Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553
The Next DTAC             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ DTAC

   
search resources

โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
ธนา เธียรอัจฉริยะ
Mobile Phone




ดีแทคเลือกช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในภาวะไม่นิ่ง จีดีพีอยู่ที่ 4-5 การเมืองอยู่ในช่วงร้อนแรงสุดๆ กับความคิดเห็นแตกแยกเรื่องประชาธิปไตยอย่างสุดขั้วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในสถานการณ์ดังกล่าว ดีแทคเลือกจังหวะนี้ โยกย้ายธนา เธียรอัจฉริยะ ไปรับตำแหน่งใหม่ เพราะเป็นช่วงเวลาที่บริษัทมีรายได้ดีที่สุดตั้งแต่ก่อตั้ง

ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ผู้จัดการ 360 ํ มีโอกาสได้คุยกับธนา เธียรอัจฉริยะ กับทีมงานของเขาอีก 2 คน บนตึกจามจุรี บ้านใหม่ของดีแทคที่เข้ามาอยู่ได้ไม่นาน

นอกจากได้ร่วมสัมภาษณ์ธนาแล้ว เขานำทีมงานอีก 2 คนคือ วรรษิษฐ์ ไสยวรรณ และอมฤต ศุขะวณิชมาร่วมด้วย

ธนา เธียรอัจฉริยะในตอนนั้นรับตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม งานพาณิชย์เป็นเดือนสุดท้าย จะเริ่มต้นงานใหม่ในเดือนมิถุนายนอย่างเป็นทางการ

บรรยากาศการพูดคุยในวันนั้น ธนา ยังคงบุคลิกความเป็นคนยิ้มง่าย สบายๆ เหมือนกับที่สื่อขนานนามเขาว่า “มิสเตอร์ แฮปปี้”

แม้ว่าข่าวสารที่ถูกตีพิมพ์ตลอดระยะ 1-2 เดือนที่ผ่านมาจะบอกว่าเขาถูก “เด้ง” “แขวน” ก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าเขาจะรับมือได้ดีกับคำถามที่ไล่หลังตามมา

คำตอบที่เขามักจะพูดเสมอเกี่ยวกับตำแหน่งใหม่ ก็คือเขาเริ่มชิน เริ่มตื่นเต้นน้อยลงกับสิ่งที่ทำ และงานเริ่มทำเป็นในรูปแบบประจำวัน เช้า สาย บ่าย เย็น เขารู้ ไปหมดว่าต้องทำอะไร จึงทำให้เขาเริ่มคิดหาสิ่งใหม่ ในความเห็นของเขา นักบริหาร มืออาชีพบริหารงานในตำแหน่งไหนก็ได้

ดีแทคจึงใช้โอกาสนี้ ช่วงจังหวะบริษัทมีรายได้สูงที่สุดในรอบ 6 เดือน ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทมาเป็นระยะ 20 ปี ด้วยการโยกย้ายธนาไปรับตำแหน่งใหม่

ไตรมาสแรกของปีนี้ดีแทคมีรายได้ 17,671.70 ล้านบาท มีกำไร 2,444.40 ล้านบาท ขณะที่ตลอดทั้งปี 2552 มีรายได้รวม 65,995.08 ล้านบาท และกำไร 6,627.77 ล้านบาท

คนที่สอนและมีอิทธิพลด้านความคิดของธนาก็คือ ซิคเว่ เบรคเก้ อดีตซีอีโอของดีแทค กับคำพูดประโยคหนึ่ง จึงทำให้รู้ว่าสิ่งที่ทำให้ธนาตัดสินสินใจรับงานใหม่เป็นเพราะอะไร

