|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าขณะนี้ บริษัท กันกุล พาวเวอร์เจน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ( บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง ถือหุ้นใน บริษัท กันกุล พาวเวอร์เจน จำกัด 99.99% ) ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งจะมีการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ กฟภ. ขนาด 7.4 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลานาน 25 ปี โดย "กันกุล พาวเวอร์เจน "จะได้รับการสนับสนุนส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้า (adder) ในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่หน่วยละ 8 บาท เนื่องจากเป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (solar cell) ในช่วงเวลา 10 ปีแรก
โดยการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะแบ่งออกเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกจะมีกำลังการผลิตขนาด 3 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 360 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินทุนที่มาจากเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการและจากสถาบันการเงิน ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างโรงฟ้าและติดตั้งระบบต่างๆ ในทันที โดยจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 6 เดือน และในเบื้องต้นคาดว่าจะเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าได้ประมาณปลายปี 53 พร้อมกันนี้คาดว่าในส่วนของเฟสแรก จะสร้างรายได้ให้กับบริษัทประมาณ 50 ล้านบาทต่อปี
สำหรับเฟสที่ 2 มีกำลังการผลิตขนาด 4.4 เมกะวัตต์ จะเริ่มดำเนินการทันทีเมื่อเฟสแรกสามารถผลิตและขายไฟฟ้าได้ สำหรับเงินลงทุนในเฟสที่ 2 เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งนอกจากเงินทุนที่จะได้มาจากทุนหมุนเวียนภายในกิจการแล้ว อีกส่วนหนึ่งคาดว่าจะใช้เงินจากการเสนอขายหุ้นไอพีโอให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งตามแผนงานเบื้องต้น
บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง คาดว่าจะมีการระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้ประมาณปลายปีนี้ หรืออาจจะเป็นช่วงต้นปี 54
" โครงการนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง มีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นรายได้ที่มีความแน่นอน เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตได้สามารถขายให้กับ กฟภ.ได้ทั้งจำนวน ที่สำคัญในช่วงแรกเรายังได้รับค่า adder อีกถึงหน่วยละ 8 บาท เป็นเวลานาน 10 ปี และเรายังมีแผนที่จะเปิดเฟสที่ 2 เพิ่มเติมอีก เมื่อเฟสแรกสามารถผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าได้ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มฐานรายได้ของบริษัทให้กว้างขึ้นด้วย และในอนาคตมีแผนที่จะเปิดโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ตามจังหวัดต่าง ๆ ที่มีศักยภาพและยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้า จากโครงการแรกที่ก่อสร้างในจังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากบริษัทมี room ผลิตได้ถึง 30 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นส่วนที่ได้ยื่นความจำนงกับ กฟภ.ไว้แล้ว "
สำหรับลุ่มบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจผลิต จัดหา และจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับระบบไฟฟ้าซึ่งครอบคลุมอยู่ในทุกขั้นตอนของระบบการส่งและจำหน่ายไฟฟ้าตั้งแต่โรงไฟฟ้าจนถึงผู้ใช้ไฟฟ้าด้วยสินค้าคุณภาพกว่า 5,000 รายการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ทั้งการใช้งานในระดับครัวเรือนจนถึงการใช้งานในระดับมหภาคของหน่วยงานภาครัฐนอกจากนี้กลุ่มบริษัทยังประกอบธุรกิจจัดหาและจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับระบบพลังงานทดแทนอีกด้วย
ปัจจุบัน บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง มีทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท และมีทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว 300 ล้านบาท บริษัทจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 100 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ซึ่งจะทำให้ทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้วของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านบาท เพื่อเสนอขายต่อประชาชนทั้งจำนวนหรือ 25 % ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ จากนั้นบริษัทจะดำเนินการนำหุ้นสามัญของบริษัทเข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะมีการระดมทุนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้ประมาณปลายปี 53 หรืออาจจะเป็นช่วงต้นปี 54
|
|
|
|
|