Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553
Like             
โดย ธวัชชัย อนุพงศ์อนันต์
 


   
www resources

Facebook Homepage

   
search resources

Web Sites
Facebook




ถ้าเราสังเกตเว็บไซต์ที่เราใช้อยู่ประจำดีๆ นะครับ ไม่ว่าจะเป็นบริการเกี่ยวกับเพลง เกี่ยวกับหนัง เช่น IMDB, ข่าวจาก CNN, เครื่องสำอางใน Sephora. com, กางเกงยีนส์ Levi’s รวมถึงสินค้าและบริการต่างๆ อีกมากมาย ได้เริ่มเอาฟังก์ชันสำคัญอันหนึ่งของเฟซบุ๊กเข้ามาใส่ไว้คือ ปุ่ม Like ซึ่งถ้าเรารู้สึกชอบ ชื่นชม หรือปลื้มใจอะไรก็ตามกับข่าว, เพลง, ภาพยนตร์ รวมถึงสินค้าใดๆ เราก็เพียงแค่กดปุ่ม Like เท่านั้น ความรู้สึกของเราจะถูกลิงค์เข้ากับข้อมูลในเฟซบุ๊กของเรา และส่งผ่านความรู้สึกเหล่านี้ไปยังมวลหมู่เพื่อนๆ ของเรา ทำให้เพื่อนๆ ของเราในเฟซบุ๊กรับรู้ถึงความรู้สึกชื่นชมต่อสินค้าหรือบริการนั้นๆ ทันที

บางเว็บไซต์อย่างเช่น Levi’s ถึงกับจัดกิจกรรมกับปุ่ม Like ของเฟซบุ๊กอย่างจริงจัง โดยมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ของ Levi’s และชักชวนให้คนเข้าไปคลิกปุ่ม Like นี้ และแสดงสถิติของการคลิกปุ่ม Like เพื่อแสดงความชื่นชอบในรูปแบบแต่ละรุ่นของกางเกงยีนส์ Levi’s อย่างจริงจัง

หลายๆ คนมองว่าปุ่ม Like กำลังจะทำให้เฟซบุ๊กยึดโลกอินเทอร์เน็ตแทนกูเกิ้ลที่เคยถูกมองไว้มาก่อน

ก่อนหน้านี้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก หรือที่ใดๆ ก็ตามถูกมองว่าสร้างขึ้นให้อยู่ใน walled gardens ซึ่งหมายถึงว่าเครือข่ายเหล่านั้นจะอยู่ในพื้นที่ปิดที่ไม่ยอมให้คนนอกเข้ามาได้ง่ายๆ นั่นคือผู้ใช้งานเฟซบุ๊กจะไม่สามารถสื่อสารหรือแบ่งปันข้อมูลใดๆ กับเพื่อนๆ ข้ามเครือข่ายได้ อย่างไรก็ตาม ตามธรรมชาติของ walled gardens คนหรือสิ่งใดๆ ที่อยู่ภายในกำแพงนั้นก็จะพยายาม ข้ามหรือทลายกำแพงเพื่อออกมาสู่โลกภายนอก นั่นคือ กำแพงนั้นจะไม่สามารถอยู่ได้ตลอดไป ซึ่ง Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กและพันธมิตรก็คงเห็นถึงอันตรายนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตลอด 2-3 ปีหลังที่ผ่านมาเฟซบุ๊กค่อยๆ เปิดตัวเองสู่บริการภายนอกมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เฟซบุ๊กก็ไม่ได้ทำลายกำแพงลงเสียทีเดียว แต่พวกเขาค่อยๆ ขยายมันโดยการชักชวนคนอื่นๆ ให้เข้ามาอยู่ในกำแพงของพวกเขาแทน เป็นการทำให้เส้นแบ่งระหว่าง เฟซบุ๊กและอะไรที่ไม่ใช่เฟซบุ๊กเริ่มลางและจางลงเรื่อยๆ

ทุกวันนี้ เราสามารถติดต่อเชื่อมโยงกับเฟซบุ๊กแม้เราจะอยู่ห่างจากเฟซบุ๊กหรือไม่ได้เข้าเฟซบุ๊กเลยก็ตาม โดยเฟซบุ๊กไม่ได้มีเพียงแค่ปุ่ม Like เท่านั้น แต่พวกเขายังมี plugin ของเฟซบุ๊ก อีกมากมายที่คอยเชื่อมโยงกับโลกภายนอก

