Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553
เส้นทางสายไวน์ในอัลซาส             
โดย สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
 


   
search resources

Wine




มาถึงอัลซาส (Alsace) ไม่ลองไวน์ของถิ่นนี้ก็ใช่ที่ ไวน์ขึ้นชื่อของอัลซาสเป็นไวน์ขาว เลือกได้ระหว่าง Riesling และ Gewurztraminer สังเกตว่าผู้คนจะนิยม Gewurztraminer มากกว่า ไวน์แดงของอัลซาสเรียกชื่อว่า Pinot noir นอกจากนั้นยังมี Pinot gris ซึ่งแต่เดิมเรียกชื่อว่า Tokay หากในภายหลังสหภาพยุโรปจำกัดว่า Tokay ใช้เรียกไวน์ที่ผลิตในฮังการีเท่านั้น นอกจากนั้นยังมี Cremant

ครั้งแรกที่มาอัลซาส ญาติชาวเทศพาไปลิ้มอาหารในร้านของผู้ผลิตไวน์เจ้าหนึ่ง อากาศหนาวเย็นในเดือนธันวาคม จึงได้เห็นแต่ลำต้นและกิ่งก้านของต้นองุ่น ใบหาย ไปหมด มองดูไม่สบายตา หากในเดือนกรกฎาคมครั้งนี้ ได้เวลาเที่ยวเส้นทางสายไวน์ในอัลซาส ขับรถจากกอลมาร์เพียงชั่วครู่เดียวถึงเอกีไซม์ (Eguisheim) พอจอดรถเสร็จ พลันเห็น Petit train “รถไฟ” เล็กที่จะพาเที่ยวเมือง จึงจ่ายเงินแล้วขึ้นนั่ง Petit train พาชมเมืองเพียงครู่เดียวก็ออกนอกเมือง ขึ้นเขาเพื่อชมไร่องุ่น ลัดเลาะไปตามถนนที่ตัดผ่านไร่ เห็นชาวไร่กำลังทำงาน ขับรถแทรกเตอร์เล็กไปตามแปลงต้นองุ่น รถจอดให้ชมทัศนียภาพเมืองเชิงเขา เป็นการเที่ยวที่คุ้มค่ามาก ขากลับ Petit train มาส่งที่เดิม หลังจากนั้นชาวคณะเริ่มใช้ขาให้เป็นประโยชน์

อาคารที่โดดเด่นของเอกีไซม์คือ ปราสาทตรงปลาซ แซงต์-เลอง (Place Saint-Leon) ตรงกลางลานเป็นรูปปั้นของสันตะปาปาเลองที่ 9 (Leon IX) ซึ่งเกิดที่เอกีไซม์นี่เอง ปราสาทแห่งนี้สร้างในศตวรรษที่ 8 จัดเป็น monument historique โบราณสถานของฝรั่งเศส

เดินลัดเลาะตามถนนเล็กๆ ในเมือง บางสายรถวิ่งไม่ได้ บ้านเมืองเอกีไซม์น่ารักมาก ประดับประดาด้วยต้นเจราเนียม (geranium) ที่ออกดอกสะพรั่งไปทุกมุมเมือง ทุกบ้านมีเจราเนียมตรงระเบียงหรือหน้าบ้าน มีสารพัดสีให้สงสัยว่าปลูกไม้ดอกอื่นไม่เป็นหรือกระไร ทำไมมีแต่เจราเนียมได้คำตอบว่าเจราเนียมจะงามมากเป็นพิเศษ ในอัลซาส ด้วยเหตุนี้นับตั้งแต่ปี 1989 เอกีไซม์ได้รับรางวัลหมู่บ้านดอกไม้สวยและได้รับเลือกเป็นหมู่บ้านที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในฝรั่งเศสในปี 2003 นอกจากนั้นยังได้เหรียญทองในการประกวดระดับทวีปยุโรป Entente florale ในปี 2006

เอกีไซม์เป็นเมืองที่เป็นป้อมปราการตั้งแต่ปี 1257 และเป็นเมืองผลิตไวน์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 210 เมตร ไวน์ของเอกีไซม์จัดเป็น grands crus อยู่ 2 อย่าง คือ Eichberg และ Pfersigberg ในอดีตราชสำนักในยุโรปต่างสั่งไวน์จากเอกีไซม์

ดื่มด่ำกับหมู่บ้านประดับดอกไม้จนได้เวลาเที่ยง หากชาวคณะอยากไปรับประทานอาหารกลางวันที่อื่น จึงมุ่งหน้าไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง ไกเซอร์สแบรก์ (Kaysersberg) เป็นเมืองที่ร่มรื่นมาก ล้อมรอบด้วยป่าเขียวครึ้ม ลานนั่งเล่นของเมือง มีรูปปั้นของอัลแบรต์ ชไวต์เซอร์ (Albert Schweitzer) ด้วยว่าไกเซอร์สแบรก์เป็นบ้านเกิดของนายแพทย์เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพผู้นี้

ร้านอาหารที่ไปนั้นชื่อ A la Porte Haute มาถึงถิ่นอัลซาส จะไม่ลิ้มชูครุต (choucroute) หรือที่ภาษาเยอรมันเรียกว่า ซาวเคราต์ (sauerkraut) ก็ไช่ที่ จึงสั่งขาหมูไป ได้ choucroute รสชาติกลมกล่อม สมใจอยาก แต่หั่นขาหมูเผื่อแผ่ผู้ร่วมโต๊ะ

