคนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการเปิดประตูสู่ทะเลให้กับหยุนหนัน มณฑลทางตะวันตกของจีน โดยใช้เส้นทาง R3a ผ่านลาว และเส้นทาง R3b ผ่านพม่า โดยมีท่าเรือแหลมฉบังของไทยเป็นปลายทาง แต่แท้จริงแล้ว เส้นทางขนส่งสินค้าสู่ชายฝั่งที่สั้นที่สุดของหยุนหนัน อยู่ในภาคเหนือของเวียดนามและเส้นทางดังกล่าวกำลังได้รับการปรับปรุง

ขณะที่โครงข่ายคมนาคมภายใต้กรอบความร่วมมือของ 6 ประเทศในอนุ-ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) นั้น เส้นทางออกสู่ทะเลของมณฑลหยุนหนัน สาธารณ-รัฐประชาชนจีน ถูกให้น้ำหนักไปที่เส้นทางสาย R3a ผ่านลาวและสาย R3b ผ่านพม่า ทั้ง 2 เส้นทางมุ่งหน้าลงใต้เข้าสู่ประเทศไทย โดยมีปลายทางออกสู่ทะเลได้ที่ท่าเรือแหลมฉบัง

จีนเรียกเส้นทางสายนี้ว่า “คุน-มั่น กงลู่” หรือทางด่วนสายคุนหมิง-กรุงเทพฯ ซึ่งมีระยะทางไกลประมาณ 1,000 กว่ากิโลเมตร แต่แท้จริงแล้วทางออกสู่ทะเลที่สั้นที่สุดของมณฑลหยุนหนัน ได้แก่ เส้นทางสายคุนหมิง-หล่าวกาย-ไฮฟอง-กว๋างนิญ โดยสามารถออกสู่ทะเลได้ที่ท่าเรือไฮฟองของเวียดนาม

หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมการค้าของเวียดนามรายงานว่า เส้นทางดังกล่าวตั้งอยู่ในแกนเส้นทางขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในชุดโครงการพัฒนา “สองระเบียงและหนึ่งเข็มขัด”

จังหวัดหล่าวกายเป็นชุมทางสำหรับการติดต่อค้าขายระหว่างเวียดนาม-จีนที่เขต เศรษฐกิจช่องทางชายแดน เพื่อใช้ประโยชน์ และเดินหน้าระเบียงเศรษฐกิจ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคม เป็นปัญหา สำคัญและเร่งด่วนที่สุดปัญหาหนึ่งในกระบวนการเชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างสองชาติ

ที่ตั้ง

เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจคุนหมิง-หล่าวกาย-ฮานอย-ไฮฟอง-กว๋างนิญ เป็นภาคส่วนหนึ่งที่สำคัญในเขตการค้าเสรีจีน-ASEAN อาศัยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เกื้อกูล และโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมที่มีอยู่ ระเบียงนี้มีบทบาทพิเศษในการเชื่อมต่อจังหวัดต่างๆ ทางภาคตะวันตกของจีนกับประเทศ ASEAN ตามหนทางที่สั้นที่สุดและใช้ประโยชน์จากท่าเรือเดินทะเลไฮฟอง

ปัจจุบันการบริการขนส่งได้เชื่อมต่อจากไฮฟองถึงสุดทางที่คุนหมิง ปริมาณ สินค้าเกิน 70% ที่แลกเปลี่ยนบนระเบียงเศรษฐกิจนี้ได้มีการขนส่งโดยทางรถไฟ ส่วนที่เหลือเป็นทางรถยนต์

จังหวัดหล่าวกายมีทางหลวงแห่งชาติ 5 เส้นทางวิ่งผ่านพื้นที่จังหวัดด้วยโครงข่ายคมนาคมที่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางและค่อนข้างเสมอกันบนทุกอำเภอและเมือง รองรับการคมนาคมอย่างสะดวก ปัจจุบันทางหลวงแห่งชาติสาย 70 (หล่าวกาย-เอียนบ๊าย-ฮานอย) กำลังได้รับยกระดับเป็นถนนมาตรฐาน 4 ช่องจราจร ความร่วมมือขนส่งทางบกระหว่างจังหวัดหล่าวกายและเมืองเฮโขว (หรือห่าเขิว) ได้ เกื้อกูลอย่างสำคัญด้วยนโยบายอนุญาตให้รถยนต์บรรทุกสินค้าของเวียดนามวิ่งลึกเข้า ไปภายในจีนถึง 250 กิโลเมตร การเปิดช่องทางก็นานถึงเวลา 22.00 น.ของทุกวัน จังหวัดหล่าวกายเสนอให้กระทรวงคมนาคมขนส่งจีนอนุญาตให้รถเวียดนามได้เดินทางต่อไปและรถบรรทุกสินค้าสด-ดิบเดินทางตรงไปถึงนครคุนหมิง (เมืองเอกของมณฑลหยุนหนัน) ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดหล่าวกาย 460 กม. หากเป็นเช่นนั้น รถสินค้าเวียดนามสามารถผ่านช่องทางโดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้าและลดค่าใช้จ่ายได้สูงสุด

