|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ก่อให้เกิดเมืองซึ่งมีศักยภาพในการเป็นชุมทางการคมนาคมและขนส่งสินค้าขึ้นหลายจุด เมืองปากลาย แขวงไชยะบุรีของ สปป.ลาว ก็เป็นอีก 1 จุด ที่กำลังจะมีบทบาทสำคัญในอนาคต
“อีกไม่เกิน 2 ปีต่อจากนี้ถนนที่ผ่าน ปากลายจะเป็นถนนปูยางทั้ง 4 ทิศ ซึ่งจะ ทำให้การเดินทางติดต่อค้าขายสะดวกยิ่งขึ้น”
บัวพัน มักคะผน เจ้าเมืองปากลาย แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว ย้ำกับผู้จัดการ 360º ที่ร่วมเดินทางไปกับคณะกรรมการเพื่อ โครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ กว่า 80 คน เพื่อสำรวจช่องทางการค้าการลงทุนจากด่านถาวรภูดู่ ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ไปถึงด่านประเพณีท้องถิ่น ผาแก้ว-บวมเลา เมืองปากลาย เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา
เป็นการตอกย้ำถึงอนาคตของเมือง ปากลาย 1 ในเมืองเศรษฐกิจสำคัญของแขวงไชยะบุรี ว่ากำลังจะเป็นชุมทางสำคัญของพื้นที่ สปป.ลาวฝั่งตะวันตก ที่ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางขนถ่ายสินค้าทางเรือของแขวง ที่สามารถส่งสินค้าขึ้นไปถึงจีน หรือนครหลวงเวียงจันทน์ ผ่านทางแม่น้ำโขง ผ่านท่าเรือคอนกรีต ที่ประเทศออสเตรเลีย มาสร้างให้เมื่อปี ค.ศ.1995 อันเป็นท่าเรือที่ดีที่สุดของลาวตอนเหนือ
นั่นจะทำให้ “ปากลาย” กลายเป็นชุมทางสำคัญที่สนับสนุนการค้า การท่องเที่ยวระหว่างไทย-ลาวตอนเหนือ-จีนตอนใต้ รวมถึงเวียดนามตอนเหนือทันที
“ถ้าถนนเสร็จตามแผน ต่อไปจากปากลาย เราจะไปนครหลวงเวียงจันทน์ ก็ใช้เวลาแค่ 3 ชั่วโมง จะไปหลวงพระบาง ก็ใช้เวลาแค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้น” บัวพันบอก
ปัจจุบัน สปป.ลาวกำลังเร่งพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกจากเมืองปากลายในทุกทิศทาง คือ
- ทางเหนือ เส้นทางจากปากลาย-ไชยะบุรี ระยะทาง 152 กม. (เส้นทางหมายเลข 4 หลวงพระบาง-ไชยะบุรี-ปากลาย-ท่าลี่) และสามารถเชื่อมต่อไปถึงเมืองหลวงพระบางอีก 120 กม. (แต่ต้องข้ามแม่น้ำโขงที่ท่าเดื่อ โดยแพขนานยนต์ขนาดใหญ่ที่สามารถบรรทุกได้ตั้งแต่ 80 ตัน) รวมระยะทาง 272 กม.ที่ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) 2,000 ล้านบาท
ซึ่งแนวถนนสายนี้จะต่อโยงเข้ากับถนนสาย 13 เหนือ จากหลวงพระบาง-อุดมไชย (120 กม.สภาพถนนเป็นทางลาดยาง) ต่อไปถึงเมืองบ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา (100 กม.) ข้ามพรมแดนไปถึงมณฑลหยุนหนัน สป.จีน
ในเส้นทางเดียวกัน (สาย 13 เหนือ จากหลวงพระบาง-เมืองไชย) เมื่อถึงเมืองน้ำบาก ซึ่งเป็น 3 แยก หากเลี้ยวขวาจะไปถึงเมืองเดียนเบียนฟู เวียดนาม (จากอุดมไชย-เดียนเบียนฟู 170 กม.) และยังต่อไปถึงกรุงฮานอยอีก 513 กม.ได้อีกด้วย
- ทางใต้ เส้นทางจากปากลาย-เมืองแก่นท้าว ระยะทาง 78 กม. เมืองนี้อยู่ตรงกันข้ามกับ อ.ท่าลี่ จังหวัดเลยของไทย
ล่าสุดสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัด เลย ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเลย กำหนดจัดขบวนคาราวาน “ไปเลย ลุยลาว” ผ่านเส้นทางสายนี้ระหว่าง 22-27 กรกฎาคม 2553
