Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2535
ทำไมการทำนากุ้งจึงทำลายสิ่งแวดล้อม             
 


   
search resources

Agriculture
กองจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้
Environment




ในปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลหรือกุ้งกุลาดำได้ชื่อว่าเป็นตัวการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงยิ่งกว่าอาชีพอื่นใด

อาชีพนี้ไม่ใช่อาชีพใหม่ อาจนับย้อนหลังไปได้นับหลายสิบปี แต่เพิ่งจะมีการพัฒนาและขยายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อประสบภาวะล่มสลาย

ก่อนปี 2531 ประเทศไต้หวันคือผู้ผลิตกุ้งกุลาดำรายใหญ่ที่สุดของโลก ผลผลิตที่ทำได้ทั้งหมดในปี 2530 มีมากถึง 100,000 ตัน โดยแนวโน้มการเติบโตก็ยังคงไปได้ดี ในวงการประมาณกันว่าน่าจะได้ผลผลิตเพิ่มถึง 15 % ในปีต่อมา ทว่าเมื่อสิ้นปี 2531 รวมผลผลิตตลอดทั้งปีปรากฏว่าไต้หวันเลี้ยงกุ้งได้เพียง 20,000 ตันเท่านั้น

ผลผลิตที่ตกพรวดลงจาก 100,000 ตันในปี 2530 เหลือเพียง 20,000 ตันเมื่อถึงปี 2531 เป็นสิ่งที่ไม่อาจนึกถึงเช่นเดียวกับที่ไม่เคยมีใครคาดหมายมาก่อนว่าปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมจะสามารถก่อความเสียหายได้ถึงเพียงนี้

จากความรุ่งโรจน์สู่ความหายนะที่เกิดขึ้นในเวลาเพียงพริบตาเดียวนั้นนับเป็นบทเรียนที่ไม่อาจมองข้าม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทเรียนแบบเดียวกันนี้ก็ได้เกิดขึ้นภายในประเทศมาแล้ว

โดยทั่วไปผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดเนื่องมาจากการทำนากุ้งมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน หนึ่งคือปัญหามลภาวะแหล่งน้ำ และสองคือการบุกรุกทำลายป่าชายเลน

เมื่อครั้งที่กุ้งกุลาดำยังราคาไม่ดีเนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศยังมีไม่สูงมากนัก ยุคนั้นนอกจากการเพาะเลี้ยงกุ้งจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายแล้ว รูปแบบการเลี้ยงก็ยังคงมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติอีกด้วย สิ่งที่เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องทำก็คือ เพียงก่อค้นดินกั้นน้ำทะเลไว้ในพื้นที่ของตนเองที่อยู่บริเวณชายฝั่ง จากนั้นก็รอเวลาเพื่อให้กุ้งตัวอ่อนจากธรรมชาติที่อยู่อุดมสมบูรณ์ยิ่ง ไม่จำเป็นต้องมีการปล่อยลูกกุ้ง ไม่ต้องให้อาหาร ไม่ต้องฟูมฟักดูแล บ่อเลี้ยงธรรมชาติจะมีขนาดใหญ่ และใช้ที่ดินมาก

เนื่องจากโดยสภาพธรรมชาติของป่าชายเลนนั้นเป็นแหล่งพักพิงอาศัยของตัวอ่อน มีความสมบูรณ์และความเหมาะสมพร้อมูล

นั่นคือภาพคร่าว ๆ ของการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบธรรมชาติแบบที่ผลาญป่าชายเลนไปมากที่สุด

นั่นคือภาพคร่าว ๆ ของการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบธรรมชาติแบบที่ผลาญป่าชายเลนไปมากที่สุด

จุดอ่อนอีกประการหนึ่งก็คือผลผลิตจากการเลี้ยงรูปแบบนี้ค่อนข้างจะต่ำ เฉลี่ยประมาณไร่ละ 50 กิโลกรัมเท่านั้น แต่รูปแบบธรรมชาติก็ยังมิได้ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะแหล่งน้ำ

