Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544
Regional Player             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
search resources

Telecommunications




เป็นครั้งแรกที่ความคิดรวบยอดของพรรคการเมืองไทย เป็นภาพสะท้อนพลังของอิทธิพลสำคัญของสังคมไทย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอิทธิพลทั้งหลาย ซึ่งเป็นตัวแทนของพลังใหม่ที่เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

นั่นคือ การก่อตัวเป็นระบบความคิดของผู้นำพรรคการเมือง พรรคที่กำลังมีบทบาทสำคัญ ในขณะนี้พรรคไทยรักไทย

พรรคไทยรักไทย มิได้เป็นเพียงภาพสะท้อนของ "ระบบความคิด" ของทักษิณ ชินวัตร เท่านั้น

กลุ่มชินคอร์ป เกิดและเติบโตมาเพียง 1 ทศวรรษเท่านั้น ภายใต้การมองโอกาสที่เกิดขึ้น จากการเรียนรู้ โมเดลของการพัฒนาจากประเทศ ตะวันตก โดยที่ทักษิณ ชินวัตร ได้ศึกษาและใช้ความรู้จากตะวันตกมาประยุกต์เข้ากับสังคมไทย อย่างถูกจังหวะเวลาและธุรกิจ ทำให้กลุ่มชินคอร์ป เข้มแข็ง และเป็นผู้นำในธุรกิจสื่อสารในเวลา รวดเร็ว

โมเดลของทักษิณ ชินวัตร กลายเป็นโมเดลคลาสสิกของกลุ่มอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่า กลุ่มจัสมิน ที่มีผู้ก่อตั้งเป็นปาร์ตี้ลิสต์อันดับต้นๆ ของพรรคไทยรักไทย (อดิศัย โพธารามิก) รวม ไปจนถึงกลุ่มซีพีที่มีบุคลิกพิเศษพอสมควร

กลุ่มซีพี เติบโตมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่เผอิญมีผู้นำคนหนุ่มอย่าง ธนินท์ เจียรวนนท์ มองโอกาสเป็นและถือเป็นนักธุรกิจไทยคนหนึ่ง ที่มีบทเรียนอย่างมากมายและสมบูรณ์ในการเรียนรู้จากฝรั่งมาประยุกต์เข้ากับสังคมไทย ทั้งขยายโอกาสธุรกิจเข้าสู่ระดับภูมิภาค สำเร็จเป็นรายแรกๆ ของธุรกิจไทยการเข้าสู่ธุรกิจใหม่ที่ว่าด้วยโทรคมนา คมและเทคโนโลยีสารสนเทศ นับว่าเป็นการ ปรับตัวเข้ากับ New Economy อย่างทันการและ ได้ผลมากทีเดียว

ทั้งสามกลุ่ม ก็คือ ธุรกิจที่ซ้อนทับกันและ แข่งขันกันอย่างหนักในสังคมไทย ในช่วงเศรษฐ กิจเติบโตผิดธรรมชาติในช่วงที่ผ่านมา

"การแข่งขันทางธุรกิจที่เกินเลย ทำให้ธุรกิจของเขา "ใจแคบ" ในการแสวงหาความร่วม มือ ในการสร้างระบบพื้นฐาน หรือสาธารณูปโภค พื้นฐานของธุรกิจร่วมกัน อันจะทำให้ต้นทุน หรือ ภาระของธุรกิจลดลง โดยมองการแข่งขันทุกมิติ แบ่งเป็นฝ่ายอย่างแข็งตัว

ธนาคารจัดทำระบบเอทีเอ็มพูล โดยยังคง อำนาจความเป็นเจ้าของตู้เอทีเอ็มไว้อย่างเหนียว แน่น โดยมีการเก็บค่าธรรมเนียมระหว่างธนาคาร ภายใต้ทุนที่สูงกว่าปกติ ทำให้การใช้เอทีเอ็มมากๆ กลายเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นของธนาคาร แทนที่พูลกันอย่างจริงๆ โดยตั้งองค์กรร่วม เพื่อบริหารเอที เอ็ม ทำให้เอทีเอ็มทำงานมากขึ้น ทดแทนบาง บริการของธนาคารมากขึ้น ลดต้นทุนธนาคารโดยรวม หรือใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่ามากขึ้น

