Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553
Chaebol...Kimchi CG             
โดย ดร.นิรัญชา ลิ่วเฉลิมวงศ์
 


   
search resources

Knowledge and Theory




หลังจากผู้เขียนได้ไปสัมผัสดินแดนปลาดิบของจริงตามกระแสนิยมในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ระหว่างดื่มด่ำกับ theme ญี่ปุ่น ราวกับเป็นชิซูกะ ชิมซูชิฝีมือลุงมาริโอ ขอลายเซ็น Hello kitty และเต้นระบำในสวนซากุระกับโดราเอมอน บรรยากาศก็เริ่มแปลกไปเมื่อโดราเอมอนแดนซ์ในเพลงของดงบังชินกิ และ SS501 จากแดนกิมจิ!

ไม่น่าเชื่อว่า กระแสเกาหลีฟีเวอร์ไม่ได้เกิดแค่ในเมืองไทย แต่สามารถทะลุเข้าถึงประเทศชาตินิยมอย่างญี่ปุ่นได้จริงๆ อย่างนี้แสดงว่าของเขาไม่ธรรมดา มาแรงขนาดนี้ถ้าจะไม่พูดถึงคงจะตกยุคตามคุณลุงมาริโอไปแน่ๆ ผู้เขียนจึงคิดว่าควรจะนำระบบ CG กิมจิมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้

ในอดีต (ก่อน ค.ศ.1961) กิจการต่างๆ ในเกาหลีเป็นลักษณะกิจการครอบครัว จนกระทั่งยุคของผู้นำ Park Chung Hee (ค.ศ.1961-1979) (อย่าสับสนกับ Park Ji Song ปีกตาขีดที่ชาวผีแดงนิยมชมชอบกัน) ผู้นำท่านนี้มีความผูกพันกับประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากเคยเข้าร่วมในกองทัพญี่ปุ่น และได้ ทุนไปเรียนในโรงเรียนทหารของญี่ปุ่นด้วย

Park ต้องการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของเกาหลี โดยดัดแปลงจากรูปแบบของระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้นในยุคเมจิ เป็นระบบเครือข่ายธุรกิจที่เรียกว่า Zaibatsu เช่น กลุ่มมิตซูบิชิ และซูมิโตโม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะลงทุนในอุตสาหกรรมหลักต่างๆ ของญี่ปุ่น คอยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน มีแกนกลางเป็นธนาคารคอยสนับสนุนเงินทุน แต่ระบบที่ Park พัฒนาขึ้นนั้นเป็นระบบเครือข่ายธุรกิจที่ประกอบด้วยบริษัทในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยปกติเจ้าของเป็นครอบครัวหรือเครือญาติสายเลือดเดียวกัน แต่จะไม่มีธนาคารอยู่ในกลุ่ม กลุ่มในลักษณะ ดังกล่าวได้ชื่อว่า Chaebol (เจ-โบ) ชื่อกลุ่ม ที่คุ้นๆ หูกัน เช่น ซัมซุง (Samsung) แอลจี (LG) แดวู (Daewoo) ฮุนได (Hyundai)

อันที่จริงลักษณะกลุ่ม Chaebol นั้น มีมาก่อนแล้วแต่ไม่ได้นำมาพัฒนาให้ชัดเจน และใช้จนแพร่หลาย เดิม Chaebol เป็นลักษณะกิจการครอบครัว โดยจะเน้นการถือหุ้นในครอบครัวมากกว่าแบบของญี่ปุ่น เช่นผู้ที่จะเป็นผู้สืบทอดกิจการจะต้องเป็นลูกชายคนโตเท่านั้น แต่ของญี่ปุ่นไม่เน้นว่าจะต้องเป็นสายเลือดเดียวกัน แต่อาจเป็นญาติห่างๆ ครอบครัวที่มาแต่งงานเกี่ยวดอง กัน หรือมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันก็ได้

กลับมาที่ท่านผู้นำ Park เชื่อกันว่าท่านผู้นำท่านนี้ มีความศรัทธาในระบอบคอมมิวนิสต์หรือ Stalinist (แบบในหนังยุคสงครามเย็นที่ประเทศรัสเซียจะมีตำรวจลับ ไว้คอยสอดส่องกิจกรรมต่างๆ ของประชาชน) ถึงขนาดสื่อต่างๆ ขนานนามให้ว่า Parkov เมื่อ Park ได้เป็นผู้นำของเกาหลีก็ดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเปลี่ยนธนาคารพาณิชย์ให้เป็นของรัฐ และสั่งจับนักธุรกิจชั้นนำของเกาหลี 24 คนในข้อหาทำกำไรจากการคอร์รัปชั่น

