Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2536
ปีนี้ไม่มี "บัญชา ล่ำซำ"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
บัญชา ล่ำซำ
Banking




จากมิถุนายน 2536 อันเป็นวาระขึ้นสู่ปีที่ 49 ของธนาคารกสิกรไทย แต่ปีนี้ไม่มี "บัญชา ล่ำซำ" อยู่ร่วมชื่นชมความสำเร็จขององค์กรที่เขามีส่วนสร้างขึ้นมากับมือด้วยผู้หนึ่ง

จากท้ายเล่มในอนุสรณ์งานศพ บัญชา ล่ำซำ ตำนานแห่งตระกูลล่ำซำได้ถูกบันทึกไว้ให้ชนรุ่นลูกหลานเหลน ได้ทราบถึงรากเหง้านับขึ้นไปถึงเจ็ดชั่วอายุคนอันเป็น "ที่มา" แห่งตัวตนในปัจจุบัน

ตำนานที่บันทึกด้วยลายมืออันบรรจงเรียบร้อยของภิกขุเย็นเกียรติที่แปลจากต้นฉบับภาษาจีนเกี่ยวกับชีวประวัติของ "อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน" (ภาษาแต้จิ๋วออกเสียงว่า "หวู่เหมี่ยวหยวน") ผู้เป็นบรรพบุรุษชาวจีนแคะของตระกูล "ล่ำซำ" ซึ่งปัจจุบันสุสานของเขาตั้งอยู่ที่ตำบลฉุ่งแค่วในประเทศจีน ได้บอกเล่าถึงภูมิหลังที่อึ่งเมี่ยวเหงี่ยนได้รอนแรมทางเรือจากมณฑลกวางตุ้งประเทศจีนมาขึ้นฝั่งที่กรุงเทพ เนื่องจากเมื่ออายุ 13 ปีกำพร้าพ่อแม่และทางกฎหมายบ้านเมืองยกเลิกข้อห้ามไม่ให้คนจีนออกนอกประเทศ ประกอบกับคนที่ไปนอกแล้วร่ำรวยเป็นข่าวลือกันไปทั่ว จึงทำให้อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนตัดสินใจหอบเสื่อผืนหมอนใบไปตายเอาดาบหน้า

แม้ชีวิตจะตกระกำลำบากเพียงใด "อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน" มังกรหนุ่มจากโพ้นทะเลก็ไม่ย่อท้อ เข้าทำงานที่ร้านขายเหล่า "จิวเพ็กเก" โดยได้รับเงินเล็กน้อยพอประทังชีวิต จากความขยันที่ไม่เคยปล่อยเวลาล่วงเลยไป เมื่อวางมือจากขายเหล้า ก็เข้าช่วยดูแลกิจการค้าไม้สักซึ่งเถ้าแก่ทำอยู่อีกแห่งหนึ่ง

จากความมานะบากบั่นที่มีเป้าหมายในจิตใจจะเปิดร้านค้าขายไม้ของตนเอง ทำให้อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนเรียนรู้จนชำนาญเป็นพิเศษเช่นการวัดหน้าไม้และวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นซุง

ในที่สุด ร้าน "กวางหงวนหลง" ของเถ้าแก่อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนก็เปิดค้าขายไม้สัก โดยตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลจักรวรรดิ สัมพันธวงศ์ ต่อมาได้ย้ายมาที่ 211 ถนนเจริญกรุง ป้อมปราบ

แม้จะเป็นเถ้าแก่ แต่อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน ก็ยังบุกป่าฝ่าดงเข้าไปในป่าสูง เพื่อจัดซื้อและลำเลียงออกจากป่ามาจำหน่ายท่ามกลางภยันตรายจากสิงสาราสัตว์ และโจรปล้น

เพื่อความเป็นมงคลพิชิตภัย เถ่าแก่อึ้งเมี่ยวเหงี่ยนจึงใช้ชื่อว่า "นายล่ำซำ" ขึ้นเป็นรุ่นแรกในประเทศไทย เพื่อระลึกถึงการรอดตายจากครั้งหนึ่งที่พำนักอยู่เมืองจีน ได้เคยเผชิญหน้ากับหมู่โจรขณะเดินทางสายเปลี่ยว แล้วหัวหน้าโจรถามว่า "คนใส่เสื้อสีน้ำเงินคนนั้นเป็นบุตรคนที่สามของตระกูลอึ้งใช้ไหม?" เมื่อเขาตอบว่าใช่เพราะความตกใจกลัว หัวหน้าโจรได้ตะโกนสั่งลูกสมุนว่า "ล่ำซำ คนนี้ (ล่ำแปลว่าสีน้ำเงินของเสื้อที่สวมวันนั้น และ ซำ แปลว่าบุตรชายคนที่สาม) ได้ทำบุญทำทานสงสารคนจน อย่าได้ทำอันตรายล่ำซำ ให้เขาไปโดยดีเถิด"

