Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553
The Power of Synergy The Power PTTAR             
โดย สุภัทธา สุขชู
 

   
related stories

Manager 100 ปีที่ 11 เจาะลึกหุ้นพลังงาน
เล่าประวัติศาสตร์ตลาดทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ
ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางพลังงานในมือ “ปตท.”
ครึ่งศตวรรษไทยออยล์ จาก “เรือธง” โรงกลั่นไทย สู่ “Energy Converter” ระดับภูมิภาค
นักบุกเบิกแหล่งพลังงานระดับโลก “ก้าวต่อไป” ของ ปตท.สผ.
Regional Player เวทีใหม่ราชบุรีโฮลดิ้ง
ฟังผู้บริหารกลุ่มพลังงานพูดเรื่องนิวเคลียร์

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

Chemicals and Plastics
Oil and gas
ชายน้อย เผื่อนโกสุม
ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น, บมจ.




หากกำไรที่เพิ่มขึ้นกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท ของ “PTTAR” เป็นผลความสำเร็จจากนโยบายควบรวมกิจการเมื่อปี 2550 สิ่งที่น่าจับตาที่สุดสำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ คงหนีไม่พ้นบทสรุปการควบรวมระหว่างบริษัทในกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นของเครือ ปตท.ที่หลายคน โดยเฉพาะชายน้อย เผื่อนโกสุม เชื่อว่าจะเป็น “ดีลแห่งปี”

“บจม.ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) ก่อตั้งขึ้นโดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น บมจ.อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) (ATC) และ บมจ.โรงกลั่นน้ำมันระยอง (RRC) ที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 ให้ควบกิจการของทั้ง 2 บริษัทเข้าด้วยกัน เพื่อให้ PTTAR เป็นโรงกลั่นน้ำมันและผลิต สารอะโรเมติกส์ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของ ประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน...”

ข้อมูลการควบรวมกิจการระหว่าง ATC และ RRC ปรากฏบนเว็บไซต์ของ PTTAR ทั้งบนหน้าหลัก (home) และในข้อมูลองค์กรของบริษัท

เป้าหมายของการควบรวมครั้งนี้อยู่ ที่กำลังการกลั่นน้ำมันรวมที่ขึ้นไปถึง 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน และกำลังการผลิตสารอะโรเมติกส์ที่ 2.228 ล้านตันต่อปี ซึ่งทำให้ PTTAR กลายเป็นโรงกลั่นน้ำมันที่มีกำลังการกลั่นรวมมากที่สุดในประเทศไทย และ กลายเป็นบริษัทโรงกลั่นและอะโรเมติกส์ที่ครบวงจรอันดับต้นของเมืองไทย

อีกเป้าหมายสำคัญคือตัวเลขผลประกอบการที่ดูดีสมใจของผู้บริหารและนักลงทุน ...และแล้วก็สมหวัง เมื่อผลประกอบการปี 2552 เริ่มได้รับอานิสงส์จากการปรับโครงสร้างครั้งนี้เต็มที่ จนมีตัวเลขที่ดูดีเกินคาด

จากอันดับใน Manager 100 ซึ่งเรียงตามตัวเลขรายได้ของบริษัท แม้ในปี 2552 PTTAR มีผลการดำเนินงานอยู่ในอันดับที่ 4 เหมือนปีก่อน ด้วยรายได้กว่า 2.3 แสนล้านบาท แต่ผลกำไรในปีนี้สูงกว่า 9 พันล้านบาท ผิดกับปีก่อนที่ขาดทุนอยู่เกือบ 8.5 พันล้านบาท ...หมายความว่า ภายใน 1 ปี PTTAR มีกำไรเพิ่มขึ้นกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท

“ปีที่แล้ว Synergy Benefit ดีเกินคาด เราได้ประโยชน์จากตรงนี้ 161 ล้านเหรียญสหรัฐ ดีกว่าที่คาดว่าน่าจะทำได้ 54 ล้านเหรียญ ส่วนไตรมาส 1 ปีนี้ มูลค่า Synergy Benefit เกิดขึ้นแล้ว 46.2 ล้านเหรียญ คาดว่าทั้งปีนี้ก็น่าจะได้ 250 ล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป” ชายน้อย เผื่อนโกสุมประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ให้ข้อมูล

