Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2553
สหรัฐอเมริกา: Obama ไม่กร้าวพอ?             
 


   
search resources

International
Political and Government
บารัค โอบามา




Obama กำลังถูกโจมตีว่ามีนโยบายต่างประเทศที่อ่อนแอ แต่การมีนโยบายต่างประเทศที่เข้มแข็ง ต้องการอะไรที่มากกว่าเพียงความแข็งกร้าว

ภาพนายกรัฐมนตรี Recep Tayyip Erdogan ของตุรกี กับประธานาธิบดี Luiz Inacio Lula da Silva ของบราซิล สวมกอดประธานาธิบดี Mahmoud Ahmadinejad ของอิหร่านเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ประธานาธิบดี Obama ของสหรัฐฯ ถูกสื่อภายใน ประเทศรุมตำหนิอย่างเกรี้ยวกราด The Wall Street Journal โจมตีว่า นี่คือภาพแห่งความหายนะที่รัฐบาล Obama ต้องรับผิดชอบไปเต็มๆ Charles Krauthammer คอลัมนิสต์หัวอนุรักษนิยมของ The Washington Post เขียนโจมตีอย่างดุเดือดว่า “ภาพที่เยาะเย้ย และแสดงถึงชัยชนะเหนือสหรัฐฯ นี้ คือคำพิพากษานโยบายต่างประเทศของ Obama ที่ล้มเหลวไม่มีชิ้นดี แสดงให้เห็นว่าบรรดา ประเทศใหม่ๆ ที่เพิ่งขึ้นมามีอำนาจ แม้กระทั่งบรรดาประเทศที่เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ มาแต่เก่าก่อน มองรัฐบาลสหรัฐฯ ในยุคนี้อย่างไร และคิดว่าพวกเขาไม่มีอะไรที่จะต้องสูญเสียกับการที่ไปยืนเคียงข้างกับชาติที่เป็นศัตรูของอเมริกา อีกทั้งไม่มีประโยชน์ อะไรที่พวกเขาจะยืนข้างประธานาธิบดีอเมริกัน ที่เอาแต่พูดขอโทษและโอนอ่อนผ่อนตาม”

นโยบายต่างประเทศของ Obama กำลังตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์หลายคนว่าเขานุ่มนวลเกินไป จนทำให้ประเทศต่างๆ พากันหาประโยชน์จากความอ่อนแอของเขา พวกแรกๆ เลยก็คือรัสเซีย จีน และอิหร่าน ต่อมาแม้กระทั่งบราซิลและตุรกีก็เอากับเขาด้วย “Obama ไม่เห็นมีอะไรน่ากลัวและจะได้ผลประโยชน์มากกว่า ถ้าจะไปเอาใจศัตรูของสหรัฐฯ ที่กำลังเข้มแข็งขึ้น” Krauthammer เขียนวิจารณ์รัฐบาลตัวเองอย่างเจ็บแสบ

ผู้ที่ตำหนิ Obama กำลังโมโหที่ Obama ไม่ทำให้การปฏิวัติของฝ่ายค้านในอิหร่าน ที่เรียกว่า Green Revolution ได้ชัยชนะ แต่ความจริงแล้ว รัฐบาลอิหร่านไม่ใช่ขี้ไก่ และใช้ทั้งปืนและเงิน จึงสามารถรักษาอำนาจไว้ในมือได้ รัฐบาลอิหร่านได้รับการสนับสนุน จากคนจน คนแก่ และคนชนบท อิหร่าน ไม่เหมือนเกาหลีเหนือ ที่อยู่รอดได้เพราะการใช้ความทารุณโหดร้ายแต่เพียงอย่างเดียว และอิหร่านก็ไม่ได้โดดเดี่ยวเหมือนกับเกาหลีเหนือด้วย ส่วนบราซิลกับตุรกีก็ไม่ได้โดดเดี่ยวในการตัดสิน ใจสนับสนุนอิหร่าน 118 ประเทศของกลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มักออกมติสนับสนุนอิหร่าน เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน อยู่เนืองๆ และต่อให้ Obama ใช้วาจาข่มขู่แข็งกร้าวมากกว่านี้ ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ระบอบอิหร่านล่มสลายลงได้

