Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553
กรรมการ 4 เหลี่ยมเศรษฐกิจกับทศวรรษใหม่ที่ท้าทาย             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 


   
www resources

โฮมเพจ คณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ

   
search resources

ราชันย์ วีระพันธุ์
Commercial and business
International
Greater Mekong Subregion
คณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ
พัฒนา สิทธิสมบัติ




คณะกรรมการเพื่อสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจกำลังเผชิญกับแรงท้าทายที่มากขึ้นในทศวรรษที่ 2 นับจากนี้ เพื่อผลักดัน “รูปธรรม” ของความร่วมมือให้เกิดขึ้น โดยที่ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ

“มาถึงตอนนี้ ทุกอย่างเริ่มเคลื่อนแล้ว”

ราชันย์ วีระพันธุ์ อดีตประธานคณะ กรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คศส.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ คนแรก (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่, กงสุลกิตติมศักดิ์บังกลาเทศ) และพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธาน คสศ.คนปัจจุบันที่จะ หมดวาระแรกในปี 2554 สรุปสถานะของกรอบความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ไทย พม่า ลาว จีน กับผู้จัดการ 360 ํ

แต่หลังจากนี้จะต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่า เพราะหลังผ่านพ้นระยะการผลักดันมาได้ การเปลี่ยนแปลงในสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของ Greater Mekong Subregion (GMS) ตลอดจน ASEAN Economic Community (AEC) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2015 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า (2558) จะเกิดขึ้นเร็วมาก

“EU ใช้เวลา 20 กว่าปี จึงจะเกิดขึ้นได้ แต่อาเซียนจะเร็วกว่านั้นมาก” ราชันย์ย้ำ

เขาอธิบายว่า ปัจจัยหนึ่งเป็นเพราะจีนต้องเข้ามาเป็นผู้เล่นมากขึ้น เพื่อใช้อาเซียนที่มีตลาดผู้บริโภครวมกัน 584 ล้าน คน รวมกับจีนอีก 1,300 กว่าล้านคน คาน อำนาจสหรัฐอเมริกา และด้วยเพราะจีนเป็นประเทศที่มีอิทธิพลสูงกว่าประเทศอื่นๆ ใน อาเซียน ทำให้ถ้าจีนเข้ามาเดินเครื่อง ทุกอย่างจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงทุน การค้า การเงิน หรือ Yuan Zone ที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน

(อ่านเรื่อง “เปิดตลาด (อินโด) จีน” นิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนสิงหาคม 2550 และเรื่อง “ตั้งรับอิทธิพลจีน” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนตุลาคม 2552 หรือ www.gotomanager.com ประกอบ)

ยิ่งถ้ากรอบ BIMSTEC หรือความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล ที่มีพม่าเป็นตัวแปรสำคัญ มีผลเป็นรูปธรรมการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคนี้จะครอบคลุมทั้งในมิติของการไหลของทุน สินค้า ผู้คน ฯลฯ ซึ่งทั้งอินเดีย บังกลาเทศ ปากีสถาน ล้วนเป็นตลาดผู้ซื้อ ที่มีผู้บริโภคมากกว่า 1,800 ล้านคน

นี่เป็นเรื่องหนึ่งที่ คสศ.จะต้องทำงาน ทั้งเพื่อรับมือจีนและการเปลี่ยน แปลงที่จะเกิดขึ้น

บทเรียนข้อตกลง FTA สินค้าเกษตรไทย-จีน ที่เริ่มเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 ในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของจีน ตลอดจนความพร้อมของรัฐไทยในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี

ข้อสรุป FTA ครานั้น แม้จะออกมา ว่าภาษีนำเข้าเป็น 0% แต่เมื่อสินค้าเกษตร ไทยส่งเข้าไปขายในแต่ละมณฑลของจีน ยังต้องพบกับ VAT 7-13% ขณะที่สินค้าเกษตรจีน 0% ตั้งแต่พรมแดน เชียงรายยันสุไหงโกลก นำมาซึ่งปรากฏการณ์ สินค้าเกษตรจีนเต็มตลาดไทย แต่สินค้าเกษตรไทยยังยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก มาถึงทุกวันนี้

ข้อตกลง FTA สินค้าเกษตรไทย-จีนคราวนั้น เซ็นกันอย่างง่ายดาย รวดเร็ว และสวยหรู แต่ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย กลับไม่สามารถแก้ไขใดๆ ได้ ภาคเอกชนก็อยู่ในภาวะต่างคนต่างทำ ใช้เครือข่ายสายสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นหลัก

