Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553
เกมแย่งชิงผลประโยชน์             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

International




เว็บไซต์ข่าวเวียดนาม

มีรายงานเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2553 ว่าบริษัทพลังงาน Forum Energy Plc ของอังกฤษ ต้องลงทุน 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาการขุดเจาะน้ำมันที่หาดก๋อรอง (ชื่อสากลคือ Reed Bank Basin) ตามรายงานของบริษัท Edison บริษัทวิจัยการลงทุนชั้นนำในยุโรป ซึ่งได้รับมอบหน้าที่จากบริษัทพลังงาน Forum Energy ให้ดำเนินการวิจัย รายงานเปรียบเทียบศักยภาพน้ำมันและก๊าซของแหล่งก๊าซ Sampaguita ซึ่งมีปริมาณสำรองมากในทะเลตะวันออก (ทะเลจีนใต้) ใกล้เกาะ Palawan ของฟิลิปปินส์ กับแหล่งน้ำมัน Malampaya ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ Palawan

ตามสัญญาดำเนินการขุดเจาะที่แหล่ง Sampaguita หมายเลข 9 (อดีตคือ GSEC 101) คือ แหล่งน้ำมัน Sampaguita มีปริมาณสำรองก๊าซ 3,500 ล้านลูกบาศก์ฟุต ในขณะที่แหล่งน้ำมัน Malampaya มีปริมาณสำรองก๊าซประมาณ 3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และน้ำมัน 40 ล้านบาร์เรล

“กลุ่ม Malampaya รวมทั้ง Shell ได้ลงทุน 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่แหล่งน้ำมันแห่งนี้ได้ดำเนินการขุดเจาะตั้งแต่ปี 2544 โดยจะเสนอเงินลงทุนประมาณ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แหล่ง Sampaguita ด้วยการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทุกอย่างที่นั่น” ตามรายงานของบริษัท Edison

รายงานแจ้งว่า บริษัทพลังงาน Forum Energy อาจจะจ่ายเงินประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้วิจัยแบบสั่นสะเทือน 3 ทิศทาง เพื่อยืนยันศักยภาพของแหล่งก๊าซ-น้ำมัน Sampaguita และจะพิจารณาตัดสินใจขุดเจาะ 2-3 บ่อ ด้วยค่าใช้จ่ายบ่อละ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอีก 36 เดือนข้างหน้า

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2552 เอกอัคร ราชทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ ลืว เกี๊ยนเซียว ประกาศว่าจีนประท้วงแผนการขุดเจาะก๊าซ-น้ำมันของฟิลิปปินส์ที่หาดก๋อรอง ในทะเลตะวันออก กล่าวว่าปฏิบัติการนี้เป็นการละเมิดอธิปไตยของจีนในเขตทะเลแห่งนี้ ที่ประกอบด้วยหมู่เกาะเตรื่องซา (อ่าวก๋อรอง เป็นหาดปะการังใต้น้ำแห่งหนึ่งในหมู่เกาะเตรื่องซา) ซึ่งอยู่ในอธิปไตยของเวียดนาม ปัจจุบันฝ่ายเวียดนามยังไม่มีปฏิกิริยาใดๆ ต่อการลงทุนดำเนินการนี้

ขณะที่จีนประท้วงฟิลิปปินส์เกี่ยวกับการลงทุนในอ่าวก๋อรอง แต่เว็บไซต์ข่าวสารเวียดนามได้มีรายงานเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า บนหน้าข่าวอิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่ง กลับมีข่าวว่าจีนได้เชิญชวนนักลงทุนให้เข้าประมูลก่อสร้างโครงการสำคัญบางอย่างบนเกาะฟุเลิม (Woody Island) ในหมู่เกาะหว่างซาของเวียดนาม สถานที่ที่จีนใช้กำลังอาวุธเข้าตียึด ปัจจุบันยังยึดครองอย่างผิดกฎหมาย หน้าข่าวดังกล่าว แจ้งว่าคณะรัฐมนตรีจีนได้อนุมัติโครงการก่อสร้างชุดหนึ่งบนเกาะฟุเลิมของเวียดนาม ด้วยวงเงินลงทุน 130 ล้านหยวน ในจำนวนนี้จะมาจากแหล่งทุนรัฐบาลจีน 110 ล้านหยวน และมณฑลไหหลำจะจ่าย 20 ล้านหยวน

หน้าข่าวยืนยันว่า บริษัทประมูล Guo Xin จำกัด (จีน) ได้เชิญชวนให้เข้าประมูลโครงการ ซึ่งประกอบด้วยรายการก่อสร้างต่อไปนี้

- สัญญาหมายเลข 1 ขุดลุ่มน้ำทะเลด้วยเนื้อที่ 152,000 ตารางเมตร ใช้ดินปริมาณ 848,000 ลูกบาศก์เมตร ถมพื้นที่ 165,000 ตารางเมตร

