Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544
ส่งลูกไป Summer Course เรียนภาษาอังกฤษช่วงปิดเทอม             
โดย สมศักดิ์ ดำรงสุนทรชัย
 


   
search resources

รีเจนซี่ แทรเวล แอนด์ เอดูเคชั่น
Education




เมื่อฤดูร้อนกำลังเคลื่อนตัวใกล้เข้ามาพ่อแม่ ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยต่างมองหากิจกรรมช่วงปิดภาคเรียนให้กุลบุตรกุลธิดา ตามกำลังความสามารถและความสนใจของแต่ละครอบครัว

การส่งลูกหลานไปเรียนภาษาอังกฤษภาคฤดูร้อนในต่างแดน คือ หนึ่งในหลากหลายทางเลือกของการใช้ เวลาในช่วงดังกล่าว ที่กำลังจะกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง หลังจากซบเซาเงียบหงอยไปบ้างในช่วงเศรษฐกิจ ตกต่ำ

ปรากฏการณ์ทางสังคมในกระแสธารของยุคโลกา ภิวัตน์ ได้ผลักดันให้ผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า การปูพื้นฐานทางภาษาและการเปิดโอกาสให้ได้รับรู้รับเห็นความเป็นไปของโลกภายนอก ให้แก่บุตรหลานจะเป็นตัวแปรบ่งชี้ความสำเร็จในอนาคต

สมศรี ลัทธพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ รีเจนซี่ แทรเวล แอนด์ เอดูเคชั่น กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ได้กลายเป็นความจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับคนไทย ซึ่งการได้ไปเรียนภาษาอังกฤษในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก แม้จะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ ก็สามารถช่วยให้นักเรียนมีโอกาสนำความรู้ที่เรียนในชั้นมาฝึกฝน และยังสามารถเข้าร่วมกิจกรรมสังคม สันทนาการและวัฒนธรรมที่น่าสนใจไปในคราวเดียวกันด้วย

รีเจนซี่ แทรเวล แอนด์ เอดูเคชั่น นับเป็นผู้ประกอบการเก่าแก่ที่สุดรายหนึ่งในกิจกรรมประเภทนี้ ก่อตั้งขึ้นในปี 2522 ในฐานะบริษัทผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยว โดยเริ่มจัดหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษในต่างประเทศ เมื่อปี 2523 ด้วยการส่งนักเรียนไทยกลุ่มแรกจำนวน 20 คน ไปเรียนภาคฤดูร้อนที่สิงคโปร์ โดยจัดให้พักในหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัย

เมื่อกิจกรรมหลักสูตรภาคฤดูร้อนที่สิงคโปร์ประสบความสำเร็จ รีเจนซี่ได้ขยายหลักสูตรภาคฤดูร้อนต่อไปยังอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดา ซึ่งกิจกรรมด้าน นี้ได้ขยายตัวเติบโตเป็นลำดับ กระทั่งในปี 2530 จึงได้จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษารีเจนซี่ (RESC: Regency Education Service Center) เพื่อรองรับงานด้านการศึกษาโดยเฉพาะ

ต้องยอมรับว่าความสำเร็จของรีเจนซี่ ในกิจกรรมภาษาอังกฤษภาคฤดูร้อน ส่งผลให้บริษัท ท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อย พยายามปรับตัว และเสริมโปรแกรมการท่องเที่ยวในลักษณ์ดังกล่าว เพื่อรองรับกับอุปสงค์ของตลาดที่เพิ่มขึ้นด้วย

รูปแบบการจัดการของรีเจนซี่ และบริษัทท่องเที่ยวแห่งอื่นๆ คล้ายคลึงกันในฐานะที่เป็นตัวแทนให้กับสถานศึกษาจากต่างประเทศที่เปิดหลักสูตร Summer Course ซึ่งทำให้บริษัทท่องเที่ยวเหล่านี้ มีตัวเลือกและจุดหมายปลายทางกระจายอยู่ในหลายประเทศ ตามแต่ระดับความสนใจ และความสามารถในการใช้จ่ายค่าหลักสูตร ที่แปรเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับประเทศ เมือง และชื่อเสียงของสถานศึกษาแต่ละแห่งด้วย

