Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 543
เตือนส่งออกครึ่งปีหลังชะลอตัว             
 


   
search resources

Import-Export




แม้การส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองเข้าขั้นวิกฤติ และมีวันทำการน้อยจะมีมูลค่าสูงสุดในรอบ 22 เดือน โดยการส่งออกสินค้าสำคัญส่วนใหญ่ก็ยังคงขยายตัวสูง ซึ่งส่วนหนึ่งยังได้รับอานิสงส์จากการส่งออกทองคำที่พุ่งขึ้นถึงร้อยละ 521 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่าสูงถึง 1,379 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเกือบ 1 ใน 4 ของมูลค่าการส่งออกทองคำในปีที่แล้วทั้งปี

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การส่งออกในระยะข้างหน้ายังต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งภาครัฐและเอกชนอาจต้องเตรียมรับมือกับแนวโน้มที่การส่งออกในครึ่งปีหลังอาจชะลอตัว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินแนวโน้มการส่งออกของไทยว่า การส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคม 2553 มีมูลค่า 16,556 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงสุดในรอบ 22 เดือน และมีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 42.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 35.2 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่การนำเข้าในเดือนพฤษภาคมมีมูลค่า 14,345 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 55.1 (YoY) สูงขึ้นจากร้อยละ 46.0 ในเดือนก่อน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะน้ำมันที่อ่อนตัวลงอย่างมากในระยะที่ผ่านมา เป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการไทยเร่งนำเข้าสินค้าวัตถุดิบเพื่อให้ได้ประโยชน์จากต้นทุนราคาสินค้าที่ต่ำ สำหรับดุลการค้าในเดือนพฤษภาคมพลิกกลับมาเกินดุลในระดับที่สูงสุดในรอบ 12 เดือน ที่มูลค่า 2,111 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่บันทึกการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 17 เดือนที่ 266 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนก่อนหน้า

สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัวในเดือนก่อนกลับมาดีขึ้นอย่างมาก ขณะที่กลุ่มสินค้าที่มีการส่งออกขยายตัวโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา เช่น รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ ก็ยังมีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้ากลุ่มที่ไม่สดใสนัก ได้แก่ ข้าว อาหาร ทะเลกระป๋องและแปรรูป เสื้อสำเร็จรูป เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในขณะที่การส่งออกไปยังตลาดส่วนใหญ่ในเดือนพฤษภาคมมีการฟื้นตัวดีขึ้นมากจากที่ชะลอตัวในเดือนก่อน

แต่ตลาดประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปยังขยายตัวไม่ต่างจากเดือนก่อนมากนัก ซึ่งสะท้อนถึงทิศทางอุปสงค์ในตลาดยุโรปที่อาจไม่สดใสนักในระยะข้างหน้า โดยการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป 15 ประเทศ ขยายตัวร้อยละ 19.3 (YoY) ในเดือนพฤษภาคม (จากร้อยละ 15.0 ในเดือนก่อน)

ขณะที่ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 26.7 ญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 39.4 อาเซียน 5 ประเทศ ขยายตัวร้อยละ 50.0 ส่วนตลาดใหม่โดยเฉลี่ยขยายตัวร้อยละ 48.3 ทั้งนี้ ตลาดยุโรปที่เริ่มชะลอตัวแล้วในเดือนพฤษภาคม ได้แก่ เยอรมนีและโปรตุเกส ขณะที่ไอร์แลนด์มีการหดตัวมาตั้งแต่ต้นปี

จากตัวเลขการส่งออกที่ขยายตัวสูงอย่างมากในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 อีกทั้งมีผลของการส่งออกทองคำ ซึ่งด้วยระดับราคาในเดือนมิถุนายน ที่ยังคงพุ่งทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่และทรงตัวในระดับสูงนี้ น่าจะยังเป็นแรงจูงใจให้มีการขายทองคำออกมาต่อไปอีก ซึ่งคงจะหนุนตัวเลขการส่งออกในเดือนมิถุนายนให้ยังคงขยายตัวสูง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดว่า การส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 น่าจะมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 34 (YoY)

ในระยะต่อไป แม้คาดว่าการส่งออกจะยังสามารถรักษาอัตราการขยายตัวเป็นบวกได้ในแต่ละเดือนของช่วงครึ่งปีหลัง แต่การส่งออกมีแนวโน้มที่จะชะลอตัว อันเนื่องมาจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งประเด็นเกี่ยวกับวิกฤติด้านการคลังของหลายประเทศในยุโรป เป็นสิ่งที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ทั้งผลที่อาจจะมีขึ้นต่อภาคสถาบันการเงินของยุโรป และผลกระทบ ต่อระบบเศรษฐกิจของยุโรปทั้งภูมิภาค รวมถึงเสถียรภาพของค่าเงินยูโร หากวิกฤติดังกล่าวลุกลามขยายวงออกไปมากขึ้น

ขณะเดียวกัน ก็มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวในระยะข้างหน้า ซึ่งอาจจะส่งผลให้การส่งออกของหลายประเทศในเอเชีย รวมทั้งไทย ชะลอตัวตามไปด้วย

ความเปราะบางของเศรษฐกิจโลกที่เผชิญความเสี่ยงจากวิกฤติหนี้สาธารณะของหลายประเทศในยุโรป จนทำให้มีความวิตกกังวลต่อโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบสอง (Double-Dip Recession) ในบางประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงรอติดตามสถานการณ์ในเดือนข้างหน้าต่อไปก่อนที่จะพิจารณา ปรับประมาณการแนวโน้มการส่งออกอีกครั้ง

ความเสี่ยงด้านวิกฤติหนี้ในภูมิภาคยุโรปที่อาจส่งผลให้การส่งออกชะลอตัว ผู้ส่งออกไทยอาจต้องเผชิญแรงกดดันเพิ่มขึ้นหลายด้าน ทั้งค่าเงินบาทที่ยังมีแนวโน้มแข็งค่า ขณะที่ต้องเผชิญการแข่งขันด้านราคาอย่างหนัก เนื่องจากผู้ซื้อในต่างประเทศมีทางเลือกให้สามารถต่อรองราคาได้มาก นอกจากนี้ยังต้องเผชิญแรงกดดันด้านต้นทุน ทั้งจากแนวโน้มราคาน้ำมันที่มีโอกาสปรับขึ้นในระยะข้างหน้า รวมทั้งทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่อาจเข้าสู่ช่วงขาขึ้น

ภายใต้ปัจจัยความเสี่ยงเหล่านี้ ผู้ส่งออกไทยจึงควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 ที่อาจต้องเผชิญความยากลำบากมากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us