Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553
ก้าวให้พ้นศตวรรษที่ 20 ด้วยนโยบายการทูตแบบใต้ดิน             
โดย ชาคริต เทียบเธียรรัตน์
 


   
search resources

Political and Government




เมื่อยี่สิบปีก่อนในปี 1990 เมื่อกำแพงเบอร์ลินถูกทุบและเยอรมนีตะวันออกและตะวันตกรวมกันเป็นสหพันธรัฐเยอรมนี ชาวโลกต่างแสดงความดีใจต่อการสิ้นสุดของสงครามเย็น แต่สิ่งสำคัญที่หลายคนลืมคิดคือลักษณะของโลกหลังสงครามที่ควรจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่สุดในโลกของนักการเมือง และนักการทูตคือเราจะทราบกันว่า ศัตรูของศัตรูคือมิตร แต่หลายๆ คนกลับลืมคิดไปว่าแล้วหลังสงครามล่ะ อะไรที่จะทำให้มิตรเหล่านั้นยังคงอยู่กับเรา ในทางกลับกันศัตรูในวันนี้อาจจะเป็นมิตรในวันหน้าก็ได้

ผมยกตัวอย่างง่ายๆ ว่าในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริการบกับญี่ปุ่นอย่างหนักที่สุดถึงขนาดทิ้งปรมาณูไปสองลูก เยอรมนีย่ำยีฝรั่งเศส ก่อนที่จะโดนอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และโซเวียต รุมจนกลายเป็นสองเยอรมัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือโลก หลังสงครามนั้นมิตรแท้ของฝรั่งเศสกลับเป็นเยอรมนี ในขณะที่รัฐบาลปารีสกับลอนดอน ยังคงระหองระแหงกันเป็นสิบปี ส่วนอเมริกากับโซเวียตกลับกลาย เป็นศัตรูกันจนก่อสงครามเย็น ขณะที่อเมริกามีญี่ปุ่น กับเยอรมนีเป็นเพื่อนสนิท แต่มนุษย์อย่างเราๆ กลับ มีความทรงจำที่สั้นและชอบมองว่าการสิ้นสุดสงคราม ถือเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง

มีบางคนเคยให้คำนิยามว่าการหาคู่ชีวิตสักคน ก็เหมือนการทำสงคราม การแต่งงานคือการสิ้นสุดสงคราม ผมมองว่าตรงนี้จริงแต่ผู้พูดอาจจะลืมนึกไปสักนิดว่าชีวิตหลังแต่งงานนั้นคือสงครามที่แท้จริง เพราะคู่สมรสต้องเปลี่ยนแปลงตนเองทั้งหมด เช่นเดียวกับในโลกของการเมือง การสิ้นสุดสงครามเย็น ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของโลกอย่าง มหาศาล ในศตวรรษที่ 20 การเมืองการทูตนั้นเดินควบคู่กับการทหาร เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในยุคนั้นคือ ความมั่นคง ลัทธิชาตินิยมถูกปลูกฝังกันอย่างรุนแรง ในประเทศต่างๆ หลายประเทศ อาชีพ เครื่องแบบ ยศ ต่างเป็นเครื่องบ่งบอกวัฒนธรรม ในสังคมนั้นๆ การใช้สื่อหลักในการนำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างกระแสรัฐนิยม สถาบันนิยม ลัทธินิยม ศาสนานิยม เชื้อชาติ นิยม มีให้เห็นมากทั้งในอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ และประเทศต่างๆ ในโลก รวมทั้งประเทศไทย

ดังนั้น ลักษณะการทูตในยุคที่ผ่านมาจะยึด ถือแนวคิดแบบสัจนิยม (Realism) หมายถึงการใช้อำนาจในการเจรจาต่อรอง การข่มขู่ประเทศที่เจรจา ด้วยอย่างที่ฝรั่งเรียกกันว่า Negative Sanction ซึ่งจะเน้นแต่ประเทศของตนเอง ถ้าต้องให้อะไรใครก็จะให้แบบเสียไม่ได้ เพราะทรัพยากรใดที่ประเทศ นั้นๆ มีต้องเอามาสนองผลประโยชน์ของประเทศตนเองก่อนผู้อื่น ถ้าจะช่วยใครมากๆ ต้องช่วยพันธมิตรของตนเองเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อกำแพง เบอร์ลินถูกพังลง หลังจากประเทศโลกเสรีดีใจกันอยู่ได้ไม่นาน พวกเขากลับพบปัญหาว่าโลกที่พวกเขา รู้จักนั้นได้หายไปพร้อมกับศัตรูทางการเมืองของเขา

