Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2528
ศึกชิงนาม: เมื่อช้างถูกทับงวง             
 

   
related stories

"คัมพานา" สิงห์เฒ่าจ้าวสังเวียน
"คอตโต ตราช้าง" จอมยุทธอุ้ยอ้าย

   
search resources

ไทย-เยอรมัน เซรามิค, บมจ.
เซรามิคอุตสาหกรรมไทย, บจก.
Construction




“LOVE NEED NO NAME” ก็จริงแต่สำหรับการค้านั้นถ้าชื่อดีก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว
นามนั้นสำคัญไฉน !

ถ้านามนั้นเป็นชื่อเรียก ตามี ตามา ก็คงไม่สำคัญ แต่บังเอิญนามนั้นดันไปเรียกว่า “คอตโต ฟอร์เต้” มันจึงเกิดศึกชิงนามระหว่างค่ายบริษัทไทย-เยอรมันเซรามิค เจ้าของคัมพานากับบริษัทเซรามิคอุตสาหกรรมไทย ผู้ที่จะใช้ชื่อ “คอตโต้ ฟอร์เต้”

ใครๆ ในวงการค้าวัสดุก่อสร้างก็ลือกันให้แซดว่าเดิมปูนฯจะใช้ชื่อ “คอตโต ฟอร์เต้” แต่เผอิญบริษัทไทย-เยอรมันเซรามิคได้ไปจดทะเบียนชื่อไว้ก่อนแล้ว 2 ชื่อคือ “คัมพานา” และ “คอตโต ฟอร์เต้” แต่เลือกใช้ชื่อคัมพานา ส่วนชื่อ “คอตโต ฟอร์เต้” นั้นก็พอใจจดทิ้งไว้เฉยๆ

ทางปูนฯ เมื่อจะทำกระเบื้องปูพื้นก็ตั้งชื่อ “คอตโต ฟอร์เต้” แต่ไทย-เยอรมันฯ จดก่อนแล้วปูนฯ จึงต้องเปลี่ยนมาใช้ชื่อคอตโต ตราช้าง

นี่คือเรื่องที่วงการเขาเล่าสู่กันฟัง

แต่ “ผู้จัดการ” สืบลึกเข้าไปถึงกึ๋นแล้วปรากฏว่า เรื่องนี้มีเบื้องหลังที่ชวนให้สาวไส้กันมันส์ไปเลย

เริ่มเรื่องตรงที่ปูนฯ มีโครงการที่จะผลิตกระเบื้องปูพื้นเซรามิกขึ้นมา เมื่อมีการประชุมระดับผู้บริหารทุกฝ่ายแล้วก็เริ่มแพลนงานโดยจะตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ว่า “คอตโต ฟอร์เต้ ตราช้าง” หลังจากนั้นก็เตรียมการสั่งเครื่องจักรมาผลิต ด้านโฆษณาก็มอบหมายให้ลินตาสไปจัดการทำหนัง โปสเตอร์ บิลบอร์ด และดีไซน์โลโก้ของคอตโต ซึ่งลินตาสออกแบบมาหลายครั้งแต่ก็ไม่ถูกใจฝ่ายบริหารเสียที ต้องนำกลับไปแก้ใหม่

ส่วนร้านค้าปูนฯ ก็มีการป่าวประกาศออกไปว่าจะผลิตกระเบื้องปูพื้นใหม่ในนาม “คอตโต ฟอร์เต้”

เรียกว่าปูนฯ เตรียมการแนะนำ “คอตโต ฟอร์เต้ ตราช้าง” กัน ค่อนข้างจะเอิกเกริกอยู่ ซึ่งก็รู้กันทั่วไปหมดทั้งวงการค้าวัสดุก่อสร้าง

เรียกได้ว่าเป็นความลับขนาด “ช้าง” สมยี่ห้อจริงๆ !

แล้วขั้นตอนสุดท้ายที่ปูนฯ ลงมือทำหลังจากเตรียมการทุกอย่างมาเป็นแรมเดือน ก็คือไปจดทะเบียนชื่อในเดือนมกราคม 2527

แต่นายทะเบียนแจ้งให้ทราบก่อนหน้านี้ 14 วันมีคนมาจดชื่อ ทำนองเดียวกับ “คอตโต ฟอร์เต้” แล้ว ปูนจึงไม่มีสิทธิ์ใช้คำนี้ และเผอิญผู้ที่จดชื่อนั้นลงชื่อว่าบริษัท ไทย-เยอรมัน เซรามิค จำกัด เสียด้วย !

“ลักษณะของการจดนั้นเห็นได้ชัดว่ารีบร้อนจดมาก คือเขียนด้วยลายมือธรรมดา ง่ายๆ ไม่เหมือนกับปูนฯ ซึ่งดีไซน์แบบกันอยู่นานเลย” แหล่งข่าวผู้รู้เล่าให้ “ผู้จัดการ” ฟัง

ดังนั้นปูนฯ ในฐานะผู้เสียหายจึงทำการยื่นฟ้องเมื่อเดือนมีนาคม 2527

เพราะปูนฯ ลงทุนเฉพาะค่าโฆษณาไปเกือบๆ 5 ล้านแล้ว และทุกอย่างก็เตรียมการภายใต้ชื่อ “คอตโต้ ฟอร์เต้” ไว้หมดแล้ว

เรื่องของเรื่องจึงเป็นว่าปูนฯ ฟ้องคัมพานา ไม่ใช่คัมพานาฟ้องปูนฯ อย่างที่วงการลือกันให้แซด

แล้วมีข่าวว่าปูนฯ มาเปลี่ยนจาก “คอตโต ฟอร์เต้” มาเป็น “คอตโต ตราช้าง” เพราะแพ้คดีนั้น ก็ได้รับการยืนยันว่าไม่เป็นความจริง

เพราะตอนนี้คดียังอยู่ที่ศาลแพ่ง ยังไม่ได้ตัดสิน เพราะปูนฯ ขอให้คัมพานาถอนชื่อ แต่คัมพานาก็ไม่ยอมเหมือนกัน

แต่ที่ปูนกลับเปลี่ยนใจมาใช้ชื่อ “คอตโต ตราช้าง” เพราะชื่อคอตโต ฟอร์เต้นั้นเรียกยากเกินไป แล้วชื่อก็ดันไปคล้องกับ “คูต้า คินเต้” พระเอกในเรื่อง “ROOTS” ซึ่งเคยเป็นหนังทีวีที่ดังระเบิดอยู่ที่ช่อง 3 เมื่อหลายปีก่อนจนชื่อติดปากคนทั่วไป คนเห็นว่าชื่อมันลงท้ายด้วย “เต้” เหมือนกันจึงมักจะเรียกผิดๆ เสมอ

บริษัทฯ จึงต้องหลบมาใช้ชื่อ “คอตโต” แล้วเติมคำว่า “ตราช้าง” ลงไปข้างท้ายเพื่อไปอิงบริษัทแม่ดูจะอบอุ่นกว่า!…

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us