Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553
ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางพลังงานในมือ “ปตท.”             
โดย สุภัทธา สุขชู
 

   
related stories

Manager 100 ปีที่ 11 เจาะลึกหุ้นพลังงาน
เล่าประวัติศาสตร์ตลาดทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ
ครึ่งศตวรรษไทยออยล์ จาก “เรือธง” โรงกลั่นไทย สู่ “Energy Converter” ระดับภูมิภาค
The Power of Synergy The Power PTTAR
นักบุกเบิกแหล่งพลังงานระดับโลก “ก้าวต่อไป” ของ ปตท.สผ.
Regional Player เวทีใหม่ราชบุรีโฮลดิ้ง
ฟังผู้บริหารกลุ่มพลังงานพูดเรื่องนิวเคลียร์

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
Oil and gas




เป็นเวลาหลายปีที่ บมจ.ปตท. (PTT) ติดอันดับ 1 ในบรรดา 100 บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ทำรายได้มาก ที่สุด (อันดับ Manager 100) ไม่ว่าจะมองในแง่รายได้ กำไร หรือมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด

สำหรับปี 2552 “ปตท.” มีรายได้กว่า 1.6 ล้านล้านบาท กำไรเกือบ 6 หมื่นล้านบาท ขณะที่ Market Cap. มีขนาดใหญ่เกือบ 7 แสนล้านบาท ถือเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็น 11.87% ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามราคาตลาด

หากรวมบริษัทในกลุ่ม ปตท.ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วจะมีมูลค่ากว่า 1.5 ล้านล้านบาท เป็นร้อยละ 26.74 หรือกว่า 1 ใน 4 ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามราคาตลาด

หลังจากปรากฏตัวย่อ “PTT” บนกระดานหุ้นครั้งแรกในปี 2544 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็เริ่มดูคึกคักมากเป็นพิเศษนับแต่นั้น กระทั่งมีการแยกหมวดพลังงานและสาธารณูปโภคออกมาจากหมวดเหมืองแร่

ผลการดำเนินงานของ บมจ.ปตท. และบริษัทในเครือทั้ง 6 แห่งที่ลิสต์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉพาะกำไร ถือเป็นตัวกระตุ้นความน่าสนใจของหุ้น PTT ได้ดี โดยไตรมาส 1 ปี 2553 ปตท.มีกำไรสุทธิจำนวน 23,021 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปีที่แล้ว จำนวน 15,572 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 209%

แม้ ปตท.จะถือเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ภายหลังแปรรูปเป็นบริษัทมหาชน กำไรสูงสุดก็กลายเป็นเป้าหมายหนึ่งที่ใช้วัดมาตรฐานความเป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศของ ปตท. และบริษัทในเครือที่เข้าตลาดฯ

ขณะเดียวกันคาดการณ์ราคาน้ำมัน ที่นักวิเคราะห์มองว่า ราคาพลังงานจะเดินหน้าแพงขึ้นเรื่อยๆ จนอาจไม่มีวันเห็นน้ำมันดิบในราคาที่ต่ำกว่าบาร์เรลละ 70 ดอลลาร์ (โดยเฉลี่ย) รวมถึงคาดการณ์ราคา และความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีของโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ก็ถือเป็นข่าวดีที่ช่วยกระตุ้นความน่าซื้อให้กับ PTT

อีกทั้งข่าวความเคลื่อนไหวที่เป็นก้าวสำคัญในอนาคตของเครือ ปตท. โดยเฉพาะข่าวการควบรวมกิจการบริษัทลูกในกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ซึ่งน่าจะประกาศได้ราวเดือนมิถุนายน และข่าวการอนุมัติแผนกู้เงินร่วม 8 หมื่นล้านบาท ภายในช่วง 5 ปีและข่าวแผนการลงทุน 5 ปี (2553-2557) ที่มีวงเงินรวมกว่า 2.4 แสนล้านบาท น่าจะสร้างความเย้ายวนให้หุ้น PTT ได้เป็นอย่างดี

ด้วยขนาดของกลุ่มและเม็ดเงินลงทุนก้อนโตของเครือ ปตท. ตลาดหุ้นไทยจึงมักมีสีสันทุกครั้งที่มีการขยับจนถึงกับมีวลีเด็ดในตลาดหุ้นไทยที่ว่า “ปตท.ขยับ เศรษฐกิจเขยิบ”

ย้อนกลับไปปี 2521 “การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย” หรือ “ปตท.” ก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขสถานการณ์และลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนพลังงานในช่วงวิกฤติน้ำมันโลก ครั้งที่ 2 ให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ ตลอดจนเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับบริษัทน้ำมันต่างชาติในเวลานั้น

