Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2535
สวัสดีค่ะ จ่ายภาษีมาซะดีดี!             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 

 
Charts & Figures

ตัวเลขสำคัญทางการเงินของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัดและบริษัทย่อย


   
search resources

สรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง, บจก.
เดอะมอลล์กรุ๊ป
ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน, บมจ.
Auditor and Taxation
Shopping Centers and Department store




ภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่งผลกระทบต่อห้างสรรพสินค้าอย่างใหญ่หลวงสองกรณีคือ ในส่วนของระบบการทำธุรกิจระหว่างซัพพลายเออร์ ซึ่งเคยค้ากันในหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นการฝากขาย จะซื้อจะขาย ขายขาด การเช่าที่และการแบ่งสรรกำไร ผู้เชี่ยวชาญในวงการชี้ว่าต่อไปนี้ระบบต่าง ๆ จะต้องมีการเปลี่ยนไปตามสภาพ กรมสรรพยากรต้องการให้ระบบฝากขายหมดสิ้นไป แต่ผู้เชี่ยวชาญวงการค้าปลีกมองว่าจะเกิดระบบนายหน้าตัวแทนขึ้นมาแทนที่อีกส่วนหนึ่งคือ เรื่องการจัดทำเอกสารการขอคืนภาษี ชำระภาษี ใบกำกับภาษีซึ่งเป็นภาระอย่างหนักสำหรับห้างสรรพสินค้าทุกแห่ง!!

ไม่มีใคร เตรียมตัวอย่างจริงจังเพื่อรับมือกับการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ 1 มกราคม 2535 ซึ่งเป็นการทำให้ความลังเลใจว่าจะมีการผลักดันให้ใช้กฎหมายนี้สำเร็จหรือไม่หมดสิ้นไป

แม้จะมีการประกาศออกมาเป็นของแน่นอนแล้ว ก็ยังมีผู้ที่มีความเห็นว่ารัฐบาลให้เวลาเตรียมตัวน้อยเกินไป คือมีเวลาแค่เดือนกว่า ๆ เท่านั้น ใครจะเตรียมตัวได้ทัน

สมาชาย สาโรวาท กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท อิมพีเรียล อินเตอร์เนชั่นแนล ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จำกัด และประธานษมาคมห้างสรรพสินค้ากล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ที่รัฐบาลแย้งว่าจะมีการใช้ตราบใดที่ยังไม่มีกฎหมายออกมานั่นถือว่ายังไม่ได้ใช้ใครจะไปเตรียมตัวในเมื่อกฎหมายยังไม่ออก"

สมชายซึ่งเป็นตัวหลักสำคัญในการคัดค้านในต้านปฏิบัติมองว่า "ผมคิดว่าเมื่อมีการออกกฎหมายมาแล้ว ก็ควรที่จะให้เวลาในการเตรียมตัวระยะหนึ่งเหมือนกับหลายประเทศที่ทำกันมา เช่น อังกฤษเมื่อประกาศแล้วให้เวลาเตรียมตัวถึง 1 ปี ญี่ปุ่นตอนที่มีการเปลี่ยนระบบภาษีก็เตรียมตัวนาน 6 เดือน ฟิลิปปินส์ 2 ปี จนขณะนี้ฟิลิปปินส์กับไต้หวันยังมีปัญหาในเรื่องนี้ สิงคโปร์ยังไม่ได้ใช้ อเมริกายังไม่ได้ใช้"

เขาไม่ได้คัดค้านการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ต้องการให้มีการเตรียมการที่ดีใช้แล้วไม่เกิดปัญหา

อย่างไรก็ดี สมชายก็มีความเข้าใจว่า "หากไม่ออกกฎหมายในช่วงนี้รอไปออกในรัฐบาลหน้าก็ยาก เพราะว่าเป็นรัฐบาลเลือกตั้ง ทำอะไรต้องคำนึงเรื่องความเดือดร้อนของชาวบ้านเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ต้องออกมาเร็วอย่างนี้ ผมไม่ได้ติงเรื่องออก แต่ติงเรื่องเวลาที่ให้"

ความเห็นของสมชายคล้ายคลึงกับบรรดาผู้บริหารห้างสรรพสินค้าอื่น ๆ ต่างกันที่ดีกรีของความพร้อม/ไม่พร้อมของแต่ละห้าง

โดยทั่วไปแล้ว บรรดาห้างสรรพสินค้าต่างยอมรับการเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มและคิดว่าความยุ่งเหยิงเมื่อเข้าสู่ระบบใหม่คงมีอยู่สักระยะหนึ่ง ต่อไปก็จะเข้าที่เข้าทางและปรับปรุงตัวได้ในที่สุด

ปรีชา เวชสุภาพร กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัทห้างสรรพสินค้าโรบินสันจำกัดให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ผมคิดว่าธุรกิจค้าปลีกนี่ต้องถูกกระทบแน่นอนและเป็นตัวสำคัญที่สุด คือผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างได้ประโยชน์จากภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งคู่ ผู้ค้าปลีกเป็นเพียงตัวกลางจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค เมื่อเราแก้ปัญหาที่ต้นทาง ปลายทางก็ได้ประโยชน์แน่นอนอยู่แล้วผู้ค้าปลีกเป็นตัวกลางที่ผ่านซึ่งจะถูกกระทบมากผม หวังว่าเมื่อธุรกิจมันข้าที่แล้ว และในระยะยาวสถานการณ์ทางด้านการค้าขายดีขึ้น มันคงทำให้ยอดขายสูงขึ้น การค้าสะดวกขึ้นผมคิดว่าคงใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ในการที่จะปรับสิ่งต่าง ๆ ให้เข้าที่."