อย่างไรก็ดี Park ไม่ได้ยึดกิจการทั้งหมดของนักธุรกิจเหล่านี้ เนื่องจากนักธุรกิจยอมตกลงร่วมมือทำตามแผนพัฒนา โดยจ่ายค่าปรับและบริจาคเงินให้กับรัฐและคอยสนับสนุนโปรแกรมพัฒนาต่างๆ ที่ท่านผู้นำต้องการเข้าทำนอง “ได้ครับพี่ ดีครับนาย สบายครับผม เหมาะสมครับท่าน” เมื่อธนาคารพาณิชย์อยู่ภายใต้อำนาจรัฐทั้งหมด รัฐก็สามารถอัดฉีดเงินทุนเข้าไปในอุตสาหกรรม หรือกลุ่ม Chaebol ที่รัฐต้องการสนับสนุนได้ตามต้องการ ข้อดีคือรัฐสามารถอัดฉีดเงินเพื่อพัฒนา สร้างงาน และแก้ปัญหาได้ตรงจุด และรวดเร็ว

เมื่อรัฐอัดฉีดเงินในทางที่ผิดๆ ก็เกิด ปัญหาได้เหมือนกัน เช่น กลุ่ม Chaebol กลุ่มไหนที่ถูกใจรัฐบาลเป็นพิเศษ ก็จะได้เงินทุนไปเต็มๆ ทำให้ภาพลักษณ์ภายนอกดูรุ่งเรือง แต่ในความเป็นจริงกำไรไม่เท่าไร แต่ได้เงินอัดฉีดจากรัฐเยอะ จะเห็นได้ว่าความแตกต่างระหว่าง Zaibatsu กับ Chaebol อยู่ที่แหล่งที่มาของเงินทุน แบบของญี่ปุ่นจะมีธนาคารในกลุ่มคอยอัดฉีดเงินทุน ส่วนแบบของเกาหลีนั้นเงินทุนจะมา จากธนาคารที่ควบคุมโดยรัฐ เมื่อเป็นแบบนี้ก็ฟังดูลางไม่ค่อยดี เมื่อเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ในบ้านเราแล้วลุกลามไปบ้านเขา บริษัทเหล่านี้ก็เกิดปัญหาหนี้ท่วมท้นเป็น NPL ไม่ต่างจากเรา

เมื่อเศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอย บริษัทต่างๆ เริ่มค้าขายไม่ได้ กลุ่ม Chaebol ที่มีการใช้เงินลงทุนมากๆ เช่น กลุ่ม Kia ซึ่งลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มมีปัญหาหนี้สิน เงินฝืดเคือง ยอดขายน้อย ยิ่งธุรกิจในแดนกิมจิใช้เงินทุนจากการกู้ยืมเป็นหลักด้วย อนาคตยิ่งมืดมน ทีนี้ลองจินตนาการว่าคุณผู้อ่านเป็นเจ้าของธนาคาร เป็นเจ้าหนี้ ถ้าคุณเห็นว่ากิจการไม่มีอนาคต ใกล้เจ๊งเต็มที คุณจะยอมปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทที่อนาคตมืดมนหรือ??? หรือถ้าเป็นนักลงทุน คุณคิดว่าคุณจะซื้อหุ้นบริษัทนี้เพิ่มหรือ??? เช่นเดียวกัน ถ้าคุณเป็นผู้บริหาร คุณจะเอาเงินในกระเป๋าตัวเองลงไปในบริษัทนี้หรือ???

สำหรับผู้เขียนแล้วรับรองไม่มีกระเด็นไปสักสตางค์แดงเดียว ซึ่งแน่นอนว่า ระบบการควบคุม หรือ CG ของธนาคาร หรือบริษัทที่ดีย่อมไม่ปล่อยให้เงินของตัวเอง กระเด็นไปในบริษัทที่ใกล้ล่มแบบนี้แน่ แต่ระบบ Chaebol มีการถือหุ้นแบบ cross-shareholding ที่ซับซ้อนระหว่างบริษัทในกลุ่มด้วยกัน และยังมีสายสัมพันธ์กับธนาคาร ที่ถูกควบคุมโดยรัฐอีกต่างหาก ดังนั้น เวลากู้เงินจะไม่ช่วยเหลือกันก็คงไม่ได้ ฉันค้ำประกันให้เธอ เธอค้ำประกันให้ฉันก็แล้วกัน ถ้าธนาคารมี CG ที่ดี ต่อให้มาค้ำกันยังไง รับรองได้ว่าเงินไม่กระเด็นออกไปเข้ากองไฟ แน่ๆ แต่ในเมื่อธนาคารโดนควบคุมโดยรัฐ ถึงลูกหนี้ใกล้เจ๊ง แต่ลูกพี่สั่งมา มีหรือกล้าปฏิเสธ ดังนั้น หนี้ของกลุ่ม Chaebol แบบนี้ก็ยิ่งพอกพูนหนักขึ้นๆ จนกระทั่งท้ายที่สุด กลุ่มบริษัทเหล่านี้ พากันล่มไปด้วยกันมากกว่าหนึ่งในสามเลยทีเดียว

