Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มิถุนายน 2553
Goldman Sachs ถูกฟ้องร้อง             
 


   
www resources

Goldman Sachs Homepage

   
search resources

Goldman Sachs
Financing




บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับตำนานของ Wall Street สมควรถูกลงโทษหรือไม่

ความโกรธแค้นและรีบเร่งจะเอาผิดกับ Goldman Sachs ที่ถูก ก.ล.ต.สหรัฐฯ ฟ้องร้องในข้อหาฉ้อโกง อาจบดบังวิจารณญาณของเรา และบิดเบือนนโยบายสาธารณะได้ เราควรถอยห่างออกมาก้าวหนึ่ง เพื่อพยายามทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยไม่ใช้อารมณ์เป็นใหญ่ เหนือการพินิจพิเคราะห์อย่างระมัดระวัง เพื่อที่จะได้รับบทเรียนอย่างถูกต้อง แม้ว่าการกระทำของ Wall Street จะทำให้ถูกโจมตีว่า ไม่น่าไว้ใจหรือไร้จริยธรรม แต่ก็เป็นคนละเรื่องกับการทำผิดกฎหมาย

การฟ้องร้อง Goldman Sachs ของ SEC หรือ ก.ล.ต.สหรัฐฯ มีการกล่าวหาว่ามีการกระทำผิด 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือการที่ Goldman ยอมให้ลูกค้ารายหนึ่งคือ John Paulson ผู้จัดการกองทุนป้องกันความเสี่ยงหรือ hedge fund ซึ่งเชื่อว่า ตลาดบ้านของสหรัฐฯ จะ ตกต่ำ สามารถเลือกหลักทรัพย์ที่ต้อง การ เพื่อที่จะสามารถทำกำไร หากหลักทรัพย์นั้นมีราคาตกตามที่คาดได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ Goldman และ Paulson ทำนั้นคือ ธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงที่มีให้เห็นเป็นประจำใน Wall Street เมื่อมีใครสักคนต้องการจะวางเดิมพันว่า หุ้นหรือหลักทรัพย์ตัวใดจะมีราคาตก คนคนนั้นก็จะต้อง เดินเข้าไปในบริษัท Wall Street อย่าง Goldman เพื่อขอให้หาคนที่คิดตรงข้ามกับเขาเกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น เมื่อบริษัทโบรกเกอร์สามารถหาคนคนนั้นได้ การซื้อขายจึงได้เกิดขึ้น

นี่ก็คือวิธีการที่บริษัทขนาดใหญ่ใช้ชดเชยความเสี่ยง เพื่อปกป้องงบดุลของบริษัทจากความเสี่ยงต่างๆ เช่น ความผันผวนของค่าเงิน ราคาพลังงานหรือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ด้วยการเลือก เครื่องมือทางการเงินที่ต้องการ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง หากราคาหลักทรัพย์นั้นตกลงจริงๆ ในอนาคต

ในกรณีของ Paulson ฝ่ายที่คิดตรงข้ามกับเขา เกี่ยวกับทิศทางในอนาคตของตลาดบ้านและที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ คือ IKB ธนาคารใหญ่ของเยอรมนี แต่ IKB ย่อมรู้อยู่แล้ว ก่อนที่จะตกลงซื้อขายกับ Paulson โดยผ่าน Goldman ว่า Paulson ย่อมมองเห็นว่า หลักทรัพย์นั้นไร้ค่า ไม่เช่นนั้นเขาคงจะไม่เชื่อว่า ราคาของ มันจะตกลงในอนาคต ในขณะที่ IKB ย่อมเห็นตรงกันข้าม ไม่ใช่นั้นข้อตกลงระหว่าง IKB กับ Paulson ก็คงไม่เกิดขึ้น ความคิดเห็นที่ตรงกันข้ามกันเกี่ยวกับมูลค่าของหุ้นหรือหลักทรัพย์นี้เอง ที่ทำให้เกิดตลาดหลักทรัพย์ขึ้นมา

ส่วนข้อกล่าวหาประการที่สองคือ Goldman ออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน โดย “รู้” ว่า ค่าของมันจะตกลงในอนาคต ในปี 2005 2006 และ 2007 มีธุรกรรมที่คล้ายคลึงกันกับกรณีของ Goldman เกิดขึ้นนับสิบๆ ครั้ง แต่ส่วนใหญ่ฝ่ายนักลงทุนที่เชื่อว่า ตลาดบ้านของสหรัฐฯ จะยังคงพุ่งขึ้น ล้วนเป็นฝ่ายได้กำไร ส่วนฝ่าย ที่เชื่อว่าตลาดบ้านสหรัฐฯ จะตกต่ำลง ซึ่งเป็นความคิดที่เหมือน กับ Paulson กลับเป็นฝ่ายที่สูญเงิน นอกจากนี้หลักทรัพย์ที่ผูกพัน กับทิศทางของตลาดบ้านสหรัฐฯ ที่เรียกว่า CDO (collateralized debt obligations) ก็ยังมีค่ามากขึ้นในปี 2006 ความจริงแล้ว หากการซื้อขายระหว่าง Paulson กับ IKB เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นสัก 9 เดือน Paulson คงจะเป็นฝ่ายสูญเงินก้อนโต แทนที่จะเป็น IKB อย่างที่เป็นอยู่