ปรีชายอมรับเหมือนกันว่าจะต้องเกิดปัญหาขึ้นมาไม่น้อย แต่ดูเขาจะหวังผลในระยะยาวอย่างมาก ๆ ทั้งนี้ห้างสรรพสินค้าโรบินสันมีข้อได้เปรียบห้างอื่น ๆ ประการหนึ่งคือเพิ่งจะลงทุนในเรื่องระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์และบาร์โค้ด เป็นมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาทเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยเหล่านี้จะช่วยแบ่งเบาภาระงานต่าง ๆ ของห้างได้เป็นอย่างดี ขณะที่ห้างอื่น ๆ ยังไม่มีใครลงทุนมากเท่าโรบินสัน และบางห้างก็ยังไม่มีนโยบายในเรื่องนี้เลยด้วยซ้ำไป

ภาระประการแรกของห้างสรรพสินค้าก็คือค่าจัดการตัวนี้ซึ่งแต่ละห้างมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งที่แต่ละห้างจะต้องทำเหมือนกันก็คือการพิมพ์ใบกำกับภาษี เตรียมทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ หรือรายงานสต็อคสินค้า ทั้งนี้กรมสรรพากรอนุญาตให้ใช้สลิปรายการที่ออกจากเครื่องบันทึกเงินสดเป็นใบกำกับภาษีได้แต่ในบางกรณีก็ต้องใช้บิลที่เป็นสมุดเล่ม สั่งพิมพ์ใหม่และบันทึกโดยใช้คนทำ (MANUAL)

ปรีชาเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า "หากเป็นระบบซื้อมาขายไป เราก็ใช้เครื่องบันทึกเงินสดกับรายการได้เหมือนเดิม รายการอาจจะยาวขึ้นบ้างส่วนระบบฝากขายและระบบอื่น ๆ นั้นเราจำเป็นต้องใช้บิลตรงนี้ก็คงต้องใช้เวลาระยะหนึ่งที่จะปรึกษากับกรมสรรพากรหรือผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายถึงเรื่องเทคโนโลยีที่จะทำให้ภาระเหล่านี้เบาลง ไม่อย่างนั้นมันจะเป็นปัญหาใหญ่ทีเดียว ผมเชื่อว่าระยะยาวเราจะแก้ปัญหานี้ได้"

นอกจากนี้โรบินสันยังเตรียมที่จะเอาระบบบาร์โค้ดเข้ามาช่วยในเรื่องการทำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มให้กระชับและรวดเร็วขึ้น"

ปรีชาอธิบายว่า "บาร์โค้ดมีบทบาทมากในเรื่องความแม่นยำและรวดเร็ว โดยเฉพาะการใช้งานในซุปเปอร์มาร์เก็ต แทนที่พนักงานจะต้องคีย์ตัวเลขสินค้าแต่ละรายการเข้าไปไม่ต่ำกว่า 10 ตัวเลข เราก็ใช้บาร์โค้ดนี่ปาดทีเดียวอ่านได้หมด และให้รายละเอียดได้มากเพราะเข้าใจว่ามันมีตัวเลขมากกว่า 16 หลัก เป็นระบบที่สะดวกมาก

นอกจากการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าแล้ว บาร์โค้ดยังใช้ประโยชน์ได้อีกมาก บาร์โค้ดที่ต่อเข้ากับเครื่องบันทึกเงินสดตรงนี้เป็นประตูเข้าของข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทำธุรกิจค้าปลีก

เมื่อต่อข้อมูลการขายสินค้าแต่ละรายการในแต่ละวันจากเครื่องบันทึกเงินสดไปที่สต็อค ก็จะทำให้สามารถรู้ได้ว่าขายสินค้าอะไรไปเท่าไหร่เหลืออยู่ในสต็อคเท่าไหร่

จากสต็อคสามารถเชื่อมต่อไปที่แผนกบัญชี เพื่อการลงบัญชีได้สะดวกรวดเร็วให้รายละเอียดในการเตรียมตัดจ่ายชำระเงินให้ซัพพลายเออร์รวมไปถึงเรื่องการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตรงนี้คือส่วนที่เชื่อมต่อมายังซีกผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ธนาคาร บัญชี

จากนั้นสามารถเชื่อมข้อมูลเข้ากับฝ่ายบริหาร เพื่อนำไปให้ฝ่ายจัดซื้อวิเคราะห์ประมวลทำสถิติการขาย สร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมการขายเป็นข้อมูลในการสั่งซื้อสินค้า การควบคุมสต็อค

นอกจากนี้ก็เอาข้อมูลที่ได้ส่งต่อไปให้ซัพพลายเออร์และผู้ผลิตได้ ทำให้ไม่ต้องส่งเจ้าหน้าที่มาจดรายงานว่าวันไหนขายไปเท่าไหร่ ข้อมูลออนไลน์เรียล ไทม์นี้ก็ไปปรากฏที่ซัพพลายเออร์ทำให้รู้ว่าขณะนี้สินค้าในสต็อคของห้างลดลงไปเท่าไหร่ให้ซัพพลายเออร์เอามาส่งได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดภาระเรื่องการทำเอกสารการสั่งซื้อได้มาก

จุดสุดท้ายที่ข้อมูลจากบาร์โค้ดที่ต่อเข้าเครื่องบันทึกเงินสดจะเดินทางไปถึงคือโรงงาน ทางผู้ผลิตสามารถรู้ได้ในทันทีว่าสินค้าแต่ละชนิดที่ส่งมายังผู้จัดจำหน่ายและห้างสรรพสินค้ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร

นี่คือกระบวนการของการใช้บาร์โค้ตอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าช่วยอำนวยประโยชน์แก่ระบบการจัดการของธุรกิจค้าปลีกที่ยุ่งยากซับซ้อนให้ง่ายและสะดวกมากเพียงไร

ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งที่ใช้ระบบบาร์โค้ดอยู่ในปัจจุบันหยุดการใช้ประโยชน์อยู่ที่การคุมสต็อคเท่านั้น แต่การจะใช้ประโยชน์ให้ครบกระบวนการมากน้อยแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละห้างมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนด้วย เพราะการลงทุนเรื่องบาร์โค้ดและระบบคอมพิวเตอร์มีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร ทั้งเรื่องเครื่องมือและบุคลากร

