สถาพรปีนี้อายุ 52 ปี สวมหมวกสองใบในตำแหน่งเลขาธิการสำนักนายกฯ และเลขาธิการบีโอไอที่โลดแล่นอย่างโดดเด่นในฐานะ
CONNECTION MAN ที่มีความสามารถเป็นเลิศในฐานะนักประสานผลประโยชน์ทั้งฝ่าย
รสช. และรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นกรณีโทรศัพท์สองล้านเลขหมายของซีพีหรือโครงการรถไฟฟ้าของโฮปเวลล์
ซึ่งเป็นผลงานชิ้นแรกหลังเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการบีโอไอ ภารกิจของสถาพรยังไม่หยุด
งานผ่าตัดโครงสร้างครั้งใหญ่กำลังเกิดขึ้น ภาพพจน์ใหม่ของบีโอไอยุคสถาพรลดบทบาทด้านให้สิทธิประโยชน์ลง
แต่เสริมบทบาทใหม่ในฐานะสถาบันส่งเสริมการลงทุนอย่างแท้จริง
"ผมก้นใหญ่"
สถาพร กวิตานนท์ ผู้ควบสองตำแหน่งทั้งเลขาธิการบีโอไอและเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวประชด
นสพ.รายวันฉบับหนึ่งที่โจมตีการรับสองตำแหน่งนี้
สถาพรได้รับความไว้วางใจจากอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เมื่อตอนต้นปี 2534 หลังจากรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณถูกยึดอำนาจการปกครองจึงต้องนั่งสองเก้าอี้
สวมหมวกสองใบ ควบกับตำแหน่งรองเลขาธิการบีโอไอ
ต้นตุลาคมปี 2534 สถาพรก็กระเถิบจากเก้าอี้รองบีโอไอขึ้นเป็นเลขาธิการบีโอไอ
สถาพรเป็นเทคโนแครต ผู้มีอนาคตในราชการอีกนาน มีบทบาทมากในโครงการยักษ์ใหญ่ระดับชาติที่มีปัญหาขัดแย้งเช่น
โครงการรถไฟฟ้าของโฮปเวลล์
บทบาทการประสานงานระหว่างสถาพรกับผู้นำทหารใน รสช. เกิดขึ้นจากสายสัมพัน์ส่วนตัวอันเก่าแก่ของภรรยาสถาพรที่ชื่อ
"นารี" มีบิดา "หลวงยุทธสารประสิทธิ์" เป็นเพื่อรักของ
"หลวงสิทธิสารรณกร" ต้นสกุล "หนุนภักดี" ทั้งสองครอบครัวจึงไปมาหาสู่รักใคร่กันประดุลญาติสนิท
นารีจึงเป็นเสมือนน้องของพลเอกอิสระพงศ์ หนุนภักดีและวรรณี ภริยาพลเอกสุจินดา
คราประยูร
"ทางหนุนภักดีกับนารี ภรรยาผมก็สนิทกันตั้งแต่เด็ก ๆ เป็นคนนับถือกันเสมือนญาติเพราะครอบครัวรู้จักกันมานาน
และเผอิญภรรยารู้จักกับน้องสาวญาติพลเอกสุจินดาก็รู้จักกัน 20-30 ปีแล้ว
แต่ผมยืนยันว่า ผมให้หลักวิชาชีพนำเรื่องอื่น เรื่องเรารักใครส่วนตัว มันก็เป็นเรื่องส่วนตัว
ไม่ใช่เรื่องบ้านเรื่องเมือง ดุลพินิจบ้านเมืองผมไม่เคยเอาความสนิทหรือรักกันส่วนตัวมานำพา"
สถาพรเล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของสายสัมพันธ์กับผู้นำทหารใน รสช.
นอกจากนี้การที่สถาพรเคยได้ร่ำเรียนร่วมกับนายทหารระดับสูง "จปร.รุ่น
5" ในโครงการ ปรอ.ก็ทำให้สถาพรมักคุ้นและแลกเปลี่ยนทัศนะกับ จปร.รุ่น
5 ได้หลายคนซึ่งสถาพรกล่าวว่า "เราก็เฮฮากันตามประสานักเรียนด้วยกัน
ไม่ได้มีอะไร เพียงแต่รู้นิสัยกันเท่านั้นเอง"
นี่คือส่วนผสมของอำนาจที่สถาพรมี ในขณะที่คนอื่นไม่มี?!
ชีวิตปฐมวัน เด็กชายสถาพรเกิดจากครอบครัวชาวจีนแต้จิ๋ว "แซ่ก้วย"
บิดาชื่อ "จือตัง" และมารดาชื่อว่า"เซาะกุง" เกิดเมื่อวันที่
6 มกราคม 2483 ที่จังหวัดนครสวรรค์
"ครอบครัวผมเป็นคนค้าขาย ไม่มีใครในบ้านรับราชการ มีผมเพียงคนเดียว
ความจริงตระกูลเราเป็นตระกูลเก่าแก่ในจังหวัดนครสวรรค์ ตระกูล "จิตราทร"
ทางสายก๋งซึ่งเป็นพ่อของแม่ ก๋งผมเป็นนายอากรบ่อนเบี้ยชื่อ "ขุนประจักษ์จีนกิจ"
เป็นเจ้าสัวที่รวยทำโรงสี โรงสีน้ำแข็งและเป็นเจ้าของกิจการเกือบจะทั้งจังหวัด
ส่วนพ่อผมมาจากเมืองจีน แซ่ก้วยอาจจะเป็นสายก้วยเจ๋งก็ได้" สถาพรหัวเราะเมื่อสืบสาแหรกตระกูลตน
คนเป็นเด็กปัญญาที่ดีจบการศึกษา ม.6 จากโรงเรียนโพธิสารศึกษา ได้ส่งเสริมให้เด็กบ้านนอกอย่างสถาพรมุ่งหน้าเข้าเรียนต่อระดับเตรียมอุดมศึกษโดยเรียนต่อโรงเรียนอำนวยศิลป์แค่เทอมเดียวในตอนกลางวัน
ตกกลางคืนก็ขยันกวดวิชาสอบเทียบ ม.8 จนประสบผลสำเร็จเข้าคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ได้
จนกระทั่งได้เรียนจบปริญญาตรีในปี 2504 และปริญญาโทรเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย
VANDERBILT สหรัฐอเมริกาในปี 2515
นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์คนนี้มีประวัติทำงานในตำแหน่งราชการที่ก้าวรุดหน้ากว่าคนอื่น
ๆ ถ้าเทียบระยะเวลาไต้เต้ากับชีวะ ภาษุพงศ์ อดีตเลขาธิการบีโอไอ และสองผู้ช่วยฯ
จักรชัย พานิชพัฒน์และวาณี เลิศดำริห์การ สถาพรมีอายุเพียง 46 ปี และใช้เวลา
21 ปี เท่านั้นในการพิชิต ซี 10. ทั้ง ๆ ที่สองคนเริ่มต้นทำงานก่อนสถาพรด้วยซ้ำไป