จริงๆ แล้ว ปุ่มในลักษณะเดียวกับปุ่ม Like ของเฟซบุ๊กมีใช้ในหลายๆ เว็บไซต์มานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้คะแนนความเห็นในเว็บข่าวของผู้จัดการเอง โดยถ้าใครเห็นว่าความเห็นในข่าวใดๆ น่าสนใจหรือรู้สึกชอบ สามารถให้คะแนนโดยการคลิกปุ่มยกนิ้วโป้งขึ้น หรือถ้าไม่เห็นด้วยก็คลิกปุ่มยกนิ้วโป้งชี้ลงได้ ซึ่งความเห็นที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุดจะแสดง เป็นความเห็นพื้นสีเหลืองห้าอันดับแรกในเนื้อข่าวนั้นๆ รวมถึงการโหวตความเห็นหรือกระทู้ต่างๆ ในเว็บบอร์ดต่างๆ มากมาย

แต่ความแตกต่างที่สำคัญก็คือการให้คะแนนในเว็บอื่นๆ นั้นเป็นเพียงกิจกรรม ในเว็บนั้นๆ เท่านั้น ไม่ได้เผยแพร่ให้คนอื่นรู้อย่างแพร่หลาย ในขณะที่การกดปุ่ม Like ของเฟซบุ๊กจะมีการลิงค์ข้อมูลไปแสดงให้เพื่อนๆ ในกลุ่มที่ใช้เฟซบุ๊กได้รับรู้ด้วย ซึ่งถือเป็นการใช้ความสามารถและเครือข่ายของเฟซบุ๊กได้อย่างตรงจุดอย่างแท้จริง แม้ก่อนหน้านี้จะมีเว็บอย่าง Twitter, Digg, Yahoo และอีกหลายๆ เว็บไซต์ที่ทำ Plugin ให้ใช้ในเว็บต่างๆ สำหรับการแชร์ข้อมูลระหว่างกันก็ตามแต่ก็ยังไม่ตรงจุดเสียทีเดียว

Zuckerberg เพิ่งเปิดตัวปุ่ม Like นี้อย่างยิ่งใหญ่เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา นี้เอง Zuckerberg เล่าถึงการประชุม Facebook f8 ซึ่งเป็นการประชุมประจำปี ซึ่งจัดขึ้นโดยเฟซบุ๊กโดยมีเป้าหมายให้เหล่านักพัฒนา นักลงทุน รวมถึงผู้ประกอบการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์แนวสังคม ออนไลน์ทั้งหลาย โดยเฉพาะเป็นการมาพูดคุยถึงอนาคตของเทคโนโลยีในวงการนี้โดยเฉพาะ ในงานวันนั้น Zuckerberg พูดถึงกราฟเครือข่ายซึ่งเป็นกราฟที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของคนคนหนึ่งที่มีต่อคนอื่นๆ รอบๆ ตัวเขารวมถึงสิ่งต่างๆ ที่คนคนนั้นสนใจด้วย ซึ่งกราฟเครือข่ายนี้จะสามารถเชื่อมตัวคนทุกคนทั่วโลกให้มาติดต่อถึงกันได้ ซึ่งสิ่งที่เฟซบุ๊กทำมาแล้วคือการเชื่อม ต่อคนแต่ละคนที่มีความสัมพันธ์เข้าหากันแล้ว ขณะเดียวกัน เว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องกับสินค้าและบริการก็จะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกราฟในส่วนที่เป็นสิ่งต่างๆ ที่คนคนนั้นสนใจ

แต่ที่ผ่านมา Zuckerberg รวมถึงคนอื่นๆ ก็พบว่า จนถึงบัดนี้ ดูจะยังไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเชื่อมความสัมพันธ์เหล่านั้น เข้าหากันได้ ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ความรู้สึกของคนคนหนึ่งที่มีต่อสินค้าใดๆ ในเว็บไซต์หนึ่งๆ ให้เพื่อนๆ ในเครือข่ายรู้ได้ รวมถึงการที่เราไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกใดๆ ของเพื่อนเราในเครือข่ายได้เช่นกัน

