Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2535
ครอสบี้ฯจับมือกับพรีเมียร์เสริมฐานธุรกิจค้าหลักทรัพย์             
 


   
search resources

Stock Exchange
พรีเมียร์, บงล.
ครอสบี้ ซีเคียวริตี้ส์ (ฮ่องกง), บจก.




บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่เพิ่งพ้นอ้อมอกโครงการทรัสต์ 4 เมษาฯ ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ส่วนมากต่างได้ดิบได้ดีเป็นที่พึงพอใจของเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง มันเป็นการพิสูจน์ด้วยว่าคณะผู้บริหารที่ธนาคารฯ คัดเลือกเข้ามารับช่วงดำเนินงานเป็นผู้มีคุณภาพและตั้งใจพัฒนาบริษัทที่ครั้งหนึ่งมีอดีต "เน่า ๆ " เหล่านี้

การจับมือเซ็นสัญญาร่วมบริหารของบงล.พรีเมียร์ ซึ่งเมื่อก่อนคือ บงล.นครหลวงอินเวสเม้นท์ จก. กับบ.ครอสบี้ ซีเคียวริตี้ส์ (ฮ่องกง) จก. เป็นแนวโน้มที่ดีอย่างมาก ๆ สำหรับ บงล.แห่งนี้ แม้ว่าไม่มีการร่วมลงทุนด้วยก็ตาม

สัญญาร่วมบริหาร (MANAGEMENT AGREEMENT) แบบปีต่อปีเป็นข้อเสนอจากทางฝ่ายแบงก์ชาติ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการร่วมบริหารวิเคราะห์ข้อมูลและการถ่ายทอดโนว์ฮาวต่าง ๆ

ชูศรี แดงประไพ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินกล่าวถึงสัญญาที่แบงก์ชาติอนุมัติมาตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคมว่า "ที่แบงก์ชาติให้ทำสัญญาแค่ปีเดียวนี่ไม่ใช่ว่าเป็นเงื่อนไขพิเศษเพราะเคยเป็นทรัพสต์ในโครงการ 4 เมษาฯ แต่เป็นระเบียบที่แบงก์ชาติปฏิบัติอยู่เป็นปกติ อย่างสัญญาของบงล.เอกชาติ กับเจมส์ เคเพิลก็เป็นแบบนี้"

JUSTIN M.G.KENDRICK กรรมการผู้จัดการครอสบี้ ซีเคียวริตี้ส์ (ฮ่องกง) กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "สัญญาร่วมบริหารครั้งนี้ ทางครอสบี้ฯ จะส่งคนเข้ามาร่วมในพีเมียร์ 3 คน เพื่อเข้ามาช่วยวางระบบต่าง ๆ ในด้านงานวิจัย ซื้อขายหลักทรัพย์ มาร์เก็ตติ้ง การชำระราคาและส่งมอบใบหุ้น ซึ่งจะต้องมีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการดำเนินงานจัดระบบต่าง ๆ"

ในสัญญาร่วมบริหารนี้ครอสบี้ฯ จะได้รับค่าตอบแทนโดยคิดเป็นค่าธรรมเนียมการบริหารและการแบ่งปันผลกำไร

จงรักษ์ ศรีพันธ์พร ผู้จัดการร่วมฝ่ายหลักทรัพย์ซึ่งเป็นคนของครอสบี้ที่เข้ามาร่วมดำเนินงานในพรีเมียร์กล่าวว่า "ครอสบี้มีการส่งออกออเดอร์ผ่านพรีเมียร์มาเป็นเวลานานกว่าที่จะได้ตกลงปลงใจร่วมมือกันได้การเจรจาครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในส่วนของครอสบี้ฯ นั้นเป็นโบรกเกอร์เฮ้าส์ต่างชาติรายแรกที่เข้ามาตั้งออฟฟิคในเมืองไทยตั้งแต่เมื่อปี 2530