และในปีนี้สถาพรก็เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการบีโอไอ เป็นระดับ ซี 11 เทียบเท่าปลัดกระทรวงที่สำคัญมากเพราะสามารถให้คุณหรือโทษได้
"มีคนถามผมอยู่เรื่อยว่าทำไมผมจึงรับราชการ? ผมเพียงแต่บอกว่า ชีวิตราชการผมโตขึ้นอยู่เรื่อย
ๆ ไม่หยุด มันไม่เบื่อเพราะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผมเลยหาเวลาอออกไม่ได้"
สถาพรหัวเราะกับชีวิตตนเองเมื่อให้เล่าถึงช่วงนี้
สถาพรเริ่มต้นทำงานรับราชการในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวที่กระทรวงการคลัง
โดยเป็นเศรษฐกรประจำกรมบัญชีกลาง ผู้บังคับบัญชาการคนแรกของสถาพรก็คือ ดร.อำนวย
วีรวรรณ
"สมัยนั้นดร.อำนวยท่านเป็นผู้อำนวยการกรมบัญชีกลางและเป็นที่ปรึกษาจอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งให้ดร.อำนวยเขียนสุนทรพจน์ให้พอท่านเขียนเสร็จ
ผมก็อ่านทานให้ด้วย ผมจึงได้ประโยชน์จากประสบการณ์ช่วงนั้นมาก ๆ" สถาพร
เล่าให้ฟัง
สถาพรทำที่กระทรวงคลังได้ปีหนึ่ง ดร.เสนาะ อูนากูลซึ่งสถาพรถือว่าเป็น
"นาย" ที่รับใช้กันมานานที่สุด ที่ชักชวนให้มาทำงานร่วมกันที่
"สภาพัฒน์" หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในตำแหน่งเศรษฐกรตรี
"ผมทำอยู่ได้ปีเศษ ในปี 2508 ก็ได้ไปเรียนต่อเมืองนอกด้วยทุนสภาพัฒน์
พอกลับมาในปี 2510 ผมก็อยู่คุมงานด้านโครงการและสาธารณสุข อยู่มาปีหนึ่งผมก็ได้ชั้นเอกดร.เสนาะท่านก็มีตำแหน่งหัวหน้าวางแผนเอกชนว่าง
ผมรักษาการชั้นเอกเลย มันเร็วมากในแง่ข้าราชการเพราะตามระเบียบเขากำหนดว่าต้องทำสามปีถึงจะเป็นชั้นเอกได้
ถ้าเทียบตำแหน่งราชการ ผมคิดว่าผมเร็วที่สุดในรุ่นเดียวกันคือเป็นชั้นเอกและชั้นพิเศษก่อนคนอื่น"
สถาพรเล่าให้ฟัง
เป็นความโชคดีของสถาพรที่ได้ฝึกปรือวิทยายุทธ์จาก "สำนักตักศิลา"
แห่งนี้นับตั้งแต่ยังเป็นข้าราชการชั้นน้อยที่มีผู้ใหญ่ให้ความเมตตามาตลอด
บุคคลที่สถาพรให้ความนับถือมากก็คือหม่อมหลวงเดช ซึ่งประดุจพระบิดาแห่งสภาพัฒน์
รวมถึงประหยัดบุรณศิริ เลขาธิการสภาพัฒน์ สมัยนั้นซึ่งมักชวนสถาพรไปชมกีฬารักบี้
เพราะตนเป็นโคชทีมรักบี้อยู่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ซึ่งสถาพรได้รับใช้สมัยดร.ป๋วยเป็นประธานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและพจน์
สารสิน ทั้งหมดนี้เป็นบุคคลที่จอมพลสฤษดิ์ใช้งานอยู่
นอกจากนี้ยังมี ดร.เสนาะ อูนากูลซึ่งสถาพรถือว่าชิวิตราชการนี้มีดร.เสนาะเป็น
"นาย" มากกว่าใครทั้งหมด จนกระทั่งมองตาก็รู้ใจกันมาก ดร.เถลิง
โรงนาวาสวัสดิ์และดร.อำนวย วีรวรรณ ล้วนแล้วแต่เป็นผู้บังคับบัญชาของสถาพร
ซึ่งกล่าวว่า
"ผมได้ฝึกวิทยายุทธ์พอสมควรกับท่านเหล่านี้ ถึงแม้เราจะเป็นเด็กแต่ก็ได้อยู่ในสนามใหญ่ตั้งแต่เล็ก
ๆ เราก็ได้เห็นประสบการณ์และความเหมาะคมทางความคิด ได้เห็นสำนักดาบชั้นหนึ่งในยุคนั้น
เราก็ได้เรียนวิทยายุทธ์มาโดยไม่รู้ตัวเพราะทำหน้าที่หาตัวเลขข้อมูลให้ท่าน
ผมถือว่าสภาพัฒนาฯ เป็นตักสิลาและมีผู้ใหญ่ที่ได้รับความนับถือด้านความสามารถและคุณธรรม"
สถาพรกล่าวอย่างภูมิใจ
เพียงไม่กี่ปี สถาพรก็ขึ้นมาเป็นวิทยากรโท กองโครงสังคม และในปี 2513 ก็เลื่อนขึ้นเป็นเศรษฐกรเอกในกองวางเศรษฐกิจและสังคมอีก
5 ปีต่อมา สถาพรก็ขึ้นตำแหน่งหัวหน้ากองโครงการเศรษฐกิจ และในปี 2521 เป็นผู้อำนวยการกองนี้
และตำแหน่งสุดท้ายในสภาพัฒน์ก่อนย้ายมาเป็นรองเลขาธิการบีโอไอ สถาพรได้เป็นผู้ช่วยเลขาธิการในสมัยที่เสนาะ
อูนากูลเป็นเลขาธิการสภาพพัฒน์
"ผมเป็นคนชอบทำงาน แฟนผมบอกว่าผมเป็น WORKALCOHOLISM วิธีทำงานของผมมีหลายอย่าง
บางทีผมอยู่บ้านเฉย ๆ ผมนั่งคิดอะไรไปเรื่อย ๆ แต่ผมรู้สึกอย่างหนึ่งว่าผมคงจะถูกฝึกมาตั้งแต่เด็กให้ชอบทำงาน
ผมทำงานเกินตัว ส่วนหนึ่งผมอยากพูดว่า ส่วนหนึ่งที่สำเร็จเพราะผมเข้าสำนักดาบที่ดีตั้งแต่ยังเล็ก
ๆ" สถาพรเล่าให้ฟัง
ปีที่ข้าราชการซี 10 อย่างสถาพรได้ทำอยู่มีมากและขณะที่เป็นผู้ช่วยเลขาธิการสภาพัฒน์
ผลงานโดดเด่นของสถาพรในยุคต้นนั้น ก็คือ "กรอ." หรือคณะกรรมการ
ร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งมีพลเอกเปรมเป็นประธานที่ก่อให้เกิดกิจกรรมที่ภาครัฐทำงานวางแผน
ในบางระดับร่วมกับเอกชน กลายเป็นกิจกรรมแฟชั่นพักหนึ่งในช่วง รัฐบาลพลเอกเปรม
ติณสูลานนท์ ใคร ๆ จึงกล่าวกันว่าเขาคือ "ลูกป๋า" ซึ่งพลเอกเปรมชอบเรียกใช้สถาพรในฐานะที่เข้าหาผู้ใหญ่ได้ดีด้วย