นอกจากเรื่องบาร์โค้ตแล้ว โรบินสันค่อนข้างเตรียมตัวพร้อม มีแผนการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ภายในระยะ 5 ปีข้างหน้า ซื้อซอฟท์แวร์โปรแกรมจากอเมริกามูลค่ากว่า 50 ล้านบาท ปรีชาคุยว่า "ซอฟท์แวร์ตัวนี้มีการใช้กับดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ใหญ่ ๆ หลายแห่งทั่วโลก เช่นห้างมอนโตโกเมอรี่ ดิสนีย์เวิร์ด ดิสนีย์แลนด์ ในสหรัฐฯ ห้างอีตันในแคนาดา ห้างไมเออร์และไดมารูในออสเตรเลีย เป็นต้น ซอฟท์แวร์ตัวนี้เป็นของบริษัท PRJ เป็นโปรแกรมที่ว่าด้วยเรื่องของขบวนการค้าปลีกทั้งหลาย (RETAILING INFORMATION SYSTEM) มีโปรแกรมย่อย ๆ มากมายหลายโปรแกรม"

โปรแกรมที่โรบินสันเลือกมาใช้ก่อนคือ การบริหารเกี่ยวกับเครดิตการ์ดและบาร์โค้ด ซึ่งคาดว่าภายในกลางปี 2535 ระบบทั้ง 2 นี้จะเริ่มใช้งานได้ ปรีชามั่นใจว่า "ศักยภาพของเมนเฟรม ES9000 และซอฟท์แวร์ที่เราใช้อยู่จะช่วยให้เราจัดการระบบธุรกิจค้าปลีกได้อย่างดี เราเป็นเจ้าแรกเจ้าเดียวที่ใช้"

ปรีชายืนยันว่า "ทางห้างไม่มีปัญหาในเรื่องอุปกรณ์ ผมพร้อมที่จะพัฒนา เพียงแต่ว่าวิธีการปฏิบัติในเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างหยาบ จนเมื่อใกล้เริ่มลงมือใช้แล้วก็ยังมีรายละเอียดในเรื่องการลงมือปฏิบัติอยู่พอสมควรที่ผู้ปฏิบัติต้องลงมือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นทางห้างกับกรมสรรพากรก็ค่อยมาปรึกษากัน"

พิชิต นิ่มกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการค้า บริษัทเดอะมออล์กรุ๊ป จำกัด พูดถึงการเตรียมพร้อมของเดอะมอลล์ว่า "จริง ๆ แล้วยังไม่มีใครเตรียมรับมือได้ 100 % เพราะกฎหมายลูกยังออกมาไม่ครบและสินค้าบางประเภทเช่นสินค้านำเข้าก็ยังเป็นที่สับสนว่าจะได้หรือไม่ จะเคลมกันอย่างไร แต่โดยหลักการกว้าง ๆ ทางห้างก็เตรียมตัวพร้อมใน 2 อย่างคือเอกสารในเรื่องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเราพร้อมหมด ใบกำกับภาษี เอกสารการรายงานสต็อคการเตรียมสต็อคสินค้า เรื่องราคาและการเจรจากับซัพพลายเออร์เราทำมาตลอด"

ในประการหลังนั้นพิชิตมีนโยบายที่จะเก็บสต็อคไว้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ช่วงนี้ก็เป็นจังหวะของการขายเหมือนกัน พิชิตกล่าวว่า "ผมต้องหา OPTIMUM POINT คือต้องสต็อคสินค้าให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งมันเป็นเรื่องยากพอสมควร

การบริหารสต็อคเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับธุรกิจการค้าปลีก ผู้บริหารห้างสรรพสินค้าหลายรายยืนยันกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ในธุรกกิจดีพาร์ทเม้นท์สโตร์นั้น การที่จะเพิ่มกำไรขึ้น 1 % หรือ 0.5 % เป็นเรื่องที่ยากมาก แต่การที่ลดสต็อคลงได้ 1 % - 3% มันจะมีผลประโยชน์ มีกำไรเพิ่มขึ้นในส่วนนี้อย่างมากชนิดที่เราคาดไม่ถึง"

ประเด็นหนึ่งที่มีการพูดถึงกันมากคือในระบบการขายของห้างสรรพสินค้า สินค้าที่ซ้อมาในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของปี 2534 กว่าจะได้ขายก็ล่วงเข้ามกราคม 2535 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มีการใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว แต่สินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่มีภาระภาษีการค้าติดอยู่ แต่ยังไม่มีใบกำกับภาษีห้างจะใช้เป็นหลักฐานการขอคืนภาษีได้ ขณะที่ห้างต้องขายสินค้าเหล่านี้ในราคาที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ด้วย

สำหรับเดอะมอลล์ พิชิตแย้มว่า "ผมได้ขอความร่วมมือจากผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายในการที่จะช่วยชดเชยภาษีบางส่วนคืนแก่เรา ซึ่งเขาสามารถไปเคลมกลับจากกรมสรรพากรได้อยู่แล้ว ผมไม่ได้ขอความร่วมมือในแง่ขอคืนสินค้า แต่ขอให้เขาช่วยชดเชย ลดต้นทุนสินค้ามากกว่า

กรมสรรพากรก็มีการออกมาตรการพิเศษเกี่ยวกับสินค้าคงคลังทั่วไป โดยกำหนดให้คืนภาษีการค้าที่แฝงอยู่ในประเทศหรือมีการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้

การคืนภาษีนี้อยู่ในรูปของเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมูลค่าภาษีการค้าที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 9.9 ของราคาสินค้า

มาตรการนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากผู้ค้าปลีก เพราะห้างสรรพสินค้าโดยส่วนมากไม่ได้ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตแต่ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตแต่ซื้อจากซัพพลายเออร์ซึ่งไม่เข้าข่ายว่าจะขอเครดิตภาษีได้

