Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2535
ตั้งฮั่วเส็งโตได้ด้วยขายของถูก             
 


   
search resources

สรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง, บจก.
Shopping Centers and Department store
วิโรจน์ จุนประทีปทอง




30 พฤศจิกายน 2534 เป็นวันที่ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็งสาขา 2 ที่ธนบุรีเปิดตัวอย่างเป็นทางการ และกลายเป็นก้าวย่างสำคัญที่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่จะต้องจับตามองต่อการขยายตัวของห้างขนาดกลางแห่งนี้

ย้อนหลังไปเกือบ 30 ปี ตั้งฮั่วเส็งเริ่มต้นจากการเป็นร้านจำหน่ายอุปกรณ์เย็บปักถักร้อยที่มีพื้นที่ขายเพียงตีก 2 คูหาในละแวกบางลำพู ซึ่งในขณะนั้นมีคู่แข่งที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันอีก 2 รายคือห่วงเส็ง (ปัจจุบัน คือห้างสรรพสินค้าบางลำภู) และร้านเอี่ยมอาภรณ์

ความพยายามที่จะนำสิ่งแปลกใหม่เข้ามาในร้านพร้อมด้วยกลยุทธ์การสอนให้กับลูกค้ากลายเป็นจุดเด่นที่สร้างความแตกต่าง จนทำให้ตั้งฮั่วเส็งประสบผลสำเร็จในเวลาต่อมา

"ช่วงนั้นทุกคนขายไหมปักเส้นเล็ก เราทดลองเอาไหม เส้นใหญ่เข้ามาพร้อมกับการนำเอาผ้าปักครอสติชเข้ามาสาธิตโดยการสอนให้ลูกค้าพร้อมกับการออกหนังสือลายปักด้วย" จริยา จุนประทีปทอง ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ พูดถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้แผนกเย็บปักถักร้อยของตั้งฮั่วเส็งได้รับความนิยมจากลูกค้า

จากชื่อเสียงในจุดนี้เองที่ทำให้ผู้บริหารของตั้งฮั่วเส็งตัดสินใจที่จะขยายธุรกิจออกไปดังนั้นในปี 2520 ตั้งฮั่วเส็งจึงได้ขยายกิจการด้วยการเปิดแผนกซุปเปอร์มาเก็ตขนาดเล็กขึ้นจากนั้น ได้พัฒนาขึ้นเป็นห้างสรรพสินค้าขนาดกลาง มีสินค้าจำหน่ายมากประเภทเช่นเดียวกับห้างขนาดใหญ่ เช่น สินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต เครื่องแต่งกายชาย-หญิง เครื่องหนัง เครื่องสำอาง เครื่องกีฬา เครื่องเขียน เครื่องไฟฟ้า และเสื้อผ้าเด็ก เป็นต้น

การขยายตัวของตั้งฮั่วเส็งในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาไร่เรี่ยกับที่ย่านบางลำพูได้รับการพัฒนาขึ้นเช่นเดียวกัน การเกิดของห้างสรรพสินค้านิวเวิลด์ แก้วฟ้าหรือบางลำภูสรรพสินค้าเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัด

ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว ตั้งฮั่วเส็งค่อนข้างจะเสียเปรียบในเรื่องของขนาดพื้นที่ขายซึ่งมีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับห้างอื่น ๆ ในละแวกเดียวกัน แต่ตั้งฮั่วเส็งก็สามารถพลิกสถานการณ์จนกระทั่งประสบความสำเร็จจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งในปีที่ผ่านมายอดขายตกประมาณ 1,200 ล้านบาทเป็นยอดที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นถึง 20 %

กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ตั้งฮั่วเส็งประสบกับความสำเร็จหากพิจารณาแล้วมีอยู่ 2 ประเด็นคือการตั้งราคาขายสินค้าต่ำกว่าคู่ต่อสู้ และการให้ส่วนลดสินค้ากับสมาชิก 15 %