บุคลิกที่พูดเก่ง ทำงานเร็วและมนุษยสัมพันธ์ดี
"ผมไม่ได้มีอะไรส่วนตัวกับท่าน แต่ผมทำงานให้ท่านเพราะ อจ.เสนาะเป็นผู้ที่ป๋าเปรมไว้ใจและมอบหมายงานเยอะ
ผมก็เป็นลูกหาบ อจ.เสนาะ ตลอดเวลาที่ป๋าเปรมไว้ใจและมอบหมายงานเยอะ ผมก็เป็นลูกหาบ
อจ. เสนาะ ตลอดเวลาที่ป๋าเปรมบริหารอยู่ 7-8 ปี ผมเคยไปหาท่านที่บ้านสามหนเท่านั้น
ซึ่งก็เป็นเรื่องงานทั้งนั้น แต่งานที่ผมเสนอท่านเป็นเรื่องงานทั้งนั้น ผมไม่เคยจะใช้วิ่งการเมือง
เพราะผมทำไม่เป็น แต่งานที่ผมเสนอท่านเป็นเรื่องซึ่งผ่านอจ.เสนาะไปหาท่านมีผมเสนอท่านสามหนเท่านั้น
ซึ่งก็เป็นเรื่องงานทั้งนั้น ผมไม่เคยจะใช้วิ่งการเมือง เพราะผมทำไม่เป็น
แต่งานที่ผมเสนอท่านเป็นเรื่องซึ่งผ่านอจ.เสนาะไปหาท่านมีตลอด ผมต้องประชุมทุกวันอาทิตย์
รมต.เศรษฐกิจและเป็นผู้ช่วยเลขธิการสภาพัฒน์ และงานประชุมทุกอาทิตย์ รมต.เศรษฐกิจและเป็นผู้ช่วยเลขาะการสภาพัฒน์
และงานประชุม กรอ. ทุกเดือน ผมคิดว่างานพาผมไปมากกว่า" สถาพรเล่าให้ฟังถึงที่มีคำว่า
"ลูกป๋า"
ประสบการณ์ช่วยทำ กรอ.นี้ได้เปิดกว้างให้สถาพรสร้างสายสัมพันธ์กับภาคเอกชนได้มาก
ๆ ในหมู่กรมการสภาอุตสาหกรรมซึ่งสมัยก่อนนั้นยังใช้ชื่อว่าสมาคมอุตสาหกรรมหลากหลายที่เอื้อต่องาน
หนึ่งในกรรมการอันทรงเกียรติก็คือ อานันท์ ปันยารชุน
"ผมเคยทำงานร่วมกับท่านนายกฯ อานันท์ ในช่วงที่ท่านอยู่ภาคเอกชน รู้สึกชื่อเสียงกันมานาน
แต่ไม่เคยใกล้ชิดกัน เพิ่งจะมาทำงานร่วมกันมากตอน ท่านเป็นรองประธานสภาอุตสาหกรรมและกรรมการบริหารของบีโอไอ
เมื่อท่านเป็นนายกฯ ได้สามเดือนท่านก็บอกว่า แปลก! ที่ทำกับท่านอยากได้อะไรหรือไม่อยากได้อะไร
ผมไม่ใช่คนที่ตามใจคนได้อะไรหรือไม่อยากได้อะไร ผมไม่ใช่คนที่ตามใจคนนะ แต่เป็นคนตรงไปตรงมา
ขวานผ่าซาก ประจบคนไม่เป็นเพราะพูดไม่หวาน" สถาพรกล่าว
ก่อนที่อานันท์จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีได้เป็นรองประธานสภาอุตสาหกรรม สถาพรได้ทำงานคลุกคลีเดินทางร่วมกันทั้งต่างจังหวัดและต่างประเทศ
ความเป็นคนเก่งคิด เก่งงานและเก่งคนซึ่งมีสายสัมพันธ์กับผู้นำทหารทำให้ชื่อของ
"สถาพร กวิตานนท์" ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล
รสช.นี้ด้วย
"ท่านให้ผมเป็นเลขาธิการนายกฯ เพราะท่านรู้ว่าผมคิดอย่างไรในระหว่างที่ท่านอยู่ภาคเอกชนและผมอยู่ภาคราชการ
เราประชุมกันทุกอาทิตย์เป็นเวลาหลายปี เพราะฉะนั้นเราก็รู้ว่าคิดกันอย่างไร
ท่านรู้ว่าผมประพฤติตัวอย่างไร คนในวงการธุรกิจรู้จักผมดีในฐานะผมเป็นมืออาชีพ
เพราะฉะนั้นรู้ว่าเวลาผมทำงาน ผมตรงไปตรงมาตลอด ผมไม่มีเลี้ยวลดคดเคี้ยว
มีอยู่วันหนึ่งท่านเดินมาแล้วหัวเราะพร้อมทั้งส่งหนังสือพิมพ์ให้ผมดูเนื้อข่าวว่า
ที่ท่านใหผมมาเป็นเลขาท่านเพราะเหตุว่าตอนผมอยู่บีโอไอ ผมได้ช่วยบริษัทสหยูเนี่ยน
เราก็หัวเราะกันและมองอีกทางหนึ่งก็คิดว่าทำไมดูถูกเรามากนัก?" สถาพรเล่าให้ฟังถึงที่มาของตำแหน่งเลขาธิการนายกฯ
"ผมเป็นเลขาที่แปลกประหลาดมาก ไม่เคยไปที่บ้านนายเลย ก็เจอกันแต่ที่ทำงานตลอด
และท่านนายกฯ ก็เคยไปบ้านผมครั้งเดียว เพราะเราถือว่าเราเป็นนักบริหารรุ่นใหม่"
สถาพรเล่าให้ฟัง
ประสบการณ์ทางการเมืองของสถาพรมักทำงานอยู่หลังฉากในระหว่างสายสัมพันธ์ทางการเมือง
ที่เห็นเป็นเกียรติประวัติจะมีอยู่สองงานที่สถาพรทำคือ สมาชิกสมัชชาแห่งชาติหรือ
"สภาสนามม้า" ในปีประชาธิปไตยเบ่งบานในปี 2516 ซึ่งขณะนั้นสถาพรอายุไม่ถึงที่จะเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติในจำนวน
3,000 กว่าคน ต่อมางานรองโฆษกฝ่ายเศรษฐกิจประจำสำนักงานนายกรัฐมนตนรี ปี
2521-22 สมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เป็นนายกรัฐมนตรี
"ความจริงทางด้านการเมือง ผมถูกดึงเข้ามาตอนรัฐบาลอจ.สัญญา ผมไปช่วยอจ.ป๋วยในบางเรื่องในฐานะหัวหน้าวางแผนส่วนเอกชน
ช่วยท่านทำเรื่องจัดระบบน้ำตาล พรีเมียมน้ำตาล แต่ก็ไม่ได้เข้าไปเต็มตัว
แต่ต่อมาผมได้เข้ามาช่วยงานทำเนียบในปี 2520 สมัยรัฐบาลเกรียงศักดิ์ 1 เพราะรองรมต.สำนักนายกฯ
คุณสุนทร์ หงส์ลดารมภ์ท่านดึงผมมาอยู่หน้าห้องท่าน 1 ปี 7 เดือนที่ตักบัญชาการผมก็เข้าเหยียบงานกึ่ง
ๆ การเมืองตั้งแต่นั้น เป็นเวลา 14-15 ปี ช่วงนั้นที่อือฮามากคือดุลการค้าขาดทุนมาก
ห้ามรถยนต์เข้า ซึ่งช่วงนั้นท่านเองก็บอกว่ามันไม่ถูก แต่รัฐศาตร์อยู่เหนือเศรษฐศาสตร์"
