Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2540








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2540
ธนานันท์ วิไลลักษณ์ กับอาณาจักรส่วนตัวนอกกลุ่มสามารถ             
 


   
search resources

ธนานันท์ วิไลลักษณ์
Wine
ไวน์แกลเลอรี่




เมื่อพูดถึงกลุ่มสามารถหลายคนนึกถึง เจริญรัฐ-ธวัชชัย สองพี่น้องแห่งตระกูลวิไลลักษณ์ ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงรับบริหารงานของกลุ่มต่อจากเชิดชัยผู้เป็นพ่อ ซึ่งก่อตั้งกลุ่มสามารถจากธุรกิจเริ่มแรกที่ขายเสาอากาศโทรทัศน์จนเติบโตมาสู่ธุรกิจขายจานดาวเทียม และล่าสุดกับอิเล็กทรอนิกส์ คอมเมิร์ช และอิเล็กทรอนิกส์ มีเดีย

ยิ่งกับธวัชชัยนั้นมีหน้าที่โดยตรงต้องพบปะกับนักข่าวจึงมักเห็นหน้าเขาในหน้าหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้ง แต่หลายคนคงยังไม่ทราบว่านอกจากพี่น้องคู่นี้แล้ว 'ตระกูลวิไลลักษณ์' ยังมีทายาทชายอีกคนคือ ธนานันท์ วิไลลักษณ์

ในฐานะลูกชายคนเล็กของตระกูลหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวอุตสาหการ จากมหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ธนานันท์จึงลัดฟ้าไปศึกษาต่อยังต่างประเทศในระดับปริญญาโทในสาขาเดียวกัน และปริญญาเอกในสาขา Operation Research แบบรวดเดียวจบก่อนที่จะกลับมาช่วยธุรกิจของครอบครัว โดยปัจจุบันดูแลในด้านการตลาดของโทรศัพท์มือถือและเพจเจอร์

ถ้าเรื่องราวของธนานันท์มีเพียงเท่านี้ก็คงไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นนัก เพราะเขาก็คงช่วยพัฒนาธุรกิจของกลุ่มสามารถให้เติบโตไปไม่ยากนัก

สิ่งที่น่าสนใจคือ เขาได้หันมาตั้งบริษัท ไวน์แกลเลอรี่ นำเข้าไวน์จากต่างประเทศจนเป็นที่จับตามองของคอไวน์ทั้งหลาย เพราะไวน์ในร้านของเขาจะเต็มไปด้วยไวน์คุณภาพถูกใจคอไวน์ และบางตัวเป็นไวน์คลาสสิกที่หายากชนิดที่ว่าร้านไวน์ในต่างประเทศบางร้านก็ยังไม่มี

นอกจากร้านของเขาจะอุดมไปด้วยไวน์ดีๆ แล้ว สิ่งหนึ่งที่ทำให้ธนานันท์เป็นที่รู้จักคือ บุคลิกของเขาซึ่งไม่มีใครกล้าทำจากการประมูลไวน์ที่เขาได้เข้าร่วม 1-2 ครั้งนั้น ธนานันท์จะเลือกไวน์ที่มีเรตติ้งดี ปีดีๆ รวมไปถึงปีที่หายาก หรือบางตัวที่ในโลกนี้ผลิตเพียงไม่กี่ขวด จนคอไวน์บางคนถึงขั้นยกย่องให้เขาเป็น 'เจ้าพ่อแห่งวงการไวน์ไทย' คนหนึ่งทีเดียว

ย้อนกลับไปประมาณ 3 ปีเศษ เขาเริ่มดื่มไวน์และติดใจในรสชาติของไวน์อย่างถอนตัวไม่ขึ้น จึงดั้นด้นเสาะหาและลองดื่มไวน์มากมายหลายชนิด

"เราอยากดื่มไวน์ที่ดีและมีคุณภาพกว่าที่ดื่มในตอนนั้น จึงคิดว่าทำไมไวน์ในตอนนั้นถึงไม่ดี ก็ได้คำตอบว่าเพราะการเก็บรักษาในระหว่างการเดินทาง ทำให้ไวน์คุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร จึงเปิดบริษัทไวน์เพื่อที่จะนำเข้าไวน์ที่คิดว่ามีคุณภาพเข้ามา" ธนานันท์กล่าว

ความคิดในการตั้งบริษัทเปิดร้านไวน์จึงเกิดขึ้น ด้วยทุนเริ่มต้นประมาณ 5-6 ล้านบาท จากการร่วมหุ้นของพี่ๆ น้องๆ โดยที่เขาเป็นหัวเรือใหญ่ ดูแลด้านจัดการและการบริหารงาน ด้วยช่วงเวลาเพียง 2 ปีครึ่ง นับแต่เริ่มบริษัทปัจจุบันเขามีผู้ช่วย 6-7 คน และสต็อกไวน์ที่อยู่ในร้านมูลค่ารวมกันกว่า 100 ล้านบาท