วสุรมย์ แซ่น้า ผู้ประสานงานด้านการศึกษาของรีเจนซี่ ให้ข้อมูลว่าในช่วงเศรษฐกิจเฟื่องฟู ในแต่ละปีจะมีผู้สนใจใช้บริการหลักสูตรภาษาอังกฤษภาคฤดูร้อนมากถึง 1 พันราย แต่หลังจากมีการปรับค่าเงินในปี 2540 ทำให้จำนวนนักเรียนที่ไป Summer Course ลดลงมาก โดยเหลือเพียง ประมาณ 100 คนเท่านั้น

"ภาวะทางเศรษฐกิจในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้จำนวนนักเรียนลดลงไปมาก แต่สถาน การณ์มีแนวโน้มที่จะกระเตื้องขึ้นหลังจากที่ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่า การลงทุนเพื่อการศึกษาไม่มีวันสูญเปล่า และเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า"

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายสำหรับหลักสูตรการเรียนภาษาอังกฤษภาคฤดูร้อน จะตกอยู่ประมาณ 90,000-120,000 บาท สำหรับการเรียนในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ขณะที่ในออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะอยู่ที่ระดับ 75,000-90,000 บาท ซึ่งหลักสูตรเหล่านี้ส่วนใหญ่จะกำหนดอายุนักเรียน ต่ำสุดไว้ที่ 13-14 ปี ส่วนนักเรียนที่มีอายุน้อยกว่านั้น อาจมีหลักสูตรในประเทศเพื่อนบ้าน เช่นสิงคโปร์ ที่มีค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000-65,000 บาท ทดแทน

ปรากฏการณ์หนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งในช่วงที่ผ่านมาก็คือ ผู้ให้บริการหลายรายต่างทยอยจัดกิจกรรมว่าด้วยหลักสูตรการ เรียนภาษาอังกฤษภาคฤดูร้อนอย่างขะมักเขม้น เพื่อช่วงชิงฐานลูกค้า ซึ่งดูเหมือนยังมีอยู่จำกัดในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

การแข่งขันในธุรกิจหลักสูตรภาคฤดูร้อน มีแนวโน้มที่จะร้อนแรงตามอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่ออีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล แลงเกวจ เซอร์วิสเซส ได้จัดงาน EF Summer Course 2001 ขึ้นในวันที่ 13 มกราคม และคล้อยหลังเพียงวันเดียว รีเจนซี่ แทรเวล แอนด์ เอดูเคชั่น ก็ได้จัดงาน Regency Education Fair โดยผู้ให้บริการทั้งสองต่างเลือกโรงแรม สยามอินเตอร์คอนติเนนตัลเป็นสถานที่จัดงานเช่นเดียวกัน ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ที่อาจเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก

เอกพงษ์ ณ ระนอง ผู้อำนวยการ อีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล แลงเกวจ เซอร์วิสเซส ประจำประเทศไทย บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า การจัดนิทรรศการของอีเอฟ ในรูปแบบ Stand Alone ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สอง ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้สนใจในระดับที่น่าพึงพอใจ

จุดเด่นของอีเอฟ อยู่ที่การเป็นสถาบันด้านภาษาที่มีโครงข่ายสาขากว่า 70 แห่ง กระจายอยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 40 ประเทศทั่วโลก โดยนักเรียนสามารถเลือกที่จะเข้าหลักสูตร Summer Course ของอีเอฟ ได้ตามความต้องการ

"การที่อีเอฟ มีเครือข่ายอยู่ในต่างประเทศ ทำให้อีเอฟมีฐานะเป็นผู้จัดและดำเนินการหลักสูตรแบบครบวงจรในต่างประเทศเอง ซึ่งหมายถึงคุณภาพและการดูแลเอาใจใส่ ที่แตกต่างจากสถาบันภาษาแห่งอื่นๆ" เอกพงษ์ย้ำจุดแข็งของอีเอฟ

อย่างไรก็ดี หากผู้ปกครองมีแผนที่จะส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ หรือต้องการให้พวกเขามีประสบการณ์แปลกใหม่ หลักสูตรภาคฤดูร้อนในต่างแดนเช่นว่านี้ อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในหลายกิจกรรมที่ผู้ปกครองจะจัดสรรให้แก่บุตรหลานต่อไปก็เป็นได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us