สถาพรเล่าให้ฟังต่อไปว่า
"พอมาสมัยรัชบาลเกรียงศักดิ์ 2 ท่านนายกฯก็ให้มาเป็นรองโฆษกฝ่ายเศรษฐกิจ
ผมก็มาช่วยประมาณ 8-9 เดือนก็ล้มไป อาจารย์เสนะท่านก็เป็นคนที่ป๋าเปรมไว้ใจ
ก็ตั้งอจ.เข้ามาเป็นเลขาะการสภาพัฒนาฯ ใหม่ขณะนั้นผมเป็นผู้อำนวยการกองโครงการเศรษฐกิจ
อจ.เสนะก็ใช้ผมในงานที่ป๋าเปรมมอบหมายมากมาย ผมก็พลอยเป็นลูกหาบตามไปด้วย
ผมก็ทำงานให้ป๋าเปรมตลอด ตอนนั้นก็มีานกอร. งานรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และงานอื่น
ๆ เช่น โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดซึ่งมีหลายคนช่วยกัน โฆษิตปั้นเปี่ยมรัฐฎษ์ดูด้านชนบท
ดร.สาวิตต์ โพธิวิหดดูด้านอีสเทิร์นซี้บรอ์ด" สถาพรย้อนอดีตงานทางการเมืองให้ฟัง
ความเป็นเลิศของนักประสานกิจอย่างสถาพรเป็นบุคลิกเด่น ถ้ามองย้อนไป 5-6
เดือนที่ผ่านมาบทบาทของสถาพรในฐานะเลขาธิการนายกรัฐมนตรีโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นโครงการโทรศัพท์สองล้านเลขหมายของซีพีซึ่งมีปัญหาจนทุกอยางเกือบจะล้มอยู่แล้ว
สถาพรได้ประสานทั้งฝ่ายผู้นำทหารในรสช.และรัฐบาลให้จับมือกันได้ และโครงกรรถไฟฟ้าโฮปเวลล์
ซึ่งกล่าวกันวาเจ้าของโครงการมีสายสัมพันธ์กับผู้นำทหารใน รสช. สถาพรก็มีบทบาทพอสมควรกับผู้นำทหารใน
รสช. สถาพรก็มีบทบาทอพอสมควรที่จะประนีประนอมและรักษาหน้ากันทั้งสองฝ่าย
"สิ่งหนึ่งที่ต้องพูดตรงไปตรงมาก็คือ รัฐบาลเป็นอิสระ ข่าวทั้งหลายเป็นเรื่องปั้นขึ้น
เพราะเรามีอิสระทุกประการ ข้อคิดเห็นของสภา รสช.อยากจะคิดเห็นอะไรเป็นเรื่องปกติ
เช่น ดูเรื่องนี้ ระวังเรื่องนี้ แบบนี้มันปกติ แต่การตัดสินใจและการบริหารงานเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีและคณะ
ซึ่งที่ทำไปทุกอย่างก็เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ไม่ได้หักด้านพร้าด้วยเข่า
แต่อะไรที่มันไปกันได้ก็ไป ที่ไปกันไม่ได้ก็ไม่ไป" นี่คือทัศนะของสถาพร
กวิตานนท์
"หลอกกันเล่นหรือเปล่า" คำถามที่พูดกันบ่อย ๆ ในโครงการรถไฟฟ้าโฮปเวลล์ระดับแสงนล้าน
กรณีนี้บีโอไอถูกตัดพ้อต่อว่าจากกอร์ดอน หวู่ประธานบริษัทโฮปเวลล์วึ่งผิดหวังมาก
ๆ จากการถูกตีตกจากผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2534 ในกรณีที่โอไอแลนะนำให้โฮปเวลล์ทำหนังสือยื่นเป็นทางการ
แต่คณะรัฐมนตรีไม่อนุมั้ติการขอเลื่อนการจ่ยภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศ
และการขอเลื่อนส่วนแบ่งรายได้ให้การรถไฟออกเป็นปีที่ 16 ด้วย
"นี่เป็นการต่อรองทางธุรกิจ ในที่สุดก็มีการตัดสิน ผมบอกเสมอว่า ก่อนการตัดสินใจนั้นเมื่อคนขึ้นไปอยู่บนกำแพง
50-50 มิสิทธิตกกำแพงข้างซ้ายก็ได้ ข้างขวาก็ได้ นักข่าวต่างประเทศมักจะบอกผมว่า
ถ้าโครงการโฮปเวลล์ไม่เดินจะทำให้ภาพพจน์เมืองไทยเสียหาย ผมบอกว่า เราต่อรองกันทางธุรกิจ
และที่เล่นเกมไม่ใช่การเล่นเกมการเมือง แต่เล่นกันทางธุรกิจ เหมือนกับเล่นโป๊กเกอร์"
สถาพรเปรียบเทียบให้ฟัง
ท่ามกลางความกดดันรอบด้านที่มีทั้งเสียงคัดค้าน และเสียงสนับสนุน สถาพรในฐานะประธานคณะอนุกรรมการทำงานเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้มีจุดยื่นที่แสดงออกเงียบๆ
อยู่เบื้อหงลังฝ่ายข้างที่ต้องการให้เกิดโครงการรถไฟฟ้านี้เพราะต้องการแก้ปัญหาจราจร
เพราะากรจราจรที่ตลาจลในกรุงเทพมหานครปัจจุบันนี้ก่อให้เกิดกภาพพจน์เสียต่อนักลงทุนชาวต่าปงรเทศ
ตลอดจนสายสัมพันธ์ทางการเมืองที่กอร์ดอน หวู่และผู้บริหารคนไทยได้สานสัมพันธ์ไว้กับผู้นำทหารในคณะ
รสช.โดยมีสถานพรเป็นผู้ประสานงานอยู่เงียบ ๆ ก็เป็นเรื่องที่โครงการนี้น่าจะเกิดมากกวาดับ
แม้กอร์ดอน หวู่จะต้องทุ่มเทเงินมหาศาลให้การรถไฟเป็นจำนวนถึง 11,500 ล้านบาทล่วงหน้าในปี
1-16 และยอมตามเงื่อนไขการชำระดอกเบี้ยเงินกู้และการแบ่งรายได้แก่การรถไฟก็ตามที
"เราให้เขาเท่าที่จะให้ได้ แต่ไม่ให้แบบเขย่งมาก เพราะเราสงสารเขา
มนจะไปไม่ไหว แต่อันนั้นเป็นการประเมินหลายอย่างที่อยู่บนสมมติฐานทั้งนั้น
ค่าเช่าจะเป็นเท่าไหร่ก็เถียงกันไม่หยุด" สถาพรให้ความเห็นถึงจุดยืนในการเจรจาต่อรองกับกอร์ดอน
หวู่
การเผชิญและแก้ปัญหาท้าทายที่จะมีผลต่ออนาคตของชาตินี้ ระหว่างสถาพร กวิตานนท์
เลขาธิการบีโอไปและเลขาสำนักนายกฯ กับสองข้าราชการเทคโนแครตอยางนุกูล ปทระจวบเหมาะ
รมว.คมนาคมและรมต.ไพจิตร เอื้อทวีกุล กล่าวกันวาสถาพรมีมุมมองในเชิงธุรกิจมากกว่า