จนเมื่อราคากุ้งเกิดพุ่งสูงขึ้นมา ประกอบกับพื้นที่เพาะเลี้ยงอันเป็นป่าชายเลนเดิมที่มีความอุดมสมบูรณ์ก็เริ่มถดถอยคุณภาพลงไป ป่าชายเลนหายากขึ้น การเลี้ยงกุ้งก็ได้มีการปรับตัวพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

รูปแบบการเลี้ยงแบบพัฒนาเกิดจากการริเริ่มของบริษัทธุรกิจเอกชนด้วยการทำฟาร์มขนาดใหญ่ เริ่มต้นปรับพื้นที่ขุดเป็นบ่อ สูบเอาน้ำเค็มเข้าไปกักไว้ จากนั้นปล่อยลูกกุ้งลงไปเลี้ยงดูโดยให้อาหาร จัดสภาพแวดล้อม และคอยดูแลในเรื่องต่าง ๆ

กระบวนการเลี้ยงแบบพัฒนาที่มีการปล่อยกุ้งอย่างหนาแน่นนั้นต้องถ่ายน้ำบ่อยครั้งเพื่อให้น้ำในบ่อเลี้ยงมีสภาพอันเหมาะสมทั้งในเรื่องของความเค็ม ความสะอาดและปริมาณธาตุอาหาร โดยน้ำทิ้งนั้นก็จะอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารตลอดจนมีสิ่งปฏิกูลหรือยาตกค้างปะปนอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม ในทางหลักวิชาการและในสภาพความเป็นจริง การเลี้ยงแบบพัฒนาไม่ได้ต้องพึ่งพิงพันธุ์หรืออาหารจากธรรมชาติจึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ที่ป่าชายเลนเหมือนกับการเลี้ยงแบบธรรมชาติ สถานที่ที่ใช้ขอเพียงไม่ห่างไกลจากทะเลเพื่อสามารถนำน้ำเค็มเข้าบ่อได้ และไม่ใช่ที่เป็นดินทรายก็เพียงพอแล้ว ถ้าใช้ป่าชายเลนที่มีลักษณะดินเป็นเลนจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าด้วยซ้ำไป โดยทั่วไปจะนิยมขุดบ่อกันในที่นาข้าวเก่ามากกว่าเพราะถือเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์

ในขณะนี้ประเทศไทยคือผู้ส่งออกกุ้งกุลาดำรายใหญ่ที่สุดของโลก ปริมาณผลผลิตทั้งหมดที่ทำได้ในปี 2534 นั้นมากกว่า 150,000 ตัน เป็นที่มาของรายได้ประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยที่แหล่งเพาะเลี้ยงใหญ่ที่สุดในขณะนี้ก็คือ แนวชายฝั่งตะวันออกหรือฝั่งอ่าวไทยของภาคใต้ ที่นี่เพิ่งมีการขยายตัวไม่นานนัก ถือว่าเป็นแผ่นดินผืนสุดท้ายที่อาชีพการเลี้ยงกุ้งได้รุ่งเรืองขึ้นมา หลังจากแผ่นดินผืนอื่นที่รุ่งเรืองมาก่อนได้ตกต่ำลงไปแล้ว

ภาคกลางแถบสามสมุทรคือพื้นที่แห่งแรกที่รุ่งเรืองสูงสุดมาก่อน เคยผลิตกุ้งกุลาดำออกสู่ท้องตลาดได้มากถึงเกือบ 50,000 ตันในแต่ละปี แต่แล้วก็ต้องปิดร้างลงไปเนื่องจากปัญหามลภาวะที่เกิดขึ้นกับแหล่งน้ำธรรมชาตินั้นย่อมส่งผลกระทบย้อนกลับไปถึงการเลี้ยงกุ้งด้วย โดยที่กุ้งกุลาดำก็เป็นสัตว์ที่มีความเปราะบางอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อมมาก หากจัดสภาพได้ไม่เหมาะสมหรือมีปัญหาด้านคุณภาพของน้ำ ผลผลิตกุ้งก็จะตกต่ำลง