รวมถึงความตกลงว่าด้วยการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง หรือแม่น้ำโขง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543 ซึ่งทำขึ้น ณ จังหวัดท่าขี้เหล็ก ของพม่า ของตัวแทนกระทรวง คมนาคมจากไทย พม่า ลาว จีน อันนำมาซึ่งการระเบิดเกาะแก่งกลางน้ำโขง เปิดร่องน้ำให้ลึกกว่า 1.50 เมตรตลอดสาย และการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในเขตจีนอีกหลายแห่ง

สุดท้าย นำมาซึ่งปัญหาน้ำโขงผิดธรรมชาติที่กระทบต่อวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำโขงตลอดแนวตั้งแต่พื้นที่ใต้เขื่อนกั้นแม่น้ำโขงของจีน ไปจนถึงที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงใน เวียดนาม

นี่คือปัญหาความพร้อมของไทย ความพร้อมของบุคลากรรัฐไทย

แตกต่างจากจีนที่มีส่วนงาน Foreign Affairs เป็นการเฉพาะ หน่วยงานทุกระดับต่างได้รับ “ธง” เดียวกัน จากรัฐบาลกลาง ทำให้ทุกองคาพยพมุ่งไป สู่จุดหมายเดียวกัน

สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลจีนในภูมิภาคนี้ได้อย่างชัดเจน

ขณะที่ไทย แม้จะมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 5 ปี แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเมือง ซึ่งทำให้ยุทธศาสตร์ชาติเปลี่ยนแปลงไปด้วย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทิศทางการทำงานของหน่วยงานรัฐทุกระดับ ตั้งแต่กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด กลุ่มจังหวัด อบจ. อบต. ฯลฯ เป็นไปคนละทิศละทาง ตามความต้องการของฝ่ายการเมือง ทำให้ขาดพลังของการพัฒนา

ราชันย์บอกว่า ต่อไปเราต้องผลักดันให้มีตัวแทนภาคเอกชน รวมไปถึงองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เข้าไปร่วมสังเกตการณ์ มีส่วนร่วมในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศด้วย เพื่อป้อนข้อมูลภาคสนาม ข้อมูลความเป็นจริงให้กับตัวแทนรัฐบาลไทยนำไปใช้ในการต่อรอง ลดความได้เปรียบเสียเปรียบจากการเจรจาที่อาจจะเกิดขึ้น เพิ่มความเป็นธรรมทางการค้าระหว่างกัน

เช่น โครงข่ายคมนาคมที่จีนผลักดันเต็มที่ เปิดเส้นทางให้มณฑลตะวันตกเฉียงใต้ออกสู่ทะเลได้เกือบสมบูรณ์ เหลือเพียงเส้นทางรถไฟจากคุนหมิง-กรุงเทพฯ นั้น ในหลักการ จีนน่าจะเข้ามาลงทุน อาจจะเป็นไปในลักษณะเงินช่วยเหลือ-เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่ไทยเองก็ต้องเปิดให้ใช้เทคโนโลยีจีนด้วย แทนที่จะใช้เทคโนโลยีเยอรมัน เป็นต้น

“หลังจากถนนคุนมั่น กงลู่ เสร็จ จีนส่งสินค้าออกทะเลได้ ผมเห็นภาพลูกตาสา หลานตาสี ถูกรถบรรทุกจีนทับตาย ถนนพัง เจ้าหน้าที่นั่งรับเงินตั้งแต่เชียงแสน ยันแหลมฉบัง... ถามว่าใครจะรับผิดชอบ” ราชันย์สะท้อนภาพ

ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเจรจาต่อรองในรายละเอียดต่างๆ รองรับ ทั้งขนาดบรรทุกของรถจีนที่เกิน 20-30 ตันแน่นอน อันทำให้ถนนพัง เสียงบประมาณ ซ่อมบำรุงปีละหลายหมื่นล้าน, การจราจรที่จะคับคั่งขึ้น, กฎหมายจราจรที่จะกลายเป็นช่องทางหาประโยชน์โดยมิชอบ ฯลฯ

รายละเอียดเหล่านี้จะต้องมีการเจรจาร่วมกัน นั่นหมายถึงหน่วยงานรัฐไทยต้องถึงพร้อม ก่อนเปิดโต๊ะเจรจา และต้องยึดผลประโยชน์ประเทศชาติ คนไทยเป็นที่ตั้ง

สอดรับกับมุมมองของพัฒนาที่เห็น ว่าหน่วยงานของรัฐไทยยังมีปัญหา โดยเฉพาะในระดับปฏิบัติ

เขาบอกว่า แม้ว่าระดับนโยบายจะชัดเจนว่ากรอบความร่วมมือเหล่านี้จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ และมีนโยบายพัฒนารองรับ แต่กลับติดขัดในเรื่องระเบียบปฏิบัติที่ละเอียดยิบ