"การตัดสินใจของรัฐบาลครั้งนี้ไม่แน่ใจว่านายกอร์ดอน หวู่จะรับข้อเสนอได้หรือไม่
ขณะนี้บริษัทได้เคยพูดไว้ก่อนหน้านี้ว่า หากไม่ได้ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศแล้ว
บริษัทไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้แน่นอน เพราะว่าจะต้องใช้เงินกู้ต่างประเทศแล้ว
บริษัทไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้แน่นอน เพราะว่าจะต้องใช้เงินกู้ต่างประเทศถึง
60,000 ล้านบา ขณะนี้ใช้ทุนตัวเองเพียง 20,000 ล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีใครถูกหรือว่าผิด
ขึ้นอยู่ที่ว่ามีการออมชอมกันแค่ไหน หากกอร์ดอน หวู่ รับข้อเสนอไม่ได้ก็คงถอนตัวออกไป"
ชาตรี โสภณพนิช บิ๊กบอสแบกง์กรุงเทพซึ่งรับเป็นที่ปรึกษให้กับลูกค้ารายนี้ซึงฝากเงินไว้กับแบงก์ถึง
6 พันล้านบาท ถ้าหากยกเลิกโครงการรัฐบาลต้องคืนเงินประกันโครงการจำนวน 300
ล้านบาทที่บริษัทวางไว้แต่ในที่สุดโครงการรถไฟฟ้าโฮปเวลล์ก็รับข้อเสนอของรัฐบาล
นอกจากโครงการรถไฟฟ้าโฮปเวลล์ที่ลงตัวแล้วสถาพรยังอยู่เบื้องหลังควมสำเร็จในโครงการขนาดใหญ่หลายแสนล้านบาทที่เป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย
อาทิเช่นโรงกลั่นน้ำมันของเชลล์และคาลเท็กซ์ โครงการโทรศัพท์สองล้านเลขหมายของซีพีที่มีมูลค่าแสนล้านบาท
และโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่
สถาพร เข้าบริหารบีโอไอในทศวรรษนี้กล่าวกันว่าเป็นความเหมาะสมกับยุคสมัยใหม่ของบีโอไอ
ที่สลายตัวจากบทบาทเมื่อ 30 ปีก่อนที่นิยมส่งเสิรมสนับสนุนอุตสาหกรรมทดทแนการนำเข้า
และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเป็นแรงจูงใจหลัก แต่บทบาทของบีโอไอที่ถูกลดลงในสมัยนายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย
ชุณหะวัณได้ทำให้บีโอไอจะต้องปรับบทบาทใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะที่เป็นจริง
หน้าที่ของบีโอไอมีอยู่ 3 เรื่อง หนึ่ง ให้หลักประกัน ลดความเสี่ยงภัยในการประกอบธุรกิจเช่นรัฐไม่ยึด
ไม่ตั้งแข่ง ไม่ผูกขาด สองลดต้นทุนในการทำงาน เช่นการลดภาษีวัตถุดิบและเครื่องจักร
สามให้บริการเพื่อให้เกิดการลงทุนไม่ว่าจะเป็นข้อมูลหรือการประสานงาน สถาพรวิเคราะห์หน้าที่บีโอไอเบื้องต้นให้ฟัง
"บีโอไอที่แล้วมาอาจจะเดินผิดทางที่ให้น้ำหนักในเรื่องภาษีมากเกินไป
แต่บัดนี้ระบบภาษีมันเริ่มต่ำลงแล้วปรับเป็นภาษีทั่วไป หน้าที่ของบีโอไอในเรื่องภาษีก็น้อยไป
บทบาทการลงทุนก็ต้องเปลี่ยนเพราะสำนักงานนี้สร้างมา 30 ปีแล้ว มันต้องเปลี่ยนตามภาวะเศรษฐกิจ
นโยบายการลงทุนไม่ใช่นโยบายเอกเทศ แต่เป็นส่วนหนึ่งขอระบบการบริหารเศรษฐกิจโดยส่วนรวม
มันตองดูทิศทางใหญ่ตรงนั้น" เลขาธิการบีโอไอให้ความเห็นเกี่ยวกับทิศทางบีโอไอ
เมื่อสถาพรขึ้นสู่ตำแหน่งเลขาธิการได้มีการประกาศปรับภาพพจน์ของบีโอไอว่จะเป็นยุคที่ไม่มีการกลั่นแกล้ง
การพิจารณาโครงการจะไม่มีการวิ่งเต้นและให้การแข่งขันวางอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน
"ผมเชื่อว่าทรัพยากรมนุษย์ที่บีโอไอนั้นมีการศึกษาสูงและดี แต่ที่สิ่งเกิดขึ้นในอดีตผมถือว่าเป็นเรื่องระบบที่ขึ้นอยู่กับผู้นำ
คนไม่มีทางเลือก แต่เมื่อผมมีอำนาจและภาระต้องบริหาร ผมก็เอาของเก่า ๆ ตลอดเวลา
5-6 ปีที่มีการพูดกันในบีโอไอและไม่มีการกระทำเกิดขึ้น มาทให้เกิดเป็นผลงานขึ้นทุกคนต้องช่วยกัน
"เลขาธิการบีโอไอคนใหม่กล่าว
ในอดีต บทบาทที่ผ่านมาบีโอไอจะเน้นเรื่องการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนแต่ปัจจุบันสิทธิพิเศษทางด้านภาษี
ทางรัฐบาลได้มีการให้เป็นการทั่วไปแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั้งหลาย โดยการลดอัตราภาษีนำเข้าเครื่องจักเหลือ
5% ทั้งหมด ฉะนั้นการให้การส่งเสริมการลงทุนต้องปรับบทบาทตัวเองกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนไป
"เมื่อความสำคัญทางภาษีน้อยลง เราก็จำเป็นต้องให้น้ำหนักในเรื่องการบริการมากขึ้น
เมื่อก่อนเรามัวเอาเวลาทั้งหมดไปยุ่งเรื่องภาษี ปัจจุบันนี้เราจะต้องเอาเวลาทั้งหมดมายุ่งเรือ่งการหใบิรการการให้ข้อมูลทางด้านการลงทุน"
เลขาะการบีโอไอคนให่ได้ประกาศบทบาทอขงบีโอไอด้านส่งเสริมการลงทุนชัดเจนในระยะข้างหน้า
"เผอิญโชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่รู้ที่ผมนั่งอยู่ในตำแหน่งนี้ แล้วท่านนายกฯ