สมชายกล่าวว่า "ผมยังไม่รู้ว่าจะเคลมภาษีการค้าได้หรือเปล่า ส่วนใหญ่เท่าที่ผมเห็นมักจะบวกเจ้าไปเลย นี่คือปัญหาที่จะเจอ รัฐบาลได้ออกระเบียบผ่อนปรนให้โดยที่ปฏิบัติไม่ได้ เพราะการจะเคลมภาษีการค้าได้นั้นต้องเป็นสินค้าที่ซื้อจากผู้ผลิต แต่ส่วนมากเราซื้อจากซัพพลายเออร์จึงเคลมไม่ได้"

แต่ในส่วนของเดอะมอลล์นั้นมีการเจรจรกับซัพพลายเออร์ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือที่ดี พิชิตกล่าวว่า "รัฐแนะนำให้มีการคุยกันเองระหว่างผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายและและห้างผมมองว่าเป็นเรื่องของความร่วมมือและเข้าใจแต่ผมก็ยอมรับว่ามีผู้จัดจำหน่ายบางรายที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือ แต่เป็นส่วนน้อย"

ที่โรบินสันก็เช่นเดียวกัน ปรีชาเปิดเผยว่า "อันนี้เป็นความรับผิดชอบระหว่างห้างกับซัพพลายเออร์ที่จะตกลงกัน ตัวนี้ไม่มีปัญหา ส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะเป็นคนรับผิดชอบ คือภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะเสีย 7 % ในสต็อคที่เหลืออยู้ในช่วง 2 เดือนน้ซัพพลายเออร์จะเป็นคนรับผิดชอบ

ปัญหาเรื่องสต็อคสินค้าใน 2 เดือนสุดท้ายที่จะมีการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง ราคาสินค้าในเดือนมกราคม สมชายมั่นใจว่าราคาสินค้าจะต้องเพิ่มและลด แต่ในวันที่ 1 นี่ผมไม่รู้ว่าจะลดได้จริงหรือเปล่า อีกอย่างราคาสินค้าในวันที่ 1 มกราคม จะต้องต่างจากวันที่31 ธันวาคม"

แต่ปรีชาไม่คิดว่าราคาสินค้าจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วขนาดนั้น "ผมคิดว่าในระยะยาวควรจะลดมาราคาอาจจะซ้ำไป คือในอี ก15 วันหรือเดือนหนึ่งถัดมาราคาอาจจะเหลือ 195 บาท เป็นอย่างนี้มากกว่า เพราะระบบการจัดจำหน่ายจะย่นย่อลงปัจจัยเรื่องค่าบริหารและภาษีต่าง ๆจะถูกลงโดยอัตโนมัติ"

นั่นคือหลักการซึ่งมีการยกเว้นในบางรายการเพราะมีสินค้าบางชนิดที่ภาษีมูลค่าเพิ่มคิดสูงกว่า อัตราภาษีเดิม ซึ่งมีระบบการจัดจำหน่ายแบบเดิมที่ภาษีไม่มากเท่าอยู่แล้วบางรายการที่อาจจะสูงขึ้นได้แก่ผงซักฟอก น้ำมันพืช ยาสีฟัน เป็นต้น

พิชิตให้ความเห็นว่า "ผมยังไม่ทราบว่าราคาสินค้าจะขึ้นหรือลงสักแค่ไหน เพราะทางซัพพลายเออร์ยังไม่ได้แจ้งราคาสินค้าเมื่อใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับทางห้าง แต่ผมคิดว่าราคาน่าจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือเพิ่มขึ้น คงที่และลดลง"

สินค้ากลุ่มที่ไม่มีภาระภาษีมูลค่าเพิ่มมีเป็นจำนวนน้อยมาก พิชิตประมาณว่ามีไม่ถึง 1 % ของสินค้าในห้างสรรพสินค้า ได้แก่พืชผลทางการเกษตรข้าวสารที่ไม่ได้บรรจุถุง ซึ่งสินค้าเหล่านี้มียอดขายน้อยมาก

สินค้ากลุ่มใหญ่ที่มีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีทั้งประเภทที่ห้างเป็นผู้กำหนดราคาขายเองโดยซัพพลายเออร์ส่งราคามาให้ และห้างจะติดราคาเองกับสินค้าประเภทที่ราคาถูกกำหนดโดยผู้ผผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเสื้อผ้า แฟชั่นไลน์ ราคาสินค้าประเภทนี้ไม่ว่าจะซื้อในห้างไหนราคาจะต้องเท่ากัน

พิชิตยอมรับว่า "ซัพพลายเออร์คงจะรู้ราคาแล้ว แต่ยังไม่ยอมเปิดเผยเพราะจะต้องดูคู่แข่งด้วย ในแง่ของห้างนั้นก็จะพยายามตรึงราคาให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้"

การตั้งราคาสินค้าโดยทั่วไปนั้นมีสูตรคือเอาต้นทุนมาบวกกำไรหรือค่าจัดการ ค่าการตลาดแล้วก็บวกภาษีเข้าไป ค่าจัดการประมาณ 10 % กว่า ๆ ของยอดขาย นี่เป็นอัตราทั่วไปที่ไม่มีกฎหมายกำหนด

วิโรจน์ จุนประทีปทอง กรรมการรองผู้จัดการห้างสรรพสินค้า ตั้งฮั่วเส็ง ยืนยันเช่นกันว่า "ก่อนหน้านี้ยังไม่มีซัพพลายเออร์แจ้งว่าราคาอะไรจะสูงจะต่ำผมเข้าใจว่าการที่เขาจะปรับมากหรือน้อยต้องรอหลังมกราคมเป็นต้นไป"

