|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯแบงก์ไทยพาณิชย์ ชี้เศรษฐกิจส่งสัญญาณชะลอตัวในเดือน เม.ย. ปี 53 เหตุปัจจัยลบทางการเมืองกระทบท่องเที่ยว-ความเชื่อมั่น แต่หากไม่ลุกลามกระทบโครงสร้างส่งออก ก็ยังทำให้จีดีพีเป็นบวกได้
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) เปิดเผยว่า จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงข่าวตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจและการเงินเดือน เม.ย. 2553 โดยเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงทั้งด้านการผลิตและการใช้จ่าย ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยลบทางการเมืองที่กระทบต่อภาคธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและกระทบต่อความเชื่อมั่นของทั้งนักลงทุนและผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ดุลการชำระเงินยังเกินดุล 3.7 พันล้านดอลลาร์ แม้ว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขาดดุล 423 ล้านดอลลาร์จากการขาดดุลการค้า 190 ล้านดอลลาร์
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฯธนาคารวิเคราะห์ว่า ภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวชะลอตัวลงในเดือน เม.ย. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย. เทียบกับเดือน มี.ค. โดยปรับผลของฤดูกาล มีการหดตัว 2% ทำให้เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. ปี 2552 ก่อนหน้ามีการขยายตัวเพียง 21% ซึ่งต่ำกว่าภาพรวมในไตรมาสแรกที่ MPI มีการขยายตัวถึง 31% ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดือน เม.ย. อยู่ที่ระดับ 1.1 ล้านคนสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนราว 2% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอลงอย่างมากจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวได้ถึง 28%
ส่วนด้านการบริโภคภาคเอกชนหดตัวจากเดือนก่อนแต่การลงทุนเอกชนปรับตัวดีขึ้น ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 0.9% ส่วนหนึ่งมาจากการลดลงของการซื้อรถจักยานยนต์ รถกระบะ และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศ ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.3% ตามการขยายตัวของการลงทุนในเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งเติบโตดีตามการส่งออกที่ฟื้นตัวในช่วงก่อน
สำหรับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี)ไตรมาส 2 จะชะลอลงจากไตรมาสแรก แต่ไม่น่าจะเลวร้ายถึงกับหดตัวเทียบกับปีก่อนหน้า เพราะแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดบ่งบอกถึงผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองต่อภาคบริการ การท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน แต่การขยายตัวของการผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ถึง 21% ในเดือน เม.ย. ดังกล่าวก็นับว่าสูง ซึ่งขับเคลื่อนโดยการส่งออกที่ยังขยายตัวดี
ทั้งนี้ หากผลของความไม่สงบทางการเมืองไม่ลุกลามไปกระทบต่อโครงสร้างการส่งออก คือไม่มีการปิดท่าเรือหรือสนามบิน ก็น่าจะทำให้การส่งออกเดือน พ.ค. และ มิ.ย. ยังขยายตัวต่อเนื่องซึ่งน่าจะทำให้จีดีพี มีอัตราการเติบโตที่เป็นบวกเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าแม้ว่าการท่องเที่ยวจะชะลอลง เนื่องจากการผลิตอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องมีสัดส่วนรวมกันในจีดีพีถึงกว่า 50%
|
|
|
|
|