Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2527








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2527
บุญชูกับศิลปวัฒนธรรมและวงการวรรณกรรม             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Crafts and Design
บุญชู โรจนเสถียร




ถึงแม้ถวัลย์ ดัชนี จะเคยพูดในวงเหล้าว่ารสนิยมศิลปะของนายธนาคารทั้งหลายเป็นรสนิยมระดับจัณฑาลก็ตาม

แต่บุญชูเองก็เป็นคนที่รักในด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีรสนิยมค่อนข้างสูงพอสมควร (บัญชา ล่ำซำ ก็เป็นอีกคนหนึ่งซึ่งชอบในด้านนี้)

“มีอยู่หลายครั้งที่ท่านแอบไปดูการแสดงภาพวาด และครั้งหนึ่งท่านให้ช่วง มูลพินิจ ขนภาพสีน้ำไปให้ดูที่สำนักงาน ในครั้งนั้นท่านซื้อไปหลายรูป มีอยู่รูปหนึ่งเป็นรูปศาลเจ้าซึ่งท่านส่งไปให้ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำเพ็งติดไว้” คนใกล้ชิดบุญชูเล่าให้ฟัง

ในยุคที่บุญชูเป็นผู้จัดการใหญ่เป็นยุคที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์รุ่งเรืองมาก “ธนาคารต้องแสดงออกต่อสังคมในด้านอื่นด้วย ไม่ใช่เฉพาะในด้านการเงินการทอง” บุญชูเคยพูดกับผู้ใกล้ชิด

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของธนาคารกรุงเทพที่อยู่ชั้นบนสุดของธนาคารกรุงเทพ สาขาผ่านฟ้า ก็เป็นผลงานของบุญชู

“แม้แต่หนังสือประวัติศาสตร์ไทยที่ธนาคารกรุงเทพทำ และแจกในงานเปิดตึกใหม่ก็สำเร็จได้เพราะการสนับสนุนของบุญชู” แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว

หนังสือชุดนี้มีหลายเล่ม เดิมทีเป็นโครงการที่สุจิตต์ วงษ์เทศ เสนอขึ้นมาแต่บุญชูนำไปขยายจากชื่อ “เมืองไทยของเรา” เป็นการชำระประวัติศาสตร์ไทยและมอบให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นบรรณาธิการ เฉพาะค่าใช้จ่ายในการจัดทำก็เป็นล้านๆ บาท

บุญชูอาจจะเป็นนายธนาคารเพียงคนเดียวในเมืองไทย ที่พยายามจัดให้มีการนัดพบสังสรรค์กับบรรดานักเขียนต่างๆ เมื่อสมัยที่เขาเป็นผู้จัดการใหญ่

ในสายตาของปัญญาชนจึงมองบุญชูว่าเป็นนายทุนที่มีความคิดก้าวหน้ามากกว่าคนอื่น

บุญชูให้ความเคารพปรีดี พนมยงค์ อย่างสูง

ครั้งหนึ่งหลังจากกลับจากต่างประเทศซึ่งเขาเดินทางไปเยี่ยมปรีดี พนมยงค์ ที่กรุงปารีส เขากลับมาพร้อมกับต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสที่ปรีดี พนมยงค์ เขียนเกี่ยวกับการปฏิวัติวัฒนธรรมในจีน

เขาสั่งให้คนใกล้ชิดบินไปฮ่องกง เพื่อหาสำนักพิมพ์ที่สามารถซื้อลิขสิทธิ์เพื่อแปลเป็นหนังสือภาษาจีนเพื่อเผยแพร่ทันทีตามความประสงค์ของปรีดี พนมยงค์

บุญชูเป็นคนรักหนังสือและมีความปรารถนาจะเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เองสักหนึ่งเล่ม พินิจ พงษ์สวัสดิ์ อดีตฝ่ายบริหารฝ่ายประชาสัมพันธ์ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว เคยเล่าให้ฟัง “คุณบุญชูเคยพูดว่าถ้าว่างงานท่านอยากทำหนังสือแนวรีดเดอร์ไดเจสท์สักเล่ม”

แม้แต่ในการทำรายงานประจำปีของธนาคารกรุงเทพ พินิจพูดว่า “ท่านเป็นคนสั่งให้เปลี่ยนรูปแบบจากการเสนอแต่ตัวเลขและการทำรายงานประจำปีที่ดูขรึม เป็นเพิ่มเติมในแง่ของคนธนาคารเพื่อเน้นในเรื่องคนซึ่งเป็นทรัพยากร มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้รับ lay out ของรายงานประจำปีแล้วไม่พอใจถึงกับโทรเรียกคนข้างนอก ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการจัดรูปเล่มเข้ามาให้จัดรูปเล่มใหม่หมด และให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง”

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us