การที่ใครสักคนจะสลัดสถานะความเป็นลูกจ้างทิ้งแล้วก้าวเข้าสู่เส้นทางของนักธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
โดยเฉพาะในสภาพการณ์ที่เต็มไปด้วยกลไกการแข่งขันอันซับซ้อนทั้งด้านทุนการบริหารและเทคโนโลยี
แต่ "ณพงษ์ สงวนนภาพร" เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ทำได้
ชื่อบริษัท ลานนา วู้ดเด้นโปรดักส์ จำกัด เป็นที่รู้จักดีใน อ.สันกำแพง
จ.เชียงใหม่ และแพร่กระจายไปสู่จังหวัดอื่นในภาคเหนือภายในช่วงปีเศษที่ผ่านมา
และคนที่เป็นเจ้าของกิจการที่นี่ก็คือ ณพงษ์นั่นเอง
ณพงษ์ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะกลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจส่งออกของเด็นเล่นที่ทำจากไม้และเป็นโครงการส่งออก
100 % เพราะเดิมก็เป็นแค่สถาปนิกทั่วไปตามวุฒิปริญญาด้านสถาบัตย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
งานของณพงษ์เกี่ยวข้องกับการออกแบบอยู่แล้ว แต่ที่ต่างไปจากสถาปนิกคนอื่นก็คือเขาสนใจการออกแบบของเล่นไม้
เริ่มจากซื้อให้ลูกเล่น ซึ่งณพงษ์บอกว่าดูแล้วก็เรียบง่ายเอามาก ๆ"
เห็นก็ชอบ เจอไปที่ไหนก็ดูเรื่อย และบังเอิญได้ไปเที่ยวงาน TOY FAIRS ที่เยอรมัน
ซึ่งเขาจัดต่อเนื่องมากว่า 40 ปี"
ตรงนี้เองที่ณพงษ์ประทับใจมาก เขาได้ไปเห็นพิพิธภัณฑ์ของเด็กเล่น อายุ
200-300 ปี เรียกว่าเป็นงานที่ใหญ่มาก "และของเล่นไม้ BASIC ที่สุด"
ซึ่งณพงษ์ก็เริ่มได้ความคิดว่าของเล่นไม้จะใช้แรงงานมากและคนไทยมีช่างฝีมืออยู่เยอะ
และออกแบบเก่ง ประกอบกับเขาชอบการออกแบบอยู่แล้ว ก็น่าที่จะทำขายได้บ้าง
หลังจากที่เก็บเกี่ยวข้อมูลและประสบการณ์ระยะหนึ่ง ณพงษ์ก็เริ่มต้นจากห้องแถวทำกัน
2 คนแล้วส่งตัวอย่างไปต่างประเทศ โดยใช้ชื่อว่า -QUALIY TOY- ปรากฏว่าได้รับความสนใจมาก
สอบถามราคาและกำลังผลิตต่าง ๆ เมื่อมีปฏิกิริยาสนองกลับจางผู้รับตัวอย่างสินค้าด้วยดี
เขาก็เดินหน้าทันที
ครั้นจะเริ่มนับหนึ่งลงทุนสร้างโรงงานใหม่ ณพงษ์เห็นว่าคงจะช้าไป เขาจึงซื้อโรงงานที่ทำอยู่แล้ว
"เพราะถ้าเริ่มจาศูนย์ ตอนนี้คงยังไม่ได้ทำอะไร" ณพงษ์จึงตั้งบริษัทนี้ขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม
2533 มีทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาท โดยทางบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้วิเคราะห์โครงการให้อย่างละเอียด
เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนยิ่งขึ้น
ของเด็กเล่นที่ผลิตจะมุ่งกลุ่มเด็กอายุไม่เกิน 6 ขวบ และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นพวก
WOODEN TOY GAME เป็นเกมฝึกสมองสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 ขวบขึ้นไป ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้บริษัทขยายตลาดได้กว้างขึ้น
ด้านรูปแบบจะได้จากต่างประเทศแล้วนำมาประยุกต์ ส่วนหนึ่งก็จะคิดค้นมากจากแผนกอาร์แอนด์ดี
และคุมคุณภาพด้วยระบบ Q.C.LINE ส่วนสีที่ใช้จะนำเข้าจากสหรัฐฯ ซองเป็นสีที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานแล้วว่าไม่มีพิษภัยต่อเด็ก
สำหรับเทคนิคการผลิตนั้น ณพงษ์บอกว่าทำได้เหมือนโรงงานใหญ่ แต่ปัจจัยสำคัญของการผลิตของเด็กเล่นไม้นั้น
จะใช้ฝีมือแรงงานไม่น้อยกว่า 30 % เพื่อให้ได้คุณภาพสินค้าที่ละเอียด ประณีต
เรียบร้อยตามแบบที่ต้องการได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะต่างไปจากที่หลายคนเข้าใจว่า
ถ้าใช้ไม้เป็นวัตถุดิบและจำมีปัญหา เนื่องเพราะระยะหลังจะมีมาตรการเกี่ยวกับการอนุรักษ์คุ้มครองป่ามากขึ้นเป็นลำดับ
ณพงษ์ยืนยันว่า เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาเลย ด้วยเหตุว่าไม้ที่ใช้เป็นวัตถุดิบคือ
ไม้ยางและไม้สน สัดส่วน 70-30 มิใช่การนำไม้จากป่าอนุรักษ์หรือเขตหวงห้าม..!