ในฐานะบริษัทพลังงานแห่งชาติบนปณิธานในการเป็นพลังงานที่ยั่งยืน สมกับสโลแกน “ปตท. พลังไทย เพื่อไทย” โดยมีพันธกิจหลักต่อประเทศ ในการสร้างความมั่นคง ด้านพลังงานในระยะยาว ด้วยการจัดหาปริมาณพลังงานที่เพียงพอ มีคุณภาพได้มาตรฐาน และราคาเป็นธรรม

ยิ่งมีวิกฤติราคาน้ำมันที่ทำให้เชื้อเพลิงมีราคาสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อปี 2551 ทำให้ ประเทศนำเข้าน้ำมันต้องตระหนักถึงความผันผวนของราคาพลังงานที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน

ประเทศไทยพึ่งพาพลังงานนำเข้าร่วม 90% ของความต้องการใช้พลังงานทั้งประเทศ ขณะที่มีการคาดการณ์ว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย อาจเหลือไม่ถึง 30 ปี ขณะที่ปริมาณน้ำมันของโลกอาจมีให้ใช้ได้อีกเพียง 40 ปี ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลืออีกแค่ 70 ปี และปริมาณถ่านหินทั่วโลกอาจเหลือให้ใช้ราว 100 ปี

กิจการทางยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศอย่าง ปตท. จึงเป็นเสมือนแขนขาของรัฐบาลในการจัดหาพลังงานทั้งในประเทศและต่างประเทศในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน ได้ระดับหนึ่ง เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงต่อการเติบโตของประเทศ

ขณะที่การสรรหาและพัฒนาพลังงานทดแทนขึ้นมาใช้ นอกจากจะเป็นยุทธศาสตร์ในการลดการพึ่งพาพลังงานนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นอีกมาตรการในการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ แนวทางนี้ยังถือเป็นความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน อันเป็นพันธกิจหนึ่งของ ปตท.

ในฐานะบริษัทมหาชน ปตท.ยังต้องมีพันธกิจต่อผู้ถือหุ้น ในการสร้างกำไรเพื่อให้ผลตอบแทนที่ดีและให้มีการเจริญเติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ปตท.ถือเป็นองค์กรทางธุรกิจที่จำต้องมีภารกิจในการพัฒนาตัวเองให้สามารถแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติอื่นๆ ได้ทั้งในเวทีประเทศไทยและสังเวียนโลก โดยวิสัยทัศน์ของ ปตท. คือการเป็นบริษัทพลังงานข้ามชาติชั้นนำ ที่มีเกณฑ์ในการวัดความสำเร็จ ด้วยการก้าวขึ้นสู่อันดับ TOP 100 ของนิตยสารฟอร์จูน จากปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 118 บวกกับ เป้าหมายที่ไกลกว่านั้นคือ การก้าวเข้าไประดมทุนระดับนานาชาติในตลาดดาวโจนส์

นั่นหมายถึงว่า ปตท.และบริษัทในเครือต้องดำเนินการในหลายด้าน แต่ด้วยลักษณะของ ปตท.ที่ถูกออกแบบมาให้เป็นองค์กรพลังงานแห่งชาติ ความคล่องตัวและความเป็นมืออาชีพในการดำเนินธุรกิจของบริษัทลูกจึงมีความจำเป็น โดยที่บริษัทแม่เป็นผู้ควบคุมเฉพาะเป้าหมายและนโยบายสำคัญ เพื่อลดความเสียเปรียบทางการแข่งขันบนเวทีโลก

บนเส้นทางที่ดูเหมือนผลประโยชน์ขัดแย้งกัน ปตท.และบริษัทในเครือ ย่อมต้องมีหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างความมั่นคงทางพลังงานของชาติกับความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทลูกของ ปตท.ทั้ง 6 แห่ง ต่างก็มีอิสระในการบริหารธุรกิจเพื่อประโยชน์สูงสุดของตัวเอง ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่เชื่อมโยงประโยชน์ระหว่างกัน เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของบริษัทแม่ และแต่ละแห่งต่างก็มีมูลค่าหลักทรัพย์ทางการตลาดขนาดใหญ่

ดังนั้น ทิศทางทางธุรกิจและก้าวย่างสำคัญของบริษัทเหล่านี้จึงน่าสนใจและมีความสำคัญทั้งทางเศรษฐศาสตร์และต่อยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศ ไม่แพ้บริษัทแม่เช่นกัน ดังจะเห็นและพิสูจน์ได้จากทั้ง 3 บริษัทที่ผู้จัดการ 360° หยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่าง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us