หลังจากสงครามเย็นแล้ว ความมั่นคงและการทหารต่างโดนลดความสำคัญลง เพราะโลกไม่ต้องการที่จะนึกถึงมันอีก ผมจำได้ว่าภาพยนตร์เรื่อง ชาลีวิลสันวอร์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการที่อเมริกาช่วยกบฏในอัฟกานิสถานรบชนะโซเวียต แต่เมื่อสงคราม จบแล้วแม้พระเอกของเรื่องจะขอเงินเพียงเล็กน้อยเพื่อฟื้นฟูแต่ก็ไม่มีคนสนใจ เพราะวีรบุรุษมีประโยชน์เฉพาะเวลาประเทศวิกฤติเท่านั้น เช่นคำพูดของจอมพลแมค อาเธอร์ ซึ่งกล่าวสุนทรพจน์ตอนที่โดนประธานาธิบดีไก่อ่อนอย่าง แฮรี่ ทรูแมน ปลดว่า “Old soldiers never die; they just fade away. And like the old soldier of that ballad, I now close my military career and just fade away, an old soldier who tried to do his duty as God gave him the light to see that duty”

คำพูดของแมคอาเธอร์นั้นมีสองนัย ที่สามารถสื่อได้ สิ่งแรกคือการเป็นทหารอาชีพที่ต้องเคารพกฎกติกาทางการเมืองเมื่อโดนปลดก็ต้องวางมือและหายไปจากสังคม สองคือการที่วีรบุรุษอย่างแมคอาเธอร์ยังโดนเขี่ยได้เมื่อสงครามสงบดั่งคำโบราณของจีนที่ว่าเสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล

โลกหลังสงครามเย็น มหาอำนาจต่างหลงทางใน ทศวรรษ 90 โดยเริ่มจากแนวคิด Collective Security ซึ่งมองหาเหยื่อไปรุมถล่ม มีประเทศอิรักสมัยประธานา ธิบดีซัดดัม เป็นประเทศที่ยังไม่สามารถปรับตัวกับโลกยุคใหม่ได้ แต่เมื่ออิรักเป็นเหยื่อแล้วก็ไม่มีประเทศไหนที่จะกล้าก่อสงครามในระดับนั้นอีก โลกจึงปรับมาเน้นด้านสิทธิมนุษยชนและการอนุรักษ์ธรรมชาติ ในตอนปลายศตวรรษที่ 20 ก่อนที่ตอนต้นศตวรรษที่ 21 เมื่อเครื่องบินพุ่งเข้าชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ที่มหานครนิวยอร์ก การเมืองของโลกได้ถูกแยกเป็นสองขั้ว แต่ ไม่ใช่แบบที่อดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประกาศว่าพันธมิตรของอเมริกา กับโจรก่อการร้าย และไม่ได้เป็นไปตามวิจารณ์ของศาสตราจารย์แซมูเอล ฮันติงตัน ใน Clash of Civilization อันโด่งดัง แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลกการเมืองแตกเป็นสองฝ่ายคือพวกนิยมแนวคิดทางสัจนิยม คือทั้งรัฐบาลของจอร์จ บุช และพันธมิตรอย่างโทนี่ แบลร์ และจอห์น โฮเวิร์ด กับผู้นิยมแนวคิดเสรีนิยมซึ่งมอง ว่าการที่โลกจะสงบสุขได้ต้องทำการร่วมมือกันในการ สร้างโลกแบบโลกาภิวัตน์ โดยเริ่มจากการเกาะกลุ่ม การค้าหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น สหภาพยุโรป รวมถึงความพยายามของอาเซียน ในช่วงหลังสงครามเย็น ซึ่งในวงการทูตเรียกได้ว่าเป็นการทูตแขนงใหม่

