Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2553
จีน: มังกรท่องโลก             
 


   
search resources

Tourism




นักท่องเที่ยวชาวจีนกำลังประกาศศักดาและความร่ำรวยของจีนให้ระบือไกลไปทั่วโลก

แต่ไหนแต่ไรมา การท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร นอกเหนือไปจากกองทัพและพ่อค้าวาณิช อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ต่างส่งประชาชนของตนออกไปท่องเที่ยวชมความมหัศจรรย์ตามที่ต่างๆ ทั่วโลก เปรียบเหมือนเป็น “โฆษณาเดินได้” ที่ช่วยโฆษณาความยิ่งใหญ่และความมั่งคั่งของอาณาจักร มาตั้งแต่ยุคอาณาจักรกรีกและโรมัน จนถึงสมัย Victoria ของอังกฤษ ซึ่งจะพบนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษตามแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมทั่วโลก ตั้งแต่พีระมิดจนถึงยอดเขา Mont Blanc มาถึงยุคนักท่องเที่ยวอเมริกันและญี่ปุ่น ที่สะพายกล้องท่องโลกอย่างเปี่ยมสุข พวกเขาล้วนแล้ว แต่เป็นสัญลักษณ์แห่งความกินดีอยู่ดีและความร่ำรวยของประเทศของตน

มาถึงยุคนี้ที่เรียกว่าเป็นศตวรรษของจีน อีกทั้งเศรษฐกิจโลกยังเพิ่งโผล่ขึ้นจากภาวะถดถอย ทำให้นักท่องเที่ยวจากจีนกลายเป็นหัวหอกในการนำโลกเข้าสู่ยุคแห่งการท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยกันอย่างสนุกมืออีกครั้ง โดยที่ไม่มีพรมแดนอะไร ทั้งทางกายภาพหรือทางจิตใจ ที่จะมาขวางกั้นได้

เพียงเมื่อ 20 ปีก่อน ชาวจีนแผ่นดินใหญ่แทบไม่เคยได้ย่างกรายไปเที่ยวในประเทศใดเลย นอกจากเพราะประชากรจีนส่วนใหญ่ยังคงยากจนแล้ว ยังเป็นเพราะรัฐบาลจีนควบคุมการเดินทางออกนอกประเทศอย่างเข้มงวด แต่จีนเปลี่ยนแปลงไปแล้ว รัฐบาลจีนกำหนดเทศกาลวันหยุดประจำปีที่เรียกว่า “สัปดาห์ทอง” 3 สัปดาห์เต็มตั้งแต่ปี 1999 และได้ผ่อนคลายการควบคุมการเดินทางไปต่างประเทศ โดยเริ่มที่ชาติเพื่อนบ้านไปเอเชีย ก่อนจะขยายไปยังตะวันออกกลาง จนถึงยุโรปในช่วงปี 2002-2004 และสุดท้ายคือสหรัฐฯ ในปี 2007 ที่สำคัญที่สุดคือ การที่จีนร่ำรวยขึ้นและการขยายตัวของชนชั้นกลาง ทำให้การท่องเที่ยวของจีนขยายตัวตลอด 10 ปีที่ผ่านมา

ตัวเลขของสถาบันด้านการท่องเที่ยวของจีนคาดว่า จะมีชาวจีนมากถึง 54 ล้านคนที่จะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศในปีนี้ เพิ่มจาก 47.6 ล้านคนเมื่อปี 2009 และจากเพียง 10.5 ล้านคนเมื่อปี 2000 และเนื่องจากเอเชียฟื้นตัวเร็วจากวิกฤติการเงินเมื่อ 2 ปีก่อน ทำให้ในขณะที่การท่องเที่ยวทั่วโลกตกลง 4% ในปีที่แล้ว แต่การท่องเที่ยวภายในเอเชียกลับเพิ่มขึ้น 2% ในปีเดียวกันนั้น โดยเป็นนักท่องเที่ยวจากจีนมากที่สุด และคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นต่อไป ขณะนี้ชาวจีนที่ออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศมีสัดส่วนเพียง 4% ของประชากรจีนทั้งหมด แต่นั่นก็เทียบได้กับจำนวนชาวญี่ปุ่น ที่ออกเที่ยวต่างประเทศในช่วงทศวรรษ 1980 และชาวเกาหลีใต้ที่เที่ยวต่างประเทศในช่วงทศวรรษ 1990 แล้ว แต่อัตราการเติบโตของการท่องเที่ยวต่างประเทศของเกาหลีใต้กับญี่ปุ่นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 15% เท่านั้น ในขณะที่การท่องเที่ยวต่างประเทศของจีน เติบโตเฉลี่ยถึง 22% ต่อปีมาตั้งแต่ปี 2000 และคาดว่าภายในปี 2020 นักท่องเที่ยวชาวจีนจะเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศถึง 100 ล้านครั้ง ซึ่งจะทำให้จีนกลายเป็นตลาดการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก

75% ของนักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเที่ยวฮ่องกงและมาเก๊า ส่วนที่เหลืออีก 25% นั้น ครึ่งหนึ่งนิยมเที่ยวเอเชีย อีก 10% ไปเที่ยวไกลถึงยุโรปหรือสหรัฐฯ นักท่องเที่ยวจากจีนกลายเป็นตลาดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ใหญ่อันดับ 2 ของสิงคโปร์ (รองจากอินโดนีเซีย) เนปาล (รองจากอินเดีย) และไต้หวัน (รองจากญี่ปุ่น แต่จีนกำลังจะแซงหน้าญี่ปุ่น กลายเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติ อันดับหนึ่งของไต้หวันในปีนี้) แต่สำหรับเวียดนาม มาเก๊าและฮ่องกงแล้ว นักท่องเที่ยวจีนคือตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ใหญ่ที่สุด ในปีที่แล้ว ฮ่องกงได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากจีนถึง 18 ล้านคน หรือมากกว่าประชากรฮ่องกงกว่า 2 เท่าตัว

ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทย ก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีนเช่นกัน แต่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า นักท่องเที่ยวจีนจะเริ่มสนใจไปเที่ยวไกลๆ อย่างยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส ซึ่งชาวจีนบอกว่าอยากไปมากเป็นพิเศษ ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ไปเที่ยว อังกฤษ ก็พุ่งขึ้นถึง 33% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สมาคมท่องเที่ยวของสหรัฐฯ บอกว่านักท่องเที่ยวจากจีนเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่ไปเที่ยวอเมริกามากขึ้นในปี 2009 และคาดว่านักท่องเที่ยวชาวจีนจะไปเที่ยวสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก จาก 5 แสนคนในปีที่แล้ว เป็น 795,000 คนในปี 2013

บรรดาธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ กำลังแข่งกันดึงนักท่องเที่ยวน้องใหม่กระเป๋าหนักอย่างจีน เพราะสิ่งที่นักท่องเที่ยว จีนนิยมทำมากที่สุดอย่างหนึ่งคือการชอปปิ้งและการเล่นพนัน นักท่องเที่ยวจีนใช้เงินเฉลี่ย 1,000 ดอลลาร์ต่อคนในการชอปปิ้งในอังกฤษเมื่อปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นถึง 83% เมื่อเทียบกับปี 2008 และยังจ่ายมากกว่านักท่องเที่ยวจากรัสเซียและญี่ปุ่นในฝรั่งเศส นักท่องเที่ยวจีนยังเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จ่ายหนักที่สุดในสหรัฐฯ หรือเฉลี่ย 7,200 ดอลลาร์ต่อคนต่อการเดินทางในฮ่องกง นักท่องเที่ยวจีนจ่ายเงินชอปปิ้งมากกว่านักท่องเที่ยวญี่ปุ่นถึง 80% ชาวจีนชอบซื้อเครื่องสำอางและสินค้าหรูๆ นาฬิกา Rolex, สินค้าแฟชั่นอย่าง Burberry, Gucci, Louis Vuitton และ Chanel เพราะซื้อเมืองนอกถูกกว่าซื้อในจีนมาก เนื่องจากต้องเสียภาษีนำเข้าแพง และยังไม่ต้องกลัวว่าจะเจอของปลอม เหมือนกับในประเทศของตัวเองอีกด้วย

ห้างหรูๆ อย่าง Printemps ในกรุงปารีสลงทุนจ้างพนักงาน ที่พูดภาษาจีนได้ Galeries Lafayette บอกว่า นักท่องเที่ยวจากจีนเป็นลูกค้าอันดับ 1 ของห้างแซงหน้าญี่ปุ่นไปแล้ว แบรนด์หรูๆ อย่าง Cartier ลงทุนจัดปาร์ตี้หรูส่วนตัวสำหรับกรุ๊ปทัวร์จากจีนโดยเฉพาะบรรดาร้านค้าต่างๆ ช่วยบริษัทท่องเที่ยวของจีนจองโรงแรมและภัตตาคาร แลกกับการให้พานักท่องเที่ยวจีนไปชอปยังห้างร้านของพวกเขา ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัททัวร์ของจีนทำกำไรอย่างงาม จากการส่งกรุ๊ปทัวร์จีนไปชอปยังห้างร้านที่ตกลงกันไว้ แลกกับการได้ส่วนลด