วิโรจน์ จุนประทีปทอง กรรมการรองผู้จัดการของตั้งฮั่วเส็งเล่าให้ฟังถึงที่มาของราคาสินค้าที่ต่ำกว่าคู่แข่งอื่น รวมถึงเหตุผลที่ว่าทำไมถึงลดได้ถึง 15 % ว่า "เป็นเพราะค่าใช้จ่ายของเราต่ำ ซึ่งต้องพูดถึงตั้งแต่เริ่มต้นคือเรามีเงินทุนสามารถสู้ในระยะยาวได้ เมื่อเริ่มทำผมเริ่มออกทีวีเป็นชุด เริ่มที่ราคาตั้งฮั่วเส็งเมื่อสักปี 2529 หลังจากนั้นก็ไม่เคยใช้เงินทางทีวีเลย เมื่อเทียบกับห้างอื่น ๆ ในแต่ละปีใช้งบมาก 10-20 ล้านบาท ผมเอาเงินส่วนนี้มาให้กับลูกค้า อีกอย่างหนึ่งผมว่าผมคงเป็นห้างแรกที่ใช้เงินสดซื้อของในซูปเปอร์มาร์เก็ต เราเพียงแต่ถามซัพพลายเออร์ว่าหนึ่งวันราคาส่วนลดเท่าไร สามวันลดเท่าไร เจ็ดวันส่วนลดเท่าไร หรือยี่สิบเอ็ดวันส่วนลดเท่าไร

มีอยู่ช่วงหนึ่งที่นมขาดแคลนพอดีผมรู้เรื่องว่านมจะเปลี่ยนน้ำหนักจากปอนด์มาเป็นกรัม ซึ่งต้องใช้เวลาถึงสองเดือน จากนั้นผมก็เลยสต็อกไว้ สมัยนั้นจำได้ว่าผมสั่งนมของดีทแฮล์ม เดือนหนึ่งประมาณ 167,000 บาท เป็นยอดที่สูงมาก เราต้องสต็อกนมถึงกว่า 2 ล้านบาท หลังจากนั้นประมาณเดือนกว่านมก็ขาดแคลนทั่วประเทศ มีที่เดียวที่ตั้งฮั่วเส็งแถมยังลดราคาให้ลูกค้าอีกด้วย และแทนที่ลูกค้าจะซื้อนมเพียงอย่างเดียวในขณะที่ของอื่นถูกเขาทำไมจะไม่ซื้อนั่นคือสิ่งที่ทำให้ตั้งฮั่วเส็งเริ่มมีลูกค้ากลุ่มอื่นเข้ามาและเขาเริ่มรู้ราคาของเรา อีกอย่างผมมีการเอาสินค้าไปคาราวานที่แบงก์ชาติที่ซอยสุรเสนาข้างธนาคารกรุงเทพ ก็ได้ลูกค้าระดับหนึ่งที่รู้ว่าราคาเราถูกเข้ามา"

ที่ผ่านมาตั้งฮั่วเส็งพยายามเล่นกับสมาชิกตลอดเวลาด้วยกิจกรรมในหลาย ๆ โอกาสโดยเฉพาะช่วงเทศกาล ตรงนี้เป็นจุดที่ทำให้จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันตั้งฮั่วเส็งมีสมาชิกประมาณ 100,000 ราย

แผนกที่รายได้ให้กับตั้งฮั่วเส็งที่ผ่านมาจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนของซูปเปอร์มาร์เก็ตจะมีส่วนแบ่งประมาณ 30 % อีก 70 % ที่เหลือเป็นส่วนของดีพาร์ทเมนท์ ซึ่งยอดขายเสื้อผ้ามาเป็นอันดับหนึ่งรองมาคือเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องเขียน และแผนกเย็บปักถักร้อยซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมจะมีสัดส่วนรายได้อยู่ประมาณ 10 %

