Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2535
10 ปี ป่าชายเลนหายไป 40 %             
 


   
search resources

สมาคมนานาชาติว่าด้วยระบบนิเวศป่าชายเลน
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
สนิท อักษรแก้ว
Environment




ทรัพยากรป่าชายเลนเป็นดังเช่นทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่ถูกใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจโดยมนุษย์มากจนกระทั่งเป็นการทำลายความสมดุลย์ของระบบนิเวศวิทยา ผลเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรุกรานธรรมชาติมิได้กระทบกับประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่ส่งผลข้างเคียงโยงใยไปถึงองค์รวมของธรรมชาติที่ไม่จำกัดขอบเขตตามพรมแพนของประเทศ

ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมามีการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันระดับหนึ่งในการปฏิบัติกับป่าชายเลนของแต่ละประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติร่วมกับสมาคมนานาชาติว่าด้วยระบบนิเวศป่าชายเลน (INTERNATIONAL SOCIETY FOR MANGROVE ECOSYSTEM-ISME) เชิญตัวแทนประเทศต่าง ๆ 22 ประเทศในภาคพื้นเอเซียแปซิฟิกมาประชุมเพื่อเตรียมจัดทำกฎระเบียบหรือข้อปฏิบัตินิเวศวิทยาป่าชายเลน (CHARTER FOR MANGROVE) โดยทาง ISME จะนำผลสรุปของการประชุมเสนอที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาหรือที่เรียกว่า EARTH SUMMIT ที่จะจัดขึ้น ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ต้นเดือนมิถุนายนปีนี้

เมื่อเอ่ยถึงป่าไม้คนส่วนใหญ่มักจะนับถือป่าเขาลำเนาไพร เสียมากกว่าป่าที่ขึ้นริมฝั่งทะเล หรือที่รู้จักกันว่าป่าชายเลน แม้ป่าชายเลนไม่ค่อยได้รับความสนใจมากเท่ากับป่าปกแต่ปริมาณพื้นที่ก็ลดลงอย่างน่าใจหายในช่วงสิบปีที่ผ่านมาก

ดังเช่นตัวอย่างในประเทศไทยจากการสำรวจทางดาวเทียมไทย ป่าชายเลนมีอยู่ประมาณ 1,795,675 ไร่ สิบปีต่อมาพื้นที่ลดเหลือเพียง 1,128,493 ไร่

ความสำคัญของป่าชายเลนมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่มูลค่าจากการนำไม้ในป่าไปทำฟืน เผาถ่านและไม้เสาเข็มเท่านั้น หากยังหมายถึงคุณค่าพันธุ์ไม้หลากชนิดที่มีต่าง ๆ กันในแต่ละเขตร้อนซึ่งมีอีกจำนวนมากที่ไม่ได้รับการศึกษาวิจัย ไม้หลายพันธุ์ที่ค้นพบสามารถนำมาใช้ทำสมุนไพรได้ เช่น การนำเปลือก ไม้โกง กางใบเล็กมาต้มน้ำรักษา โรคบิดเรื้อรัง เป็นต้น

นอกจากนั้นความสำคัญในด้านประมง สัตว์น้ำหลาย ๆ ชนิด เช่น ปลา กุ้ง หอย มีการสืบพันธุ์ในบริเวณป่าชายเลน และอาศัยบริเวณนี้เป็นที่พักพิงเติบโตของตัวอ่อน ซากใบไม้กิ่งก้าน ดอกและผลของต้นไม้ในป่าที่หล่นทับถมย่อยสลายบนดินเลนยังเป็นอาหารสำหรับสัตว์น้ำเหล่านี้อีกด้วย

ป่าชายเลนยังเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงของพายุและคลื่นลมที่ทำลายชายฝั่งและการกัดเซาะดิน

ป่าชายเลนมีอยู่เฉพาะในเขตร้อนของ 3 ทวีป คือเขตร้อน เอเชีย

เขตร้อนอเมริกาและเขตร้อนแอฟริกา จากพื้นที่ทั้งหมดทั่วโลกประมาณ 113,420,089 ไร่ มีในเขตเอเซียมากถึง 46.4 % รองลงมาคือแถบร้อนอเมริกา 34.9 % และแถบแอฟริกา 18.7 %

ด้วยคุณค่าเหลือคณานับของป่าชายเลน หากปล่อยให้มีการใช้พื้นที่จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศไปในทางที่ไม่เหมาะสม บทบาทหน้าที่ของป่าชายเลนที่เป็นทั้งแหล่งพลังงาน แหล่งโปรตีนจากทะเล รวมทั้งหน้าที่ในการเชื่อระบบนิเวศวิทยาของบกและทะเล ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยและนั่นหมายถึงผลกระทบที่มีต่อมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

เมื่อปี 2533 จึงมีการก่อตั้งองค์กรระหว่างประเทศซึ่งเล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์และการรู้จักใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนอย่างถูกวิธีนั่นคือ สมาคมนานาชาติว่าด้วยระบบนิเวศป่าชายเลน หรือ ISME ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ 30 ประเทศ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกของ ISME โดยมีสง่า สรรพศรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานสมาคมแห่งนี้

สาระสำคัญของการประชุม 3 วันที่จัดขึ้นในประเทศไทยเพื่อเตรียมการสำหรับข้อปฏิบัติร่วม ในเรื่องป่าชายเลนกล่าวถึงสาเหตุการทำลายสภาพป่าชายเลนซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ว่าเกิดจากการใช้พื้นที่อย่างไม่สมเหตุสมผลและเห็นว่าจำเป็นจะต้องฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าชายเลนที่ถูกทำลายไปแล้ว และอนุรักษ์สภาพป่าชายเลนที่ยังสมบูรณ์ไม่ให้ถูกรุกราน