สำหรับไตรมาส 1 ปีนี้ PTTAR มีกำไรสุทธิราว 2.3 พันล้านบาท เพิ่มจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่กำไรราว 1.7 พันล้านบาท ...ชายน้อยเรียกช่วงเวลาขาขึ้นของ PTTAR เช่นนี้ว่า “ช่วงเก็บเกี่ยว”

ดูเหมือนว่ากระแสการควบรวมธุรกิจโรงกลั่นกับธุรกิจอะโรเมติกส์หรือปิโตรเคมีไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทย แต่จะเห็นได้ว่าโรงงานอะโรเมติกส์ทั่วโลกส่วนใหญ่ถูกรวม เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโรงกลั่น เนื่องจากน้ำมันและผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์มีกระบวนการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกัน

ทั้งน้ำมันและสินค้าอะโรเมติกส์ถือเป็นสินค้าพื้นฐาน (commodity product) ที่ราคาถูกกำหนดโดยตลาดโลก แต่มีปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เป็นตัวกำหนดต่างกัน

เทรนด์โลกที่เน้นการประหยัดพลังงานและใช้พลังงานทดแทน บวกกับวิกฤติซัพไพรม์ที่ส่งผลให้ความต้องการบริโภคน้ำมันของชาวอเมริกันลดลง เมื่อดีมานด์ลดลง ราคาขายน้ำมันก็ถูกกดให้ต่ำลงไปด้วย

ประกอบกับในปี 2552 กำลังการกลั่นของทั้งประเทศมีเกือบ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทว่า ความต้องการน้ำมันในประเทศมีเพียง 7.5 แสนบาร์เรล น้ำมันส่วนที่เหลือราว 20-25% ของการผลิตจึงต้องถูกส่งออก ซึ่งส่วนมากจะทำให้ได้มาร์จินต่ำกว่าขายในประเทศ เพราะซัปพลายทั่วโลกเพิ่มขึ้นเนื่องจากโรงกลั่นเกิดใหม่มาก โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง

การเป็นบริษัทลูกของ ปตท. มักทำให้หลายคนเข้าใจว่า สัญญาซื้อขายระยะยาวกับเครือ ปตท. จะทำให้ PTTAR หมดกังวลเรื่องราคา ทว่า ชายน้อยปฏิเสธชัดว่า PTTAR ไม่ได้ประโยชน์จากตรงนี้ เพราะเมื่อไรที่ราคาน้ำมันของ PTTAR สูงกว่าสิงคโปร์ ปตท. ก็สามารถนำเข้ามาแทนได้ทุกเมื่อ

แม้เศรษฐกิจซีกโลกตะวันตกจะซบเซา แต่อีกฝั่งหนึ่งของโลก เศรษฐกิจจีนและอินเดียกำลังเติบโต อุตสาหกรรมผลิตสินค้าจำเป็นอย่างเสื้อผ้า ขวดน้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ กำลังเติบโตอย่างมาก ทำให้ดีมานด์พลาสติกซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากสารอะโรเมติกส์เพิ่มขึ้นมากด้วย ส่งผลให้ราคาพุ่งสูงขึ้น

ทั้งนี้ การควบรวมโรงกลั่นและโรงอะโรเมติกส์นับเป็นกลยุทธ์กระจายความเสี่ยงและเพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อใดที่สินค้าหนึ่งราคาไม่ดี ก็สามารถสับรางการผลิตด้วยการส่งวัตถุดิบไปผลิตเป็นสินค้าอีกประเภทหนึ่งแทนได้

“เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ดีมานด์น้ำมันเบนซินทั่วโลกลดลงเนื่องจาก LPG และ NGV ถ้าเราผลิตและส่งออกเบนซินก็ต้องขาดทุน ผมเลยประกาศหยุดผลิตน้ำมันเบนซินแล้วเอาน้ำมันกึ่งสำเร็จรูปที่ผลิตต่อเป็นเบนซินได้ เอาไปเป็นวัตถุดิบให้โรงอะโรเมติกส์แทน มันก็ลดขาดทุนจากน้ำมันเบนซิน และยังได้มาร์จินสูงจากอะโรเมติกส์ที่มีราคาดี” ชายน้อยถือโอกาสอธิบายถึงที่มาของกำไรก้อนโตที่ได้มาในปีที่แล้ว

