|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

วิกิพีเดียได้บันทึกไว้ว่า เส้นทางที่ผ่านด่านภูดู่ในอดีต เป็นเส้นทางระหว่างกรุงสุโขทัยกับกรุงศรีสัตนาคนหุต (กรุงเวียงจันทน์ในอดีต) โดยมีบันทึกปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่มีอักษรจารึกไว้ว่า “การเดินทางไปยังอาณาจักรล้านช้าง จักต้องใช้เมืองสวางคบุรี เป็นทางผ่านในการขนส่งสินค้าจากกรุงสุโขทัยไปยังล้านช้าง”
อันบ่งบอกได้ว่าอุตรดิตถ์นั้น เดิมเป็นทางเดินผ่านจากกรุงสุโขทัยไปยังล้านช้าง หรือการเดินทางไปลาวจะต้องใช้เส้นทางนี้ อันหมายถึง “ภูดู่” นั่นเอง
ซึ่งวันนี้ “ภูดู่” กำลังถูกผลักดันให้เป็นช่องทางการค้าอีกเส้นทางหนึ่ง เพื่อช่วยสนับสนุนการค้า การท่องเที่ยว ระหว่างไทย-ลาว-จีนตอนใต้ รวมไปถึงเวียดนามตอนเหนือ ก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการ กรอ.กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ กลุ่มที่ 3 (สี่แยกอินโดจีน) อันประกอบไปด้วยพิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย ตาก และอุตรดิตถ์ ได้จัดทำยุทธศาสตร์ร่วมเพื่อการพัฒนาโดยกำหนดวิสัยทัศน์ว่า “พัฒนากลุ่มสี่แยกอินโดจีนให้มีศักยภาพการแข่งขันได้อย่างเสรี และคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีร่วมกันของกลุ่มจังหวัด”
เป็นการฟื้นฟูศักยภาพเส้นทางการค้าในอดีต ขึ้นมารองรับโลกยุคใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ปัจจุบันที่ด่านภูดู่มีการเปิดตลาดนัดไทย-ลาว ค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าทุกวันเสาร์ โดยตั้งอยู่ห่างจากจุดพรมแดนประมาณ 300 เมตร (ฝั่งไทย) ส่วนใหญ่จำหน่ายสินค้าจากจีน เวียดนาม และไทย ทั้งบุหรี่ เหล้า เบียร์ ขนม โทรศัพท์มือถือ ซีดีเพลง อุปกรณ์เครื่องมือการเกษตรฯลฯ
เพียงแต่มูลค่าการค้าในระยะที่ผ่านมา ยังไม่สูงมากนัก (ปี 2547-2553 มีมูลค่าการค้าผ่านด่านภูดู่รวมประมาณ 766.70 ล้านบาท) เนื่องจากข้อจำกัดทั้งเรื่องการจำกัดรายการสินค้า เพราะด่านประเพณีผาแก้ว-บวมเลา (ตรงข้ามกับด่านภูดู่) ทำให้สินค้าบางรายการไม่สามารถนำเข้า-ส่งออกได้ ต้องหันไปใช้ด่านห้วยโก๋น จังหวัดน่าน หรือด่านท่าลี่ จังหวัดเลยแทน รวมถึงระเบียบปฏิบัติด้านภาษี การตรวจปล่อยสินค้าของเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 ฝ่าย ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนเส้นทางคมนาคมที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ในด้านการสัญจรเข้าออก ณ ด่านภูดู่แห่งนี้กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี 2542 ที่ผ่านมาที่มีบุคคลเข้า-ออกเพียง 2,882 คน ยานพาหนะ 720 คัน เพิ่มเป็น 59,922 คน ยานพาหนะ 11,093 คัน ในปี 2552 และในปี 2553 (มกราคม-มิถุนายน) มีบุคคลเข้า-ออก 26,587 คน ยานพาหนะ 3,824 คัน
หลังจากมีการยกระดับเป็นด่านถาวรภูดู่แล้ว หอการค้า จ.อุตรดิตถ์ได้พยายามผลักดันให้มีการยกระดับด่านประเพณีผาแก้ว-บวมเลาเป็นด่านถาวรด้วย พร้อมกับผลักดันให้มีการพัฒนาเส้นทางจากด่านภูดู่-ปากลาย เชื่อมต่อกับเส้นทางหมายเลข 4 ของ สปป.ลาว รวมถึงเสนอให้มีการปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1268-ตลาดนัดไทย-ลาว ระยะทาง 6 กม. (ก่อนถึงด่านฯ ภูดู่) ที่เป็นถนนลูกรังอยู่ในขณะนี้ พวกเขาเชื่อว่า การพัฒนาพื้นที่ชายแดนภูดู่ จะทำให้ปริมาณการค้าผ่านพรมแดนด้านนี้เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 5 เท่า เป็นหลายร้อยล้านบาทต่อเดือน
รวมถึงส่งเสริมการส่งออกสินค้าไปยัง สปป. ลาวต่อเนื่องไปสู่จีนตอนใต้-เวียดนาม เพิ่มขึ้นเป็นการฟื้นฟูศักยภาพเส้นทางการค้าในอดีตขึ้นมารองรับโลกยุคใหม่อีกครั้งหนึ่ง
|
|
 |
|
|