"ผมมั่นใจว่าในบรรดาท็อปไวน์ของฝรั่งเศสแล้วเราไม่เป็นรองใครในประเทศไทย ของออสเตรเลียเราเป็นตัวแทน 20 วินยาร์ด (Vineyard) ถ้าเป็นของแอฟริกาใต้เราก็มีแต่ระดับท็อป แม้แต่แคลิฟอร์เนียหรืออิตาลีเราก็มีแต่ที่ดีที่สุดของที่นั่น"

คำกล่าวของธนานันท์ไม่ได้เกินไปจากความจริงเลย เพราะไม่ว่าจะเป็น Ridge Vineyard ซึ่งเป็นไวน์ระดับท๊อปตัวหนึ่ง หรือจะเป็น Dalla Valley, Fisher Valley, Silverado, Harlan Estate, La Jota, Dunn Valley ซึ่งต่างเป็นไวน์ที่มีชื่อเสียงและคอไวน์ทั้งหลายรู้จักดีก็มาร่วมอยู่ในร้านของเขาด้วยกันทั้งนั้น

แม้บางครั้งการได้มาซึ่งไวน์จะค่อนข้างลำบากเพราะมีการผลิตที่จำกัดจำนวนบางแห่งจำกัดเพียง 50 หรือ 20-30 ขวดเท่านั้น หรือบางแห่งให้เพียง 24 ขวด ธนานันท์ก็ยืนยันว่าต้องเอามาไว้ในร้านให้ได้

"บางแห่งเขาไม่ถามว่าเราจะซื้อเท่าไหร่แต่จะบอกว่าเราซื้อได้กี่ขวด แต่เราก็ซื้อมาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มที่ชอบลองไวน์ดีๆ และชอบดื่มอะไรที่แปลก มีชื่อเสียงในโลก แต่อาจจะไม่ได้มีทั่วไป ขนาดไปร้านไวน์ที่ซานฟรานซิสโกบางแห่งก็ยังไม่มีไวน์พวกนี้ขายหรอก ถามเขาๆ ก็บอกว่าเขาซื้อไม่ได้เพราะมีการผลิตน้อยมาก"

ธนานันท์มองว่าร้านของเขานั้นเป็นร้านที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่พอสมควรเพราะมีไวน์ในสต็อกมาก ซึ่งบริษัทนำเข้าไวน์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับเขานั้นมีน้อยจะมีบ้างเป็นบริษัทที่ใหญ่กว่า เช่น วานิช วัฒนา หรือ อิตัลไทย ซึ่งเขามั่นใจว่าเป็นไวน์ระดับเดียวกัน แต่ร้านของเขาจะมีความหลากหลายที่น้อยกว่าเท่านั้น ซึ่งในอนาคตเขามีแนวคิดจะเพิ่มให้มีความหลากหลายแต่คงไม่มากนัก เพราะเขาต้องการจะชะลอการเพิ่มจำนวนและหันไปเน้นที่คุณภาพอันเป็นแนวคิดหลักตั้งแต่ตั้งร้าน "ถ้าเราเพิ่มเร็วเกินไปเราจะไม่ได้เลือกว่าไวน์ตัวนี้ดีหรือไม่ดี"

ปัจจุบันร้านไวน์ของเขามีไวน์ในราคาตั้งแต่กว่า 200 บาท ไปจนถึงราคาเป็นแสน โดยราคาสูงที่สุดประมาณ 2 แสน 5 หมื่นบาท คือ Ch.Mouton Rothschild 1945 ซึ่งเป็นไวน์ที่เก่าที่สุดที่มีอยู่ในร้าน

ในส่วนยอดขายธนานันท์กล่าวว่า เนื่องจากบริษัทเปิดดำเนินการมาไม่นานนักจึงยังไม่ชัดเจนในเรื่องตัวเลขนัก แต่ประมาณว่าในช่วงปี'38-39 มีอัตราเติบโตอยู่ประมาณ 40% ส่วนในปีนี้ยังไม่มีการคาดการณ์แต่อย่างใด

"เราค่อนข้างจะเน้นตรงที่คัดไวน์ที่ดีมีคุณภาพเข้ามามากกว่าถ้าขายได้ก็เป็นเรื่องธุรกิจไป แต่เราไม่ได้ขายทุกอย่างที่เรามี เราขายเฉพาะบางส่วนที่เราต้องการขาย บางส่วนที่เราเก็บไว้ก็มี" เขากล่าว

ในบางครั้งที่ลูกค้าแจ้งความจำนงมาว่าต้องการไวน์บางตัวจริงๆ แม้ว่าในสต็อกสำหรับขายของเขาหมดแล้ว เขาก็ยินดีให้ในส่วนที่เก็บไว้ด้วยเข้าใจคอไวน์ด้วยกัน แต่มีข้อแม้ว่าเป็นผู้ที่เข้าถึงไวน์จริงๆ