การทูตแบบอนุรักษนิยมที่ดำเนินกันมาตั้งแต่ สมัยสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Westphalia) ซึ่ง กำหนดให้การทูตดำเนินนโยบายแบบรัฐต่อรัฐ ซึ่ง เป็นสิ่งที่นักการทูตปฏิบัติมากว่า 300 ปี ดังนั้น ในทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ทำให้นักการทูตกลับตัวกันไม่ทัน ในทางกลับกัน นักรัฐศาสตร์แขนง ใหม่ต่างนำแนวคิดเชิงบูรณาการมาประยุกต์ให้เข้า กับการเมืองในโลกหลังสงครามเย็น การเกิดของ องค์กรอิสระแบบ NGOs ทั้งอิสระจริงและมีรัฐเข้าสอดแทรกต่างผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดนเปลี่ยนแปลงจากการเจรจาบนโต๊ะที่ประชาชนตาดำๆ ไม่มีส่วนรู้เห็นมาเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารบนไซเบอร์ที่ใครๆ ก็สามารถที่จะรับรู้ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในศตวรรษ ที่ 21 ได้เปลี่ยนจากรัฐต่อรัฐมาสู่องค์กรอิสระกับประชาชน และกระจายไปที่ประชาชนต่อประชาชน การก่อกำเนิดของสหภาพยุโรปรวมทั้งนโยบายสำคัญ นั้นเกิดมาจากการทำประชาพิจารณ์ซึ่งประชาชนทั่วทวีปยุโรปตะวันตกต่างมีส่วนร่วม มีการรณรงค์หาเสียง นำเสนอข้อมูลไปสู่ระดับรากหญ้าซึ่งส่งผลให้เกิดการเมืองแบบใหม่ที่ส่งเสริมต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ การดำเนินนโยบายในโลกยุคไร้พรมแดน ทำให้นักการเมือง นักการทหาร และนักการทูตรุ่นลายครามต่างลดความสำคัญลง

จุดนี้เองที่ทำให้เกิดหัวใจของการทูตแนวใหม่ซึ่งนักการทูตอนุรักษนิยมเรียกนักการทูตแบบนี้ว่า การทูตแบบกองโจร (Guerrilla Diplomacy) เพราะเป็นแนวคิด ที่นักการทูตหรือประชาชนที่สามารถถ่ายทอดความรู้แก่ประชาชนนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ให้กับสังคมในเชิงความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยร่วมกับสื่อมวลชนเพื่อทำให้ เกิดกระแสต่างๆ ในโลก ศาสตราจารย์ดาริว โคปแลนด์ แห่งมหาวิทยาลัยโทรอนโตในแคนาดา ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญการทูตใต้ดินได้นำเสนอแนวคิดดังกล่าว โดยเขามองว่าการทูตนั้นไม่ต้องทำกันบนโต๊ะเพียงอย่าง เดียวและชาติขนาดเล็กสามารถเข้ามามีบทบาทในการเมืองโลกได้ก็ต้องมาจากการดำเนินนโยบายการทูตแบบใต้ดิน

ผมมีโอกาสสนทนากับโคปแลนด์และเขาได้เล่าประสบการณ์ในการทูตของเขา รวมทั้งการที่เขาเคยมาประจำที่สถานทูตแคนาดาประจำประเทศไทย เขาได้กล่าวว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่าประเทศขนาดเล็กส่วนมาก ในโลกมักจะชอบดำเนินนโยบายการทูตแบบอนุรักษนิยม สนใจแต่ปัญหาที่มหาอำนาจหยิบยกขึ้นมาเล่น และเป็น เพียงเบี้ยทางการเมืองของมหาอำนาจ นักการทูตในประเทศขนาดเล็กโดยมากมักที่จะอ้างว่าจบจากสถาบันชั้นนำในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือฝรั่งเศส จากนั้นได้ดำเนินนโยบายตามที่ตนเองโดนครอบในสมัยที่เป็นนักศึกษาโดยขาดการประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์ในประเทศของตน และลืมคิดถึงหลักการง่ายๆ ว่าการที่ไปศึกษาในอังกฤษ หรืออเมริกานั้น การสอนในระดับบนต่างมีจุดมุ่งหมายในการสร้างบุคลากรให้กับประเทศ ของพวกเขา ถ้าถือหลักสัจนิยมที่ว่าด้วยอำนาจ นักการ ทูตที่ขาดจินตนาการและการประยุกต์จะงมงายกับหลักความมั่นคงและการวัดค่าของอำนาจ จนลืมไปว่าการทูตสามารถกระทำได้ในแนวคิดแบบเสรีนิยม