หลังการควบรวม ATC และ RRC กำลังกลั่นน้ำมันรวมของ PTTAR เพิ่มขึ้นไปถึง 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ PTTAR ขึ้นแท่นโรงกลั่นที่ใหญ่ที่สุดของไทยเบียดกับ “ไทยออยล์” ทว่า ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปที่ PTTAR ผลิตจริงมีเพียง 2.2 แสนบาร์เรล ส่วน ที่เหลือถูกใช้เป็นวัตถุดิบผลิตอะโรเมติกส์ โดย PTTAR มีกำลังการผลิตอะโรเมติกส์เพิ่มขึ้นเป็น 2.228 ล้านตันต่อปี หรือเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว

สัดส่วนรายได้ของ PTTAR ระหว่างธุรกิจโรงกลั่นและอะโรเมติกส์ ปีที่ผ่านมา 60% ของรายได้ทั้งหมดมาจากธุรกิจน้ำมัน ส่วนที่เหลืออยู่มาจากธุรกิจอะโรเมติกส์ แต่ในบางปีที่ราคาน้ำมันมีความผันผวนมาก สัดส่วนรายได้อาจพลิกกลับกันได้ โดยชายน้อยมองว่า 2-3 ปีนี้ ธุรกิจอะโรเมติกส์ค่อนข้างมีศักยภาพสูงเพราะปัจจัยต่างๆ ค่อนไปทางบวก

ในปีนี้ นโยบายหลักของ PTTAR เน้นที่การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ขณะที่โครงการขยายโรงกลั่นดูจะไม่อยู่ในแผนอันใกล้นี้ เนื่องจากความต้องการในประเทศไม่สูง และราคาน้ำมันก็ผันผวนเกินจะเสี่ยง ทว่า การลงทุนในผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ขั้นต้น ตัวอื่นเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วน่าจะเป็นไปได้มากกว่า โดย “ฟีนอล” ดูจะเป็นตัวที่มีโอกาส ที่สุด เนื่องจาก PTTAR ถือหุ้นใน “พีทีที ฟีนอล” อยู่แล้วถึง 30%

“การลงทุนอะไรที่เป็นธุรกิจต่อเนื่องและเชื่อมต่อกัน เราไม่คิดมากเลยเพราะพิสูจน์ แล้วว่ามี synergy benefit”

อย่างไรก็ดี ชายน้อยมองว่า ในช่วง 1-2 ปีนี้ น่าจะเป็นเวลากอบโกยจากสิ่งที่ได้ ลงทุนทำไว้เมื่อ 2-3 ปีก่อน ดังนั้น การลงทุนโครงการใหม่ๆ คงยังน้อย และอาจใช้งบลงทุนรวมไม่ถึงปีละ 100 ล้านเหรียญ สหรัฐ เพียงเพื่อรักษาการขยายตัวปีละ 5-10% เอาไว้

เนื่องจากราคาสินค้าพื้นฐานอย่างน้ำมันและผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ค่อนข้างอ่อนไหวต่อปัจจัยทางเศรษฐกิจ บวกกับประสบการณ์เลวร้ายจากราคาน้ำมันผันผวนอย่างหนักในปี 2551 ชายน้อยจึงแต่งตั้งทีมเศรษฐกิจขึ้นมาเพื่อติดตามความ เคลื่อนไหวของสินค้าพื้นฐานทุกตัวที่มีผลต่อราคาน้ำมันและอะโรเมติกส์ ทั้งน้ำมัน ทองคำ ค่าเงิน ฯลฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อป้อง กันความเสี่ยงด้วยการ hedging

ส่วนกลยุทธ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ ชายน้อยเลือกวิธีทำสัญญาซื้อขายระยาวกับลูกค้า โดยกำหนดปริมาณ การซื้อขาย แต่กำหนดราคาเป็นเดือนต่อเดือนด้วยเรต Agent Contact Price (ACP) วิธีนี้จะทำให้ PTTAR สามารถล็อกฟีดสต็อกเพื่อบริหารต้นทุนให้ได้มาร์จินระดับที่พอใจ ทั้งยังมีหลักประกันว่าบริษัทจะมียอดสั่งซื้อแม้ในยามสินค้าราคาแพง

สำหรับยุทธศาสตร์ในธุรกิจอะโรเมติกส์ ดูเหมือนแนวทางของ PTTAR จะไม่ต่างจากไทยออยล์นัก คือมุ่งสู่การผลิตในส่วนของ “ดาวน์สตรีม” มากขึ้น มีตลาด จีนเป็นตลาดส่งออกหลัก ขณะที่ธุรกิจ น้ำมันเน้นเพิ่มมูลค่าและเพิ่มคุณภาพให้กับ สินค้า โดยเฉพาะโครงการน้ำมันเพื่อสิ่งแวด ล้อมเช่นเดียวกับไทยออยล์