ในมาเลเซีย เวียดนามและมาเก๊า ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวจีนถึงครึ่งหนึ่งบอกว่า “ความบันเทิง” คือสิ่งที่พวกเขาต้องการ การสร้างบ่อนกาสิโนกำลังผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว สิงคโปร์ หนึ่งที่แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีน ถึงกับยอมยกเลิกการห้ามสร้างบ่อนกาสิโนที่ใช้มานาน 40 ปี

อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวชาวจีนมักถูกบ่นว่าเรื่องมารยาท เวียดนามซึ่งเคยมีความหลังที่เจ็บปวดประวัติศาสตร์จากการทำสงครามกับจีน บ่นว่านักท่องเที่ยวจีนชอบดูถูกพวกเขาว่าล้าหลัง แต่ในฮ่องกงและสิงคโปร์กลับตรงกันข้าม นักท่องเที่ยวจากจีนมักถูกดูถูกว่าเป็นพวกบ้านนอก ที่ไม่รู้จักมารยาทสังคม สื่อในฮ่องกงมักประจานนักท่องเที่ยวจีนด้วยรูป เช่นการปล่อยให้เด็กๆ ปัสสาวะกลางที่ชุมชน การเดินเท้าเปล่าที่ Hong Kong Disneyland ในวันเปิดสวนสนุกแห่งนั้นเมื่อปี 2005 หนังสือพิมพ์ Straits Times ของสิงคโปร์ เคยเขียนบทความในปีเดียวกันนั้นชื่อ “The Rise of the Ugly China Tourist” ดูถูกนักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นคนเสียงดัง หยาบคาย และไร้มารยาท

รัฐบาลจีนไม่ได้ละเลยเสียงบ่นว่าเรื่องมารยาทของคนจีน หลังจากเหตุการณ์ที่ Hong Kong Disneyland คราวนั้น สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนเตือนชาวจีนไม่ให้ถ่มน้ำลาย ทานอาหาร เสียงดัง หรือแซงคิว เวลาไปเที่ยวต่างประเทศ ในปี 2006 การท่องเที่ยวจีนและหน่วยงานด้านอารยธรรมของจีนออกคู่มือสิ่งที่ควรทำ (สุภาพ, เข้าแถว, ให้เกียรติสุภาพสตรี) และไม่ควรทำ (ทิ้งขยะเรี่ยราด ถอดถุงเท้าในที่ชุมชน ต่อราคาในห้าง) เวลาไปท่องเที่ยวต่างประเทศ รัฐบาลจีนเกรงว่า มารยาทที่ไม่งามของนักท่องเที่ยวชาวจีนจะทำให้ภาพลักษณ์การเป็นมหาอำนาจของจีนมัวหมองลงไป

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนยังคงสองจิตสองใจกับการยอมให้ประชาชนของตนได้ท่องเที่ยวในประเทศอื่นๆ อย่างอิสรเสรี ในด้านหนึ่ง นักท่องเที่ยวชาวจีนในต่างประเทศ คือการโชว์อำนาจการใช้จ่ายของจีนได้อย่างดี แต่รัฐบาลจีนก็ยังกลัวว่าจะทำให้ชาวจีนได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและความคิดแบบต่างชาติ ที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของจีน คู่มือท่องเที่ยวต่างประเทศที่จัดทำโดยรัฐบาลจีน บางเล่มมีการเตือนไม่ให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเปิดเผยความลับของชาติ และให้ระวังการติดต่อกับชาวต่างชาติ โดยเฉพาะการถกเถียงเรื่องการเมือง แต่จีนคงจะควบคุมการติดต่อระหว่างคนจีนกับชาวต่างชาติได้ยากมากขึ้น หลังจากที่ชาวจีนมองเห็นการท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นกิจกรรมยามว่างไปเสียแล้ว นักท่องเที่ยวจากจีนคงจะเปลี่ยนแปลงโลกทั้งโลกตลอด 10 ปีต่อจากนี้ และโลกก็อาจจะเปลี่ยนแปลงชาวจีนไปด้วยเช่นกัน

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us