โมเดลความคิดที่ค่อนข้างคับแคบนี้ สะท้อนเข้ามาในธุรกิจโทรคมนาคม ซึ่งตามแนว ทางหรือปรัชญาของเทคโนโลยีที่พวกเขาขายแล้ว ควรจะใช้มาตรฐานร่วมกันมากที่สุด ที่เรียกว่า open system หรือสร้าง infrastructure ร่วมกัน ประหนึ่งการทำถนนในมาตรฐานเดียวกัน เชื่อมต่อกันได้ แต่ความเป็นจริง ธุรกิจเหล่านี้ในเมืองไทย ซึ่งดูเหมือนเข้าใจปรัชญานี้ค่อนข้างน้อย รวมถึงยังมีความคิดของธุรกิจผูกขาด ทั้งๆ ที่ธุรกิจเหล่านั้น มีลักษณะผูกขาดน้อยลงๆ จึงสร้าง ค่าย และกำแพงของตนเองขึ้นมา

เช่น กรณี เคาน์เตอร์เซอร์วิสของ TA และ UCOM ที่กำลังแข่งขันกันบริการรับชำระค่าสาธารณูปโภคของรัฐ และผูกขาดเพียงรายเดียว ซึ่งจับคู่กับธุรกิจที่เป็นคู่แข่งกับอีกค่ายหนึ่ง

การจับค่ายอย่างเกินเหตุ มีไปถึงร้านขาย อุปกรณ์โทรคมนาคมของค่ายต่างๆ ซึ่งสร้างกันนับร้อยแห่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จนกลายเป็นเครือข่ายที่ทรงอิทธิพลแล้ว หากร่วมกัน ไม่ว่าของ ชินวัตร ยูคอม สามารถ จัสมิน ซึ่งทุกค่ายขายสินค้าลักษณะเดียวกัน มีบริการชำระเงินค่าบริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่เหมือนกัน ฯลฯ

หากร้านเหล่านี้ร่วมมือกัน ผู้บริโภคคงสะดวกมากขึ้น ขณะเดียวกันต้นทุนของค่ายต่างๆ จะลดลง หรือคุ้มต่อการลงทุนมากขึ้น เพราะว่าร้านเหล่านี้ มิใช่เป็นบุคลิกหรือยุทธศาสตร์ของการตลาดของแต่ละองค์กรที่แข่งขันกันเลย

แท้ที่จริง มีความหมายเหมือนๆ กับกรณี ตู้เอทีเอ็มนั่นแหละ

นี่คือ บุคลิกของธุรกิจไทย เป็นแรงต้านการปรับตัวเพื่อให้ระบบธุรกิจมีประสิทธิภาพ มากขึ้น โดยเฉพาะในยามยากลำบากเช่นปัจจุบัน" (ผู้จัดการรายวัน 16 กันยายน 2540)

ข้อเขียนข้างต้นของผม เมื่อ 3 ปีที่แล้ว สะท้อนภาพนั้นอย่างชัดเจน

แต่การรวมตัวของพวกเขาที่พรรคไทยรักไทย โดยกลุ่มซีพีได้ส่งตัวแทนเข้าไปอย่างไม่เปิดเผยมากนัก ขณะที่กลุ่มชินและจัสมิน เปิดเผยตัวอย่างชัดเจน เป็นภาพที่สวนทางปรากฏ การณ์ก่อนหน้านั้นอย่างสิ้นเชิง

คำถามจึงเกิดขึ้นว่า พวกเขารวมตัวกันใน พรรคการเมือง เป็นภาพสะท้อนของความคิดที่ส่งมาถึงภาคธุรกิจที่เขาเป็นกลุ่มผลประโยชน์อยู่อย่างไร