ฝ่ายอนุรักษนิยมซึ่งเป็นศัตรูกับ Obama ต้องการให้เขา แข็งกร้าวมากกว่านี้ กดดันประเทศอื่นๆ ให้มากกว่านี้และ “โชว์พาว” ของสหรัฐฯ ให้มากกว่านี้ แต่พวกเขาอาจจะลืมไปว่า นโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวขนาดนั้น สหรัฐฯ เคยใช้มานานแล้วและประสบความล้มเหลวอย่างน่าเศร้าไปเรียบร้อยแล้ว รัฐบาล สหรัฐฯ ชุดก่อน คือรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดี George W. Bush เคยประกาศอย่างชัดเจนว่า นโยบายต่างประเทศของพวกเขา ทั้งดุดันและแข็งกร้าว “การเป็นที่กลัวเกรง ดีกว่าเป็นที่รัก” Dick Cheney อดีตรองประธานาธิบดีสมัย Bush กล่าวโดยอ้างคำพูดของ Machiavelli บิดาแห่งรัฐศาสตร์ ส่วน Donald Rumsfeld อดีตรัฐมนตรีกลาโหมสมัย Bush ชอบอ้างคำพูดของ Al Capone เจ้าพ่อมาเฟียในสหรัฐฯ ที่ว่า “คำพูดดีๆ อาจทำให้ได้สิ่งที่ต้องการ แต่ปืนทำได้มากกว่าคำพูดดีๆ”

แต่ผลของนโยบายต่างประเทศแบบนั้นคืออะไร ยุโรป พันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของอเมริกา หันหลังให้กับอเมริกาโดยสิ้นเชิง หลายชาติตำหนิสหรัฐฯ อย่างเปิดเผย และไม่ยอมสนับสนุนนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ครั้งแล้วครั้งเล่าในปี 2007 ประชาชนส่วนใหญ่ในหลายประเทศ แม้กระทั่งประเทศที่เคยสนับ สนุนอเมริกามาตลอดประวัติศาสตร์อย่างอังกฤษก็ยังหมางเมินใส่อเมริกา

ตุรกีเป็นตัวอย่างของการไม่รู้จักรักษาน้ำใจชาติพันธมิตร รัฐบาล Bush ปฏิบัติต่อมิตรประเทศนี้อย่างหยิ่งยโส ด้วยการใช้ถ้อยคำข่มขู่ว่าตุรกีจะต้องได้รับผลร้าย หากไม่ยินยอมให้ทหารสหรัฐฯ โจมตีอิรักผ่านทางตุรกีโดยไม่ได้ตระหนัก แม้แต่นิดเดียวว่า ตุรกีกำลังกลายเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นและชาวตุรกีเกือบทั้งหมดคือ 95% รังเกียจสงครามอิรัก เมื่อรัฐสภาตุรกีลงมติปฏิเสธความต้องการดังกล่าวของสหรัฐฯ อย่างไม่ไยดี จึงเล่นเอารัฐบาล Bush ถึงกับตกตะลึงเพราะคาดไม่ถึง และแผนการรบของสหรัฐฯ ในครั้งนั้นก็ต้องพับฐานไป

ผู้ที่ตำหนิ Obama อาจจะพลาดมองไม่เห็นแนวโน้มใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในโลก ประเทศอย่างตุรกีกับบราซิล รวมไปถึงจีนและอินเดีย กำลังมีอำนาจทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ในปี 1995 ประเทศที่รวมเรียกว่า emerging market ครอบครอง 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลก แต่ในปีนี้ประเทศเหล่านี้จะครอบครองเศรษฐกิจโลกถึงครึ่งหนึ่งและจะยังไม่หยุดเพียงแค่นั้น ประเทศเหล่านี้สามารถฝ่ามรสุมวิกฤติเศรษฐกิจโลกได้ดีกว่าประเทศตะวันตกเสียอีก นอกจากนี้ยังมีการเมืองที่มีเสถียรภาพ มีฐานะร่ำรวย และมีความมั่นใจมากขึ้น ที่จะขอเล่นบทบาทที่สำคัญมาก ขึ้นบนเวทีโลก

ภายใต้สภาวการณ์อย่างนี้ ความคิดที่ว่า Obama ควรจะแข็งกร้าวต่อประเทศอื่นๆ มากขึ้น จึงเป็นความโง่เขลาและอันตราย ถึงแม้สหรัฐฯ จะใช้การข่มขู่แข็งกร้าวมากกว่านี้ ก็คงจะไม่ทำให้บราซิลกับตุรกียอมให้ความร่วมมือมากขึ้นเป็นแน่

สิ่งที่สหรัฐฯ ควรทำในขณะนี้ จึงน่าจะเป็นการหาวิธีร่วมมือกับประเทศมหาอำนาจเกิดใหม่ และโน้มน้าวจูงใจให้พวกเขาเชื่อว่า โลกที่พวกเขามีผลประโยชน์ร่วมกันอยู่นั้น ควรจะเป็นโลกที่มีเสถียรภาพมากกว่านี้และดียิ่งกว่านี้มากกว่า และโมเดลแบบ Al Capone ก็หาใช่เยี่ยงที่ควรเอาอย่างไม่

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us