นอกจากนั้นยังมีเส้นทางรถไฟขนส่งระหว่างประเทศ ไฮฟอง-ฮานอย-หล่าวกาย-เฮโขว (หรือห่าเขิว)-คุนหมิง ขนส่งสินค้าและผู้โดยสารนานาชาติและภายในประเทศ ปัจจุบันประเมินว่ารถไฟสายนี้มีประสิทธิภาพทางด้านการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร อันดับที่ 2 ของประเทศต่อจากสายฮานอย-นครโฮจิมินห์ แต่รถไฟสายนี้กำลังบรรทุกมากเกินไปด้วยการขนส่งน้ำหนักเกือบ 2 เท่าของขีดความสามารถที่ได้รับอนุญาต แต่นี่ก็เป็นทางรถไฟผ่านแดนสายเดียวที่เชื่อมต่อกับหยุนหนัน

เปิดเส้นทางจราจรทางอากาศ

เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการคมนาคมโดยภาพรวม และบรรลุถึงการใช้ ประโยชน์หลากหลายในระเบียงเศรษฐกิจ รัฐบาลเวียดนามอนุญาตให้มีการวิจัยเพื่อ ก่อสร้างสนามบินหล่าวกาย เพื่อสร้างเส้นทางบินคุนหมิง-หล่าวกาย-ฮานอยในปี 2555

ตามแผนสำหรับระบบทางด่วนถึงปี 2558 และก่อนปี 2563 ทางด่วนสายโหน่ยบ่าย-หะลอง-ม้องก๊าย กับจุดสิ้นสุดคือ สะพานบั๊กเลวินที่ 2 เชื่อมต่อกับจีน ก็เป็นส่วนหนึ่งของถนนสายผ่านตลอดเอเชียที่น่าสนใจคือทางด่วนฮานอย-ไฮฟองก็จะเชื่อมต่อกับทางด่วนสายโหน่ยบ่าย-หะลอง

ดังนั้น การคมนาคมเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (กว๋างนิญ-ฮานอย-ไฮฟอง) จะทำให้สมบูรณ์เพื่อเชื่อมต่อเข้าเขตเศรษฐกิจภาคเหนือ เร่งให้เขตนี้เติบโตเข้มแข็ง ตามโครงการลงทุนต่างๆ เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่ชุมทางหล่าวกาย จะเป็นความจำเป็นที่สุด การที่บริษัทหุ้นส่วนลงทุนการค้าระหว่างประเทศอินโดจีน (Investcom) กำลังดำเนินแผนการลงทุนมุ่งปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานให้จังหวัดหล่าวกาย อาจกล่าวได้ว่าเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง

Investcom เป็นบริษัทผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติรายใหญ่ของเวียดนาม มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงฮานอย ในปี 2552 Investcom สามารถส่งออกยางธรรมชาติได้ 3,600 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Investcom ได้ลงทุนเขตคลังสินค้า container (Indochina ICD) แห่งหนึ่งใกล้เขตการค้าเสรีกิมถ่าญ ที่ได้รับวางผังเป็นเขตการค้าเสรีถ่วงดุลกับเขตการค้าเสรี บั๊กเซินของจีน ตามข้อกำหนด คนเวียดนาม และคนจีนไปยังเขตการค้า 2 แห่งนี้ไม่ต้องมี visa และนำสินค้ายกเว้นภาษีติดตัวไปได้มูลค่า 500,000-1,000,000 โด่ง (ประมาณ 1,000-2,000 บาท) การนี้จะดึงดูดคนจีนมากมายมายังเวียดนาม

บุ่ย ก๊วก หว่าน ประธานกรรมการบริหารของ Investcom ประเมินว่า “ในอนาคต เมื่อโครงการทางด่วนฮานอย-หล่าวกายมีการเชื่อมต่อกับระบบถนนภายในจีนเดินทางผ่านเขตการค้ากิมถ่าญแล้วเสร็จ การก่อสร้างเขตศูนย์กลางแห่งหนึ่งที่มีความสามารถติดต่อซื้อขายผลิตภัณฑ์ธุรกิจแหล่งวัตถุดิบผลิต บริการนำเข้า ส่งต่อ ตระเตรียมสินค้าขนส่ง ปัจจุบันจึงเป็นความจำเป็นและทิศทางเดินที่ถูกต้อง”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us