แนวความคิดหยาบๆ ที่มองว่าพวกเขากำลังเข้ามาครอบงำ หรือผูกขาดธุรกิจใน New Economy ในประเทศไทยนั้น เป็นการมองที่สั้น และคับแคบ เป็นความคิดดั้งเดิมที่สังคมธุรกิจไทยอยู่ในกระดองเต่าอันเข้มแข็งก่อนหน้านี้

ความเป็นจริงก็คือ ตลาดเมืองไทยแคบเกินไปที่พวกเขาจะมาจัดระเบียบ และปรองดองผลประโยชน์กับโครงสร้างธุรกิจของพวกเขาที่ใหญ่ ไม่เพียงเท่านั้น ตลาดไทยโดยเฉพาะธุรกิจสื่อสาร และไอที ได้ถูกแทรกเข้ามาของธุรกิจระดับโลกและระดับภูมิภาคมากแล้ว ทั้งๆ ที่การเปิดเสรีตามกติกาของโลกตะวันตกจะยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม โดยเฉพาะการเข้ามาในช่วงที่พวกเขาอ่อนแอและมีปัญหาหนี้สินจากวิกฤติการณ์สังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา

สิ่งที่เป็นภาพสะท้อนที่สำคัญของปรากฏ การณ์นี้ก็คือ การร่วมมือกันเชิงยุทธศาสตร์ของธุรกิจไทย ในการก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม ่ที่การแข่งขันจะต้องเริ่มต้นจากระดับภูมิภาคขึ้นไป

นับว่าเป็นผลที่ดีของการปรับความคิด อันเนื่องมาจากวิกฤติที่สำคัญและสะท้อนภาพมาที่พรรคการเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ธนินท์ เจียรวนนท์ และลูกชายที่ดูแลอาณาจักรธุรกิจใหม่ (ศุภชัย เจียรวนนท์) ก็พูดเรื่องการแข่งขันระดับภูมิภาคมาแล้วประมาณ 2 ปี เช่นเดียวกับบุญคลี ปลั่งศิริ แห่งชินคอร์ป ก็เดินแผนธุรกิจสร้างจิ๊กซอว์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการก้าวเป็น Regional Player มาในระยะใกล้เคียงกัน

การร่วมมือ ก่อเป็นระบบความคิดของภาครัฐในเรื่องยุทธศาสตร์ของไทย หรือธุรกิจไทย ในอันจะต่อสู้ในระดับภูมิภาคของพรรคไทยรักไทย เป็นภาพที่ชัดเจนและเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่ง จากผู้แข่งขันในต่างประเทศ

พวกเขาคาดการณ์ว่า จากนี้รัฐบาลไทยกำลังเริ่มต้นปรับความคิดครั้งใหญ่ ด้วยการดำเนินแผนในเชิงยุทธศาสตร์ในการแข่งขันในระดับประเทศมากขึ้น เช่นเดียวกับสหรัฐฯ หรือประเทศอื่นๆ เช่น สิงคโปร์ที่ทำมานานแล้ว ด้วยการสร้าง platform สำหรับภาคเอกชนต่อไป ซึ่ง แต่เดิมรัฐบาลไทยไม่เคยมีบทบาทเช่นนี้อย่างจริง จังมาก่อน ปล่อยให้เอกชนไทยต่อสู้ตามลำพัง

แนวทางก็คือ การเปิดเสรีการค้าจะมาถึง จะมิใช่การเปิดอย่างไร้ยุทธศาสตร์ โดยไม่คำนึงถึงความพร้อมของประเทศตนเองเช่นที่ผ่านมา ทั้งๆ ที่เรามีบทเรียนมาครั้งแล้วครั้งเล่าว่า ประเทศ ที่อ้างว่าเปิดเสรีนั้น แท้จริงมีกำแพงการค้าหรือเทคนิคในการทำลายความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศคู่แข่งขันมากกว่าประเทศไทยเสียด้วยซ้ำ

นโยบายชาตินิยมของไทยรักไทย มิใช่ชาติ นิยมในความหมายเดิมเป็นแน่แท้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us