ตั้งฮั่วเส็งมีการเจรจากับซัพพลายเออร์ใน 2 ลักษณะคือให้ซัพพลายเออร์รับผิดชอบภาระภาษี 7% ในสินค้าที่สั่งเข้ามาในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2534 อีกส่วนหนึ่งปล่อยไว้เฉย ๆ รอดูว่าซัพพลายเออร์บางรายก็ให้สินค้ามาตั้งแต่ตอนนี้แล้ว บอกว่าวันที่ 1 มกราคมไม่มีของแล้ว บางรายบอกว่าช่วงนี้ให้ราคา 30 บาท แต่วันที่ 1 มกราคมจะให้ 25 บาทบวก 7% ซึ่งแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน

ตั้งฮั่วเส็งได้ชื่อว่าเป็นห้างสรรพสินค้าที่ขายสินค้าในราคาต่ำกว่าห้างทั่วไปอย่างมากคือ ราคาต่ำลงประมาณ 10-15% จากราคาป้ายสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิก ซึ่งลูกค้าส่วนมากที่ซื้อสินค้าจากตั้งฮั่วเส็งก็มักจะสมัครเป็นสมาชิกแทบทั้งสิ้น

การที่จะขายสินค้าในราคานี้ได้จำเป็นที่จะต้องมีต้นทุนที่ต่ำมาก ๆ หรือขายสินค้าได้ในปริมาณที่สูงมาก แต่เมื่อเจอเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดปัญหาขลุกขลับบ้างในเรื่องต้นทุนสินค้า เพราะต่อไปนี้จะต้องมีการบวก 7%

อย่างไรก็ดี วิโรจน์ยังยืนยันว่าเขาสามารถลดราคาได้ถึง 15 % เพราะว่ามีต้นทุนต่ำและมีเงินทุนระยะยาว "ค่าใช้จ่ายมันต่ำมากและห้างมีเงินทุนเพื่อสู้ในระยะยาวได้ เมื่อเริ่มทำแนวคิดเรื่องราคาตั้งฮั่วเส็งนั้น ผมออกสปอตทางทีวีเป็นชุดในปี 2529 หลังจากนั้นก็ไม่เคยใช้งบกับทีวีอีกเลย ซึ่งงบจำนวนนี้แต่ละห้างใช้กันปีละ 10-20 ล้านบาท ผมก็เอาส่วนนี้มาให้กับลูกค้าโดยตรง

มันเป็นกลยุทธ์ที่ห้างน้อยแห่งจะทำได้และประสบความสำเร็จเช่นตั้งฮั่วเส็ง

วิโรจน์เปิดเผยว่าสินค้าในส่วนของซุปเปอร์มาเก็ตเป็นสินค้าที่ซื้อขาดและใช้เงินสดเป็นส่วนมาก เขาคุยว่า "ผมเป็นห้างแรกกระมังที่ใช้เงินสดซื้อของในซุปเปอร์ฯ เพราะว่ามันได้ส่วนลดมาก ส่วนลดของวันหนึ่ง สามวัน เจ็ดวัน สิบห้าวันนี่จะไม่เท่ากัน เคยมีอยู่ช่วงหนึ่งที่นมขาดแคลนเพราะจะมีการเปลี่ยนน้ำหนักจากปอนด์มาเป็นกรัม ผมก็เลยสต็อค สมัยนั้นผมสั่งนมของดีทแฮล์มเดือนหนึ่งประมาณแสนหกหมื่นเจ็ดพันบาทถึงสองล้านกว่าบาทเป็นยอดที่สูงมาก แต่ผมก็ยังขายลดราคาให้ลูกค้าเหมือนเดิม"

วิโรจน์มั่นใจว่า "ผมขายมากผมก็ต่อรองกับซัพพลายเออร์ได้ถูก มันก็ลดลงไปเรื่อย ๆ ทุกวันนี้หากเป็นการขายปกติไม่ได้ลดครึ่งวันครึ่งราคา ผมคิดว่าสินค้าที่ตั้งฮั่วเส็งนี่ถูกที่สุด"

ราคาตั้งฮั่วเส็งจะยืนอยู่ได้อีกนานแค่ไหนเป็นเรื่องที่จะได้รับการพิสูจน์เมื่อล่วงเข้าเดือนมกราคม 2535

ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อห้าง ในแง่ที่ต้องตระเตรียมค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับการใช้ภาษีใหม่ตัวนี้เท่านั้นแต่ยังมีผลอย่างมากต่อระบบการค้าที่ห้างติดต่อกับซัพพลายเออร์

ห้างส่วนมากซื้อของจากซัพพลายเออร์มากกว่าที่จะซื้อจากผู้ผลิตโดยตรง โรบินสัน เดอะมอลล์ อิมพีเรียล ตั้งฮั่วเส็ง ต่างซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์ประมาณ 90%-99%

วิโรจน์กล่าว่า "ผมติดต่อเรื่องผงซักฟอกนี่ไม่เคยติดต่อกับบริษัทคอลเกต-ปาล์มโอลีฟเลยแต่ผมติดต่อกับบริษัทสยามกิลลอริตี้มาตลอด หรือผมเคยติดต่อกับไอซีซีแต่ผมไม่รู้เลยว่าบริษัทธนูลักษณ์เป็นผู้ผลิตเสื้อแอโรว์"

ในบรรดาห้างสรรพสินค้าทั้งหลายคาดว่าจะมีเพียงเซ็นทรัลเท่านั้นที่มีการผลิตสินค้าเป็นของตัวเองและนำมาวางขายในห้างด้วย เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอางบางยี่ห้อ

ปรีชายอมรับว่าจะเกิดปัญหาในการเปลี่ยนระบบการติดต่อระหว่างห้างกับซัพพลายเออร์ "สมัยก่อนนี้ซัพพลายเออร์ขายสินค้าให้ห้างก็ใช้หลายระบบมีทั้งการฝากขาย ซื้อมาขายไป จะซื้อจะขาย ขายขาด การเช่าพื้นที่และแบ่งส่วนรายได้ เมื่อมีการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มก็ต้องเป็นอีกระบบหนึ่ง มันต้องเปลี่ยนไปตามสภาพ แล้วแต่ว่าวิธีการขายของซัพพลายเออร์จะใช้วิธีใด"