ไกเซอร์สแบรก์สวยงามแบบอัลซาส เช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่นๆ ดอกเจราเนียมเต็มเมืองเช่นกัน เห็นปราสาทบนเนินเขา พิพิธภัณฑ์อัลแบรต์ ชไวต์เซอร์อยู่ปากทางหมู่บ้าน พิพิธภัณฑ์เป็นบ้านของอัลแบรต์ ชไวต์เซอร์ ผู้อุทิศตนทำงานในประเทศด้อยพัฒนาอย่างกาบง (Gabon) และสร้างโรงพยาบาลที่เมืองลองบาเรเน (Lambarene) ในพิพิธภัณฑ์เต็มไปด้วยของใช้ส่วนตัวและของที่ระลึกจากแอฟริกา จุดหมายปลายทางต่อไปคือริโบวิลเล (Ribeauville) เมืองสวยที่เต็มไปด้วยไวน์ มี cave หลากหลาย เคยมาที่เมืองนี้ครั้งหนึ่งแล้วช่วงเดือนธันวาคม ครั้งนั้นผู้คนคับคั่ง น่าเสียดายที่พลาดตลาดนัดคริสต์มาส (marche de Noel) ของริโบวิลเล เพราะเป็นตลาดนัดคริสต์มาสเพียงไม่กี่แห่งที่จัดแบบยุคกลาง มีการแสดงประกอบด้วย

แวะไปเยี่ยมญาติที่เปิดร้านขายเครื่องเย็บปักถักร้อยในเมืองนี้ ได้ความว่าไวน์ของ Xavier Wymann รสชาติดี จึงพากันเดินหา เป็นห้องเล็กๆ ท่ามกลาง cave ขนาดใหญ่ที่อยู่รายรอบ เจ้าของเป็นหนุ่มร่างท้วมผู้เคยเปิดร้านอาหารในย่านมูฟตารด์ (Mouffetard) ของกรุงปารีส และกลับมาบริหารกิจการของครอบครัวหลังจากที่พ่อเสียชีวิต

แก้วไวน์ทยอยวางบนโต๊ะ ชิมไวน์ทีละอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวน์ขาว Riesling Steinacker และ Riesling Vieilles Vignes รสดีสมกับที่ได้ยินมา บางขวดเหมาะกับการดื่มแกล้มอาหาร ดังเช่น Gewurtztraminer Vieilles vignes บางขวดหอมอวลเหมาะกับการดื่มเป็นเครื่องดื่มก่อนอาหารหรือแกล้มฟัวกราส์ (foie gras) ตับเป็ดรสเลิศซึ่งเป็นผลิตผลอย่างหนึ่งของอัลซาส ได้ลิ้ม Pinot gris Trottacker รสนุ่ม ถามหาไวน์แดงของอัลซาสซึ่งเรียกชื่อว่า Pinot noir เจ้าของ cave รีบบอกว่ามีเหมือนกัน แต่ไม่เหมือน Pinot noir ของ cave อื่นๆ อีก 90% เพราะหลานชายที่จบการศึกษาด้านไวน์ พิถีพิถันในการผลิต ด้วยการเก็บทุกสิ่งที่ไม่ใช่ผลองุ่นทิ้งหมด นำองุ่นใส่ถังไว้ และคอยขยับเขย่าทุก 4 ชั่วโมงเป็นเวลา 10-15 วัน แล้วจึงนำไปคั้น จะได้ไวน์แดงสีเข้ม รสชาติละม้ายไวน์แดงจากจังหวัดบูร์โกญ (Bourgogne) ซึ่งเรียกว่า ไวน์บูร์โกญ (bourgogne) เป็น Pinot noir ที่อร่อยมาก

ไวน์ของ Xavier Wymann อยู่ใน Guide Hachette de vins หนังสือคู่มือไวน์ประจำปี 2006 และ 2008 จึงเป็นเครื่องหมายรับประกันคุณภาพ วันนั้นจึงได้ Pinot noir, Pinot gris และ Riesling กลับบ้าน สมกับที่มาเส้นทางสายไวน์

แวะรับประทานอาหารค่ำที่เมืองคินต์ไซม์ (Kintzheim) ร้านที่ต้องการจะไป ปิดหลายแห่ง จึงไปที่ Auberge Saint-Martin อิ่มจากอาหารกลางวันที่หนักมาก มวลสมาชิกจึงขอสั่ง Tarte flambee อันเป็นอาหารท้องถิ่นของอัลซาสอีกอย่างหนึ่ง ลักษณะละม้ายพิซซา แต่แป้งบางกว่า ใส่แฮม หอมใหญ่และเนยแข็ง รับประทานร้อนๆ อร่อยมาก แถมด้วย Tarte flambee ที่เป็นของหวาน หน้าผลไม้ที่โรยน้ำตาลและอบ เกล็ดน้ำตาลจึงกรุบกรับในปาก

มาอัลซาสทั้งที ความคิดที่จะระมัดระวังเรื่องอาหารไม่เคยสำเร็จ เพราะอาหารอร่อย แถมเป็นอาหารที่ชวนอ้วนทั้งนั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us