Zuckerberg จึงนำเสนอในการประชุม f8 ครั้งที่สามเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาถึงเครื่องมือเล็กๆ อันหนึ่งที่เรียกว่าปุ่ม Like ซึ่งจะช่วยในการสร้างแผนที่ความสัมพันธ์ซึ่งช่วยให้เราสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนๆ ในเครือข่ายได้ โดย Zuckerberg ออกแบบแพลท ฟอร์มของเฟซบุ๊กให้สามารถสนับสนุนเครื่องมือนี้ได้ง่ายๆ

ในอนาคต Zuckerberg จะทำให้เฟซบุ๊กเอาคนเป็นศูนย์กลางของเว็บและทำให้เราสามารถเรียนรู้ประสบการณ์และแบ่งปันในเครือข่ายได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สมมุติเราอาจจะชอบวงดนตรีสักวงหนึ่งในเว็บ Pandora ซึ่งเป็นเว็บที่ให้บริการเกี่ยวกับเพลง ข้อมูลที่เราชอบวงดนตรีใดสักวงหนึ่งจะถูกใส่ไว้เป็นส่วนหนึ่งของกราฟ และเมื่อเราเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เกี่ยวกับคอนเสิร์ต เว็บนั้นๆ จะสามารถเรียนรู้จากกราฟความสัมพันธ์และบอกเราได้ว่า เมื่อไรวงดนตรีที่เราชื่นชอบนั้นจะมาแสดงที่ใกล้ๆ บ้านเรา ซึ่งศักยภาพของกราฟแบบเปิดนี้จะทำให้เราสามารถสร้างเว็บไซต์ที่สามารถตอบคำถามความชอบเฉพาะคนแต่ละคนได้ดีขึ้น

นั่นคือ Zuckerberg มองถึงการสร้างเว็บไซต์ในอนาคตที่จะเก็บข้อมูลประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละคนไว้ เฟซบุ๊กมีพันธมิตรที่สำคัญสามรายคือ Microsoft Docs, Yelp และ Pandora ในการทดลองและสร้างเว็บไซต์ในอนาคตนี้ ซึ่งเราอาจจะลองเข้าไปทดลองใช้งานได้ โดยตอนนี้ ถ้าเราล็อกอินเข้าเฟซบุ๊กแล้ว เมื่อเราเปิดเว็บอย่าง Pandora เว็บนั้นก็จะเล่นเพลงจากวงดนตรีที่เราชื่นชอบได้ทันที (น่าเสียดายที่ Pandora ไม่เปิดให้ผู้ใช้งานจากนอกประเทศสหรัฐอเมริกาฟังเพลงได้ เนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม เราสามารถทดลองใช้งานกับเว็บ Microsoft Docs และ Yelp ได้) นอกจากนี้ เรายังจะ รับรู้ว่าเพื่อนคนใดในเครือข่ายเฟซบุ๊กของเราที่ชอบวงดนตรีเดียวกับเรา หรือชอบเพลงเดียวกับเราได้ด้วย และเราก็สามารถดูว่าเขาชอบเพลงอื่นใดบ้างได้ด้วยเช่นกัน

เช่นเดียวกับที่ปัจจุบัน เว็บไซต์ต่างๆ อนุญาตให้เราสามารถใช้แอคเคาน์ของเฟซบุ๊กในการเข้าใช้บริการต่างๆ และแสดงความคิดเห็นได้ โดยสามารถจะแสดงให้เห็นว่าเพื่อนคนใดในเครือข่ายของเราเข้าดูเว็บไซต์นั้นๆ บ้างและพวกเขาชอบหน้าไหนบ้างเช่นกัน