“ซิคเว่สอน ยิ่งดี ยิ่งต้องเปลี่ยน ส่วนใหญ่คนจะเปลี่ยนเวลาที่ไม่ดี เพราะเวลาดี มันจะช้าไป ยิ่งเปลี่ยนในช่วงเวลาที่ดี คนคิดว่าไม่อยากเปลี่ยน สิ่งที่ทำมามันถูกต้อง เราก็จะไม่ไปต่อ เราจะหยุดทำทุกอย่าง แล้วทุกอย่างก็จะต้องลง ฉะนั้นช่วงในการเปลี่ยนที่ดีแล้วมันอาจจะทำให้เราไปต่อ next step ได้ เพราะสิ่งที่ทำให้เราเปลี่ยน แปลงเกิดจากในอดีต เราต้องเปลี่ยนวันนี้ เพื่อวันหน้า ผมเห็นด้วย เมื่อไหร่องค์กรดี ยิ่งต้องเปลี่ยนเลย เพราะว่าคนดี จะเริ่มไม่รับฟังความเห็น มันจะเริ่มลงเหว”

ดีแทคจึงเลือกจังหวะนี้ปรับโยกย้ายการทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมอีกครั้ง เพราะภาพรวมธุรกิจโทรคมนาคมจะปรับเปลี่ยนหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นใบอนุญาตใหม่ 3G หรือการทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน

โดยเฉพาะสัญญาสัมปทานของดีแทคจะหมดในปี 2561 ในขณะที่บริษัทเอไอเอสจะหมดในปี 2558 ส่วนกลุ่มทรูจะหมดก่อน 2 รายแรก คือในปี 2556

หากพิจารณาตำแหน่งใหม่ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มกลยุทธ์และกิจการองค์กร (Corporate Affairs and Strategy Group) ของธนา เขาต้องรับผิดชอบ 2 ส่วน

ส่วนแรก Corporate Affair เป้าหมายคือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้สัมปทาน และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ผู้ควบคุมกฎกติกากิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย รวมถึงต้องสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมในไทย และเอกชนอื่นๆ ด้วย

ส่วนหน้าที่ Strategy Group เป็นการขับเคลื่อนองค์กรภายในตั้งแต่ระดับบริหารไปจนถึงพนักงานทุกคนต้องมีเป้าหมายเดียวกันคือขับเคลื่อนดีแทคให้ไปข้างถ้า

เป้าหมายทั้งหมดประสงค์เพื่อให้ดีแทคมีภาพลักษณ์เป็นคนดี สิ่งสำคัญก็คือการสร้างผลประโยชน์ให้กับผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะกลุ่มเทเลนอร์ ประเทศนอร์เวย์ ผู้ถือหุ้นใหญ่

ทั้งสองหน้าที่ ธนายอมรับว่าเป็นสิ่งใหม่ที่เขาต้องเรียนรู้ เพราะเป็นตำแหน่ง ที่ไม่เคยมีมาก่อนในองค์กร เขาจึงมองว่าเป็นความท้าทายไม่น้อย

โดยเฉพาะหน้าที่ Corporate Affair สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรรัฐในระดับบริหารระดับสูง เพราะที่ผ่านมาการประสานงานกับภาครัฐไม่มีคนรับผิดชอบโดยตรง แต่เป็นการสลับสับเปลี่ยนกันไปแล้วแต่วาระ และความเหมาะสม ซึ่งธนาก็เคยประสานงานบ้างเป็นบางครั้ง

แต่สิ่งที่ธนาอธิบายให้ฟังก็คือ นับจากนี้ไปการทำงานของฝ่ายเขาจะประสาน งานทุกระดับตั้งแต่ระดับล่างไปสู่ระดับบนของภาครัฐ โดยเฉพาะระดับบนที่ละเลยมานาน จนเขาบอกว่ากลายเป็น “จุดอ่อน”

หากทบทวนและย้อนอดีตการทำงานของดีแทค จะพบว่าตำแหน่งนี้เคยมีมา ก่อน และผู้รับหน้าที่นี้ก็คือ “ภูษณ ปรีย์มาโนช” เขาเป็นผู้บริหารระดับสูงที่เคียงบ่า เคียงไหล่ร่วมทำงานกับ “บุญชัย เบญจรงคกุล” ในฐานะเจ้าของดีแทคเมื่อในอดีต