KENDRICK ยืนยันว่า "ครอสบี้ฯ เป็นหนึ่งในรีเสิร์ช เฮ้าส์ รายใหญ่ที่สุดที่มีเครือข่ายงานในย่าน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

แต่เขาก็ไม่ยอมเปิดเผยตัวเลขมูลค่าการลงทุน ทั้งหมดบอกแต่เพียง ว่าปัจจุบันมีปริมาณการลงทุนในตลาดหุ้นไทยคิดเป็น 10 % ของปริมาณการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย ส่วนจงรักษ์ซึ่งทำงานกับครอสบี้ฯ ตั้งแต่อยู่ที่ฮ่องกงมาเป็นเวลา 5 ปี แล้วเปิดเผยว่าในจำนวน 10 % นี้เป็นนักลงทุนจากยุโรป ซึ่งส่วนมากเป็นอังกฤษประมาณ 50 % จากเอเชีย 30 % และจากอเมริกา 20 %

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของครอสบี้เป็นพนักงานของบริษัท ในระดับ SENIOR MANAGEMENT ประมาณ 65-70 % ที่เหลือเป็นบริษัทข้ามชาติหลายแห่งเช่น บริษัท PINESTREET INVESTMENT ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกลุ่มเอไอเอประมาณ 7 % เป็นต้น

ครอสบี้ฯ ตั้งขึ้นเมื่อปี 2527 ถือเป็นบริษัทค้าหลักทรัพย์ ที่เป็นอิสระรายใหญ่สุดในย่านนี้ หมายความว่าไม่มีบริษัทใหญ่ ๆ หรือธนาคารเข้ามาถือหุ้นเกินกว่า 50 %

จงรักษ์เปิดเผยว่า "จุดเด่นของครอสบี้ฯ คือเรื่อง DEALING หรือ ราคาซื้อขายหลักทรัพย์ คือเราสามารถซื้อหุ้นได้ ในราคาที่ดีกว่าถูกกว่ารายอื่น ๆ แต่ผู้จัดการกองทุนต่าง ๆ มักกล่าวว่าครอสบี้ฯ เด่นในเรื่องงานวิเคราะห์หลักทรัพย์"

ครอสบี้ฯ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ฮ่องกงมี SELL OFFICE ที่ฮ่องกง สิงคโปร์ ลอนดอนและนิวยอร์ค มีสำนักงานตัวแทนในไทย มาเลเซีย ที่อินโดนีเซีย เป็นสาขา

ส่วนผู้ถือหุ้นพรีเมียร์เมื่อครั้งเทคโอเวอร์กิจการมาจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย คือ บ.พรีเมียร์ โกลเบิล คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) ขณะที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ก็ยังคงสัดส่วนหุ้นไว้ประมาณ 25.89% และกระทรวงการคลังในนามของธนาคารกรุงไทยอีก 13.39%

แบงก์ชาติกำหนดให้พรีเมียร์ตัดขาดทุนสะสมที่มีอยู่ประมาณ 200 กว่าล้านบาทให้หมดภายในปี 2538

มานพ นาคทัต กรรมการผู้จัดการบงล.พรีเมียร์จก. เปิดเผยว่า "ในสิ้นปี 2534 คาดว่าบริษัทฯ จะยังมีผลการดำเนินงานขาดทุนอยู่อีก 20 ล้านบาท เพราะภาระหนี้สินจากผู้บริหารเดิมจำนวน 228 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทฯ ยังต้องรับภาระดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 3 ล้านบาทขณะที่ต้องตั้งสำรองหนี้สูญอีก 32 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม พรีเมียร์ฯ มีแผนที่จะเพิ่มทุนอีก 200 ล้านบาทเป็นทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 524 ล้านบาท โดยการเพิ่มในไตรมาสแรกของปี 2535

"การเพิ่มทุนครั้งนี้จะทำให้ปลอดภาระการขาดทุนที่มีอยู่ได้ และคาดว่าจะสามารถทำกำไรได้บ้าง" มานพกล่าวอย่างมั่นใจ เพราะพรีเมียร์ฯ ก็มีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่นกัน แต่ยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