- สัญญาหมายเลข 2 ก่อสร้างเขื่อนกั้นคลื่นยาว 365 เมตร เขื่อนหินยาว 1,070 เมตร

- สัญญาหมายเลข 3 ก่อสร้างท่าเรือขนถ่ายสำหรับเรือระวางขับน้ำ 400 ตัน (เท่ากับเรือมีกำลังขับเคลื่อน 600 แรงม้า) ท่าเก็บวัตถุ ท่าซ่อมแซมเรือ กับท่าจอดเรือ 10 ท่า ก่อสร้างสะพานท่าเรือ สำหรับเรือระวางขับน้ำ 500 ตัน กับท่าจอดเรือ 1 ท่า (มีระวางขับน้ำมากที่สุดอาจจะ 1,000 ตัน) ก่อสร้างท่าเรือน้ำมัน 1 ท่า สำหรับเรือบรรทุกน้ำมัน 2,000 ตัน ท่าเรือขนส่งสินค้า 1 ท่า สำหรับเรือระวางขับน้ำ 1,000 ตัน (มีความสามารถรับน้ำหนักสูงสุด 2,000 ตัน)

- สัญญาหมายเลข 4 ก่อสร้างตามรายการต่างๆ บนเกาะ ได้แก่ โครงการยกระดับชีวิต โกดังรวม โกดังทำน้ำแข็ง คลังยา คลังเก็บน้ำมัน อาคารทำงานรวม บ้านพักอาศัย ถนน และสะพาน ระยะทาง 2,700 เมตร อ่างเก็บน้ำจืด โรงจ่ายน้ำ จ่ายไฟฟ้า

บริษัทประมูลข้างต้นแจ้งว่า จุดก่อสร้างตามรายการที่นำออกมาเชิญประมูลข้างต้น ที่สำคัญจะมีการก่อสร้างบนหาดปะการังแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ด้านซ้ายของเกาะฟุเลิมในหมู่เกาะหว่างซาของเวียดนาม ตามเส้นรุ้ง 16 ํ50’ เหนือ-เส้นแวง 112 ํ20’ ตะวันออก

ในรอบ 2 ปีมานี้ ฝ่ายจีนเร่งกระบวนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ บนหมู่เกาะนี้ของเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ในจำนวนนี้ คือโครงการรักษาความมั่นคงป้องกันประเทศ รวมทั้งการพัฒนาการประมงและการท่องเที่ยว การที่จีนเชิญประมูลการก่อสร้างบนเกาะฟุเลิมของเวียดนามอย่างเปิดเผย เป็นพฤติการณ์ละเมิดอธิปไตยทะเลอาณาเขตของเวียดนามอย่างร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ปกติจีนมีการปล่อยข่าวกึ่งจริงกึ่งเท็จเพื่อสำรวจและทำให้สาธารณชนหลงทาง

นอกจากการเปิดประมูลโครงการก่อสร้างบนเกาะฟุเลิมแล้ว เว็บไซต์ข่าวสารเวียดนาม ได้มีรายงานตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมว่า บริษัทท่องเที่ยวตามอ๊าของจีน จะจัดนักท่องเที่ยวคณะหนึ่งไปเยี่ยมชมหมู่เกาะหว่างซา โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม

ตามแผนของบริษัทนี้ ทุกเดือนจะจัดทัวร์รับนักท่องเที่ยวภายในประเทศจีนไปเยี่ยมชมหมู่เกาะหว่างซาของเวียดนาม 1-2 ครั้ง เริ่มต้นจากการไปเยี่ยมชมเกาะฟุเลิมโดยเรือส่งเสบียง “กวิ่ญซา 3” (Quynh Sa 3) โดยในการท่องเที่ยวแต่ละครั้ง จะมีนักท่องเที่ยวประมาณ 300 คนด้วยค่าใช้จ่ายคนละประมาณ 5,600 หยวน

นอกจากกิจกรรมท่องเที่ยว ในเร็วๆ นี้จีนยังดำเนินกิจกรรมสำรวจก๊าซน้ำมัน ส่งเรือประมงทางการไปยังเตรื่องซา (สเปรตลี) ในน่านน้ำอาณาเขตเวียดนาม

รายงานแจ้งว่า จีนกำลังจงใจปฏิบัติทางยุทธศาสตร์เลวร้าย เพื่อเดินหน้ายึดครองทะเลตะวันออกสิ้นเชิง “ด้านหนึ่งขับไล่ชาวประมงเวียดนาม อีกด้านหนึ่งส่งเสริมธุรกิจต่างๆ ของจีนไปยังหว่างซา” ทำให้ประชาชนเวียดนามตื่นตระหนกและใจเสีย

เวียดนามยืนยันอธิปไตยในหมู่เกาะหว่างซาและหมู่เกาะเตรื่องซา การที่จีนจัดนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมที่นี่ และเดินหน้าปฏิบัติการด้วยเรือประมงทางการ เป็นการละเมิดอธิปไตยในทะเลของเวียดนาม ขณะเดียวกันยังละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเลปี 2525 ของสหประชาชาติ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us