ดังนั้น ที่มาของคำว่า "ล่ำซำ" นั้นมาจากคำเรียกของหัวหน้าโจรปล้นสะดมที่ปล่อยตัวเถ้าแก่อึ้งเมี่ยวเหงี่ยน เพราะกรรมดีที่ทำบุญสุนทานคนยากคนจนได้กลายเป็นสิ่งคุ้มครองเขาไว้

อึ้งเมียงหวนถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 59 ปี โดยทิ้งมรดกไว้ให้กับ "อึ้ง ยุก หลง" ต้นสกุล ล่ำซำ ซึ่งเป็นบุตรชายคนที่สามที่เกิดกับซื้อฮูหยิน และมีพี่น้องชายอีก 4 คน คือ อึ้งเจียวหลง อึ้งจูหลง อึ้งป๊อกหลง อึ้งหมิ่นหลง กับน้องสาวสองคนคือ เผือกและเนย ซึ่งแต่งงานกับหลีเต็กเคยหลีอาภรณ์

"อึ้ง ยุก หลง" เป็นปู่ของบัญชาล่ำซำ ซึ่งในวัยเด็ก บัญชาเติบโตใน "บ้านสิญญาน" ตั้งอยู่ริมถนนสาธรเหนือใกล้กับอาคารหวั่งหลีในปัจจุบันซึ่งเป็นบ้านที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ มีบ้านพี่บ้านน้องรวมกันอยู่หลายหลัง

สมาชิกของบ้านสิญญารนี้มีถึง 3 รุ่น ตั้งแต่รุ่น ปู่-ย่า คือ อึ้งยุกหลง และคุณนายทองอยู่ รุ่นบิดาและอาก็มีโชติล่ำซำ พระและนางนิติการณืประสมจุลินทร์ ล่ำซำ ทางพูน หวั่งหลี เล็ก ล่ำซำ เกษม ล่ำซำ และพิศศรี พิศาลบุตร นอกนั้นเป็นรุ่นเด็กที่เป็นน้องร่วมท้องได้แก่ชูจิตร สีบุญเรือง ชัชนี จาติกวณิช ชนาทิพย์ จูตระกูล บรรยงค์ ล่ำซำ บรรจบ ล่ำซำ ยุพิน ล่ำซำ และยุตติ ล่ำซำ และบุตรธิดาของอา ๆ

ชีวิตปฐมวัยของเด็ก ๆ ในสกุลล่ำซำอบอุ่นในครอบครัวใหญ่และถูกเลี้ยงดูแบบมีวินัยและมัธยัสถ์ไม่ฟุ่มเฟือยโดยเฉพาะคุณนายน้อมหรือลูก ๆ เรียกว่า "นาย" ที่บัญชาถอนแบบมาภายหลังจากบิดาของบัญชาถึงแก่กรรม ขณะที่บัญชาศึกษาอยู่ต่างประเทศ คุณนายน้อมต้องทำธุรกิจหาเลี้ยงบุตรธิดา

"พี่ชาเป็นคนไม่เห็นแก่ตัว มีอะไรไม่เคยเก็บไว้คนเดียว จะแบ่งปันจัดสรรให้น้อง ๆ เท่ากันหมดทุกคน พี่ชาเป็นคนมีกตัญญูต่อ "นาย" ถึงแม้จะมีธุระมากมายก็ได้เยี่ยมเยียนเสมอทุกครั้งที่ไปต่างประเทศก็ไปลา กลับมาก็ไปหา" คุณหญิงชัชนี จาติกวณิช น้องสาวเล่าให้ฟัง

แต่ระหว่างปี 2488 ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองใกล้ยุติประเทศกำลังขาดแคลนบริการธนาคารพาฯชย์ต่างชาติ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2488 บิดาของบัญชา "โชติ ล่ำซำ" ได้ก่อตั้งธนาคารกสิกรไทยขึ้นข้าง ๆ ภัตตาหารห้อยเทียนเหลาของตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทยต่อมาได้กลายเป็นมรดก ธุรกิจที่สำคัญของทายาทล่ำซำ

บัญชาตอนนั้นยังอยู่ระหว่างพักเรียนจากภัยสงคราม บิดาได้ใช้ให้มาช่วยทำงานเป็นผู้ช่วยรักษาเงินสด แต่บทเรียนธุรกิจครั้งแรกคือเงินในความรับผิดชอบหายไปพันกว่าบาท บิดาต้องควักเงินส่วนตัวจ่ายชดเชยให้ธนาคาร

ช่วงหลังสงครามโลกเพิ่งเลิกใหม่ ๆ ธนาคารได้ขยายไปเปิดสาขาแห่งแรกที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปรีชา ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่บัญชาได้เล่าให้ฟังว่างานสำคัญตอนนั้น คือต้องนำเงินสดจำนวน 4 แสนบาท ขึ้นรถไฟสายใต้ไปพร้อมกับบัญชา ล่ำซำ การเดินทางเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพราะสะพานรถไฟถูกทำลาย ทั้งบัญชาและปรีชาต้องอดตาหลับขับตานอนคุมกระเป๋าเงินสดไม่ให้คลาดสายตาเวลาข้ามแม่น้ำก็จ้างคนขนกระเป๋าอย่างฉุกละหุกและต้องคอยวิ่งไล่ตามอย่างรวดเร็ว