ก็เลยจับบีโอไอเป็นหน่วยแรกที่ต้องทำเป็นตัวอย่างให้ได้ในเรื่องที่ต้องโปร่งใสและไม่ตองมีระเบียบภายในที่คนอื่นเขาไม่เข้าใจ"
สถาพรเล่าให้ฟังถึงที่มากรปรับปรุงทิศทางบีโอไอ
ดังนั้นบีโอไปในยุคที่สถาพร กวิตานท์เป็นเลขาธิการ จึงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
เหมือนแผ่นดินไหวในสองปัจจัยคือ หนึ่ง ระบบงานตองโปร่งใส และสอง ตัวบุคคลากรบีโอไอ
200-300 คนต้องมีประสิทธิภาพ
"เป้าหมายแรกที่ผมต้องการคือต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 40% ในรอบหกเดือนเป็น
CORPORATE TARGET ที่ทุกคนตองทำ ผมประกาศว่าผมจะทำให้ได้ ของที่เคยทำ 10
วันต้องทำให้เหลือ 6 วัน ของที่เคยทำ 5 วันก็ทำให้เหลือ 3 วัน ผมเริ่มจัดระบบงานบีโอไอแบบคอมพิวเตอร์ไรซ์ทั้งหมดโดยใช้ระบบธุรกิจคอมพิวเตอร์เข้าจัดการ
ทุกกิจกรรมที่คนมาติดต่อ จะองบอกว่ากิจกรรมนั้นกี่วันเสร็จผมเรียกว่าเป็นระบบ
CLOSEEND ไม่ใช่ OPEN TIME ผมเรียกว่าเป็นระบบ CLOSE END ไม่ใช่ OPEN END
ผมใช้หลักบริหารโรงงานคือ CUT DOWN TIME เรื่องต้องเคลื่อนไปเรื่อย ๆ เหมือนสายพานมาแล้วต้องทำ
หยุดไม่ได้ โดยวิธีนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพได้ 40% ได้" สถาพรเอ่ยถึงเป้าหมายที่ร้องทำให้ได้ในหกเดือน
นอกจากนี้สถาพรยังมีแนวคิดกระจายงานบางส่วนให้เอกชนทำ เช่นการตรวจบัญชี
บีโอไอยุคใหม่จะจ้างเหมาะให้บริษัทตรวจสอบบัญชีเอกชนทำ และงานบัญชีด้านปล่อยวัตถุดิบที่มีผู้เสนอตัวเข้มาแต่เสนอราคาสูงเกินกว่าที่บีโอไอจะรับได้
"ผมทำไม่ได้ ที่จะเอาวิศวกรเกียรตินิยมมานั่งตัดปล่อยบัญชีวัตถุดิบ
เพราะมันเป็นงานเสมียนธรรดมา ๆ ที่คอมพิวเตอร์ก็ทำได้ หรือทำไม่ทันก็จ้างบริษัทอื่นทำ
เป็นการประหยัดคน จะได้เอาคนไปออกสนามดูวิวัฒนาการของอุตสาหกรรม และหาข้อมูลที่เราจะมีหน่วยงานหนึ่งขึ้น
มาทำการสำรวจหมดว่าใครทำอะไร ที่ไหน ตรงนั้นงานวิชาการและข้อมุลมหาศาล"
ภารกิจที่ยิ่งใหญ่ในบีโอไอที่สถาพรต้องทำ คือการปรับโครงสร้างใหม่ ประเภทของงานในบีโอไอสถาพรได้จัดเป็นสองพวกคืองานจำพวก
"งานเสธ" และ "งานรบ" งานเสธ ได้แก่งานในกองวางแผนกองต่างประเทศ
ซึ่งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่สำหรับ "หน่วยรบ" ที่ตั้งหน่วยงานตามหน้าที่
คือกองวิเคราะห์โครงการ กองตรวจสอบและกองสิทธิประโยชน์ สถาพรได้ยุบเปลี่ยนเป็นโฉมหน้าใหม่เป็น
7 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ซึ่งรวมทุกหน้าที่ไว้ในกลุ่มเดียกวันซึ่งจะดตัปัยหาการตดหล่นระหว่ากองปัญหาสื่อสารไม่เขาใจกัน
หรือปัญหาการโยนกลองกันไปมา
"ในอดีตบางทีเรื่องเดียวกันนักลงทุนตองมาหาเจาหน้าที่สามคนในเวลาที่ต่ากงัน
เมื่ออธิบายแล้วแต่ละกองก็เข้าใจไม่เหมือนกันอีก หลุดจากกองหนึ่งไปอีกกองหนึ่ง
เรื่องเกิดหาย หรือเรื่องช้า บางทีทำให้รู้แบบเป็ดทุกอุตสากรรม ทำให้เสีย
เวลาเยอะเมื่อสงสัยผมก็เลยจับ MATRIX นี้ใหม่นี้เราเรียกว่า COMMODITY MATRIX
แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม ทุกหน้าที่ทำอยู่ในกองเดียวกัน และผม ลดกฎระเบียบมากเลย
ผมถือว่ากฎระเบียบเป็น เครื่องมือ ไม่ใช่เป้หามาย แต่ถ้าเราใช้กฎระเบียบเป็นเป้าหมาย
ทุกคนจะกลายเป็นนักกฎหมายทั้งสักงาน ไม่ใช่นักส่งเสริมอุตสาหกรรม" สถาพรกล่าวอยางนักบริการมืออาชีพ
COMMODITY MATRIX นี้สถาพรได้จัดแบ่งแยกเป็น 7 กลุ่มอุตหสกรรมสำคัญดังนี้
หนึ่ง กองอุตสาหกรรมการเกษตร ครอบคลุมกิจการผลิตผลการเกษตร ปศุสัตว์ ยาสูบ
เครื่องดื่มผลิตภัณฑ์ยาง ประมงและทำป่าไม้
สอง กองอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเซรามิกครอบคลุมกิจการเหมืองแร่ เหมืองถ่านหิน
ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ผลิตแก้วและผลิตภัณฑ์แก้ว
สาม กองอุตสาหกรรมเบา สิ่งทอและกระดาษครอบคลุมการผลิตสิ่งถักทอ เครื่องแต่งกาย
(ยกเว้นรองเท้า) หนังสัตว์ อุตสาหกรรมการพิมพ์ เครื่องเรือน รองเท้า (ยกเว้นรองเท้าจากยาและพลาสติก)
การผลิตกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ
สี่ กองเคมีภัณฑ์และพลาสติกครอบคลุมเคมีภัณฑ์ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
การผลิตภัณฑ์พลาสติก
ห้า กองอุตสาหกรรม โลหะและอุปกรณ์การขนส่ง ครอบคลุมอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กล้ามูลฐาน
