Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2535
ความเป็นสัตว์และเศรษฐกิจของจระเข้             
โดย โสภิดา วีรกุลเทวัญ สุกรานต์ โรจนไพรวงศ์
 


   
search resources

Agriculture
ฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ




จระเข้เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่มากที่สุดประเภทหนึ่งของโลกในระดับสมัยเดียวกับไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้วทีเดียว จากหลักฐานทางวิชาการยืนยันได้ว่าจระเข้นั้นกระจัดกระจายอยู่ในเขตร้อนทุกส่วนของโลกที่มีอุณหภูมิประมาณ 70 องศาฟาเรนไฮต์ ตามธรรมชาติทั้งหมดที่มีอยู่ 3 วงศ์ 22 ชนิด ในประเทศไทยมี 3 พันธุ์ด้วยกันคือจระเข้น้ำจืด (SIAMESE CROCODILE) จระเข้น้ำเค็ม (SALT-WATER-CROCODILE) และตะโขง (FALSE GAVIAL)

ที่ฟาร์มจระเข้ฯ ขณะนี้มี 9 ชนิด พันธุ์ต่างประเทศที่เพาะเลี้ยงสำเร็จแล้วมี 3 ชนิด ได้แก่ พันธุ์คิวบา (CUBAN CROCODILE) พันธุ์นิวกินี (NEW GUINEAN CROCODILE) และพันธุ์ไคมานอเมริกาใต้ (CAIMAN CROCODILUS)

ส่วนที่ถือว่าเด่นที่สุดในการเพาะเลี้ยงคือการนำเอาพันธุ์น้ำจืดผสมกับพันธุ์น้ำเค็มจนได้เป็นพันธุ์ลูกผสม (HYBRID CROCODILE) สำเร็จเป็นแห่งแรกของโลกเมื่อ 28 ปีก่อน ปัจจุบันมีอยู่หลายพันตัวแล้ว

ในอดีตจระเข้มีอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นที่ภาคเหนือตอนล่างอย่างจังหวัดพิจิตรหรือจังหวัดเพชรบูรณ์ที่แสนจะขึ้นชื่อว่าเป็นถิ่นของเจ้าชาละวัน ในภาคกลางก็เช่นที่จังหวัดสระบุรี กาญจนบุรี ไปจนถึงทางตะวันออกและใต้แถบจังหวัดระยอง ชุมพร เป็นต้น

แต่ชะตากรรมของจระเข้าไทยก็ไม่ได้แตกต่างไปจากจระเข้สัญชาติอื่น ๆ และคงคลุมไปได้ถึงสัตว์ป่าอื่น ๆ ด้วยที่ในที่สุดแล้วแม้จะได้ชื่อว่าเก่งกาจ ดุร้ายน่าสะพรึงกลังถึงขนาดได้สมญานามว่าเป็นเพชรฆาตก็ยังคงต้องถึงมาตด้วยน้ำมือมนุษย์จนได้

ประโยชน์ของจระเข้นั้นเกิดมาจากอวัยวะทุกส่วนโดยส่วนที่มีความสำคัญควรแก่การเอ่ยถึงได้แก่ เนื้อใช้ทำยา รักษาโรคหืด ดีจระเข้าให้ทำยารักษาโรคตาบางชนิด กระดูกใช้ทำยารักษาโรคกระเพาะและทางเดินอาหาร ฟันเป็นยากวาดคอเด็ก และเครื่องประดับ และเลือกใช้รักษาโรคมะเร็ง

แต่สิ่งแรกของจระเข้ที่มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์นั้นคือหนัง

อารยธรรมแห่งการใช้หนังจระเข้ เริ่มต้นขึ้นในยุคล่าอาณานิคมของชาวยุโรป โดยประเทศที่เป็นผู้บุกเบิกการฟอกหนังก็คืออังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี ส่วนวัตถุดิบนั้นได้จากประเทศเมืองขึ้นทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นในแอฟริกา อเมริกาใต้ เอเชีย รวมทั้งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

จระเข้าพันธุ์ที่ได้รับความนิยมใช้หนังมากที่สุดในยุคนั้นได้แก่ ไคมานอเมริกาใต้ หลังจากนั้นถึงกว่าครึ่งศตวรรษหนังจระเข้ไทยจึงได้เริ่มมีค่าพร้อม ๆ กับที่พัฒนาการด้านการฟอกหนังได้กำเนิดขึ้นในทางภูมิภาคนี้คือประเทศญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และไทย

สำหรับความเจริญก้าวหน้าในเรื่องนี้ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลี ถือว่ามาทีหลัง เป็นรุ่นที่สาม

ดูเหมือนจะเป็นสัจธรรมไปแล้วที่ว่าถ้าเมื่อใดมนุษย์เข้ามาหยิบฉวยเอาสิ่งใดจากธรรมชาติไปใช้ในทางการค้าก็เท่ากับว่าสิ่งนั้นจะต้องถึงแก่กาลดับสูญ