ที่โรบินสันนั้น สินค้าที่ฝากขาย จะซื้อจะขายเช่าที่ รวมทั้งหมดมีประมาณกว่า 60 % ส่วนสินค้าที่ซื้อขาดและเครดิตมีไม่เกิน 40 %

ปรีชามองว่า "ส่วนที่จะมีผลกระทบมีระบบเดียวคือการฝากขาย เพราะซัพพลายเออร์ต้องเช็ค สต็อคทุกสิ้นเดือนเพื่อรายงานกรมสรรพากร ระบบจะซื้อจะขายและระบบการเช่าที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่เรื่องนี้ไม่มีผลกระทบต่อลูกค้าแต่อย่างใด"

ส่วนเดอะมอลล์ใช้ระบบฝากขาย หรือ CONSIGN เป็นส่วนใหญ่ในการติดต่อกับซัพพลายเออร์ พิชิตเล่าว่า "สินค้าประเภทที่เป็นแฟชั่นส่วนใหญ่จะเป็นคอนไซน์ เพราะสินค้าประเภทนี้เปลี่ยนเร็วมาก ดังนั้นการจัดการเรื่องสต็อคสินค้านี่ผู้ผลิตจะทำได้ดีมาก เขาจะรู้ว่าสินค้าที่เขาผลิตมานั้นจุดไหนขายได้จุดไหนขายไม่ได้ ดังนั้นระบบนี้จึงเป็นระบบที่คล่องตัวที่สุดสำหรับผู้จัดจำหน่ายและห้าง"

ในระบบฝากขายจะมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในลักษณะของการเป็นนายหน้าตัวแทน หรือเสียภาษีจากค่าบริการนายหน้าตัวแทนที่ได้รับ โดยส่วนตัวพิชิตมีความเห็นว่าระบบการติดต่อระหว่างห้างกับซัพพลายเออร์ในอนาคตจะเข้าในระบบนายหน้าตัวแทนนี้มากขึ้น

เขาอธิบายว่า "มันเป็นระบบที่ใกล้เคียงกับปัจจุบันมากที่สุด คือผู้ผลิตยังเป็นผู้บริหารสต็อค ในแง่กฎหมายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ผลิตเพียงแต่ว่าห้างเป็นนายหน้าตัวแทนเท่านั้น เมื่อเกิดการขายเมื่อไหร่ ห้างก็ได้รับค่าบริการจากการเป็นนายหน้าตัวแทนให้ผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่าย"

เหตุที่ระบบนี้จะได้รับความนิยมอย่างมากเพราะผู้ผลิตยังเป็นผู้บริหารสต็อค "ผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่ายจะรู้ว่าเสื้อดีไซน์นี้ขายได้ที่นี่ เหมาะกับตลาดกลุ่มนี้เขาส่งเข้ามากี่ตัว เขารู้ไซส์ เขาจะโยกสินค้าที่เคลื่อนไหวช้าไปขายที่อื่นที่เร็วกว่าได้" พิชิตเล่า

สินค้าที่เปลี่ยนแปลงจากระบบฝากขายมาเป็นระบบตัวแทนจำหน่ายได้แก่ สินค้าประเภทเครื่องแต่งกาย เครื่องหนังและเครื่องสำอางต่าง ๆ ผู้เชี่ยวชาญวงการค้าปลีกอธิบายว่า "สินค้าเหล่านี้ บริษัทเจ้าของสินค้าเรื่องสต็อคสินค้าเรื่อยไปจนถึงพนักงานขาย เมื่อมีการขายเกิดขึ้นห้างจะได้รับส่วนแบ่งเป็นค่าคอมมิชชันจากสินค้านั้น ๆ หากยังไม่มีการขายก็ถือว่ายังอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ผลิตสินค้า

แต่ถ้าไม่ใช่ระบบนี้ก็จะเกิดความวุ่นวายไม่น้อยพิชิตยกตัวอย่างว่า "หากมีการตีคืนสินค้า เรื่องเอกสารจะเป็นเรื่องที่วุ่นวายมาก สมมติเป็นการซื้อขาดมาแล้ว ของอยู่ที่ผม ผมขายไม่ได้ก็ต้องมีการตีคืนโดยคำแนะนำของผู้ผลิต การจะเอาของไปคือก็ต้องทำใบลดหนี้ (CREDIT NOTE) อันนี้หากเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้ว ต้องไปเครดิตคืนกลับมา ผมว่ามันเป็นอะไรที่ยุ่งยากมาก ๆ ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย ๆ เลย"

หากจะให้ห้างเข้าไปบริหารแทนผู้ผลิตก็คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เช่นกัน เพราะผู้ผลิตจะมีปัญหาเรื่องการบริหารตลาดของตัวเองด้วย

ระบบการตลาดในปัจจุบันผู้ผลิตมักจะมีผู้จัดจำหน่ายสินค้าให้ อาจจะเป็นการตั้งบริษัทจัดจำหน่ายขึ้นมาต่างหากในกรณีของผู้ผลิตรายใหญ่หรืออาจจะจ้างให้บริษัทจัดจำหน่ายรายใหญ่ ๆ เป็นผู้วางสินค้าของตัว มีผู้ผลิตน้อยรายที่จะขายสินค้าให้ห้างโดยตรง ผู้ผลิตเหล่านี้เป็นรายย่อยที่มีสินค้าวางขายให้ห้างประมาณ 1%-10% ของสินค้าทั้งหมดในห้าง

ระบบการแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายทำให้สินค้าเพิ่มทางผ่านตัวแทน 3-4 ทอดกว่าจะถึงมือผู้บริโภคเพราะมีความเข้าใจกันว่าระบบนี้จะช่วยลดภาษีลงได้มาก คือมีการเสียภาษีการค้าจุดเดียวเฉพาะในส่วนของผู้ผลิต แต่การซื้อมาขายไปในทอดที่ 2, 3, 4 ไม่ต้องเสียภาษีอีก แม้กระทั่งการขายให้ห้างในทอดที่ 3 หรือ 4 ก็ไม่ต้องเสียภาษีการค้า มีแต่ภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น