ไม้ยางนั้นเป็นไม้ที่ตลาดนิยมทำของเด็กเล่นอยู่แล้ว จากเดิมที่เคยใช้ทำฟืน
ทำเสาเข็ม ทำเฟอร์นิเจอร์ พอมาทำของเด็กเล่น จึงเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าไม้ยางในประเทศซึ่งนิยมปลูกเพื่อใช้สอยอยู่แล้ว
ส่วนไม้สนเป็นไม้ที่กรมป่าไม้ปลูกเพื่อรักษาพื้นที่ที่แห้งแล้ง เมื่อโตได้ระยะหนึ่ง
ก็ตัดทิ้ง เพื่อให้ต้นใหม่ขึ้นแทน ซึ่งณพงษ์เปิดเผยว่า บริษัทจะประมูลซื้อจากคนที่ได้สัมปทาน
โดยกำหนดปริมาณที่แน่นอนกันเป็นปี อย่างไรก็ตาม ไม้สนส่วนหนึ่งจะแบ่งไว้สำหรับชาวเชียงใหม่
ไว้ใช้สอยประโยชน์
สนที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสน 2 ใบ และสน 3 ใบ จาก อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ จากพื้นที่ป่าสนที่มีไม่น้อยกว่าแสนไร่รวมไปถึงจังหวัดเพชรบูรณ์และแพร่
การส่งออกของเด็กเล่นไม้พูดได้ว่าสอดคล้องกับค่านิยมและวัฒนธรรมการบริโภคที่ผู้ใหญ่ในต่างประเทศเลือกให้กับเด็ก
"ถ้าไม่ใช่ไม้พวกนี้ จะถูกแอนตี้" เพราะเขาถือว่าการให้เด็กได้เล่นของเล่นจากไม้
จะทำให้เด็กได้ใกล้ชิด ได้คลุกคลีและสัมผัสธรรมชาติ อันจะช่วยถ่ายเทความอ่อนโยนให้แก่เด็ก
"BACK TO THE NATURE" ณพงษ์เล่าว่านี่เป็นหลักการในการทำของเด็กเล่นจากพลาสติกหรือประเภทเครื่องยนต์กลไกหรือคอมพิวเตอร์เกม
ซึ่งจะเน้นฝึกเด็กคนละอย่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องของทักษะไหวพริบ
นอกจากนี้ต่างประเทศจะถือว่าของเด็กเล่นเป็น "สินค้าสันติภาพ"
เพราะเด็กนั้นไร้เดียงสา ไม่ว่าจะเป็นเสียงหัวเราะหรือเสียงสะอื้นไห้ของเด็กที่ไหนในโลก
จะเหมือนกันทั้งหมดแต่ก็ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร กลับจะเป็นตัวเชื่อมให้ผู้ใหญ่รู้สึกอ่อนโยนในจิตใจมากขึ้น
การทำของเด็กเล่นไม้จึงดูเหมือนว่า "มันง่ายแต่มันก็ยาก" ฟังแล้วก็ชวนสับสนเพราะของเด็กเล่นไม้
ดูอย่างนี้จะเห็นว่าเหมือนไม่มีอะไรซับซ้อนคงทำได้ง่าย ๆ แต่เขาเข้าจริง
กว่าจะเสร็จออกมาสักชิ้นณพงษ์บอกว่าต้องศึกษาให้เข้าใจถึงธรรมชาติของเด็กเล่นในแต่ละช่วงว่ามีการพัฒนา
ทางร่างกายและอารมณ์อย่างไร ของเล่นควรเป็นแบบใดจึงจะช่วยเสริมพัฒนาการของเด็ก
รูปทรงไม่กี่แบบที่เป็นรูปเหลี่ยม วงกลม วงรีที่ดูง่าย ๆ สำหรับผู้ใหญ่ซึ่งผ่านวัยเด็กมาแล้ว
ที่จริงเป็นบันไดการพัฒนาให้เด็กได้คุ้นเคยกับรูปทรง หรือแม้กระทั่งสี ต้องทำให้ดูเตะตาน่าสนใจเพื่อช่วยการเรียนรู้ของเด็ก
การทำอะไรให้ดูง่าย ๆ เรียบ ๆ ตามที่ณพงษ์บอกเล่าจึงเป็นเรื่องยาก..!
