Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน2 มิถุนายน 2553
ชี้เงินเฟ้อพื้นฐานยังไม่กดดันนโยบายการเงิน             
 


   
search resources

Economics




ทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลงค่อนข้างแรงในช่วงเดือนที่ผ่านมา จากผลของความตื่นตระหนกในตลาดเงินตลาดทุนโลกต่อวิกฤตหนี้สินและการขาดดุลการคลังของกรีซ โปรตุเกสและสเปน ได้ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศของไทยปรับตัวลดลง ซึ่งทิศทางดังกล่าวมีส่วนช่วยลดแรงกดดันในการเข้าอุดหนุนราคาน้ำมันของรัฐบาล จากที่ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม 2553 ราคาน้ำมันดีเซลพุ่งขึ้นไปชนเพดานที่รัฐบาลพยายามที่จะตรึงราคาไว้ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร (แตะระดับ 29.98 บาทต่อลิตร) ซึ่งหากราคาดีเซลทะลุระดับดังกล่าว ก็อาจมีผลต่อเนื่องให้มีการปรับขึ้นราคาค่าขนส่งและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ตามมา

อาจกล่าวได้ว่า ปัจจัยราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลงในระยะนี้มีส่วนช่วยบรรเทาแรงกดดันเงินเฟ้อของไทยลงได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนพฤษภาคมขยับสูงขึ้นมาที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (Year-on-Year) และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นต่อไปอีกในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 แต่ในระยะสั้นนี้ ระดับเงินเฟ้อพื้นฐานดังกล่าวอาจยังไม่ถึงกับสร้างแรงกดดันต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยมากนัก

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนมิถุนายนนี้ มีประเด็นเชิงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องจับตา ได้แก่ การตัดสินใจของรัฐบาลต่อมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ที่กำลังจะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายน 2553 นี้ รวมทั้งมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ในการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ตรึงราคาสินค้าไปจนถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งทั้งสองมาตรการนี้จะมีผลค่อนข้างมากต่อจังหวะความเร่งของทิศทางเงินเฟ้อในเดือนถัดๆ ไป โดยภาพรวมในปี 2553 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคงประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของทั้งปีอยู่ในช่วงร้อยละ 3.0-4.0 จากที่ลดลงร้อยละ 0.9 ในปี 2552

สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มเข้าสู่ช่วงขาขึ้น แต่ภาวะราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง ประกอบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากปัญหาทางการเมือง น่าจะส่งผลให้การปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าที่จำเป็นสำหรับการอุปโภคบริโภคในระยะเดือนที่เหลือของปี มีอัตราเร่งที่ช้าลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ จึงทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับลดกรอบประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสำหรับปี 2553 เป็นร้อยละ 1.0-1.5 จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.5-2.0 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในครึ่งหลังของปี 2553 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.6-2.1 จากประมาณร้อยละ 0.7 ในครึ่งปีแรก ทั้งนี้ กรอบบนของประมาณการเงินเฟ้อดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานคำนึงถึงผลในกรณีที่รัฐบาลยกเลิกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพและการอุดหนุนราคาพลังงานบางส่วนแล้ว

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ช้าลงนี้ มีส่วนช่วยลดแรงกดดันที่มีต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ด้วยในระดับหนึ่ง กล่าวคือ ทำให้ธปท. สามารถยืดระยะเวลาของการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบผ่อนปรน โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง ซึ่งก็จะสอดคล้องกับความจำเป็นที่นโยบายการเศรษฐกิจของทางการในขณะนี้อาจยังต้องมีเป้าหมายช่วยประคับประคองการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังจากเศรษฐกิจในภาพรวมและภาคธุรกิจหลายสาขาเผชิญผลกระทบจากสถานการณ์รุนแรงทางการเมือง ที่จะส่งผลให้มูลค่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/2553 ที่ปรับฤดูกาล อาจหดตัวลงมากกว่าร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก (Seasonally Adjusted Quarter-on-Quarter)

สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานนั้นแม้คาดว่าจะสามารถรักษาระดับไม่เกินกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 0.5-3.0 ได้ตลอดช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ทิศทางของเงินเฟ้อพื้นฐานที่มีแนวโน้มขึ้นไปยืนอยู่เหนือระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันนับตั้งแต่ต้นไตรมาสที่ 3/2553 และด้วยช่วงห่างที่กว้างมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น อาจส่งผลทำให้ ในที่สุดแล้ว ธปท. คงต้องตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงเวลาที่เหมาะสมภายในครึ่งหลังของปีนี้ โดยพิจารณาปัจจัยด้านภาวะเงินเฟ้อควบคู่ไปกับผลของการเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นระยะวิกฤตของผลกระทบจากปัญหาทางการเมืองไปได้ก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us