อัจฉพรรณ บุญเจริญ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานเลย กล่าวถึงคาราวานนี้ว่า เส้นทางคาราวาน “ไปเลย ลุยลาว” จากสะพานมิตรภาพไทย-ลาว อำเภอท่าลี่-แขวงไชยะบุรี-หลวงพระบาง-วังเวียง-โพนโฮง-บ้านวัง-บ้านคกไผ่ อำเภอปากชม-เชียงคาน เป็นเส้นทางที่ได้รับการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจากแขวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว และได้รับความร่วมมืออย่างดีจาก องค์การท่องเที่ยวแห่งชาติ สปป.ลาว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมนี้จัดขึ้นในฤดูฝน ประกอบกับเส้นทางในฝั่งลาวกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุง จึงมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนที่มีรถขับเคลื่อน 4 ล้อ หรือพวกนิยมรถ Off Road เป็นหลัก
- ทางตะวันออก เส้นทางจากเมือง ปากลาย-นครหลวงเวียงจันทน์ (เส้นทางหมายเลข 11) ระยะทาง 210 กม. ที่ได้ปรับปรุงเป็นทางลาดยางแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2551 ที่ผ่านมาแล้ว
ไม่เพียงเท่านั้น สปป.ลาวยังได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากนิวซีแลนด์ เพื่อดำเนินการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง บริเวณใกล้เคียงกับท่าแพขนานยนต์ที่เมืองปากลาย เพื่อเชื่อมต่อกับถนนเมืองปากลาย-นครหลวงเวียงจันทน์ ความยาวสะพาน 384 เมตร มูลค่าก่อสร้างประมาณ 7.7 ล้านปอนด์ ซึ่งมีกำหนดที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปีนี้ (พ.ศ.2553) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2554-2555
นั่นหมายถึงในอนาคตผู้คนจากภาคเหนือของไทยสามารถเดินทางไปนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ใกล้ที่สุดเพียง 422 กม. ผ่านเส้นทางอุตรดิตถ์-ปากลาย-เวียงจันทน์สายนี้
เส้นทางเหล่านี้นอกจากจะเอื้อต่อการขนส่งสินค้าของปากลายที่มีสินค้าส่งออกสำคัญ ทั้งผลิตภัณฑ์จากไม้ เฟอร์นิ-เจอร์ ข้าวโพด ตลอดจนสินค้าเกษตรอื่นๆ แล้ว ยังจะมีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว ในอนาคตด้วยเช่นกัน
ที่ผ่านมาสินค้าเหล่านี้ก็จะถูกขนส่ง ผ่านเส้นทางต่างๆ เข้าสู่ตลาด สป.จีน-เวียดนาม รวมทั้งไทยด้วย
ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุน จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนอย่างน่าจับตา ไม่น้อย โดยในกรณีของกลุ่มทุนไทยนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการร่วมทุนในอุตสาหกรรม โรงเลื่อยและเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่มีอยู่ทั้งสิ้น 13 โรง โรงงานเฟอร์นิเจอร์อีก 6 แห่ง
เพียงแต่ในกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูป ไม้นี้ ในอนาคตจะต้องได้รับผลกระทบจาก นโยบายปิดป่าของแขวงไชยะบุรี ที่มีการประกาศใช้แล้วอย่างแน่นอน
ขณะที่กลุ่มทุนจากจีน ก็เริ่มเข้ามาลงหลักปักฐานที่ปากลายเช่นกัน โดยเจ้าเมืองปากลายบอกว่าขณะนี้มีกลุ่มทุนจาก สป.จีน เข้ามาลงทุนตั้งไซโลที่ปากลาย เพื่อ อบแห้งพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าวโพดเพื่อการส่งออกแล้ว 4 แห่งด้วยกัน รวมทั้งมีกลุ่มพ่อค้าจีนเข้ามาลงทุนกันมากขึ้น
