Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2535
โชคชัย อักษรนันท์ ประธานอาเซียน-ซีซีโอคนใหม่             
 


   
search resources

โชคชัย อักษรนันท์
International
สหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศอาเซียน




บนชั้นสูงสุด ชั้นที่ 30 ของอาคารซีพีทาวเวอร์ โชคชัย อักษรนันท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เล่าให้ฟังถึงภารกิจใหม่ในฐานะประธานสหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศอาเซียน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "ประธานอาเซียน-ซีซีโอ" ที่จะต้องทำงานหนักในวาระตำแหน่งนี้สองปีนับตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมคณะมนตรีอาเซียน-ซีซีโอ ของหกประเทศคือบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เมื่อปลายปี 2534 นี้

"ผมต้องเตือนตัวเองตลอดเวลาว่า ต้องพูดในฐานะประธานหกประเทศ ไม่ได้พูดในนามประธานสภาอุตสาหกรรมไทยแล้วนะ" โชคชัยย้ำกับตัวเอง

สองปีข้างหน้าเป็นจุดเปลี่ยนแปลงหนึ่งในชีวิตการงานของโชคชัย ที่พลิกผันชีวิตจากวิศวกรเคมีที่เป็นอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ สู่งานบริหารธุรกิจที่หลากหลาย นับตั้งแต่ร่วมงานบุกเบิกกับบริษัทเอ็ม.ไทย อินดัสเทรียล จนถึงการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมรองเท้าของกลุ่มสหพัฒน์ และล่าสุดเมื่อสองปีที่แล้ว ได้เข้าร่วมงานกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ในฐานะรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส

แต่ทุกวันนี้งานหลักที่กินเวลาส่วนใหญ่ของโชคชัยหมดไปกับกิจกรรมเพื่อส่วนรวม อาทิ เช่น ประธานอาเซียน-ซีซีไอ ประธานสภาพอุตสาหกรรมไทย กรรมการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสมาชิกสภานิติบัญญัติ โดยได้รับการสนับสนุนความเข้าใจจากซีพี

"ผมเป็น PUBLIC FIGURE ที่ไม่ค่อยมีเวลาเป็นของตัวเอง ต้องเดินทางตลอด" โชคชัยเล่าให้ฟังถึงการทำงาน

จากประสบการณ์ไม่ต่ำกว่าสิบปีที่โชคชัยได้เคี่ยวกรำกับกิจกรรมอาเซียน-ซีซีไอ ซึ่งเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มอาเซียน ในฐานะเลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมไทยระหว่างปี 2525-2530 โชคชัยได้สานต่อภารกิจยิ่งใหญ่ที่นายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ได้วางไว้เป็นแนวความคิดสำคัญเกี่ยวกับโครงการร่วมมือจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN FREE TRADE AREA หรือ "AFA")

ในอดีต ความร่วมมือทางเศรษฐกิจไม่เป็นรูปธรรม แต่ละประเทศปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง การขอลดสิทธิพิเศษภายใต้ ASEAN PTA มักเป็นรายการสินค้าที่ไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ แต่รายการที่สำคัญซื้อขายกันมากกลับไปไว้ใน EXCKYSUIB LIST ที่ห้ามแตะ ทำให้โครงการ ASEAN PTA ไม่ประสบผลเท่าที่ควรจนกระทั่งท่านนายกฯ อานันท์ คิดว่าถึงเวลาแล้ว จึงได้เสนอแนวความคิด AFTA ขึ้นในลักษณะกล้าลดภาษีโดยรัฐเป็นผู้นำ ก็มีการล็อบบี้จนโครงการนี้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มรัฐบาลอาเซียนอย่างเป็นทางการ" โชคชัยเล่าให้ฟังถือที่มาของ AFTA

โครงการเขตการค้าเสรีอาเซียน "AFTA" เป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจขึ้นต้น โดยมีเป้าหมายให้สมาชิกกลุ่มอาเซียนตกลงยกเลิกเพดานพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และข้อจำกัดอัตราภาษีศุลกากร และข้อจำกัดทางการค้าระหว่างกัน ทำให้เกิดเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนภายในทศวรรษหน้า

"เมื่อโครงการ AFTA ได้เกิดขึ้น คุณผลิตที่ไหนก็เท่ากับขายได้ทั้ง 6 ประเทศ เพราะตลาดเดียวกัน และภาษีเท่ากัน ดังนั้นใครที่แข็งแรงกว่า บริหารงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าก็อยู่รอดได้ ใครที่อ่อนแอก็จะตกที่นั่งลำบาก" โชคชัยกล่าวถึงผลดีของ AFTA

