Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 ตุลาคม 2546
คลังหารือกฤษฎีกา14ต.ค.นี้ถกพ.ร.ก.ควบกิจการ"BT-IFCT"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยธนาคาร

   
search resources

ธนาคารไทยธนาคาร, บมจ.
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย - IFCT
กระทรวงการคลัง
Banking and Finance




กระทรวงการคลัง เตรียมนำร่างกฎหมายควบรวมกิจการไทยธนาคารและไอเอฟซีทีฉบับใหม่หารือกับกฤษฎีกาในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ ก่อนจะเสนอให้ครม. พิจารณาอนุมัติต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดการสะดุดในแง่ของกฎหมาย ระบุประเด็นหลักเป็น การเปิดทางให้ไอเอฟซีทีโอนสินทรัพย์ไปยังธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ พร้อมควบรวมกิจการกับไทยธนาคารได้

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย ถึงความคืบหน้าในการควบรวมกิจการของธนาคารไทยธนาคาร (BT) และบรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) ว่า ในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ กระทรวงการคลังจะนำร่างพระราชกำหนดฉบับใหม่ที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับการควบรวมกิจการของไทยธนาคารกับไอเอฟซีที เข้าหารือหลักการด้านกฎหมายร่วมกับคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนที่จะมีการนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ทั้งนี้เพื่อให้ขั้นตอนในการดำเนินการทางด้านกฎหมายต่างๆ ไม่เกิดการสะดุด

"หลักการของพระราชกำหนดฉบับใหม่ จะเป็นการเพิ่มวัตถุประสงค์ของไอเอฟซีทีให้สามารถโอนสินทรัพย์เพื่อควบรวมกิจการได้ และให้ใช้กฎหมายมหาชนมาบังคับใช้กับ ไอเอฟซีทีเช่นเดียวกับบริษัทมหาชนทั่วไป ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการหารือในหลักการกับทางคณะกรรมการกฤษฎีกาเบื้องต้นแล้ว แต่จะต้องมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อฟังความเห็นจาก ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และไอเอฟซีทีด้วย" แหล่งข่าว กล่าว

ทั้งนี้ หลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ ความเห็นว่า กฎหมายเดิมที่มีอยู่ไม่เปิดช่องทาง ให้มีการควบรวมกิจการได้ เพราะพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดตั้งไอเอฟซีทีไม่อนุญาตให้ดำเนินการโอนสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปควบรวมกิจการกับธนาคารพาณิชย์ใหม่ได้ จึงต้องมีการร่างพระราชกำหนดฉบับใหม่ขึ้น เพื่อให้อำนาจไอเอฟซีทีโอนสินทรัพย์เพื่อไปควบรวมกิจการได้ หลังจากนั้น จะเปิดช่องให้สามารถดำเนินการควบกิจการเช่นเดียวกับบริษัทมหาชนทั่วไป เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายย่อยตามหลักกฎหมายมหาชน

แหล่งข่าว กล่าวว่า รูปแบบของพระราชกำหนดใหม่ดังกล่าวจะไม่มีความยุ่งยากมากนัก มีมาตราเพียงไม่กี่มาตรา และจะเปิดช่องให้คล้องกับกฎหมายฉบับอื่นที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้การพิจารณาข้อกฎหมายไม่มีความยุ่งยาก และจะทำให้กระบวนการออกกฎหมายสามารถ ดำเนินการได้ทันเวลา และไม่ทำให้การควบรวม กิจการของสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่งไม่ชะลอออกไป โดยจะยังคงเสร็จสิ้นทันปี 2546 ตามนโยบายของรัฐบาล

สำหรับวัตถุประสงค์ของการควบรวมกิจการครั้งนี้ รัฐบาลต้องการเสริมฐานะของสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่ง ให้มีความเข้มแข็งเพิ่ม มากขึ้นและสามารถแข่งขันในระบบธนาคารพาณิชย์ได้ ซึ่งจากการควบรวมจะทำให้เกิดธนาคารพาณิชย์ใหม่ขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสินทรัพย์ประมาณ 500,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นธนาคารที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของระบบธนาคารพาณิชย์

โดยการควบรวมดังกล่าว จะเป็นลักษณะ A+B เป็น C ที่จะออกมาเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ และไม่มีใครเป็นแกนนำในการควบรวม

หลังจากการควบรวมกิจการแล้ว ธนาคาร ใหม่นี้จะเป็นธนาคารเอกชน เพราะจากกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ถือหุ้นในไทยธนาคาร 49% และกระทรวงการคลังถือหุ้นของไอเอฟซีที 1 ใน 3 ทำให้เมื่อควบรวมกิจการในลักษณะ 50 ต่อ 50 ทำให้หุ้นที่รัฐ ถืออยู่ต่ำกว่า 50%

ทั้งนี้ ไทยธนาคารมีสินทรัพย์ประมาณ 247,454 ล้านบาท มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมตราฐานบีไอเอส 20.23% แบ่งเป็นเงินกองทุนขั้นที่ 1 ประมาณ 19.60% เงินกองทุน ขั้นที่ 2 0.63% พนักงานทั้งหมด 2,257 คน ในขณะที่สาขามีเพียง 85 สาขาทั่วประเทศ
   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us