Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2535
อะไรทำให้ API ต้องลงทุนใน ATI             
 


   
search resources

Investment
Home and Office Appliances
เอเซียพอร์ซเลนอุตสาหกรรม
นิคโก้ คอมปานี




นับได้ว่าเป็นการขยายตัวครั้งใหญ่สำหรับบริษัทเอเซียพอร์ซเลนอุตสาหกรรม หรือเอพีไอ ในการขยายการลงทุนเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตเครื่องโต๊ะอาหารชนิดพอร์ซเลน ซึ่งตลาดใหญ่ตกอยู่ในกำมือของ รอยัล พอร์ซเลนซึ่งเป็นบริษัทในเครือข่ายของปูนซีเมนต์นครหลวง

ในปี 2528 เอพีไอเริ่มผลิตภาชนะถ้วยชาม และเครื่องโต๊ะอาหารเซรามิกประเภทสโตนแวร์ ออกขายในประเทศภายใต้ชื่อเฮาส์ แอนด์ โฮม, คลาสเคด และเมย์ฟลาวเวอร์ ด้วยกำลังการผลิต 2,000 ตันต่อปี อีกหนึ่งปีถัดมาเอพีไอจึงเริ่มทำการส่งสินค้าดังกล่าวออกขายยังตลาดต่างประเทศ

การที่เอพีไอได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ในปี 2526 และปี 2529 สำหรับผลิตภัณฑ์ดินเผาชนิดเคลือบประเภทสโตนแวร์ที่ใช้สำหรับโต๊ะอาหาร ทำให้ผลผลิตส่วนใหญ่ประมาณ 80% ถูกส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยการขายผ่านลูกค้ารายใหญ่เพียงราวเดือนคือกลุ่ม JMP-NEWCOR ทั้งนี้เอพีไอ และ JMP-NEWCOR INC. สหรัฐอเมริกาได้ทำสัญญาการซื้อขายสินค้าระหว่างกันโดยมีข้อตกลงว่า JMP-NEWCOR จะซื้อสินค้าที่เอพีไอผลิตโดยไม่จำกัดจำนวนเป็นเวลา 5 ปี (สิ้นสุด 3 มิถุนายน 2534) ภายใต้เครื่องหมายการค้า JMP-NEWCOR

สินค้าที่ JMP-NEWCOR รับซื้อจากเอพีไอนั้นจะขายอยู่ในตลาดสหรัฐอเมริกาประมาณ 60 % ที่เหลืออีก 40 % จะถูกส่งไปยังกลุ่มตลาดยุโรป

ต่อมาในปี 2532 เอพีไอได้ขยายกำลังการผลิตเป็น 10,700 ต้นต่อปี พร้อมทั้งจัดตั้งบริษัทเอ.พี.ไอ.(ยูเอสเอ) จำกัดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นตัวแทนของเอพีไอในการติดต่อขายสินค้าผ่าน JMP-NEWCOR และบริษัทต่างประเทศอื่น ๆ โดยมีสำนักงานอยู่ที่ลอสแองเจลิส

นอกจากนี้เอพีไอยังเข้าร่วมทุนกับกลุ่ม JMP-NEWCOR โดยให้บริษัท เอ.พี.ไอ (ยูเอสเอ) ถือหุ้นใน JMP-NEWCOR HOLDING INC. และสหรัฐอเมริกาจำนวน 25 % และ JMP-NEWCOR HOLDING INC. ถือหุ้นในเอพีไอตามสัดส่วนเดียวกันคือ 25 %

จากยอดขายที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโด จากปี 2528 ซึ่งเป็นปีแรกที่สินค้าเริ่มออกวางตลาดมียอดขายเพียง 19.3 ล้านบาทและได้เพิ่มสูงขึ้นกว่า 400 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของเอพีไอในอุตสาหกรรมประเภทนี้

และในช่วงปี 2534 นี้เองที่เอพีไอได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ จนในที่สุดก็ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหุ้นสามัญออกใหม่ต่อประชาชนทั่วไปในวันที่ 14-18 มิถุนายน 2534 จำนวน 2.3 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 100 บาท จากราคาพาร์ 10 บาท และในวันที่ 13 กันยายนปีเดียวกันนั้นเอพีไอก็ได้รับอนุมัติให้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้รับอนุมัติให้นำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้

ก่อนหน้าที่เอพีไอจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้เตรียมโครงการที่จะขยายการจะลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตถ้วยชามชนิดพอร์ซเลนโดยลงทุนในนามของบริษัท เอเชีย เทเบิ้ลแวร์อุตสาหกรรมหรือเอทีไอ

เหตุผลประการสำคัญที่ทำให้เอพีไอสนใจขยายการลงทุนเข้าไปในตลาดเครื่องโต๊ะอาหารเนื้อพอร์ซเลน นอกเหนือจากเดิมที่ทำตลาดอยู่เฉพาะตลาดสโตนแวร์ เป็นเพราะตลาดของถ้วยชามประเภทพอร์ซเลนมีอัตราการเติบโตปีละ 25 % โดยเฉพาะลักษณะตลาดของสโตนแวร์จะเน้นหนักเฉพาะกลุ่มตลาดครัวเรือน ในขณะที่เนื้อพอร์ซเลนตลาดจะเปิดกว้างมากกว่าคือ นอกเหนือจากเข้าตลาดครัวเรือนแล้วยังสามารถเข้าตลาดสถาบันโรงแรมและภัตตาคารซึ่งเป็นตลาดใหญ่ในปัจจุบัน