แนวทางการพัฒนาเขตการค้าเสรีแห่งอาเซียนนี้ จะต้องใช้สิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (ASEAN PTA) ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าไม่ต่ำกว่า 15,725 รายการผนวกกับ CEPT (COMMON EFFECTIVE PREFERENCE TAFIFFS) ซึ่งเป็นการกำหนดรายการสินค้าที่จะนำมาลดหย่อนภาษีระหว่างกัน โดยขั้นแรกแต่ละประเทศจะต้องปรับพิกัดอัตราภาษีศุลกากรให้อยู่ระดับเดียวกันตามประเภทสินค้า โดยแบ่งอัตราภาษีศุลกากรเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 0.5%, 5-10%, 10-15%, และ 15-20% ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจะยกเลิกการจัดเก็บภาษีศุลกากรทั้งหมด ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ระยะหนึ่ง

"ตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหกประเทศกว้างใหญ่ถึง 315 ล้านคน (ใกล้เคียงประชาคมยุโรป 320 ล้านคน) ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่หลายฝ่ายให้ความสนใจเกี่ยวกับ AFTA มากแต่แนวทาง AFTA นี้ต้องใช้เวลาถึง 15 ปี ที่จะลดภาษีลงมาเหลือ 0-5 % นี่คือเป้าหมาย ถ้าทำได้ก็ดีมาก" ประธานอาเซียน-ซีซีไอคนใหม่คาดหวังการบรรลุผลในอนาคต

ดังนั้น ในงานประชุมสุดยอดอาเซียนของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนทั้งหกประเทศครั้งที่ 4 หรือ "อาเซียนซัมมิท" ซึ่งได้จัดในวันที่ 27-28 มกราคม 2535 ณ ประเทศสิงคโปร์ จึงมีเรื่องสำคัญข้างต้นที่ต้องพิจารณาแนวทางร่วมกันถึง 4 ประการ

- ความร่วมมือในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี หรือ AFTA ที่มีประเทศไทยเป็นแกนนำ
-
- ความร่วมมือระหว่างประเทศเอเซียนตะวันออก (EAST ASIAN ECONOMIC GROUPING หรือ GAEG
-
- การจัดระบบภาษีร่วมในกลุ่มประเทศอาเซียน (COMMON ERRECTIVE TARIFF SYSTEM หรือCEPT) ซึ่งอินโดนีเซียเป็นผู้เสนอ
-
- การจัดให้มีสนธิสัญญาความร่วมมืออาเซียนขึ้น (ASEAN TREATY ON ECONOMIC CO-OPEARTION หรือ ATEC
-
ถึงแม้จะหมดยุคนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ผมคิดว่าอาเซียนไม่ควรจะชะงักโครงการ AFTA ผมหวังว่าเดือนมกราคม 2535 นี้จะมีการเซ็นข้อตกลงเรื่องนี้อย่างเป็นทางการ เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่มาเป็นหัวหน้ารัฐบาลของแต่ละประเทศอาเซียนจะต้องดำเนินนโยบายนี้ต่อไป เพราะมันไม่มีเวลาแล้ว"

ความสำคัญของกิจกรรมอาเซียนนี้ ประธานอาเซียน-ซีซีไอคนใหม่ได้เรียกร้องภาคเอกชนให้ตื่นตัวรับรู้ข่าวสาร AFTA ไม่นอนหลับทับสิทธิ์ ขณะเดียวกับองค์กรธุรกิจภาคเอกชนจะต้องร่วมมือทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาล เพื่อกำหนดทิศทางทางเดินได้ถูกต้อง

"ผมเข้าใจว่าหลังจากการประชุมอาเซียนซัมมิทเสร็จสิ้นลง ทางภาครัฐบาลทั้งหกประเทศคงจะบอกให้ภาคเอกชนไปทำการบ้านว่าควรทำอะไร เช่นให้แจกแจงกลุ่มอุตสาหกรรมใดที่มีความพร้อมจะได้รับการลดภาษีตามโครงการ AFTA อย่างประเทศไทย สาขาอุตสาหกรรมที่พร้อมก็มีสิ่งทอ อัญมณี ผลิตภัณฑ์หนัง ปุ๋ย สินค้าไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เยื่อกระดาษ ทั้งหมดนี้ ไทยเสนอให้ลดภาษีลงมา" ประธานอาเซียน-ซีซีไอ ซึ่งยังสวมหมวกประธานสภาอุตสาหกรรมไทยอีกตำแหน่งหนึ่งกล่าว

ในระยะสองปีข้องหน้านี้ โชคชัยในฐานะประธานอาเซียน-ซีซีไอ จึงต้องทำงานหนักและเหนื่อยกับแนวทางที่เขาตั้งใจวางไว้ ระหว่างที่ครองตำแหน่งของขอบเขตของงานสามประการที่เขาต้องการผลักดันให้เป็นจริงคือ