แม้น้ำมัน “Euro IV” ของ PTTAR ออกตัวช้ากว่าไทยออยล์ แต่วันนี้ชายน้อย กำลังเร่งศึกษา “Alternative Fuel” หรือน้ำมันโลว์คาร์บอนสำหรับเครื่องบิน ซึ่งเขา มองว่า โครงการนี้ไม่ใช่แค่ยุทธศาสตร์ของ PTTAR แต่ต้องผลักดันให้เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศในอนาคตอันใกล้

“เรากำลังดูว่า วันนี้ทั่วโลกห่วงใยสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โครงการน้ำมันเครื่องบินโลว์คาร์บอนที่เราสนใจทำ ไม่ใช่เพราะเราอยากขาย แต่ต่อไปยุโรปจะบังคับให้เครื่องบินที่จะบินไปน่านฟ้าบ้านเขาต้องใช้ น้ำมันประเภทนี้ ไม่งั้นก็ต้องจ่ายคาร์บอนเครดิต ตอนนี้สิงคโปร์ก็ลงทุนทำแล้ว ถ้าเราไม่ทำ ต่อไปก็จะไม่มีเครื่องบินมาเติมน้ำมันบ้านเรา ไปลงสิงคโปร์กันหมด ผมคุยกับกระทรวงพลังงานแล้วแต่ก็ยังติดเงื่อนไขหลายอย่าง แต่ถ้าทำได้โครงการนี้จะช่วยให้ได้น้ำมันเจ็ต และยังได้น้ำมันดีเซลที่สะอาดคุณภาพดีออกมาด้วย” ชายน้อยยอมรับว่าโครงการนี้ยังต้องศึกษาอีกไม่ต่ำกว่าครึ่งปี

แม้ PTTAR จะไม่มีโครงการใหญ่เป็น “story” ให้นักลงทุนได้ตื่นเต้น แต่ข่าวการ ควบรวมบริษัทในกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นของเครือ ปตท. ทั้ง 4 บริษัทก็ทำให้ PTTAR กลายเป็นหุ้นที่น่าจับตาขึ้นมาทันที

หลายคนมองว่าผู้ที่จะได้ “แรงบวก” จากโครงการนี้มากที่สุด น่าจะเป็น PTTAR และบริษัทแม่

โครงการนี้เริ่มขึ้นเมื่อปลายปี 2551 ในกลางปีนั้น ราคาน้ำมันขึ้นไปถึง 140 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แล้วดิ่งลงมาเหลือ 40 เหรียญ บวกกับวิกฤติซัพไพรม์ที่ทำให้เศรษฐกิจ ทรุดตัว ทำให้บริษัทโรงกลั่นขาดทุนกว่าหมื่นล้านบาท ขณะที่กลุ่มปิโตรเคมีและโรงกลั่นเครือ ปตท.ก็เจ็บตัวถ้วนหน้า จึงมีการ เปิดโต๊ะพูดคุยเพื่อป้องกันเหตุการณ์ซ้ำรอยในอนาคต

“เดิมทีก็คิดว่าจะมาแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างกันอะไรได้บ้าง แต่การ synergy ก็คือแลกกันไปมาโดยไม่ต้องสนใจราคา คือ 1+1 ต้องมากกว่า 2 โดยไม่สนใจว่าส่วนเพิ่มที่เกินจะไปตกอยู่กับใคร มันก็เป็นที่มาว่าทำไมต้องควบรวม จากนั้นก็เริ่มศึกษามาตลอด” ชายน้อยเล่าย้อนถึงที่มาของโครงการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของกลุ่มธุรกิจนี้

สำหรับความเป็นไปได้ระหว่าง 4 บริษัท นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า ไทยออยล์น่าจะยังไม่มีส่วนร่วมใน “ดีล” นี้ เนื่องจากไทยออยล์มีธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมีที่ใหญ่ และครบวงจรในตัว และมีโรงงานตั้งอยู่ศรีราชา ขณะที่บริษัทอื่นมีโรงงานอยู่ระยอง บวกเงื่อนไขว่าไทยออยล์จะต้องเป็นผู้นำหลังการควบรวม เพราะมี “ความเก่าและเก๋า” และมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง หลายคนจึงมองว่า ครั้งนี้น่าจะยังไม่มีชื่อไทยออยล์