"เมื่อประมาณ 7-8 ปีก่อน รายได้จากยอดขายจากแผนกเย็บปักถักร้อยสามารถเลี้ยงทั้งห้างได้เลยเพราะยอดขายของแผนกอื่นขณะนั้นต่ำ แต่ปัจจุบันรายได้ในส่วนนี้จะลดลงเป็นเพราะในระยะหลังนี้เมืองไทยเริ่มมีโรงงานผลิตเส้นด้ายไหมพรมมากขึ้น ประกอบกับตลาดต่างจังหวัดซึ่งเป็นตลาดขายส่งใหญ่ของตั้งฮั่วเส็งแต่เดิมเริ่มหดตัวลงเพราะหันไปใช้สินค้าที่มีคุณภาพลดลง ในขณะที่ตั้งฮั่วเส็งเป็นตัวแทนนำเข้าเส้นด้ายไหมพรมที่มีคุณภาพจากต่างประเทศ ราคาจึงค่อนข้างสูงกว่า" วิโรจน์พูดถึงรายได้ที่หดตัวลงของกิจการดั้งเดิมของตั้งฮั่วเส็ง

ถ้าแม้ว่าสถานการณ์ของห้างจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตามแต่แผนกเย็บปักถักร้อยก็ยังถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของตั้งฮั่วเส็งเพราะที่ผ่านมา ผู้บริหารของตั้งฮั่วเส็งพยายามพัฒนาสินค้าและกิจกรรมของแผนกนี้ให้เติบโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการเดิมทางไปหาแนวความคิดทางด้านงานฝีมือรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ใหม่ ๆ ในต่างประเทศเข้ามาเสริม จากเดิมที่มีเฉพาะทางด้านงานเย็บปักถักร้อย ก็เพิ่มเป็นงานฝีมืออย่างเช่นงานปั้นที่ทำจากแป้งขนมปังหรือจากดินเยื่อกระดาษหรือของใช้ที่ทำจากดินไมเนทต้า

ที่สำคัญในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาตั้งฮั่วเส็งพยายามที่จะโปรโมตธุรกิจในแผนกนี้ด้วยการขยาย OUTLET จากเดิมที่มีแต่เฉพาะในตั้งฮั่วเส็งออกไปยังห้างสรรพสินค้าอื่น จนถึงปัจจุบันแผนกนี้ได้ขยายสามารถออกไปในห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ กว่า 10 แห่ง (รวมทุกสาขาของห้าง) คือไทยไดมารู เดอะมอลล์ โซโก้ เมอร์รี่คิงส์ อิมพิเรียล และเวลโก

สำหรับการเปิดสาขาใหม่ที่ธนบุรี ทางผู้บริหารของตั้งฮั่วเส็งได้ให้ความสำคัญกับแผนกเย็บปักถักร้อยอย่างเต็มที่ จากพื้นที่การขายที่มีถึง 2,260 ตารางเมตร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นแผนกเย็บปักถักร้อยที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในประเทศไทย รวมถึงการมีแผนกตัดเย็บในบริเวณเดียวกันด้วย

ถึงวันนี้การพัฒนาแผนกเย็บปักถักร้อยของตั้งฮั่วเส็งได้ก้าวมาถึงขั้นที่สองแล้วจากขั้นแรกที่สอนลูกค้าทั่วไปให้เรียนพวกงานเย็บปักถักร้อยง่าย ๆ ซึ่งเรียกว่า "ร้อยเข็ม" ขั้นนี้จะเป็นการสอนฟรี ส่วนขั้นที่สอง "ร้อยเรียง" จะสอนงานฝีมือที่อย่ากขึ้นมาอีกระดับหนึ่งซึ่งในขั้นนี้ลูกค้าจะเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนด้วย

ส่วนขั้นที่สามคือการตั้งเป็นโรงเรียนหรือสถาบันการสอนซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาขึ้น มาในระดับสูงสุดอันเป็นเป้าหมาย สำคัญที่ผู้บริหารของตั้งฮั่วเส็งวางไว้ในอีก 2 ปีข้างหน้าควบคู่ไปกับการเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตวัตถุดิบที่ใช้ในงานด้านนี้อย่างเช่น เส้นด้ายไหมพรม รวมถึงการประดิษฐ์งานฝีมือออกมาในรูปแบบลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของห้างเองอีกด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us