การผลิตอุปกรณ์ขนส่ง การผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ (ยกเว้นเครื่องจักรและอุปกรณ์)
หก กองเครื่องจักรและเครื่องไฟฟ้าครอบคลุม การผลิตเครื่องจักร มอเตอร์
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้า การผลิตเครื่องมือที่ใช้ในการถ่ายภาพและสายตา
เจ็ด กองบริการและสาธารณูปโภค ครอบคลุมการไฟฟ้าและก๊าซ การประปา การขนส่งโรงแรม
หอพักและสถานที่อยู่อาศัยอื่น ๆ การขนส่งทางบกทางน้ำและอากาศการคมนาคม บริการเกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง
บริการการศึกษา บริการอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจ สถาบันวิจัยและวิทยาศาสตร์
บริการทางการแพทย์ อนามัยและบริการรักษาสัตว์ บริการด้านภาพยนตร์และกิจการที่ไม่สามารถระบุประเภทได้
เพราะสถพรถือว่าการส่งเสริมการลงทุนในภูมิภาคจะเกิดึ้นได้เมื่อมีการบิหารด้านสาธารณูปโภคเหล่านี้เกิดขึ้นก่อน
พร้อมจะรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมนั้น ๆ
"การที่บีโอไอต้องปรับปรุงโครงสร้างการทำงานใหม่นั้น จะสร้างขีดความสามารถขอคนยีโอไอให้รู้เรื่องลึกมากขึ้น
และเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานให้มีความคล่องตัว ผู้ขอรับการส่งเสริมไม่ต้องเสียเวลาในการเข้ามาติดต่อกับหน่วยงานของรัฐขณะนี้กำลังเร่งพิจารณาอยู่
เพื่อเสนอ ครม.และคาดว่าจะต้องเสร็จเดือนมกราคมนี้" สถาพร กวิตานนท์
กล่าวถึงเหตุผลของการผ่าตัดโครงสร้างหน่วยานบีโอไอใหม่ซึ่งจะต้องศึกษาอีก
4-5 เดือนและต้องมีการแก้ไขพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งบีโอไอ
อย่างไรก็ตาม หน่วยงานระดับกองที่ยงคงอยู่ไว้ก็มีที่สำคัญ ๆ คือ กองการต่างประเทศซึ่งปีหนึ่ง
ๆ บีโอไอได้รณรงค์ใช้เงินโปรโมชั่นไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาทที่ให้นักลงทุนต่าปงระเทศนำเงินมาทำธุรกิจในไทยโดยมีสำนักงานบีโอไอในต่างประเทศหรือเรียกเป็นทางการว่า
"สำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) " 4 แห่ง นครนิวยอร์ก
นครแฟรงก์เฟิร์ต นครซิดนีย์และนครโตเกียว และแห่งที่ 5 จะเปิดใหม่ที่ฮ่องกงและในต้นปีหน้า
เพื่อรองรับการโยกย้ายการลงทุนของชาวจีนฮ่องกงก่อนที่ฮ่องกงจะตกเป็นของจีนแดงในปี
1997
"ผมเห็นจุดอ่องของหน่วยต่างประเทศเยอะหนึ่ง ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป ซึ่งเราต้องเพิ่ม
WORKING CAPTIAL ให้สูงขึ้น ถ้าไม่คุ้มก็เลิก ไม่เสียเวลาไปนั่งชักธงไทย
หลักของหน่วยนี้ที่ผมถือคือต้องคล่องตัวเข้าเร็ว ออกเร็ว ต้องยืดหยุ่น ผมต้องตกลงกับกรมบัญชีกลาและ
ก.พ. เป็นเรื่องวุ่นวาย นอกจากนี้ผู้บริหารต้องมีอำนาจพอควร ไม่ใช่เหล็กกำลังร้อน
กว่าจะไปตั้งก็เย็นแล้ว มันไม่มีประโยชน์" เลขาธิการบีโอไอกล่าวถึงหลักการตลาดในกองต่างประเทศ
ทั้ง 5 แห่งนี้จะมีข้าราชการบีโอไอเป็นหัวหน้าสำนักเป็นถึง ซี 8 และผู้ช่วยเป็นซี
6 และคณะทำงานที่เป็นคนท้องถิ่นอีก 2-3 คน เพื่อบริการข่าวสารและข้อมูลให้นักงทุนที่สนใจจะเข้ามาประเทศไทย
"เรื่องสำนักงานต่างประเทศขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่
ถ้าได้คนเก่งและฝึกเตรียมพร้อมไปก่อนก็คุ้มสำหรับการลงทุน แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่เก่ง
และมีการใช้เส้นสาย ส่งไปเที่ยวหรือเอาไว้ต้อนรับนาย หรือเตะคนไม่พอใจไปพ้นหูพ้นตาอย่างนี้ถือว่าเสียเงินเปล่า
เพราะฉะนั้นระบบนี้ผมจึงโยกย้ายเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน ต้องมีคุณภาพก่อน"
เลขาธิการบีโอไอให้ความเห็น
ดังนั้นบทบาทใหม่ที่เลขาธิการบีโอไอคนใหม่เน้นมาก ๆ ก็คือเป็นศูนย์ข้อมูลและส่งเสริมการลลทุนซึ่งไม่เน้นเรื่องสิทธิประโยชน์มากเหมือนสมัยชีระภาณุพงศ์
โฉมหน้าใหม่ของบทบาทบีโอไอที่ผู้นำอย่างสถาพรตั้งไว้จึงพยายามจะประสานงานกับกระทรวงอุตสหกรรม
องค์กรเอกชนเช่นสภาพอุตสาหกรรมสภาหอการค้า และธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
นอกจากนี้สถาพรยังมีแนวความคิดทีจะขยายบทบาทเพิ่มขึ้นของกองส่งเสริมการลงทุนส่วนภูมิภาค
โดยกระจายสำนักงาตัวแทนของบีโอไอในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นอีกที่พิษณุโลก ขอนแก่น
ระยองและหาดใหญ่โดยจะส่งข้าราชการระดับซี 6 ในส่วนกลางไปกินตำแหน่ง ซี 7
"ผู้ที่เข้าไปลงทุนในเขตต่างจังหวัดได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็น