แต่ถ้าผู้ผลิตขายให้ END USER จะต้องเสียภาษีการค้าในราคาหน้าโรงงานคือราคาขายปลีก ซึ่งเป็นอัตราที่สูงอย่างมาก แม้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มแต่ก็ยังถูกกว่าการเสียภาษี

ผู้เชี่ยวชาญในวงการค้าปลีกให้ความเห็นว่า "การใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอาจช่วยลดขึ้นตอนการเดินทางของสินค้าได้บ้าง เพราะมันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีตัวแทนจำหน่ายถึง 3-4 ทอดอีกต่อไปอันนี้ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานลดลง" ซึ่งว่าตามทฤษฎีก็น่าจะทำให้ราคาสินค้าถูกลง"

อย่างไรก็ดี ปรีชายืนยันว่าผู้ค้าปลีกไม่มีอำนาจที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ตามจุดนี้เขาเข้าใจว่าโดยหลักการน่าจะมีการลดขึ้นตอนการเดินทางของสินค้าแต่คงไม่เกิดในลักษณะที่ห้างจะซื้อสินค้าจากผู้ผลิตโดยตรง "เพียงแต่ว่ามันจะมีวิธีการที่ทำให้ขบวนการมันกระชับขึ้นเท่านั้นเองเราไม่มีอิทธิพลถึงขนาดที่จะไปบังคับให้ระบบมันเปลี่ยนแปรไป"

เท่ากับว่าผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีบทบาทอยู่ในระบบการจัดจำหน่ายตอนนี้จะเป็นฝ่ายกำหนดมากกว่าว่าจะใช้ระบบการขายสินค้าให้ห้างอย่างไร

สิ่งที่กรมสรรพากรต้องการคือ ให้มีการทำสัญญาระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกให้ถูกต้องโดยให้ถือว่าการขายจะเกิดขึ้นจริงต่อเมื่อลูกค้ามาซื้อสินค้าจากห้างไป และการออกใบเสร็จต้องทำในนามของโรงงานผู้ผลิตเท่านั้น

ความต้องการของกรมสรรพากรในประเด็นนี้ดูจะมีปัญหาในการนำไปปฏิบัติ วิโรจน์ให้ความเห็นว่า "ในระบบการฝากขาย ซึ่งกรมสรรพากรต้องการให้ซัพพลายเออร์เป็นผู้ออกใบเสร็จรวมของห้าง ซัพพลายเออร์คงไม่พอใจที่จะต้องเป็นผู้ออกเงินค่าใบเสร็จในห้าง แต่ถ้าจะเอาอย่างนั้นจริงงๆ ตรงเคาน์เตอร์ที่ขายเสื้อผ้าก็ต้องเป็นผู้ออกใบเสร็จไปเลย อาจใช้ใบเสร็จของซัพพลายเออร์แต่ห้างก็เป็นผู้เก็บเงินตามเดิม"

ตั้งฮั่วเส็งมีวิธีจัดการกับปัญหานี้โดยการออกใบเสร็จแล้วประทับตรายางของสินค้าแต่ละชนิดแทนที่จะเป็นการพิมพ์ให้กับซัพพลายเออร์ทุกราย

วิโรจน์ให้ความเห็นวิจารณ์กรณีที่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มไม่สนับสนุนให้ระบบฝากขายคงอยู่ว่า "ปัญหาที่เกิดขึ้นหากจะทำธุรกิจแบบไม่ฝากขายคือห้างต้องใช้เงินลงทุนสูงมากส่วนลูกค้าผู้บริโภคก็ไม่มีโอกาสได้เลือกสินค้ามากขึ้น และซัพพลายเออร์รายใหม่ไม่มีโอกาสเกิดเพราะห้างคงไม่สามารถซื้อขาดสินค้าโนเนมเข้ามาวางขายได้หรือสินค้าประเภทอุตสาหกรรมในครัวเรือนทั้งหลาย อย่างพวกขนมหวาน ทองหยอด ฝอยทอง หากห้างซื้อขาดเกิดขายไม่หมดแล้วเสียภาระก็ต้องตกแก่ห้างอีก"

ดังนั้นจึงยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าระบบฝากขายจะสูญสิ้นไปจริงหรือไม่ กรมสรรพากรเองก็ไม่ได้พูดเรื่องนี้ออกมาอย่างชัดเจนและกฎหมายลูกในเรื่องนี้ก็ยังไม่ออกมาด้วย

ในส่วนของการเช่าพื้นที่ พิชิตไม่มั่นใจว่าจะต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ "หากเป็นค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์มันไม่เข้าข่ายแต่การเช่าในลักษณะนี้ผมไม่แน่ใจว่าใช่หรือไม่ ผมได้ยินเหมือนกันว่าบางห้างจะใช้ระบบเช่าที่ เดอะมอลล์ก็มีเช่าพื้นที่เหมือนกัน แต่เป็นส่วนน้อย เช่าเป็นร้านไปเลย เช่น บาร์-บี-คิว พลาซ่า ส่วนในห้างจะมีก็เพียงร้านขายยาและร้านอาหารการเช่านี่ต้องโดนภาษีโรงเรือนอยู่แล้วซึ่งค่อนข้างหนักพอควร ประมาณ 5.5%

การใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกค่อนข้างมาก จนถึงวันนี้ผู้บริหารห้างหลายแห่งค่อนข้างยอมรับได้กับการที่จะต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมายในช่วงเริ่มใช้ แม้ว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วผู้ที่ได้ประโยชน์จากภาษีมูลค่าเพิ่มมากที่สุดคือภาคอุตสาหกรรมและผู้ส่งออก ส่วนผู้ค้าปลีกเป็นเพียงกลไกสำคัญเพื่อการจัดเก็บภาษีให้รัฐเท่านั้น