บทบาทของภูษณตอนนั้นสามารถ กล่าวได้ว่า เขาคือล็อบบี้ยิสต์ตัวยงในวงการโทรคมนาคม หน้าที่ของเขาคือเจรจากับผู้บริหารองค์กรภาครัฐ ต่อสู้กับคู่แข่งในวงการเดียวกัน ปกป้องผลประโยชน์ให้กับดีแทคสุดลิ่มทิ่มประตู

“การขยายเวลาสัมปทาน” หรือ “การเจรจาเรื่องค่าบริการ” รวมไปจนถึงการทำสงครามธุรกิจมือถือรายวันกับคู่แข่ง ค่ายชินวัตร หรือกลุ่มทรู (ในช่วงนั้นรู้จักกันในชื่อของกลุ่มทีเอ เป็นธุรกิจหนึ่งของกลุ่มซีพี)

บุคลิกของภูษณเป็นนักธุรกิจที่พลิ้วไหว กล้าได้ กล้าเสีย คำพูดของเขาบางครั้ง เหมือนขวานผ่าซาก แต่เขาก็ได้รับความไว้วางใจจากบุญชัยไม่น้อย จนทำให้เขาเป็นพนักงานหมายเลข 1 ของดีแทค

(อ่านเรื่อง “ภูษณ ปรีย์มาโนช มืออาชีพที่รวยที่สุดในประเทศไทย” นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2543 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

ลีลาและบุคลิกของภูษณ แน่นอนว่า ไม่ละม้ายคล้ายธนาแม้แต่น้อย เพราะธนามีบุคลิกยิ้มง่าย ไม่ aggressive ทั้งสองคนนี้มีบุคลิกแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ดูเหมือนว่าธนาน่าจะเชี่ยวชาญในฝั่งกลยุทธ์มากกว่าการสร้างสายสัมพันธ์กับกลุ่มองค์กรรัฐ เพราะประสบการณ์ของเขาเริ่มต้นจากบริหารด้านการเงินให้กับดีแทค และการตลาด

อย่างไรก็ดี ธนาบอกว่าวิธีการทำงานของเขาก็คือการเดินเข้าไปถาม รับฟัง และนำมาปรับปรุงแก้ไข เป็นวิธีเดิมที่เขาใช้มาตั้งแต่มาทำทางด้านการตลาด เขาบอกว่าเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการทำงาน เพราะจะได้ทั้งความสัมพันธ์และข้อมูล

สิ่งสำคัญที่สุดในสไตล์ของภูษณ คงจะไม่เหมาะกับดีแทคในห้วงเวลานี้ หลังจากธุรกิจดีแทคเปลี่ยนมือจากบุญชัย เจ้าของคนไทยเป็นกลุ่มเทเลนอร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ เพราะธนาบอกว่ากลุ่มเทเลนอร์เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศนอร์เวย์และสหรัฐอเมริกา กฎระเบียบเข้มงวด ดังนั้น ความโปร่งใสต้องชัดเจน ตรงไปตรงมา

ในอดีตการแข่งขันค่อนข้างดุเดือดเพราะเจ้าของธุรกิจนอกจากแข่งขันเพื่อให้ได้รายได้แล้ว ศักดิ์ศรีก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่เมื่อธุรกิจกลายเป็นของต่างชาติ สิ่งที่ผู้ถือหุ้นต้องการคือผลประกอบการที่ดีและมีกำไร ดังนั้น หนทางการแข่งขันจึงไม่เน้นการทะเลาะแต่เลือกเจรจากันมากกว่า

บรรยากาศการแข่งขันจึงเปลี่ยนไป โดยเฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องปะทะกันเป็นบางครั้งกับบริษัทกับบริษัท เอไอเอส หรือกลุ่มทรู ธนาก็จะเข้าไปพูดคุย

