Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544
มือถือท่องโลก             
โดย อเนกระรัว
 


   
search resources

NTT DoCoMo
WAP
Mobile Phone




เมื่อสักสิบปีมาแล้ว ไม่มีใครสนใจหรือรู้จักบริษัท โนเกีย ฟังชื่อแล้วยังเดาไม่ออกเลย ว่ามีสัญชาติใด (ผมยัง เคยนึกว่าเป็นบริษัท เกาหลี) ปัจจุบันบริษัท โนเกีย จากประเทศฟินแลนด์กลายเป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่วงการ "มือถือ" ของโลก และหนึ่งในผู้สนับสนุนที่ทำให้บริษัท โนเกีย ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่อื่นไกล มองรอบๆ ตัวท่านเองนั่นแหละและไม่ใช่แต่บริษัท โนเกีย เท่านั้น ยังมีบริษัท โมโตโรล่า อีริคสัน ซีเมนส์ ฟิลิปส์ และอื่นๆ ก็ได้รับส่วนแบ่งด้วยเช่นกัน

เร็วๆ นี้ สิ่งที่กำลังฮือฮากันในแวดวงผู้ใช้โทรศัพท์มือถือบ้านเราคือ "มือถือ" ท่องโลกที่ แวบไป แวบมาได้ คำว่า "แวบ" (WAP) เป็นคำย่อ มาจากคำว่า Wireless Application Protocol ซึ่งเกิดจากวิสัยทัศน์ของบริษัทผลิตโทรศัพท์มือถือ ยักษ์ใหญ่ ได้แก่ บริษัทโนเกีย บริษัทอีริคสัน และบริษัทโมโตโรล่า ที่คิดจะหาผลิตภัณฑ์ใหม่มาโกยเงินเข้ากระเป๋า โดยมีไอเดียอยู่ที่ ทำอย่างไร ให้สามารถใช้โทรศัพท์มือถือท่องโลกไซเบอร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ 3 เสือจึงร่วมกันก่อตั้ง WAP Forum เมื่อสามปีกว่ามานี้ โดยหมายจะให้ WAP เป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างโทรศัพท์มือถือกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ปัจจุบัน WAP Forum มีสมาชิกเข้าร่วมวงอยู่ไม่น้อยกว่า 500 บริษัท

เป็นที่รู้กัน อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตผู้คนทั้งเรื่องงานและยามว่างจากงาน ขณะเดียวกันโทร ศัพท์มือถือก็กลายเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้สำหรับหลายๆ คน การนำสองสิ่งนี้มารวมกันได้ น่าจะเป็นผลิตภัณฑ์แห่งการก้าวย่างสู่ศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการท่องอินเทอร์เน็ตจะต้องอาศัยองค์ประกอบสามส่วน คือ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ 2. ระบบสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายเช่นโทรศัพท์ และ 3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ถ้าสามารถสร้างเครื่องโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่านทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เองจะเป็นคำตอบที่สมบูรณ์

ปัญหาสำคัญคือ ระบบอินเทอร์เน็ตที่ถูกใช้งานในรูปของ World Wide Web นั้น มีการจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า HTML หรือ Hyper Text Markup Language ซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีจอแสดงผลที่พอเหมาะ (มักไม่ต่ำกว่า 14 นิ้ว) และจะมีแป้นพิมพ์สำหรับป้อนตัวอักษร รวมทั้งยังมีเมาส์สำหรับสั่งการบนจอภาพ นอกจากนั้นความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งแบบตั้งโต๊ะและแบบโน้ตบุ๊ค มีเพียบพร้อมทั้งความ เร็วของตัวประมวลผลและขนาดของหน่วยความจำ ขณะที่เครื่องโทรศัพท์มือถือจำเป็นต้องมีขนาด เล็กกะทัดรัด ซึ่งทำให้พื้นที่การแสดงผลมีขนาด เล็กมาก เทียบกับขนาดของจอคอมพิวเตอร์) และนอกจากนั้นเครื่องโทรศัพท์ยังต้องกินไฟเพียงน้อยนิด เพื่อให้ทำงานได้นานด้วยพลังไฟจากแบตเตอรี่ขนาดเท่าฝาหอย (หอยแมลงผู้ตัวเขื่อง) การที่ให้เครื่องกินไฟน้อย ทำให้ไม่สามารถใช้ตัวประมวลผลที่มีความเร็วสูง และมีหน่วยความจำขนาดใหญ่ได้ ข้อจำกัดอีกข้อคือ ปริมาณข้อมูลที่ส่งมายังเครื่องโทรศัพท์จะต้องไม่สูงมาก เพราะข้อจำกัดของช่องสัญญาณของโทรศัพท์ ซึ่งส่วนนี้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ

ดังนั้นการจะใช้โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและไปดึงข้อมูลในรูปแบบของ HTML มาแสดงผลที่จอของเครื่องโทรศัพท์โดย ตรงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ (เป็นแนวคิดของกลุ่ม WAP) ดังนั้นจึงต้องคิดค้นรูปแบบของข้อมูลใหม่ สำหรับการใช้งานกับระบบมือถือโดยเฉพาะ ผล ที่ได้คือ WML หรือ Wireless Markup Lan-guage ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายคลึงกับ HTML และจะสิงสถิตอยู่ในเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ตเช่นเดียวกับ World Wide Web WML จะมีคุณ สมบัติที่เหมาะสมกับธรรมชาติและข้อจำกัดของระบบโทรศัพท์ดังที่กล่าวมา ปัญหาที่ตามมา คือการใช้รูปแบบของข้อมูลใหม่ (WML) ทำให้ประชาคม Content Provider ใน World Wide Web ต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลและระบบ เพื่อรองรับการใช้งานกับเครื่องโทรศัพท์มือถือขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อนและมีต้นทุนพอสมควร

ขณะที่ซีกตะวันตกของโลกกำลังง่วนอยู่กับการสร้าง "แวบ" ให้เป็นตัวตน ณ แดนอาทิตย์ อุทัยผู้ได้พบกับแสงสว่างก่อนใคร (พระอาทิตย์ขึ้นก่อนคนอื่น) ก็ได้ทะลุกลางปล้องว่า ทำไมจะให้โทรศัพท์ดึงข้อมูลรูปแบบเดียวกับ HTML ไม่ได้ เพราะเราชาวอาทิตย์อุทัยสามารถสร้างโทรศัพท์ที่บรรจุตัวประมวลผลที่เร็วและกินไฟน้อย รวมทั้งปรับปรุงเทคโนโลยีเครือข่ายโทรศัพท์ มือถือ ให้มีความสามารถรับส่งข้อมูลเร็วเพียงพอกับข้อมูลในรูปแบบของ HTML ได้สำเร็จและใช้งานจริงมาเกือบสองปีแล้ว เป็นการป่าวประกาศจากบริษัทโทรเลขและโทรศัพท์แห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ NTT (Nippon Telegraph & Telephone) ซึ่งมีบริษัทลูกที่มีชื่อ อาโนเนะ ว่า NTT DoCoMo ซึ่งให้บริการโทรศัพท์มือถือและ Pager ภายในประเทศญี่ปุ่น เทคโนโลยีที่ได้คิดค้นนี้มีชื่อว่า i-mode ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ 22 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1999

i-mode ของ NTT DoCoMo ประสบความสำเร็จอย่างสูง ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคน (อยู่แต่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น) จุดเด่นของระบบ i-mode คือ สามารถแสดงภาพกราฟิกบนจอเครื่องรับโทรศัพท์ได้และการใช้งาน ก็ง่ายกว่าโทรศัพท์ WAP มาก ขณะที่ชาวอาทิตย์ อุทัยชื่นชม i-mode ซีกโลกตะวันตกกลับผิดหวัง กับ WAP แม้ WAP จะมีผู้ร่วมวงจำนวนมาก แต่ ในแง่ของผู้ใช้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะใช้งานยาก ค่าใช้จ่ายสูง และไม่มีกราฟิกเท่

แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่า WAP หรือ i-mode ที่จะครองโลก หรือจะมีเทคโนโลยีรูปแบบใหม่เข้ามาแทนที่ แต่แนวโน้มของการพัฒนาให้โทรศัพท์มือถือสามารถท่องโลก ไซเบอร์ได้เป็นแนวโน้มที่ชัดเจน ในบ้านเรามีการให้บริการระบบ WAP แล้วแต่ยังไม่แพร่หลาย ผมได้มีโอกาสทดลองแวบไป แวบมาอยู่บ้าง รู้สึก ว่ายุ่งยากพอดูเวลาต้องพิมพ์ตัวอักษรด้วยปุ่มกดของเครื่องโทรศัพท์ ส่วนตัวแล้วผมไม่ได้ตื่นเต้นกับเทคโนโลยีนี้เท่าไร เพราะดูยังไม่ลงตัวนัก ที่สำคัญนึกถึงเศรษฐกิจบ้านเราแล้วรู้สึกอยากทำตัวเรียบง่ายเสียมากกว่า อย่างไรก็ดี เทคโนโลยี เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโลกที่มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและมีการแข่งขันที่จริงจัง ถ้ารู้จักติดตาม ศึกษาและหาช่องทางนำมาใช้งานอย่างฉลาด ใน ช่วงเวลาที่เหมาะสม จะเป็นประโยชน์ต่อการผลิต และการสร้างรายได้ แต่ถ้าใช้อย่างฟุ่มเฟือยไร้แก่นสาร ก็อาจนำไปสู่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (ใบแจ้งค่าบริการ) สรุปแม้จะใช้มือถือท่องโลกได้แล้ว ก็อย่าเพิ่งหลงระเริงเกินไปล่ะ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us