บัวพันยังบอกอีกว่า การพัฒนาเส้นทางคมนาคมเหล่านี้ยังจะทำให้มีการเดินทางของผู้คน การท่องเที่ยวของปากลาย เติบโตขึ้นในอนาคตอีกด้วย ซึ่งขณะนี้ที่ปากลายมีกิจการโรงแรม-เรือนพักอยู่ทั้งสิ้น เพียง 17 แห่ง รีสอร์ตอีก 1 แห่ง สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 454 คนต่อคืน
แต่เขาเชื่อว่า กิจการเรือนพักของปากลายยังสามารถขยายตัวได้มากกว่านี้อีกแน่นอน ด้วยศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ที่หลากหลายและการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ที่จะเริ่มสมบูรณ์ภายใน 2 ปีต่อจากนี้
นอกจากนี้ทางทิศตะวันตกของปากลาย ยังมีเส้นทางเชื่อมกับจังหวัดอุตรดิตถ์ของไทยอย่างน้อยอีก 2 เส้นทาง
หนึ่งในเส้นทางหลักที่มีการติดต่อค้าขายกันมานานก็คือ เส้นทางปากลาย-ด่านประเพณีผาแก้ว-บวมเลา ที่มีระยะทางเพียง 38 กม. เชื่อมกับด่านถาวรภูดู่ ซึ่งเส้นทางสายนี้ปัจจุบันยังเป็นถนนดินตลอด เส้นทางอยู่
อ่านเรื่อง “4 เส้นทางใหม่สู่หลวงพระบาง” นิตยสารผู้จัดการ 360º ฉบับเดือนมกราคม 2553 หรือ www.goto manager.com ประกอบ)
ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา อรรคศิริ บุรณศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า NEDA ลงนามในสัญญาว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งประกอบด้วยบริษัทปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด (Lead Firm) บริษัทอินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด และบริษัทพิสุทธิ์ เทคโนโลยี จำกัด ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างถนนจากภูดู่ (อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์) ถึงเมืองปากลาย สปป.ลาว ในวงเงินรวม 7,979,846 บาท
เบื้องต้นประเมินกันว่าการปรับปรุง เส้นทางสายนี้จะใช้งบประมาณราว 520 ล้านบาท
ส่วนอีกเส้นทางหนึ่ง ก็คือถนนจากเมืองปากลาย-เมืองทุ่งมีไชย ระยะทาง 53 กม.เชื่อมต่อกับช่องประเพณีมหาราช (เดิมชื่อช่องหมาหลง) ตำบลบ่อเบี้ย อำเภอบ้านโคก อุตรดิตถ์
สมชาติ คะวีรัตน์ อดีตประธานหอการค้า จังหวัดอุตรดิตถ์ และทวีศักดิ์ ปิงวงศานุรักษ์ ประธานหอการค้าคนปัจจุบัน บอกทำนองเดียวกันว่า พวกเขาต้องการผลักดันให้ด่านการค้าชายแดนช่องภูดู่ให้เป็นด่านสากล เพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยเฉพาะระบบ Logistic ที่ลาวสามารถส่งผลผลิตมายังสถานีรถไฟศิลาอาสน์ จ.อุตรดิตถ์ เพื่อเป็นแหล่งกระจายสินค้าลง ไปทางตอนใต้ของประเทศ
“ก่อนหน้านี้ลาวเคยทดลองส่งข้าวผ่านเข้ามาทางภูดู่ แล้วนำขึ้นรถไฟที่ศิลาอาสน์ส่งเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งช่วยลดต้นทุนและเวลาในการขนส่งไปได้มาก”
นอกจากนี้หากสามารถผลักดันให้มีการพัฒนาด่านภูดู่-ปากลาย ยังจะทำให้เส้นทางสายนี้เชื่อมแหล่งมรดกโลก สุโขทัย-กำแพงเพชร-หลวงพระบาง รวมไปถึงฮา-ลองเบย์ของเวียดนามเข้าด้วยกัน โดยมีการเดินทางผ่าน จ.อุตรดิตถ์
รวมทั้งสามารถผลักดันให้เปิดเส้นทาง R9b เมียวดี-ตาก-สุโขทัย-กำแพงเพชร-อุตรดิตถ์-ไชยะบุรี ซึ่งทวีศักดิ์บอกว่าที่ผ่าน มาเคยมีการพูดคุยกันระหว่างหอการค้า จังหวัดตาก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ พยายามเริ่มต้นผลักดันเส้นทางการท่องเที่ยวสายนี้เช่นกัน เพราะถ้าดูแล้วหากโครงข่ายถนนใน สปป.ลาวเสร็จ จะสามารถเดินทางท่องเที่ยว 3 ประเทศในระยะทาง 400 กว่า กม.ได้ภายในวันเดียว
|
|
|
|
|