ตามธรรมชาติผู้ทำลายล้างจระเข้นั้นมีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นนาก งู ตะกวด ชะมด อีเห็น นกกระสา ฯลฯ สัตว์เหล่านี้กินไข่และลูกจระเข้เป็นอาหาร หากมองจากมิติของเรื่องระบบนิเวศน์ห่วงโซ่อาหาร ผู้ทำลายล้างก็คือผู้คุมกำเนิดด้วย แต่สำหรับผู้ทำลายล้างเช่นมนุษย์กระทำกันไม่รุนแรงมากนักในนามของความปลอดภัยและความหวาดกลัว เนื่องจากลักษณะหลาย ๆ อย่างของจระเข้ทั้งในทางกายภาพและพฤติกรรมได้สร้างภาพอันน่าหวั่นเกรงเกินจริงขึ้น

"จระเข้ทั่วโลกหมดไปก็เพราะคนล่ามาก คนไปบุกรุกถิ่นที่อยู่อาศัยเข้าไปตามแม่น้ำ ตามป่าชายเลน (เป็นถิ่นที่อยู่ของจระเข้) จระเข้ก็ต้องหนีไปเรื่อย ๆ ในขณะที่คนที่ขยายถิ่นที่อยู่อาศัย คนกลัวจระเข้ไปอยู่ที่ไหนก็ต้องล่าให้หมด จะได้ปลอดภัยแล้วก็ขายหนังได้อีก" ร้อยเอกนายแพทย์ปัญญา ยังประภากร กรรมการรองผู้จัดการบริษัทฟาร์มจระเข้ฯ กล่าวถึงสาเหตุที่จระเข้หดหายไปจากธรรมชาติ

ประมาณได้ว่าในยุคแรก ๆ ของการนิยมใช้หนังจระเข้ทั่วโลกก็ได้ถูกล่าตัวเพื่อฆ่าถลกหนังไปใช้แต่ละปีมากถึงกว่า 1 ล้านตัวแล้ว จนถึงในช่วงทศวรรษ 2490 ราคาหนังยิ่งสูงขึ้นมาก การผลิตก้าวเข้าสู่ระดับอุตสาหกรรมตลาดขยายตัวมาก การล่าก็ได้รุกขยายตอบรับด้วยเช่นกันทั้งในเชิงปริมาณและ คุณภาพ ตัวเล็ก ตัวใหญ่มีสิทธิถูกจับตายเสมอหน้ากัน ในแต่ละปีประมาณว่ามีการค้าหนังถึง 2 ล้านผืน

จำนวนชีวิตจระเข้ในธรรมชาติจึงก้าวสู่ระดับวิกฤตในทุก ๆ ภูมิภาค นับว่าวิกฤตแล้วอย่างแน่ชัดในทางสากลจึงได้ถือว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ต้องคุ้มครอง

สำหรับประเทสไทยเองไม่มีใครรู้แน่ชัดว่ามีหลงเหลืออยู่อีกมากน้อยเพียงใด แต่ถึงยังมีอยู่บ้างก็เชื่อได้ว่าคงเป็นจำนวนที่น้อยมากจนแทบไม่ต่างกับไม่มีเลย!!!

จากที่ประวัติศาสตร์เคยกล่าวไว้ว่าพบจระเข้น้ำจืดชุกชุมทั่วทุกภาคของประเทศตามบึงต่าง ๆ และชนิดน้ำเค็มนั้นก็ชุกชุมเช่นกันบริเวณปากแม่น้ำและลำคลองที่ไหลลงสู่อ่าวไทยในภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรขึ้นมาจึงไม่มีร่องรอยให้เห็นอีกแล้ว ณ วันนี้

กฎธรรมดาของโลกมีอยู่ว่าการดำรงอยู่ของทุก ๆ ชีวิตนั้นมีคุณค่าในตัวเอง และการที่ชีวิตใดขาดหายไปย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ สิ่งนี้คือสิ่งที่เรียกกันว่าระบบนิเวศน์

บทเรียนจากอดีตที่เกิดในสถานที่เล็ก ๆ แห่งหนึ่งของแอฟริกาก็คือ ได้มีการล่าจระเข้ในทะเลสาบแห่งหนึ่งกันจนหมดด้วยความเชื่อที่ว่า เพื่อเป็นการกำจัดศัตรูที่มาแย่งกินปลาอันเป็นอาหารของมนุษย์ เมื่อจระเข้าไม่มีแล้วกลับปรากฎว่าได้เกิดปลาที่คนไม่นิยมกินมาเป็นผู้กินปลาอื่นจนหมด จนต้องหาจระเข้มาทำหน้าที่กำจัดปลาอันตรายนั้น

หรืออย่างเช่นการล่าจระเข้ในที่อีกแห่งเป็นจำนวนมากก็ได้ส่งผลกระทบ ทำให้ฮิปโปโปเตมัสมีมากเกินไป

ถ้าจะมองให้สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย ในเรื่องนี้สัตวแพทย์ปานเทพ รัตนากร นายกสมาคมอนุรักษ์และเพาะพันธุ์จระเข้แห่งประเทศไทยได้กล่าวว่า

"ผลกระทบก็คืออย่าน้อยซากหมาเน่าที่ลอยโดยไม่มีตัวกิน แล้วก็ยังมีอื่น ๆ อีกที่มองไม่เห็น เช่นกรณีของการตื้นเขินของคูคลอง ถ้ามีจระเข้จะไม่ตื้นเขิน ในอดีตจระเข้เป็นตัวรอกคูคลอง มุดเข้าไปที่ต่าง ๆ ไม่มีใครเห็น"

การมีอยู่ของสรรพสิ่งมีความหมายเสมอและการจากไปก็มีความหมายเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us