สำหรับธนาคาร ในกรณีนี้เจ้าของเงิน คือ ผู้ฝากเงินรายเล็กรายน้อย ส่วนผู้มีอำนาจ ควบคุมการบริหารเงินกลับเป็นครอบครัวไม่กี่ครอบครัวที่คุม Chaebol ผู้บริหาร และนักการเมือง ในเมื่อเงินไม่ใช่เงินของผู้นำ ต่อให้ Chaebol จะเจ๊ง รัฐก็ให้ยืมเงินได้โดยไม่เดือดร้อน แต่เมื่อเกิด NPL จากกลุ่ม Chaebol ที่รัฐตกลงช่วยเหลือ เจ้าของเงินฝากก็หน้าซีดไปตามๆ กัน

จะเห็นได้ว่า จริงๆ แล้วในช่วงแรกคอนเซ็ปต์ของระบบ Chaebol นั้นมีจุดเด่น ซึ่งช่วยให้เศรษฐกิจของเกาหลี ซึ่งเคยเป็นประเทศที่ยากจนมากในช่วงหลังสงคราม โลกครั้งที่สอง เติบโตรวดเร็ว มียอดการผลิต ส่งออก และรายได้ประชากรต่อหัวเพิ่มสูงมาก เนื่องจากจุดเด่นของระบบที่รวมอำนาจ คือความรวดเร็ว ผู้นำสามารถชี้ซ้ายชี้ขวาได้ เมื่อชี้ไปถูกทาง เศรษฐกิจก็เติบโตรวดเร็ว แต่เมื่อชี้ไปผิดทางก็ตกต่ำได้รวดเร็วเช่นกัน อย่างที่เกิดขึ้นแล้วในวิกฤติต้มยำกุ้งลามไปวิกฤติกิมจิ

ดังนั้น ภายหลังวิกฤติจึงเกิดการปฏิรูป CG ขึ้น ซึ่งเทียบได้กับการติด circuit breaker หรือเซฟทีคัทให้กับระบบ Chaebol โดยนำระบบแบบตะวันตกมาใช้เช่นเดียวกับประเทศไทย เช่นมีการควบคุมการใช้อำนาจของผู้นำให้ชัดเจน สั่งได้แต่ภายใต้กฎระเบียบ มีกฎระเบียบที่ชัดเจนและมีการบังคับใช้กฎอย่างจริงจังมากขึ้น บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทุกบริษัทต้องมีกรรมการอิสระที่ทำงานจริงจัง มีระบบที่เอื้อให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น แต่เมื่อเทียบกับประเทศไทยแล้ว เกาหลีใต้นั้นยังแพ้ไทยอยู่หลายอันดับ

น่าแปลกใจว่า ในขณะที่ CG ของไทยรั้งอันดับ 2 ในเอเชีย แซงหน้าเกาหลีใต้ อยู่ถึงห้าอันดับ (จัดอันดับโดย Governance Metrics International ปี 2552) แต่หลังวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ที่ผ่านมา กลับเป็นเกาหลี ที่สามารถฟื้นตัวจากวิกฤติได้เร็วที่สุดในกลุ่ม ประเทศ OECD (Organisation for Economic Co-operation and Development) แสดงว่าการเปิดเผยข้อมูล การมีกรรมการอิสระที่มากขึ้น การทำตามแบบแผนของตะวันตก ซึ่งไทยทำตามได้ดีกว่าเกาหลี สู้ไม่ได้กับระบบ Chaebol ที่แก้ปัญหาได้รวดเร็ว เมื่อมีผู้นำที่มีความมุ่งมั่นและแก้ปัญหาได้ถูกทาง อย่าง Lee Myung-bak และความร่วมมือร่วมใจกันขององค์กรใน Chaebol

หรือคิดอีกแง่ อาจเป็นได้ว่า CG เป็นแค่เซฟทีคัท แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จทางการเงินและการเติบโตของบริษัทและเศรษฐกิจเสมอไป แต่อาจเป็นความมุ่งมั่น ความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันของคนในองค์กร และในประเทศมากกว่า คุณว่าไหม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us