"อุตสาหกรรมทำเครื่องโต๊ะอาหารในประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวปีละ 25 % ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงแนวโน้มที่ดีของอุตสาหกรรมประเภทนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์พอร์ซเลนและโบนไช่น่า ดังนั้นบริษัทจึงมั่นใจว่าการตั้งบริษัทเอเซียเทเบิลแวร์อุตสาหกรรม จะส่งผลให้มาตรฐานและคุณภาพของผลิตภัณฑ์พอร์ซเลนในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับทั่วโลก และสามารถเพิ่มยอดการส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องโต๊ะอาหารของไทยได้อย่างแน่นอน" ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการของเอพีไอกล่าวถึงความมั่นใจที่มีต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พอร์ซแลนของบริษัทฯ

และเหตุจูงใจที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือตลาดถ้วยชาม เนื้อพอร์ซเลน ยังมีคู่แข่งขันน้อยรายเมื่อเทียบกับตลาดสโตนแวร์คือมีรายใหญ่อยู่เพียงรายเดียว คือ รอยัล เซรามิก ของค่ายปูนซีเมนต์นครหลวง

จากตัวเลขของขนาดตลาดเครื่องโต๊ะอาหาร (ระดับคุณภาพส่งออก) ในปี 2534 เนื้อ ประเภท สโตนแวร์ตลาดรวมทั้งหมดจะอยู่ในราว 1,065 ล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 175 ล้านบาทและตลาดส่งออก 890 ล้านบาท ส่วนเนื้อพอร์ซเลนตลาดรวมจะตกประมาณ 870 ล้านบาท เป็นตลาดภายในประเทศ 260 ล้านบาทและตลาดส่งออก 610 ล้านบาท

เอทีไอก่อตั้งขึ้นด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 15 ล้านบาท เมื่อปี 2531 ต่อมาในปี 2534 ได้เพิ่มทุนเป็น 220 ล้านบาท เอทีไอใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างโรงงานผลิตทั้งหมด 600 ล้านบาท และในการลงทุนครั้งนี้เอพีไอได้ถึงเอาบริษัท นิคโก้ คอมปานีจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุนด้วย

วีรวัฒน์ ชลวณิช ประธานกรรมการบริหารของเอพีไอและเอทีไอได้กล่าวถึงการร่วมทุนในครั้งนี้ว่า "บริษัท เอเซียพอร์เลนอุตสาหกรรมได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัทเอเซียเทเบิลแวร์อุตสาหกรรม 60 % บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เจ้าพระยา 10 % บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 10 % แล้ว ยังได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมกับผู้ผลิตระดับโลกในอนาคตอันใกล้นี้

บริษัท นิคโก้ คอมปานี (NIKKO) หรือชื่อเต็มว่าบริษัท นิฮอน โคชิตสุ โตกิ (NIHON KOSHITSU TOKI CO.,LTD.) ได้เริ่มทำธุรกิจผลิตเครื่องโต๊ะอาหารชนิดกึ่งพอร์ซเลนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2451 ต่อมาในปี 2460 นิคโก้ได้เปิดโรงงานขึ้นที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี ซึ่งขณะนั้นนับเป็นผู้ผลิตเครื่องโต๊ะอาหารรายใหญ่ที่สุด และมีพัฒนาการทางเทคนิคสูงที่สุดรายหนึ่งของโลก

ในปี 2504 นิคโก้ได้ย้ายโรงงานมายังที่ปัจจุบัน และได้ขยายกิจการจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ของนิคโก้มีจำนวนหลากหลาย รวมทั้งเครื่องโต๊ะอาหารประเภทกึ่งพอร์ซเลน พอร์ซเลนเนื้อละเอียดและโปนไชน่าเนื้อละเอียด นอกจากนี้นิคโก้ยังขยายกิจการออกไปในระดับนานาชาติโดย "นิคโก้เซรามิก" ในปี 2511 และเปิดบริษัทร่วมทุนในประเทศมาเลเซียในนามของ "โอเรียนเต็ล เซรามิค" ในปี 2516

สำหรับการร่วมมือทางเทคนิคของนิคโก้ครั้งนี้จะครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบการก่อสร้างโรงงาน การจัดเตรียมและติดตั้งเครื่องจักรระบบอัตโนมัติรุ่นล่าสุด ตลอดจนการออกแบบและควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานรวมถึงการจัดส่งพนักงานไปฝึกอบรมทางด้านเทคโนโลยีที่ญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย โดยที่ทางเอทีไอจะต้องจ่าย ROYALTY FEE ให้กับนิคโก้จำนวน 2 % จากยอดขาย

โรงงานของเอทีจะเริ่มทำการผลิตได้ในเดือนกรกฎาคม 2535 ในขั้นต้นจะผลิตประมาณ 800,000 ชิ้นต่อเดือนคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 1 ล้านเหรียญสหรัฐและจะเพิ่มเป็น 1,000,000 ชิ้นต่อเดือนในปีถัดไป โดยจะผลิตประเภทพอร์ซเลนก่อนส่วนประเภทโบนไชน่าจะผลิตในอนาคต

การที่เอทีไอได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ทำให้สินค้าที่ผลิตได้จะต้องส่งออกประมาณ 80 % ในขณะที่ขายในประเทศเพียง 20 % เท่านั้น แต่ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าผู้บริหารของอีทีไอคาดว่าจะส่งออกในปริมาณที่ลดลงคือ 70 % และขายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 30 %

และสำหรับการส่งออกไปยังอเมริกานั้นจะขายผ่านทางนิคโก้ ซึ่งมีเครือข่ายทางด้านนี้อยู่แล้ว ส่วนตลาดในยุโรปเอทีไอจะขายผ่านทาง JMP-NEWCOR และตลาดทางแถบเอเซียเอทีไอจะทำตลาดร่วมกับทางนิคโก้ ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เอทีไอเลือกที่จะร่วมทุนกับนิคโก้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us