บิดาของบัญชา บริหารธนาคารอยู่จนกระทั่งปี 2491 ก็ถึงแก่กรรม ซึ่งทำให้คน "กลัวผี" อย่างบัญชาได้สัญญาว่า จะดูแลน้อง ๆ ให้ดีที่สุดตามที่สัญญาไว้ แต่ขออย่าให้คุณพ่อมาหาต่อมา "เกษม ล่ำซำ" ผู้เป็นอาได้ขึ้นบริหารในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารแทน แต่แล้วได้เกิดเหตุมรณกรรมจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในปี 2505 บัญชา ล่ำซำ จึงต้องรับมอบหมายภารกิจยิ่งใหญ่ไว้บนบ่าด้วยแรงสนับสนุนจากอาจุลินทร์ซึ่งเป็นประธานกรรมการขณะนั้น

แม้จะหนักใจในความอ่อนอาวุโสตัวเอง แต่บัญชาได้สานต่อภารกิจสืบต่ออาเกษมได้เป็นปึกแผ่นมั่นคงตราบจนชีวิตหาไม่ ตลอดระยะเวลา 30 ปี ความมุ่งมั่นแสวงหา ความเป็นเลิศในงานและศิลปะ ทำให้บัญชาบริหารงานและบุคลากรให้เป็นนักธนาคารมืออาชีพที่มีภาพพจน์ที่ดีและก้าวหน้าทันสมัย

ขณะที่การงานประสบความสำเร็จสูงสุด บัญชากลับอับโชคเกี่ยวกับสุขภาพ โรคร้ายที่กระเพาะอาหาร ซึ่งเกาะกุมมาตั้งแต่ครั้งรุ่นหนุ่มสมัย ปี 2490 ต้องเดินทางตรากตรำเพื่อไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา บัญชาล้มป่วยหนักเมื่อถึงกรุงวอชิงตันและได้เพื่อนรัก อย่างเกษม จาติกวณิช ซึ่งเคยร่วมเป็นกรรมการสโมสรนิสิตจุฬาฯ พาส่งโรงพยาบาล

ต่อมาบัญชาต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลอีกครั้ง เนื่องจากชีวิตการเรียนในอเมริกาบังคับให้ทุกคนต้องทำงานหนักและแข่งกับเวลา ทำให้บัญชาต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเป็นอาทิตย์

เมื่อกลับมาเมืองไทยครั้งบิดาเสียชีวิต ในปี 2491 อาการโรคของบัญชาหนักกว่าที่เขาคิด เขาอาเจียนเป็นเลือด และได้รับการถ่ายเลือดหลายขวดแพทย์ให้การวินิจฉัยว่า เลือดออกจากแผลของกระเพาะอาหาร ปรากฏว่าหมออุดม โปษะกฤษณะแห่งโรงพยาบาลศิริราชต้องผ่าตัดกระเพาะอาหารออกไปเศษ 3 ส่วน 4

ดังนั้นตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา บัญชาจึงเหลือกระเพาะอาหารไว้เพียง 1 ส่วน 4 เท่านั้น !! และตั้งแต่ปี 2531 จวบจนวันสุดท้าย มะเร็งของกระเพาะอาหารได้กัดกร่อนร่างกายให้เสื่อมโทรมลง บัญชาต้องเข้ารับการรักษาผ่าตัดจากโรงพยาบาลสมิติเวชเป็นระยะ ๆ แต่ก็ไม่สามารถสกัดกั้นเจ้ามะเร็งตัวร้ายที่ลุกลายไปทั่วช่องท้องลำไส้และลาม ถึงทวารหนัก กระเพาะปัสสาวะ สุดจะเยียวยารักษาต่อไปอีกแล้ว

ในที่สุดตีสี่ของวันที่ 18 กรกฎาคม 2535 ความตายก็นำสันติสุขอันงดงามมาสู่ชีวิตอันยิ่งใหญ่ของ "บัญชา ล่ำซำ" เทพเจ้าในใจของคนแบงก์กสิกรไทย ซึ่งมีความเห็นต่อชีวิตไว้น่าฟังว่า "ชีวิตเหมือนตะเกียงมะพร้าว ทุกคนมีไส้ตะเกียงที่มีน้ำมันมาเท่า ๆ กัน เมื่อมีลมพัดแรงก็ทำให้หมดไปเร็วยิ่งขึ้น คนที่มีความอิจฉาริษยา มุ่งประโยชน์ส่วนตนมากเกินไป ก็เหมือนกับเป็นการนำลมมาเร่งโหมทำลายตนเองให้ดับเร็วยิ่งขึ้น นั่นคือ การใช้ชีวิตอย่างไม่รักชีวิต"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us