แม้ว่าการทำธุรกิจไวน์ของธนานันท์จะค่อนข้างมีอารมณ์ความรู้สึกเข้าไปเกี่ยวข้องในการตัดสินใจว่าจะขายหรือไม่ขายและขายให้กับใคร แต่ดูเหมือนว่ากิจการร้านไวน์ของเขาไม่ด้ขึ้นลงตามอารมณ์ของเขาไปด้วย ตรงข้ามกลับเป็นที่รู้จักของนักดื่มไวน์มากขึ้นเรื่อยๆ แม้โดยบุคลิกแล้วเจ้าตัวจะไม่ค่อยเปิดตัวร้านของเขากับคนทั่วไปนัก และมักจะเป็นที่รู้จักแต่ในวงแคบเฉพาะนักดื่มไวน์ด้วยกันเองเท่านั้น

กลยุทธ์การขายธนานันท์เน้นการการขายตรงเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนระหว่างการขายปลีกและขายส่งในสัดส่วนที่เท่ากัน และนอกจากตลาดในกรุงเทพฯ ที่มีตัวเลขยอดขายค่อนข้างมากแล้ว เขายังเน้นในหัวเมืองใหญ่ด้วย ได้แก่ เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต ขอนแก่น ระยองและเชียงราย

ส่วนในเรื่องที่ทางการปรับภาษีกรมสรรพสามิตจาก 20% เป็น 40% นั้น ธนานันท์มองว่า จะมีผลต่อตลาดโดยรวมเนื่องจากทำให้ราคาไวน์ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลดีต่อราคาไวน์ของโลกใหม่ เช่น ไวน์ของออสเตรเลีย อเมริกา ชิลี ไวน์เหล่านี้จะขายดีขึ้น ส่วนไวน์ฝรั่งเศสจะมีราคาสูงขึ้น จึงอาจจะขายได้ลำบากขึ้น แต่โดยส่วนตัวแล้วเขายังชอบไวน์ในเขตเบอร์กันดีของฝรั่งเศสมากกว่า

"โดยส่วนตัวมองว่าไวน์ฝรั่งเศสแตกต่างจากไวน์โลกใหม่ที่มาจากอเมริกา แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย ซึ่งไวน์ของโลกใหม่นี้เวลาเราเปิดดื่มในตอนต้น แล้วจะค่อยๆ หายไป กลิ่นก็ค่อยๆ หายไป แต่ไวน์ฝรั่งเศสพอเปิดจะไม่อร่อย เพราะไม่มีกลิ่นไม่มีอะไร แต่พอดื่มไปสักชั่วโมง 2 ชั่วโมงจะค่อยๆ ดีขึ้น เพราะฉะนั้น นี้จะเป็นข้อแตกต่างของไวน์ฝรั่งเศสกับไวน์โลกใหม่ คือสไตล์มันต่างกัน"

ไวน์ฝรั่งเศสนั้นแคว้นหลักๆ มี 2 แคว้น คือ บอร์โด (Bordeaux) และเบอร์กันดี (Burgundy) ถ้าบอร์โดนั้นใครก็มีสิทธินำเข้าได้ ยกเว้นบางตัวที่ผู้นำเข้า (Importer) สามารถซื้อผูกขาดกับชาโต (Chateau) ไดเลยไม่ต้องผ่านโบรกเกอร์ เช่น ไวน์แกลเลอรี่สามารถซื้อ Ch.Palmer ได้โดยตรงจากชาโตไม่ต้องผ่านโบรกเกอร์ซึ่งผู้นำเข้ารายอื่นก็สามารถสร้างความสัมพันธ์ (Connection) ที่ดีกับเจ้าของชาโตได้แต่ก็มีน้อยรายมาก เพราะไวน์จากบอร์โดนั้นมักจะต้องซื้อผ่านคนกลาง

ตรงข้ามกับเบอร์กันดีที่มีการผูกขาดได้ อย่างรายของไวน์แกลเลอรี่สามารถผูกขาดขายอยู่เจ้าเดียว เช่น Domaine Leray, Domaine Dujae, Domaine Pousot, Domaine Comte Georges de Vogue รวมทั้งไวน์จากออสเตรเลีย ไวน์แอฟริกาใต้ หรือไวน์อเมเนียที่ทางร้านได้รับสิทธิเป็นผู้นำเข้าแต่เพียงผู้เดียวด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับแชมเปญทางร้านเป็นผู้จัดจำหน่ายของ Salon, Delamotte และ Gosset

ด้วยวัย 29 ปีเศษและด้วยบุคลิกกึ่งพ่อค้ากึ่งนักสะสมไวน์ หนุ่มราศีเมษคนนี้ไม่เคยหยุดนิ่งนอกจากไวน์แล้วเขายังเป็นตัวแทนนำเข้าตู้แช่ไวน์ในสนนราคา 4-6 หมื่นบาทจาก Euro Cave ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงที่สุดในการทำตู้แช่ไวน์เพราะไวน์ดีๆ ที่ลูกค้าซื้อไปหากไม่ได้รับการเก็บรักษาในห้องเก็บไวน์หรือตู้แช่ไวน์ที่เหมาะสม ไวน์ตัวนั้นอาจไม่มีคุณค่าเลยก็ได้ ผู้ที่รักไวน์เป็นชีวิตจิตใจย่อเข้าใจเรื่องนี้ลึกซึ้งดี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us