เป็นการง่ายที่จะมองย้อนหลังกลับไปและพูดว่าตลาดบ้าน ของสหรัฐฯ จะพังพินาศในปี 2007 แต่ Michael Lewis เขียนไว้ ในหนังสือเล่มใหม่ของเขา The Big Short ว่า ในปี 2006 แม้กระทั่ง ในปี 2007 บรรดาสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่เกือบทั้งหมด ไม่ว่า Lehman Brothers, Bear Stearns หรือ Merrill Lynch ต่างก็เชื่อว่า ตลาดบ้านของ สหรัฐฯ จะยังคงพุ่งขึ้น ต่อไป มีเพียงคนส่วนน้อย ซึ่งรวมถึง Paulson เท่านั้น ที่ไม่ เห็นด้วยและต้องเป็นฝ่ายสูญเงินมานานหลายปีแล้วในตลาดหลักทรัพย์ จากความเชื่อว่า ตลาดบ้านจะตกต่ำ แม้ในวันนี้ Paulson จะกลายเป็นอัจฉริยะที่ไม่มีใครสามารถดูแคลนได้ แต่ในช่วงที่เขาดีลกับ Goldman เมื่อปี 2007 นั้น เขากลับถูกมองว่า เป็นคนที่คิดอะไรประหลาด

ไม่ว่า Goldman จะถูกตัดสินว่ามีความผิดหรือไม่ในคดีนี้ ผู้รู้อย่าง George Soros และ Paul Krugman ต่างเห็นพ้องกันว่า การซื้อขายตราสารอนุพันธ์อย่าง CDO ซึ่งแทบไม่แตกต่างไปจาก การพนันในบ่อนกาสิโน สมควรจะถูกควบคุมอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม การหวนกลับไปตัดสินความผิดย้อนหลังต่อพฤติกรรมที่เคย เป็นมาตรฐานการปฏิบัติทางธุรกิจในอดีต ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และการพยายามควบคุมสถาบันการเงิน โดยใช้การฟ้องร้องทางกฎหมาย อาจก่อให้เกิดความไม่มั่นใจในระบบกฎหมายและกฎเกณฑ์ของสหรัฐฯ

สิ่งหนึ่งที่คดีของ Goldman ได้บอกกับเราอย่างชัดเจนคือ Wall Street แบบเก่าได้ตายไปแล้ว ไม่มีอีกต่อไปแล้ว Wall Street ที่เคยเป็นเหมือนหุ้นส่วน และผู้จัดการของบริษัทใน Wall Street ที่ยอมเอาเงินของตัวเองมาเสี่ยง และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาที่ไว้วางใจได้ของลูกค้า เหลือเพียงแต่บริษัทใหม่ๆ ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่ ในตลาด แต่ลดความสำคัญของหน้าที่การให้คำปรึกษาลง ธุรกิจอเมริกันกำลังละทิ้งการทำหน้าที่ดูแลลูกค้าในระยะยาว เพียงเพราะ มีค่าตอบแทนสูงเป็นสิ่งล่อใจ ทำให้ Wall Street แสวงหาแต่เพียง ผลกำไรระยะสั้นและยอมทำธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง โดยยอมสูญเสีย ความแข็งแกร่งในระยะยาวไปอย่างไม่ไยดี

ได้แต่หวังว่าวิกฤติครั้งนี้ และกฎเกณฑ์ที่จะเกิดขึ้นใหม่จะทำให้ Wall Street กลับมามีความรับผิดชอบมากกว่านี้ แม้จน ถึงขณะนี้ หลายคนใน Wall Street ก็ยังคงทำหูทวนลมกับเสียง เรียกร้องให้ปรับปรุงตัวเอง นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นผลดีต่อ Wall Street และคือที่มาของความโกรธแค้นที่มีต่อ Goldman

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีการออกกฎเกณฑ์ใหม่อย่างไร สิ่งหนึ่งที่จะไม่มีวันเปลี่ยนคือ ไม่มีใครสามารถจะ “รู้” ล่วงหน้าได้ว่า หลักทรัพย์ ตัวใดจะ “ดี” หรือ “เลว” ในอนาคต และในการซื้อขายหลักทรัพย์นั้นไม่อาจขาด ตัวกลางอย่างเช่น Goldman ได้

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us