8 ปีมากกวาลงทุนในกรุงเทพฯ หรือปริมณฑล แต่ยังมีอุปสรรคหลายอย่างที่ต้องแก้ไขเช่น
น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ที่ดิน ขาดแคลนโรงเรียนดี ๆ ให้ลก ดังนั้นเพื่อจูงใจทางบีโอไอจะเป็นตัวยั่วยุและจัดการปัญหาเหล่านี้
โดยเครื่องมือและเงื่อนไขต่าง ๆ ของบีโอไอที่ใช้มากกว่า 20 ปีจะต้องมีการปรับปรุงวิวัฒนาการที่ดีขึ้น"
เลขาธิการบีโอไอคนใหม่ให้ความเห็น
ทิศทางการพัฒนาการลงทุนในต่างจังหวัดอีกประการหนึ่งที่สาถพรเน้นมากคือ
การพัฒนาซับคอนแทกต์ขึ้นมาด้วย เพราะการประกอบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่บางประเภท
ไม่จำเป็นต้องลงทุนในชิ้นส่วนเล็ก ๆ เพราะไม่คุ้มทุน ดังนั้นจะจ้องดึงผู้ปรกอบการเล็กให้พัฒนาขึ้นมา
โดยโรงงานใหญ่เข้าสนับสนุนตัดปล่อยวัตถุดิบ
"ผมกำลังมีโครงการบริการนักลงทุนที่ต่อไปบีโอไอจะทำ "อินเวสท์เม้นท์เมนู"
เหมือนร้านอาหารคนเดินเข้ามาบีโอไอ ถ้าว่ามีสิบล้านจะลงทุนอะไรได้บ้าง บีโอไอต้อบอกได้
เมนูนี้ผมไม่ทำเอง แต่ให้บริษัทใหญ่ที่สั่งชิ่นส่วนอยู่แล้ว ให้เขาออกหัวคิดเช่น
นาฬิกานี้ใช้หมุดที่ต้องลงทุนกี่ล้านบาท ถ้าธุรกิจใหญ่ลงทุนไม่คุ้ม เขาก็ให้รายย่อยทำดีกว่า
บีโอไอจะทำหน้าที่เป็น MATHMAKER ซึ่งมีข้อมูล 400-500 บริษัทแล้ว งานตรงนี้จะเป็นโฉมหน้าใหม่ของบีโอไอไม่ใช่นั่งลดภาษีอย่างเดียว"
สถาพรกล่าว
การผ่าตัดใหญ่ในบีโอไอครั้งนี้ สถาพรได้เร่งให้มีกาพจารษและสเนอต่นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรการส่งเสริมการลงทุน
เพื่ออนุมัติให้เสร็จสิ้นทันในรัฐบาลชุดนี่ก่อน่จะมีการเลือกตั้งชุดใหม่ปีหน้า
ด้วยความที่เป็นคนสวมหมวกสองใบ สถาพรจึงต้องวิ่งไป ๆ มาๆ ระหว่างทำเนียบกับบีโอไอ
โดยภารกิจประจำวันที่บีโอไอ สถาพรได้วางไว้ให้สองรองเลขาธิการคือวณี เลิสดำริห์การกับจักรชัยพานิชพัฒน์
และสองผู้ช่วยเลขาธิการบีโอไอคือพงษ์ศักดิ์ อังศุพันธ์ จบเศรษฐศาสตร์รุ่นเดียวกับสถาพร
ก่อนหน้านี้พงษ์ศักดิ์เป็นผู้อำนวยการกองวิเคราะห์บีโอไอ และผู้ช่วยอีกคนที่เพิ่งมาใหม่คือจักรมณฑ์
ผาสุกวณิชย์ ซึ่งย้ายจากตำแหน่งผู้อำนวยการกองประสารร่วมมือระห่วงภาครัฐและเอกชน
(กรอ.) จากสภาพัฒน์ ข้ามฟากมากินกตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการบีโอไอตุลาคมปีนี้
จักรมณฑ์ จบเศรษฐศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจบปริญญาโท เศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
เริ่มทำงานครั้งแรกที่สภาพพัฒน์ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการเงินระหว่างประเทศกองวางแผนเศรษฐกิจในปี
2521
การโยกย้ายครั้งนี้มีผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ซึ่งเปรมศรี เกตุวงศ์
ผู้ช่วยเลขาธิการบีโอไอก็คือหนึ่งในผู้ถูกกระทำนี้เปรมศรีถูกย้ายไประจำที่สำนักนายกรัฐมนตรีเพราะบทบาทที่ผานมาในบีโอไอไม่โดดเด่น
เปรมศรีจบเศรษฐศาตร์และไต่เพดานจากผู้อำนวยการกองวิเคราะห์โครงการแล้วมาเป็นผู้อำนวยการองแผนงานจากนั้นจึงเลื่อนเป็นเลขานุการสมัยเดชา
บุญชูช่วย และได้เป็นผู้ช่วยฯ เพราะอาวุโสสูงสุด
ขณะที่จักรมณฑ์ ผาสุกวณิชย์ อดีตมือขวาของสถาพรสมัยอยู่สภาพัฒน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคนใหม่วัย
43 ปีที่ยังมีอนาคตในวงราชการอีกยาวนาน เป็นที่รู้กันว่า "จักรมณฑ์เป็นสานตรงจากท่านเลขาฯ"
การก้าวเข้ามาของจกรมณฑ์จึงถูกจบตาในทายาท บีโอไอคนใหม่ เพราะในอีก 3 ปีข้าวาณี
เลิศดำริห์การ รองเลขาฯ ก็จะเกษียณแล้วถัดมาอีกในปี 2542 จักรชัย ก็จะเกษียณตามไป
และในที่สุดในปี 2543 สถาพรจะต้องละวาเก้าอี้ตำแหน่งให้แก่คนใหม่
แต่พุทธภาษิตที่วา "ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน จักรมณฑ์อาจจะมีหรือไม่มีโอกาสได้ครอบคองเก้าอี้ตำแหน่งนี้ตามความคาดหมายของหลายคนเหมือนที่ครั้งหนึ่งในปี
2530 สถาพรเคยต้องอกหักในสมัยที่ชีระ ภาณุพงศ์ได้เข้ามาบริหารบีโอไอในฐานะเลขาธิการบีโอไอคนใหม่สืบต่อจากเดชาบุญชูช่วย
สถาพรวันนี้มีอายุ 52 ปี บทบาทโดดเด่นทางการเมืองและเศรษฐกิจของสถาพรในรัฐบาลยุค
รสช.นี้สะท้อนถึงความเป็นนักประสานกิจเป็นเลิศ เพราะเป็นบุคคลที่ใกลิ้ดในตกลาของอำนาจทั้งฝ่ายผู้นำทหารและนายกรัฐมนตรี
สถาพรจึงดูประหนึ่งนักประสานกิจที่ไต่เต้าลวดระหว่างอำนาจกับการเมืองที่ไม่อาจพลาดได้