เขาออกตัวว่าสนิทสนมกับวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร เพราะเป็นรุ่นพี่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังสนิทกับขจร เจียรวนนท์ กรรมการบริษัท ทรูมูฟ จำกัด

แม้ว่าธนาจะถูกปรับตำแหน่ง แต่โครงสร้างบริหารงานของดีแทคส่วนใหญ่คงเดิม คือมีรองประธานเจ้าหน้าที่กลุ่ม 6 คน ซึ่งตำแหน่งเดิมของธนา จะมีเพ็ตเตอร์ เฟอร์เบอร์ก อดีตรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน และรับผิดชอบงานพัฒนาธุรกิจ และการวิจัยให้แก่กลุ่มเทเลนอร์ เข้ามารับตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม งานพาณิชย์

ส่วนตำแหน่งใหม่ของธนาเป็นตำแหน่งใหม่ที่รวมฝ่ายกลยุทธ์เข้ามาไว้ด้วยกัน ด้วยการปรับฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนา ธุรกิจให้เข้ามารวมจากเดิมมีผู้บริหารของเทเลนอร์ดูแลคือ Roar Wiik Andreassen เขาจะกลับไปในสิ้นปีนี้

การเปลี่ยนตำแหน่งของธนาในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ดีแทค และซิคเว่ เบรคเก้ยังอยู่ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในตอนนั้นเขาได้ตั้งกลุ่มทำงานเล็กๆ ขึ้นมา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งขับเคลื่อนธุรกิจดีแทค เรียกการทำงานนี้ว่า next DTAC

เป้าหมายของ next DTAC ในตอนนั้นเพื่อต้องการทดลองทำธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะธุรกิจคอนเทนต์ เพื่อมาเสริมธุรกิจหลักในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ

ดีแทคไล่ซื้อกิจการเล็กๆ เข้ามาดูแล แต่ดูเหมือนว่ากิจการเล็กๆ ไม่เหมาะกับทีมงานที่ต้องเข้าไปดูแลบริษัทขนาดเล็กคือ Paysabuy บริการะบบธุรกรรมทางการเงิน บริษัท Createch เปลี่ยนชื่อเป็น Crie ผลิตแอพลิเคชั่นมือถือ เช่น Push Mail และกลุ่มบริษัทแฟตเรดิโอ ใช้ชื่อใหม่ แฟต ดีกรี

แต่ next DTAC ภายใต้การดูแลของธนา เขาต้องนำสิ่งที่เรียนรู้จากบริษัทเล็กๆ เหล่านี้มาปรับใช้กับการทำงานดีแทค และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มเติม เช่น บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือไวไฟ

ในช่วงเริ่มต้น ธนามีทีมงานหลักร่วมงานทั้งหมด 5-6 คน ซึ่งธนาเป็นผู้เลือกทั้งหมด ทีมงานของเขาล้วนมีประสบการณ์ในดีแทค และเป็นเพื่อนในรุ่นราวคราวเดียวกันอายุเฉลี่ย 40 ปีต้นๆ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง เป็นเพื่อนที่มีทัศนคติคล้ายกัน

การทำงานมีผู้บริหารหลักเพียง 5 คน ธนามองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้งานคล่องตัวและปรับวิธีการทำงานได้ตามสถานการณ์ และกระบวนการทำงานทั้งหมดรายงานตรงกับทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค

ทีมงานของธนาทั้ง 5 คนมีหน้าที่บทบาทดังนี้ อมฤต ศุขะวณิช ดูแลกลยุทธ์ ธุรกิจใหม่ (new businesses’ strategy) รัฐฉัตร ศิริพานิช ดูแลส่วนงานภาครัฐสัมพันธ์ (government relations)

ส่วนงานด้านกฎหมาย (legal) วีระนุช กมลยะบุตร และวรรษิษฐ์ ไสยวรรณ ดูแลประชาสัมพันธ์องค์กร (corporate media) และนฤพนธ์ รัตนสมาหาร (regulatory) ดูแลกฎระเบียบเกี่ยวเนื่องกับภาครัฐ