ว่ากันว่า แม้แต่งบประมาณกลุ่มจังหวัด ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 รวมกว่า 10,000 ล้านบาท มาถึงวันนี้...ยังเบิกไม่ได้แม้แต่บาทเดียว

รวมถึงนโยบายพัฒนา 3 เมืองหลัก เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ที่รับรู้ทั่วกันว่าแนวโน้มเมืองตามระเบียงเศรษฐกิจเหล่านี้จะต้องได้รับการพัฒนาอยู่แล้ว แต่ก็มีเพียง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และพื้นที่เท่านั้นที่เข้ามาทำ ขณะที่ กระทรวงพาณิชย์ที่น่าจะเป็นหน่วยหลัก กลับยังไม่ยื่นมือเข้ามาดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น เป็นต้น

อีกประเด็นที่จะต้องเร่งทำกันอย่างเร่งด่วน รองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษที่ 2 ของ คสศ.ก็คือการพัฒนาคนรองรับ ซึ่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมา คสศ.ได้เข้าไปร่วมเขียนหลักสูตรด้าน Logistic ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เชียงราย รวมถึงเข้าร่วมเป็นอาจารย์สอน-ร่างหลักสูตรวิทยาลัยการอาชีพเชียงราย ฯลฯ

พัฒนาบอกว่า แนวทางนี้เบื้องต้นถือว่าสำเร็จ สามารถส่งนักเรียนวิทยาลัยการอาชีพ วุฒิ ปวส.เข้าไปฝึกงานที่บริษัท DHL หรือสนามบินสุวรรณภูมิ ได้รับคำชมมาตลอด หลายคนได้งานชั่วคราว แม้จะมีวุฒิการศึกษาระดับ ปวส.

ในขณะเดียวกัน คศส.ยังได้ร่วมกับสถาบันแรงงานนาชาติเชียงแสน จัดหลักสูตรอบรมบุคลากรของบริษัทเอกชน ในพื้นที่ภาคเหนือ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่องตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดจังหวัดเชียงราย ยังได้จัดงบสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการ Logistic ขึ้น โดยให้เอกชนเข้าร่วมบริหาร มีพัฒนาเป็นผู้อำนวยการคนแรก

“เราต้องเตรียมคนให้พร้อม ก่อนที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชื่อมถนน R3a จะเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า” พัฒนาย้ำ

แน่นอน แนวทางนี้จะขยาย Network ออกไปอย่างต่อเนื่อง

ประเด็นสำคัญที่ต้องทำอีกเรื่องหนึ่ง เพื่อไม่ให้ชุมชนในพื้นที่ตลอดแนวถนนสายคุน-มั่น กงลู่ หรือ EWEC (East West Economic Corridor) นั่งอยู่ข้างทาง มองรถบรรทุกจีน หรือบรรษัทข้ามชาติวิ่งผ่าน ก็คือจะทำอย่างไรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนได้กับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย

พัฒนาบอกว่า จากนี้ไป คสศ.จะพยายามดึงองค์กรในเครือข่าย หรือในการกำกับของรัฐที่มีงบประมาณสนับสนุน เข้า มาร่วมส่งเสริมผู้ประกอบการเกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง ที่มีอยู่อย่างหลากหลายใน 10 จังหวัดภาคเหนือ เพิ่มโอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในตลาดสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ, GMS, BIMSTEC, ASEAN ฯลฯ

หรือพื้นที่ชายแดนไทย-ลาวหลายจังหวัด ทั้งน่าน, อุตรดิตถ์, พะเยา, เชียงราย มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมกับ สปป.ลาว โดยต้องเข้าไปช่วยพัฒนาบุคลากรด้านบริการ หรือผู้ประกอบการ ขึ้นมารับกับทิศทางในอนาคต

“เราต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า จะทำให้ชุมชนในพื้นที่แถบนี้ ที่ต่อไปจะมีพลวัตสูงมาก เข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างไร เพราะที่นี่เป็นบ้านของเขา ไม่ว่าจะเป็นคนไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม รวมทั้ง จีนด้วย เพราะวันนี้ GMS หรือ ASEAN ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป”

อีกเพียง 5 ปี ประชาคมอาเซียน (AEC) ก็จะเกิดเต็มรูปแบบ ซึ่งนั่นหมายถึงการไหลของคน การย้ายถิ่นฐาน การทำงานข้ามประเทศโดยไม่ต้องมี Work Permit ฯลฯ

ซึ่ง 2 ผู้นำองค์กรที่เป็นศูนย์รวมภาคเอกชนของภาคเหนือ 10 จังหวัด มอง ตรงกันว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะถูกปลุกปั้นขึ้นมาตีคู่กับ EU ในอนาคตอันใกล้นี้

และนี่คือบ้านของเรา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us