สำหรับพื้นที่ที่นำมาใช้ประโยชน์จะต้องได้รับการดูแลทดแทนไม่ให้ระบบนิเวศสูญเสียหรือเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม โดยให้รัฐบาลแต่ละประเทศทำการศึกษาข้อมูล การบริหารการจัดการป่าชายเลน ออกกฎหมายควบคุมและร่วมมือกับทุกหน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนในระดับประเทศและระหว่างประเทศเพื่อควบคุม ดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลเสียหายกับระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลน

ผลการประชุมร่างกฎระเบียบนี้ สง่า สรรพศรีซึ่งเป็นรองประธานอีกคนหนึ่งของ ISME จะเสนอต่อ EARTH SUMMIT เพื่อให้นานาชาติลงนามเป็นข้อตกลงร่วมกัน M.VANNUCCI รองประธาน ISME กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ตัวแทนจากหลายประเทศที่เข้าร่วมประชุมได้มีการถกเถียงถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อป่าชายเลน

สนิท อักษรแก้ว ศาสตราจารย์ประจำคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านป่าชายเลนมากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย และปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่าการที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น ความชื้น กระแสลมและที่สำคัญที่สุดคือทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น การที่น้ำทะเลสูงขึ้นจะทำให้ท่วมพื้นที่ป่าชายเลน ทำให้มีการสันนิษฐานกันในหมู่ผู้ศึกษาป่าชายเลนว่าอาจทำให้ป่าชายเลนเคลื่อนตัวไปข้างหลัง เนื่องจากไม่สามารถเจริญเติบโตนี้อาจส่งผลให้องค์ประกอบของพันธุ์ไม้ที่อยู่ในป่าชายเลนหายไป การเคลื่อนย้ายของสังคมสัตว์และการพังทลายของริมตลิ่ง

อย่างไรก็ตามในประเด็นนี้ สนิทเห็นว่าเป็นเรื่องคิดคาดคะเนถึงอนาคตซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเทียบกับการสูญเสียป่าชายเลนที่เกิดจากการสูญเสียป่าชายเลนที่เกิดจากการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือการทำนากุ้ง

จากการศึกษาเรื่องป่าชายเลนของสนิท เขาพบว่ากว่า 50 % ที่ป่าชายเลนลดลงในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีสาเหตุมาจากการทำนากุ้ง และรองลงมาคือการตัดไม้ที่เกินกำลังของสภาพป่า ประเทศไทยเองก็เช่นกัน

นอกจากนั้นยังมีปัญหามาจากการทำเหมืองแร่ดีบุกทางภาคใต้ การสร้างท่าเทียบเรือทำถนนและโรงงานไฟฟ้ารวมทั้งการขยายตัวของชุมชน

การสำรวจทางดาวเทียมของกรมป่าไม้ล่าสุดปี 2532 มีพื้นที่ป่าชายเลนในไทยประมาณ 1.1 ล้านไร่กระจายอยู่ 3 ภาคคือ ภาคใต้ฝั่งตะวันตด 78.74 % ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 9.46 % ภาคตะวันออก 9.46 % และภาคกลาง 0.33 %

ปัจจุบันหน่วยงานที่ดูแลป่าชายเลนโดยตรงคือ กองจัดการป่าไม้ สังกัดกรมป่าไม้และมีคณะกรรมการทรัพยากรป่าชายเลนแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากกรมป่าไม้ กรมประมง กรมทรัพยากรธรณี สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฯลฯ

เป็นผู้ดูแลในระดับนโยบาย เมื่อ ปี 2530 คณะกรรมการฯ มีมติแบ่งป่าชายเลนเป็นเขตอนุรักษ์ซึ่งเป็นพื้นที่ห้ามทำกิจกรรมใด ๆ และเขตเศรษฐกิจ ก. หมายถึงพื้นที่ที่ให้ใช้ประโยชน์เฉพาะด้านป่าไม้เขตเศรษฐกิจ ข. หมายถึงพื้นที่ที่ยอมให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาอื่น ๆ แต่ต้องคำนึงถึงผลดีและผลเสียด้านสิ่งแวดล้อม

แม้กระนั้นก็ตามในทางปฏิบัติการจัดการป่าชายเลนจำเป็นจะต้องสอดคล้อง

กับทรัพยากรชายฝั่งอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับการพัฒนาในสาขาต่าง ๆ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงชายฝั่งกับป่าชายเลนซึ่งยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน

การดำรงอยู่ของพืชและสัตว์หลากหลายพันธุ์ ต่างมีหน้าที่ตามกลไกธรรมชาติ หากพืชหรือสัตว์ชนิดใดจะต้องสูญพันธุ์ การทำงานของธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพจะเกิดการบกพร่องในหน้าที่นั้น ๆ มนุษย์ถือเป็นตัวแปรที่สำคัญทั้งในด้านการอนุรักษ์ และการทำลายระบบนิเวศในธรรมชาติ

แต่นี้ต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหลังจากที่ไทยเข้าร่วมลงนามในข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับระบบนิเวศป่าชายเลนในการประชุม EARTH SUMMIT แล้ว กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับป่าชายเลนจะต้องอยู่ภายใต้การยอมรับในกฏเกณฑ์ร่วมกันของนานาชาติที่ไม่ทำลายระบบนิเวศของป่าชายเลน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us