ตัวอย่างการทูตใต้ดินนั้นจะเห็นได้จากนิวซีแลนด์ และแคนาดา ซึ่งต่างเป็นประเทศขนาดเล็กในการเมืองโลกแต่กลับมีบทบาทอย่างเห็นได้ชัด ผมได้เขียนเกี่ยวกับบทบาทของนิวซีแลนด์ในลีกของมหาอำนาจไว้เมื่อหลายฉบับก่อนหน้านี้ จึงขอเล่าเกี่ยวกับแคนาดาบ้าง โคปแลนด์เล่าให้ฟังว่าเมื่อตอน ที่รัฐบาลสเปนมีความขัดแย้งกับแคนาดาในเรื่องการประมง เนื่องมาจากเรือประมงของสเปน นอกจากจะรุกล้ำน่านน้ำแล้ว ยังใช้ตาข่ายที่ไม่ได้มาตรฐานสากลเพราะเป็นตาข่าย ตาถี่จนเกินไป ในเวลานั้นรัฐบาลแคนาดาพยายามขับไล่ด้วยเรือพาณิชย์หรือเรือตรวจชายฝั่ง รวมทั้งเครื่องบินลาดตระเวน แต่เรือหาปลาสเปนไหวทันและ ทำลายหลักฐานได้ทุกครั้ง ในที่สุดรัฐบาลแคนาดา ตัดสินใจนำเรือดำน้ำมาตรวจก่อนเข้าจับกุมเรือประมง สเปน ซึ่งรัฐบาลสเปนทำการประท้วงสหประชาชาติ เนื่องจากมองว่าทางการแคนาดาทำเกินกว่าเหตุ

อย่างไรก็ตาม โคปแลนด์เล่าให้ฟังว่าแคนาดา ดำเนินนโยบายการทูตใต้ดิน โดยการให้ข้าราชการแคนาดาทำการแจกเอกสารแก่ NGOs และประชาชน ในนิวยอร์ก รวมทั้งแจกธงแคนาดาแก่คนที่ต่อต้านการใช้ตาข่ายตาถี่ในการจับปลา ซึ่งส่งผลให้นักการเมือง และนักการทูตสเปนในขณะนั้นต้องเปลี่ยนเป็นการขอให้ชี้แจงเพราะไม่สามารถทนแรงกดดันจากมหาชนได้ ต่อมาเมื่อมีการประชุมที่อังกฤษ แคนาดาได้กดดันสเปนโดยการแจกธงแคนาดาให้กับชาวประมงอังกฤษที่ไม่เห็นด้วยกับการที่สเปนใช้ตาข่ายแบบถี่ ทำให้ชาวประมงอังกฤษปักธงแคนาดา เพื่อกดดันรัฐบาลสเปนทำให้การประชุมผ่านไปได้ด้วยดี

ในนิวซีแลนด์ การทูตแขนงใหม่ก็เป็นที่ใช้อย่างแพร่หลาย ถึงระดับที่ประชาชนและ NGOs สามารถที่จะยื่นเสนอให้รัฐสภาพิจารณาในการออกกฎหมายได้เองโดยการทำหนังสือ เรียกว่า Local Bill หรือ Member Bill แล้วแต่ว่าจะผ่าน ส.ส. หรือ อบต. ในขณะที่กรรมาธิการประชุมกันอยู่ ประชาชนสามารถ เข้าไปมีส่วนร่วมในการประชุมได้ สามารถยื่นข้อเสนอ หรือโต้แย้ง proposal ของรัฐบาลและฝ่ายค้านได้ นอกจากนี้การประท้วงของ NGOs ยังทำให้รัฐบาลนิวซีแลนด์นำเอาไปพัฒนาได้ เช่น การประท้วงเรือประมงญี่ปุ่นเกี่ยวกับการวางดริฟท์เนทยาวในทะเล หรือล่าสุดที่เกี่ยวกับเรือล่าปลาวาฬ ซึ่งองค์กรอิสระเป็นคนนำเสนอไอเดียดังกล่าว

เมื่อหันกลับมามองประเทศไทย ผมเห็นด้วยกับโคปแลนด์ที่ชี้ว่าประเทศในเอเชียส่วนมากดำเนินนโยบายการทูตที่อนุรักษนิยมมากๆ โดยเฉพาะประเทศ ไทยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งดำเนินนโยบายการทูตเชิงสัจนิยม ซึ่งไม่เหมาะสมกับยุคสมัยและการเน้นความมั่นคงกับการอิงกระแสของมหาอำนาจซึ่งไม่ได้สร้างความหลากหลายในศักยภาพของประเทศไทยในระดับสากลอย่างเต็มที่ นอกจากนี้กลับทำให้เราเป็นเหมือนกับเบี้ย เมื่อการต่างประเทศของมหาอำนาจยึดหลักสัจนิยมและอำนาจเป็นที่ตั้ง ประเทศเล็กต่างต้องเป็นเพียงแค่เบี้ยและเราไปไล่กดประเทศที่เล็กกว่าเราทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่มีปัญหากับเพื่อนบ้านโดยไม่จำเป็น ทำให้เกิดวงจรปลาใหญ่กินปลาเล็ก และสร้างความร้าวฉานให้กับประเทศที่โดนเรากดขี่ และเมื่อเขามีอำนาจมากกว่าเรา เขาก็จะกลับมารังแกเราเป็นการแก้แค้นที่ไม่จบสิ้น