ผมกำลังคิดว่า เฟซบุ๊กกำลังเข้ามา ศึกษาข้อมูลส่วนตัวของเราในเชิงลึก ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิต และความชื่นชอบส่วนตัวต่อสิ่งใดๆ รอบตัว โดยเฟซบุ๊กมองลึกไปถึงความสัมพันธ์ของเรากับเพื่อนๆ หรือคนรอบข้าง เฟซบุ๊กสามารถใช้พฤติกรรมของเพื่อนๆ หรือคนรอบข้างของเราในการสร้าง พฤติกรรมใหม่ๆ ของเราได้ด้วย รวมถึงใช้ความเชื่อถือ ความเชื่อมั่นที่เรามีต่อเพื่อนๆ และคนรอบข้างของเรามาใช้ในการตัดสินใจของเราได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผมต้องการจะซื้อสินค้าใดสินค้าหนึ่งอาจจะเป็นยี่ห้อหรือรุ่นของสินค้าใดนั้น ถ้าผมมีข้อมูลว่า เพื่อนหรือคนรอบข้างผมใช้กัน ก็อาจจะมีผลทำให้ผมตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือสื่อสาร เสื้อผ้า หรือเครื่องสำอาง ก็จะทำให้ความรู้สึกอินเทรนด์ หรือพวกเขาพวกเราเป็นประเด็นในการตัดสินใจได้

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเก็บไว้ในเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเพื่อนและระหว่างเรากับสินค้าใดๆ ซึ่งจะกลายเป็นข้อมูลสำคัญที่แม้เราจะไม่เคยใช้สินค้าใดหรือไม่เคยเข้าเว็บไซต์ใดมาก่อน สินค้านั้นก็จะสามารถส่งผ่านมาถึงเราได้ เว็บไซต์ นั้นๆ ก็สามารถรู้พฤติกรรมของเราได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้กลายเป็นประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันมากขึ้นว่า เรากำลังถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมากเกินไปหรือเปล่า

ข้อมูลที่เฟซบุ๊กได้รับจากเครือข่ายความสัมพันธ์ของคนและสินค้าและบริการ จะกลายเป็นข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เฟซบุ๊กสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย แค่ 24 ชั่วโมงนับจากวันที่ปุ่ม Like เปิดตัวให้ใช้งาน ก็คาดการณ์กันว่าจะมีคนคลิกปุ่ม Like นี้มากถึงหนึ่งพันล้าน ครั้ง ข้อมูลที่ส่งกลับมายังเฟซบุ๊กจำนวนมหาศาลนี้ แน่นอนว่า พวกเขาสามารถนำไปใช้ทำเงินจำนวนมหาศาลได้แน่นอน โดยการร่วมกับบริษัทผู้สนับสนุนและผู้ขาย สินค้าและบริการต่างๆ แต่หลายๆ คนอยากที่จะเห็นการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์ เหมือนกับที่กูเกิ้ลสามารถใช้ข้อมูลจากการค้นหาข้อมูลในเสิร์จเอ็นจิ้นของพวกเขาไปใช้ในการทำนายภาวะความเสี่ยงของการเกิดไข้หวัดใหญ่ในภูมิภาคต่างๆ ในโลก หรือการใช้วิเคราะห์ภาวะรถติดในที่ต่างๆ ได้

แม้จะเป็นเพียงปุ่มสีฟ้าเล็กๆ ที่แอบซ่อนอยู่ตรงมุมใดมุมหนึ่งของหน้าเว็บ ที่ต้องการเพียงแค่คลิกหนึ่งคลิกเพื่อแสดงว่าชอบหรือไม่ก็ตาม แต่ปุ่มเล็กๆ นี้กำลังจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้กับเฟซบุ๊ก ซึ่งหลายๆ คนมองกันว่า พวกเขากำลังจะมาครองอินเทอร์เน็ตแทนที่กูเกิ้ลในอนาคตเสียแล้ว

อ่านเพิ่มเติม:
1. การเปิดตัวปุ่ม Like, http://blog.facebook.com/blog.php?post=383404517130
2. Recordon, D. (2009), ‘Facebook in 2010: no longer a walled garden,’ March 4, 2009, http://radar.oreilly.com/2009/03/facebook-in-2010-no-longer-a-walled-garden.html
3. Manjoo, F. (2010), ‘Facebook’s Plan to Take Over the Web,’Slate.com, April 22, 2010, http://www.slate.com/id/2251646
4. http://www.sephora.com/
5. http://www.imdb.com/title/tt0955308/
6. http://us.levi.com/home/index.jsp
7. http://docs.com/
8. http://www.pandora.com/
9. วิเคราะห์ความเสี่ยงของการเกิดไข้หวัดใหญ่, http://www.google.org/flutrends/
10. วิเคราะห์ภาวะรถติด, http:/googleblog.blogspot.com/2009/08/bright-side-of-sitting-in-traffic.html   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us