นอกจากปัญหาในการเตรียมตัวเกี่ยวกับเรื่องเอกสารต่าง ๆ และระบบการติดต่อกับซัพพลายเออร์แล้ว ห้างสรรพสินค้ารวมทั้งผู้ค้าปลีกรายย่อยต้องคำนึงประเด็นที่สำคัญอันหนึ่งด้วยคือการบริหารเงินสดของห้าง/ร้านค้า

ในระบบที่ห้างซื้อของด้วยวิธีเครดิต แต่ขายเงินสด ห้างจะมีเงินสดเอาไปหมุนในช่วงหนึ่งก่อนที่จะถึงกำหนดจ่ายเงินซัพพลายเออร์ แต่เมื่อเข้าอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม การหมุนเวียนเตรียมเงินเพื่อจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มทุกเดือน หรืออย่างน้อยพัวพันได้ไม่เกิน 2 เดือน

ปรีชามองว่าประเด็นนี้ไม่มีผลกระทบต่อห้าง "น่าจะไม่มี เพราะตั้งแต่ที่คุยมามีแต่เรื่องความยุ่งยากในการออกเอกสาร และการตกลงกับซัพพลายเออร์ว่าจะใช้ระบบอะไร ไม่เคยมีการคุยเรื่องเงินสดและว่าไปแล้วการจ่ายภาษีกับการขอคืนภาษีก็มีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ไม่กี่วัน"

ส่วนพิชิตให้ความเห็นว่า "ผมว่าไม่มีผลกระทบเรื่อง CASH FLOW ของห้าง เพราะระบบที่ห้างใช้อยู่ตอนนี้เป็นเหมือนระบบตะกร้า สินค้าที่ซื้อมาวันนี้โดยภาษีไปแล้ว แต่ตัวอื่นอาจจะขายได้ บางเดือนผมอาจจะเครดิตภาษีมากกว่าภาษีที่ผมจ่ายไปก็ได้หากเดือนไหนซื้อของที่ซื้อก็ต้องจ่ายภาษีที่ผมจ่ายไปก็ได้หากเดือนไหนซื้อของมาเยอะก็เอาไปเครดิต แต่ถ้าขายมากกว่าของที่ซื้อก็ต้องจ่ายภาษีมาก มันเป็นเรื่องของระบบตะกร้า"

พิชิตมองว่าสิ่งที่เป็นภาระมากกว่าคือค่าใช้จ่ายในการบริหารซึ่งค่อนข้างสูงมาก

ในบัญชีงบดุลของบริษัทเดอะมอลล์ชอปปิ้งเซนเตอร์ (หัวหมาก) ซึ่งอยู่ในประเภทของธุรกิจให่เช่าอสังหาริมทรัพย์และบริการสถานที่เช่า ปรากฏว่าบริษัทนี้มีรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการที่เกี่ยวข้องสูงไม่น้อย แต่มีรายจ่ายที่มาจากต้นทุนการให้เช่าและค่าใช้จ่ายการขายและการบริหารสูงมาก จนทำให้บริษัทขาดทุนทุกปี

ปี 2534 ซึ่งมีรอบบัญชีสำหรับปีสิ้นสุด 31 มีนาคม ปรากฏว่ามีรายได้รวม 52.68 ล้านบาท แต่มีรายจ่ายรวม 53.78 ล้านบาท ทำให้ขาดทุนสุทธิ 1.10 ล้านบาท และขาดทุนสะสม 17.61 ล้านบาทขณะที่มีทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท

นี่เป็นเพียงตัวเลขบริษัทเดียวในเครือของเดอะมอลล์เท่านั้น

ส่วนห้างสรรพสินค้าโรบินสันมีค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารเมื่อปี 2533 ประมาณ 16.7% ของยอดขายรวม 5,196.53 ล้านบาท ทำให้ขาดทุนสุทธิ 1.10 ล้านบาท และขาดทุนสะสม 17.61 ล้านบาทขณะที่มีทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท

นี่เป็นเพียงตัวเลขบริษัทเดียวในเครือของเดอะมอลล์เท่านั้น

ส่วนห้างสรรพสินค้าโรบินสันมีค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารเมื่อปี 2533 ประมาณ 16.7% ของยอดรวม 5,196.53 ล้านบาท ในประมาณการงบการเงินระหว่างปี 2534-2536 คาดหมายว่าค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารจะอยู่ที่ 16.5%-18% ของยอดขายรวมแต่ละปี

ทั้งนี้ในบรรดาห้างสรรพสินค้าทั้งหมด 36 ห้าง ซึ่งมียอดขายรวมของธุรกิจประมาณ 29,000 ล้านบาท ในปี 2533 โรบินสันถูกจัดอยู่ในห้างสรรพสินค้าอันดับ 2 ที่มียอดขายประมาณ 5,434 ล้านบาทมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 18.8% ในปี 2533

โรบินสันตั้งเป้าหมายว่าปี 2534 จะมียอดขายรวม 7,348 ล้านบาทและไปทะลุยอดขายหมื่นล้านบาทในปี 2536

กล่าวได้ว่าห้างสรรพสินค้าได้รับผลกระทบในเชิงลบจากภาษีมูลค่าเพิ่มค่อนข้างมาก โดยเฉพาะค่าใช้จายที่เพิ่มขึ้นในการเตรียมตัวรองรับระบบภาษีใหม่ และการเปลี่ยนระบบการติดต่อกับซัพพลายเออร์แต่ประเด็นเหล่านี้ก็ไม่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อวิธีการบริหารการเงินของห้าง

ปรีชาคาดหมายว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าความยุ่งเหยิงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนระบบภาษีใหม่น่าจะเริ่มเข้าที่เข้าทาง และเมื่อภาวะเศรษฐกิจกระเตื้องมากขึ้น ค่าใช่จ่ายที่สูญเสียไปในช่วงการเปลี่ยนระบบภาษีก็จะได้รับการชดเชยกลับคืนมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us