ผมไม่ได้บอกว่าแนวคิดสัจนิยมเป็นเรื่องที่ผิด แต่ผมเชื่อว่าหากเรานำประเทศไทยออกจากวงจรดังกล่าวอย่างที่นิวซีแลนด์ และแคนาดาได้กระทำ โดยอาศัยการทูตเชิงเสรีนิยม เราจะสามารถเปิดมิติใหม่ๆ ทางการเมืองและเป็นผู้นำของโลกได้อย่างที่แคนาดาเป็นผู้นำการทูตของโลกด้านการประมง ขณะที่นิวซีแลนด์เป็นผู้นำด้านการต่อต้านนิวเคลียร์ และการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ประเทศไทย แม้เราจะยอมรับว่าเราเป็นชาติขนาดกลางบนโลก แต่เรามักจะโดนครอบโดยแนวคิดรัฐนิยมที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้เรามีความนิยมในด้านการใช้อำนาจในการตัดสินใจ เช่น คำพูดในสมัยนั้นที่บอกว่า พูดดีๆ ไม่ชอบต้องปลอบด้วยปืน เป็นสิ่งที่รัฐทำการปลูกฝังมาจนเราลืมสิ่งสำคัญของการดำเนินชีวิตที่ขงจื๊อสอนว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครา ตรงนี้นักสัจนิยม ชอบไปแปลว่า เรารู้ว่าเรามีอำนาจเท่าไรแล้วไปกดขี่คนที่เล็กกว่าเรา อันนี้ผมว่าเป็นการตีความหมาย อย่างตื้นๆ ผมเชื่อลึกๆ ว่า คำว่า รบ ไม่ใช่ความต้องการที่ขงจื๊อจะสื่อ แต่คำว่า รู้ ต่างหากคือสิ่งสำคัญ รู้เรา คือสิ่งสำคัญ รู้ศักยภาพของเราเอง และรู้ศักยภาพของเขา ตรงนี้ไม่ได้แปลว่าชาติใหญ่ๆ อย่างอเมริกา หรือจีน จะได้เปรียบทุกชาติในทุกเรื่อง อเมริกายอมแพ้นิวซีแลนด์เรื่องอนุรักษ์ธรรมชาติ สิทธิสตรี นโยบายต่อต้านนิวเคลียร์ มาแล้วเพราะว่า นิวซีแลนด์รู้เขา รู้ว่าอเมริกาไม่สามารถขยับได้ในบาง นโยบายและเมื่อเห็นช่องเล็กๆ แล้วก็เข้าไปแทรกตรงนั้นทำให้กลายเป็นผู้นำทางแนวคิดที่ทั่วโลกไม่อาจที่จะปฏิเสธได้

ผมเชื่อว่าการเมืองระหว่างประเทศก็เหมือนกับฟุตบอล ประเทศมหาอำนาจก็เหมือนนักเล่นที่สูงใหญ่ซึ่งโหม่งได้คมและเตะได้แรงจึงรับบทศูนย์หน้าและกัปตันทีม โดยต้องการให้ประเทศขนาดกลางหรือเล็กเป็นคนป้อนบอลให้ยิง แต่การที่ประเทศ ขนาดเล็กจะก้าวขึ้นมามีบทบาท ต้องหาประโยชน์จากการเป็นนักฟุตบอลร่างเล็กที่หันมาเน้นการเล่นแบบลากเลื้อยและอาศัยความเร็วในการออกตัว แทน การใช้กำลัง เมื่อประเทศไทยเป็นนักฟุตบอลร่างเล็ก แต่ไปหัดเตะแบบศูนย์หน้าตัวใหญ่ย่อมจะเป็นได้แค่ตัวสำรอง ซึ่งถ้าประเทศไทยสามารถหาวิสัยทัศน์ใหม่ๆ และเป็นผู้นำมุมมองนั้นๆ โดยอาศัยการทูตแขนงใหม่ ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำของการเมืองโลกได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us