ขณะที่อีก 3 บริษัท ได้แก่ ปตท.เคมิคัล (PTT Chem) บริษัทปิโตรเคมีที่เป็นแก๊สเบส IRPC บริษัทปิโตรเคมีสายโอเลฟินที่เป็นลิควิดเบส และ PTTAR ที่ดูว่าจะมีความเชื่อมโยงและลงตัวมากกว่าสำหรับการควบกันใน 3 บริษัทนี้

อย่างไรก็ดี นักลงทุนส่วนใหญ่เก็งว่า “ดีล” นี้น่าจะเกิดขึ้นระหว่าง PTTAR กับ IRPC เพราะง่ายและลงตัวที่สุด เนื่องจากจะเกิดประโยชน์จากการเชื่อมต่อกระบวนการผลิตในสินค้า 3 ตัวที่เกี่ยวเนื่องกัน ได้แก่ น้ำมัน สินค้าปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ และสายโอเลฟิน

ผู้จัดการ 360° ลองสมมุติว่า ถ้า PTTAR และ IRPC ควบรวมกันจริงๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นอย่างไร

ชายน้อยตอบว่า กำลังการผลิตรวมของ PTTAR จะเพิ่มขึ้นไปเกือบถึง 5 แสนบาร์เรลต่อวัน กลายเป็นเบอร์ 1 ของประเทศไทย และ PTTR จะไต่อันดับจากอันดับ 20 กว่า ขึ้นไปอยู่ที่อันดับ 6 หรือ 7 ของภูมิภาคเอเชียทันที

“ทั้ง 4 บริษัททำธุรกิจในลักษณะใกล้เคียงกัน ถ้าควบรวมกันก็จะเอื้อให้เกิดการลดต้นทุน ประหยัดทรัพยากร และความคล่องตัวในการหาวัตถุดิบร่วมกัน ซึ่งเป็นการสร้างรายได้เพิ่มในระยะยาว แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถพูดอะไรได้มาก คงต้องรอผลการศึกษาออกมาให้ชัดเจนก่อน” ผู้บริหาร PTTAR และไทยออยล์ พูดตรงกัน

จากที่ผลการศึกษาโครงการควบรวมนี้จะแล้วเสร็จและเปิดเผยได้ในเดือนพฤษภาคม แต่ ณ วันที่ 27 พ.ค. ทั้ง 4 บริษัทก็ยังปิดข่าวเงียบ และมีการเลื่อนแถลงข้อสรุปออกไปอย่างไม่มีกำหนด

ความล่าช้าส่วนหนึ่งมาจากการพิจารณาถึงผลประโยชน์เปรียบเทียบกับต้นทุน ที่ต้องใช้ความถี่ถ้วนและรอบคอบ บวกกับต้องพูดคุยกับผู้ถือหุ้นรายย่อยเพื่อสอบถามความ พึงพอใจ อีกส่วนสำคัญคือการสร้างความโปร่งใสให้กับ “ดีล” นี้ เพื่อไม่ให้สังคมมองว่าเป็นการผูกขาดทางการตลาดโดย ปตท. ซึ่งมักถูกวิพากษ์เรื่องผลประโยชน์ที่ขัดแย้งระหว่าง บทบาทรัฐวิสาหกิจและบริษัทมหาชนอยู่บ่อยครั้ง

ประกอบกับสถานการณ์การเมืองที่ผ่านมาทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไม่เอื้ออำนวย ก่อนหน้านี้ราคาหุ้นก็เริ่มกระเตื้องขึ้นบ้างแล้ว ชายน้อยจึงมองว่า การเอา “ของดี” เข้าตลาดหุ้นท่ามกลางเงื่อนไขการลงทุนเช่นนี้อาจทำให้ “เสียของ” เปล่าๆ

แม้ชายน้อยจะยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน แต่การที่เขาย้อนพูดถึงราคาหุ้น PTTAR ที่เคยสูงสุดกว่า 40 บาทต่อหุ้น ในวันแรกที่เปิดซื้อขายในตลาดหุ้นเมื่อต้นปี 2551 อย่างมีเลศนัย พร้อมน้ำเสียงแห่งความหวังที่จะไปให้ถึงจุดนั้นอีกสักครั้ง...อาจเป็นการส่งสัญญาณบางอย่างกลายๆ ก็เป็นได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us