วรรษิษฐ์ หนึ่งในทีมงานของธนา บอกกับผู้จัดการ 360 ํ ว่า เขาใช้เวลาในการตัดสินใจหลังจากธนาชวนเพียง 5 วินาที และยังไม่รู้รูปแบบงานเป็นอย่างไร เขาให้เหตุผลว่า ธนาเป็นคนที่โดดเด่นในการทำงาน ให้โอกาสทีมงาน

อีกเหตุผลหนึ่งที่วรรษิษฐ์ตัดสินใจเพราะทัศนคติการทำงาน มองว่างานทุกอย่างท้าทาย และยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้เพราะประสบการณ์ทำงานให้กับดีแทค มาเป็นเวลา 15 ปี

“งานข้างหน้าไม่ได้อยู่ที่ตัวเนื้องานหรือความรับผิดชอบ มันอยู่ที่เราจะสู้หรือเปล่า”

ส่วนอมฤตเป็นเพื่อนกับธนามานาน กว่า 10 ปี ทั้งสองรู้จักกันในธุรกิจทางด้านการเงิน ธนามีประสบการณ์ทำงานอยู่ในบริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง จำกัด (มหาชน) ส่วนอมฤตทำงานให้กับบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน) เมอร์ริล ลินช์ และบริษัทหลักทรัพย์กสิกร

อมฤตทำงานในดีแทค 3 ปี และเปลี่ยนตำแหน่งอยู่ 2-3 ครั้ง ในตอนแรกที่เข้ามาทำงานในบริษัทดีแทค เขาเป็นหนึ่ง ทีมงานอยู่ในฝ่ายของ next DTAC ดูแลทั้งทางด้านโอเปอเรชั่น กลยุทธ์ และเขาใช้ เวลาไม่นาน ในการตัดสินใจเข้ามาทำงานร่วมกับธนา เพราะมองว่ากลยุทธ์ของดีแทค ที่ผ่านมาบางส่วนยังไม่นำไปใช้ปฏิบัติได้จริง ดังนั้น แผนกลยุทธ์ฝ่ายนี้จะเน้นการนำไปใช้ได้จริง

วีระนุช แม้จะเป็นผู้หญิงคนเดียวใน ทีมงานระดับบริหาร แต่ธนาก็เอ่ยปากชมว่า เธอเป็นผู้หญิงที่เก่งด้านกฎหมายคนหนึ่งของประเทศไทย เขาจึงดึงมาร่วมงาน

ส่วนนฤพนธ์ มาจากบริษัท กสท ทำให้รู้ระบบการทำงานภายในขององค์กรนี้เป็นอย่างดี จึงเหมาะสมในการประสานงานและกฎระเบียบ

แม้ว่าฝ่ายกลยุทธ์องค์กรของธนาเริ่มขับเคลื่อนเป็นเดือนแรกก็ตาม แต่ธนาก็ได้คิดไปถึงจุดจบของการทำงานฝ่ายนี้ไปแล้ว เขาได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายใน 3 ปี จะต้องมีคนมาแทนที่เขาได้ ในช่วงเวลาที่เขาและทีมงานทำงานจะเห็นการเจรจาเรื่องสัมปทาน และภาพลักษณ์องค์กรของดีแทคที่คนภายนอกมองเข้ามา

วิธีคิดการทำงานแบบจุดจบนี้ เขาได้แรงบันดาลใจมาจากอ่านหนังสือของหนูดี เพราะเธอบอกว่าหากเริ่มด้วยการคิดจุดจบ จะทำให้เรารู้ว่าต้องเริ่มทำงานอย่างไร

ปัจจุบันธนาอายุ 41 ปี ว่ากันว่าชีวิตการทำงานของผู้ชายเริ่มต้นอายุ 40 ปี หากเป็นดังที่กล่าวมาชีวิตของธนาก็เพิ่งจะเริ่มเท่านั้น...   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us