ต่อจากภาคกลางก็คือภาคตะวันออก ที่นั่นเคยทำผลผลิตได้มากกว่าแถบสามสมุทรเสียอีก ทว่าบทจบนั้นก็ซ้ำรอย

ด้วยบทเรียนมากบทเหล่านี้เมื่อมาถึงแผ่นดินผืนสุดท้ายคือชายฝั่งด้ามขวานที่เหลืออยู่ ความตื่นตัวและการพยายามที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมจึงมีมากขึ้น เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกำลังได้รับการบอกกล่าวให้ตระหนักต่อการรักษาความยืนยาวของอาชีพมากกว่าคำนึงถึงผลกำไรฉาบฉวย การรณรงค์ให้หยุดฉีดเลนให้มีการจัดการฟาร์มอย่างมีระบบ ให้ปล่อยกุ้งในอัตราที่พาเหมาะจัดระบบน้ำเข้า - น้ำออก ทั้งหมดนี้คือรูปธรรมที่พบเห็นได้ในขณะนี้

แม้จะยังมีปัญหาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติโดยเฉพาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีข้อจำกัดในเรื่องของเงินทุนสำหรับจัดทำระบบ การขาดความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนเทคโนโลยีที่ถูกต้อง แต่ปัญหามลภาวะทางน้ำก็ยังมีทางออก มีแววให้หวังว่าจะดีขึ้น ในขณะที่เรื่องการสูญเสียป่าชายเลนยังคงอยู่ในความมืดมน ไม่มีการตื่นตัว

ข้อมูลจากการสำรวจการกองจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้ระบุว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้กลายเป็นสาเหตุหลักของการทำลายพื้นที่ชายเลนตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมา ประมาณ 65 % ของป่าชายเลนที่ถูกทำลายนั้นถูกทำลายโดยการเพาะเลี้ยงกุ้ง

จริงอยู่ที่ว่า การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อทำนากุ้ง ณ วันนี้ได้ลดความรุนแรงลงมาก แล้วด้วยสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลี้ยงมาเป็นแบบพัฒนา และการขยายตัวของอาชีพนี้ได้ลดลงเนื่องจากความจูงใจด้านผลตอบแทนไม่มากเท่าที่ผ่านมา ราคากุ้งถูกลงมาก แต่ป่าชายเลนที่หายไปแล้วก็คือความสูญเสียของสมบัติอันล้ำไม่อาจจะละเลย ซ้ำการสูญเสียนั้นก็ยังได้ก่อผลเสียหายอื่นตามมาอีก และการทำนากุ้งย่อมไม่อาจจะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนี้

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา ซีพีได้เปิดศูนย์บริการการเลี้ยงกุ้งแห่งที่ 14 ขึ้นมาที่จังหวัดตรัง เพื่อเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาการ และเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำให้กับเกษตรกร ปรากฏการณ์เช่นนี้บอกเล่าได้ดีว่า กุ้งกุลาดำกำลังจะแผ่ขยายยึดครองชายฝั่งอันดามันแล้ว

ที่นั่นเป็นเขตที่ป่าชายเลนผืนสำคัญผืนท้าย ๆ อันหนึ่งของประเทศซึ่งยังมีหลงเหลืออยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ที่สุด

ว่ากันว่าเป็นแหล่งที่ดีที่สุดสำหรับการเลี้ยงกุ้งด้วย

สำหรับความต้องการของตลาดโลกที่จะบริโภคกุ้งตอนนี้มีอัตราการเพิ่มประมาณปีละ 3-5 %

ตราบเท่าที่ตลาดยังเปิดอยู่เช่นนี้ รายได้นับหมื่นล้านคงไม่ใช่สิ่งที่ควรจะปล่อยให้ต้องหลุดลอยไปด้วยการหยุดขยายพื้นที่ แต่ป่าชายเลนในประเทศไทยก็คงจะไม่ถูกปล่อยให้กลายเป็นเพียงตำนานเท่านั้นเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us