พรีเมียร์ฯ ได้เจรจาขอซื้อหุ้นคืนจากส่วนของกระทรวงการคลังตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยมีสิทธิซื้อคืนได้ในราคาพาร์หุ้นละ 5 บาท ตามสัญญาการซื้อคืนที่จะจบสิ้นลงในปีนี้

ในส่วนของเอไอจีฯ ถืออยู่เพดานของสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างประเทศคือ 49 % การที่ครอสบี้ฯ ไม่สามารถเข้ามาถือหุ้นด้วยได้นั้นเหตุหนึ่งก็เพราะเอไอจีฯ ไม่ยอมลดสัดส่วนการถือหุ้นของ ฝ่ายเขาลงไป เพราะถ้าครอสบี้ฯ เข้ามาก็ต้องมาถือในส่วนนั้น"

ความจริงแล้วครอสบี้ฯ ไม่จำเป็นต้องเข้ามาถือหุ้นพรีเมียร์ฯ เพราะเอไอจีฯ ซึ่งถือหุ้นในพรีเมียร์ฯ นั้นก็เป็นผู้ถือหุ้นครอสบี้ฯ ที่ฮ่องกง 7 % ดังที่กล่าวมาแล้ว

เอไอเอฯ นั้นอยากจะได้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มาไว้ในเครือนานแล้ว เพิ่งสบช่องก็ตอนนี้เอง เพราะธุรกิจประกันภัยนั้นหากฐานทางด้านเงินทุน รองรับก็จะเป็นการดี มานพเปิดเผยว่า "ในด้านเงินทุนนั้น พรีเมียร์ได้ร่วมมือกับเอไอเอฯ ในการปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งปีนี้ปล่อยไป 100 ล้านบาทแล้ว นอกจากนี้พรีเมียร์ฯ ยังให้ความคุ้มครองในทุกกรณีสำหรับกรมธรรม์มอร์เกจอินชัวรันส์ของเอไอเอฯ ด้วย"

ประโยชน์ที่เอไอเอฯ ได้รับจึงมาทั้งจากการเป็นผู้ถือหุ้นและการได้ธุรกิจร่วมกัน

ในส่วนของหลักทรัพย์ที่ครอสบี้ฯ เข้ามาร่วมบริหารนั้น จงรักษ์กล่าวว่า "ครอสบี้ฯ จะลงทนในตลาดไหนมากนี่แล้วแต่ สถานการณ์ในแต่ละประเทศพีอีเรโวและราคาหุ้นของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เมื่อปี 2531 ครอสบี้ฯ ลงทุนในตลาดไทยเยอะมาก แต่ต่อมาหันไปลงทุนในฮ่องกง คาดว่าปีหน้าจะหันกลับมาดูที่เมืองไทยอีกครั้ง"

จงรักษ์เปิดเผยด้วยว่า "ข้อเด่นในไทยของครอสบี้ฯ คือ เป็น 1 ใน 5 ของโบรกเกอร์ต่างชาติที่ทำ PLACEMENT และ SUB UNDERWRITING มากที่สุดในไทย ปีนี้ทำไปแล้วไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาทในตลาดไทย"

ในส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์นั้น แน่นอนว่าครอสบี้ฯ จะช่วยให้พรีเมียร์ เพิ่มปริมาณการซื้อขายได้มากกว่าปัจจุบันซึ่งมานพอ้างว่าพรีเมียร์ฯ มีส่วนแบ่ง 2 % ของตลาด จงรักษ์กล่าวว่า "ผมคิดว่าออร์เดอร์ เราควรจะได้มากกว่านี้"

มันเป็นภาระของจงรักษ์ในฐานะตัวแทนจากครอสบี้ที่จะต้องพิสูจน์กันต่อไป ส่วนมานพก็มีบทบาทที่จะต้องบริหารให้พรีเมียร์ฯ หมดสิ้นภาพพจน์การเป็นทรัสต์ ในโครงการ 4 เมษาฯ ด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us