หนึ่ง-เสริมสร้างความแข็งแกร่งและคล่องตัวในโครงการอาเซียน-ซีซีไอ ซึ่งประกอบด้วย 4 องค์กรคือ 1. คณะมนตรีอาเซียน-ซีซีไอที่ประธาน รองประธานหกประเทศและเลขาธิการ 2. หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศสมาชิก 3. คณะทำงาน 4 กลุ่มได้แก่ WGIC WGT WGFAF WGTA และ 4. ชมรมสาขาอุตสาหกรรมแห่งอาเซียน โดยให้ความสำคัญต่อการบริหารและการจัดองค์กรรวมทั้งเน้นกลุ่มศึกษาข้อมูลร่วมกับองค์กรวิจัยของสมาชิกอาเซียนเช่นทีดีอาร์ไอของไทย หรือ ISIS ของสิงคโปร์

"ผมได้ตั้งให้ชวรัตน์ ชาญวีรกุล เป็นรองประธานอาเซียน-ซีซีไอแห่งประเทศไทยแทนผม หน้าที่ของชวรัตน์คือดูแลคณะทำงานต่าง ๆ (WORKING GROUP) เมื่อครบวาระสองปี ชวรัตน์จะเป็นต่อหรือผมอาจจะกลับมาเป็นต่อไปก็ได้" โชคชัยเล่าให้ฟัง

สอง-สร้างกิจกรรมประสานความร่วมมือใกล้ชิดกับภาครัฐบาล ส่งเสริมการค้าเสรีและความเป็นธรรมระหว่างคู่ค้า

"ในกลุ่มอาเซียน การแลกเปลี่ยนข้อมูลมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โครงการระยะสองปีที่เราจะทำคือพัฒนาเรื่องศูนย์ข้อมูลให้มีประสิทธิภาพไม่ซ้ำซ้อนกันในการใช้ทรัพยากรซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก" โชคชัยกล่าวถึงเครือข่ายข้อมูลที่จะทำ

สาม-ส่งเสริมการค้า การลงทุนและความร่วมมือแลกเปลี่ยนทางอุตสาหกรรม เทคโนโลยการพัฒนาคนภายในกลุ่มอาเซียนเอง และกลุ่มอาเซียนกับ NON-ASEAN เช่น อเมริกา ยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น

นอกจากนี้โครงการความร่วมมือในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังตื่นตัวทั่วโลก ประธานอาเซียน-ซีซีไฟคนใหม่ได้กล่าว่า อาเซียนมีความจำเป็นต้องทำโครงการสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรม โดยร่วมมือกันทั้งหกประเทศเพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนและให้โครงการมีประสทิะภาพ งานนี้มาเลเซีย และฟิลิปปินส์รับผิดชอบ โครงการกำจักมลภาวะเช่นอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ภารกิจยิ่งใหญ่อีกประการหนึ่งที่โชคชัย ต้องผลักดันให้บรรลุผลภายในรัฐบาลยุคอานันท์ ปันยารชุนก็คือ โครงการรวมสภาหอการค้ากับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่นายกฯ อานันท์ดำริไว้เป็นแนวทางไว้

"โครงการนี้ผมอยากจะรวมเป็น CHAMBER OF COMMERCE AND INDUSTRY ตั้งสิบปีแล้ว เพราะมันมีข้อดีคือเป็นองค์กรเดี่ยวในประเทศเหมือนเพื่อนบ้านทั่วโลกเขาเป็นกันแล้ว และทำให้ใช้ทรัพยากรไม่ซ้ำซ้อนกัน นายกฯ อานันท์ ก็พูดทุกครั้งว่าควรจะรวมกันสักที คนรุ่นใหม่เขารอพวกคุณไม่ได้แล้ว" โชคชัยเน้นถึงความตั้งใจจริงที่อยากให้เกิดองค์กรระดับชาตินี้เพื่อพัฒนาธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม

แต่กว่าโครงการจะบรรลุผล ก็ต้องผ่านขั้นตอนตั้งแต่ตั้งคณะทำงานร่วมกัน แล้วร่างกฎหมายออกมาเพื่อให้ผ่านความเห็นขอบของคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งโชคชัยก็เป็นสมาชิกสภาฯ อยู่คาดว่าโครงการนี้คงผ่านขั้นตอนต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เนื่องจากอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี ให้การสนับสนุนโครงการนี้เต็มที่ ถึงขาดกระซิบบอกผู้ใกล้ชิดว่า "ถ้าไม่รวมตอนนี้ โอกาสจะไม่มีอีกแล้ว"

ผลงานชิ้นโบแดงข้างต้นในยุคโชคชัยเป็นประธานอาเซียน-ซีซีไอคนใหม่จะต้องประสบปัญหาและอุปสรรคบนหนทางข้างหน้าอย่างมากมาย แต่ถ้าเกิดผลสำเร็จ โฉมหน้าเศรษฐกิจไทยและอาเซียนจะต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอนในทศวรรษหน้านี้ !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us