แต่แม้จะยาก ณพงษ์ก็ก้าวเข้าสู่ความสำเร็จมากขึ้นทุกขณะ การส่งออกของเด็กเล่นไม้ทั้งหมดนี้
จะมุ่งตลาดยุโรปเป็นหลักกว่า 70 % เช่น สวีเดน เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ที่เหลือเป็นตลาดแคนาดาและกลุ่มประเทศเอเซีย
เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง
เมื่อเปรียบเทียบตลาดแล้ว ยุโรปจะเน้นแฟชั่นและสเปกมากกว่าทางเอเซีย แต่ยกเว้นเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งต้องการคุณภาพสูงมาก
"เรียกว่าอันดับหนึ่งของโลก ตอนนี้เราส่งสินค้าให้เขา APPROVE แล้วหลายรอบเริ่มแรก
เขาจะให้ส่งประเภทสีพอใช้ได้ ก็ให้ทาเลกเกอร์แล้วเปลี่ยนส่วนประกอบบางอย่างพอโอเค
เขาก็จะให้ลงสี แล้วส่งไปทีละขั้นตอน โดยเขาจะมีตัวอย่างสินค้าให้เราเทียบ"
ณพงษ์เล่าถึงความพิถีพิถันกว่าใครของญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม ณพงษ์เชื่อว่าในปี 2535 จะส่งขายในตลาดญี่ปุ่นได้ และนั่นก็หมายถึงตลาดใหม่ที่แน่นอน
สินค้าราคาแพง เพราะสไตล์ญี่ปุ่นนั้นเมื่อ มั่นใจในคุณภาพของรายได้แล้ว ก็จะยืนหยัดเป็นลูกค้าไปนานแสนนาน
เมื่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ขนาดการผลิต 1.5 แสนชุดต่อปีก็ไม่พอ
ณพงษ์จึงเตรียมขยายกำลังผลิตเป็น 5-6 แสนชุดต่อปีก็ไม่พอ ณพงษ์จึงเตรียมขยายกำลังผลิตเป็น
5-6 แสนชุด เพื่อรองรับออร์เดอร์ใหญ่ที่มักจะมีเข้ามาเสมอๆ คงจะใช้เงินลงทุนอีกไม่น้อยกว่า
30 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ก็จะเปิดตลาดใหม่ในสหรัฐฯ โดยจะไปแสดงสินค้าในนิวยอร์ก ดาลัส
และแคลิฟอร์เนีย
ความภูมิใจและฝันที่เป็นจริงของณพงษ์ในวันนี้เป็นเพราะแรงหนุนส่งจากบรรษัท
ถ้าไม่มีบรรษัท ณพงษ์คงยังเป็นสถาปนิกรับจ้างเหมือนเดิม
โดยเฉพาะโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคหรือ RIDP (REGIONAL INDUSTRIAL
DEVELOPMENT PROJECT) ที่ตั้งขึ้นตามความร่วมมือของบรรษัทกับซีด้าของแคนาดาซึ่งจะร่วมกันพัฒนาธุรกิจในท้องถิ่นที่มีศักยภาพและขาดแคลนทุน
ทั้งนี้ RIDP จะมีตัวแทนอยู่ที่บรรษัท สำนักงานภาคเหนือตอนบนคือที่ลำปาง
เพื่อมุ่งส่งเสริมการลงทุนในภาคเหนือและจะเน้นรายใหม่ ทั้งด้านวิเคราะห์โครงการ
การปล่อยกู้การร่วมทุนตามความจำเป็น เมื่อเริ่มดำเนินการก็ยังให้คำปรึกษาแนะนำทั้งเชิงการบริหาร
การตลาด การเงิน บัญชี และเทคนิค อีกทั้งมุ่งช่วยผู้ประกอบการสตรีและทุกโครงการต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
สำหรับลานนา วู้ดเด้นฯ RIDP เข้าร่วมทุนประมาณ 25 % ของทุนจดทะเบียน และกำหนดขายหุ้นคืนเมื่อบริษัทมีกำไรดี
ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวคิด 13.55 %
ปีเศษกับการทำธุรกิจของเด็กเล่นไม้ ณพงษ์ดูจะภูมิใจและมีความสุขมากที่ได้สร้างฝันให้เป็นจริง
และได้ของแถมที่มีโอกาสไปอยู่ในทำเลอากาศดีอย่างสันกำแพง ไม่ต้องทุกข์ทนกับมลพิษในกรุงเทพฯ
อันเป็นบ้านเกิดของตน
โครงการนี้จึงสุขสดชื่นกันทั้งคนกู้และคนให้กู้…!