Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายสัปดาห์31 พฤษภาคม 2553
แบงก์แห่ชิงเค้กสินเชื่อเอสเอ็มอีลุ้นการเมืองฉุดยอดปล่อยกู้ใหม่             
 


   
search resources

Loan




เศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากช่วงปลายปีที่แล้ว แม้ยังไม่ชัดเจนว่าจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบภายนอกเรื่องวิกฤตจากกรีซที่จะลุกลาม ซึ่งอาจจะกระทบธุรกิจส่งออกหรือไม่ แต่เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกยังไม่ส่งผลกระทบทำให้แบงก์ขาดความเชื่อมั่น จนกระทั่งหยุดปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าธุรกิจเอสเอ็มอี นอกจากนี้ยังเข็นมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าในย่านราชประสงค์อย่างเต็มที่

ในช่วงก่อนหน้านี้จะเห็นได้ว่าธนาคารพาณิชย์หลายค่ายโดดลงมาเล่นตลาดเอสเอ็มอีกันอย่างคึกคักผ่านสินค้า บริการ แคมเปญหลากหลายรูปแบบ พร้อมกับยิงภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์อย่างถี่ยิบ นำทัพโดยกสิกรไทยหรือเคแบงก์ ซึ่งเป็นผู้นำตลาดเอสเอ็มอี ตามมาด้วยทหารไทย (ทีเอ็มบี) และกรุงศรีอยุธยา ส่วนใหญ่จะชูจุดขายเรื่อง “ความง่าย รวดเร็ว สะดวก” ด้วยการพยายามปลดล็อกเงื่อนไขต่างๆ ที่เคยเป็นอุปสรรคใหญ่ในการเข้าถึงสินเชื่อของเอสเอ็มอีในอดีต โดยตั้งเป้าเพื่อดึงฐานลูกค้าใหม่เข้ามาในมือ ถือได้ว่าก่อนจะเข็นโปรดักส์ออกมา ทุกค่ายต่างก็ทำการบ้านในเชิงลึก และสามารถวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี เช่น เคแบงก์ในฐานะเจ้าตลาด เร่งเดินนำหน้าคู่แข่งด้วยการออกแบบรูปแบบสินเชื่อที่แตกต่างตามรายธุรกิจ ได้แก่ รับเหมาก่อสร้าง การแพทย์ อพาร์ตเมนต์และโรงแรม และค้าปลีกค้าส่ง

ด้านทีเอ็มบีก็เปิดตัวสินเชื่อ “3 เท่า ด่วน! ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี” รับวงเงินอนุมัติสูงสุด 3 เท่า ภายใน 15 วันทำการ และสินเชื่อ "โอดี ไม่ต้องใช้หลักประกัน ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี" เน้นจับลูกค้าขนาดเล็ก ที่มีข้อจำกัดในเรื่องหลักประกัน เป็นบริการสินเชื่อเบิกเกินบัญชี (โอ/ดี) โดยผู้กู้ไม่ต้องมีหลักประกัน แต่จะพิจารณาผลประกอบการผู้กู้เป็นหลัก วงเงินสูงสุด 10 ล้านบาท คิดดอกเบี้ย MOR (ปัจจุบันอยู่ที่ 6.5%) บวก4.5% ถึง 8.5% ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของผู้กู้

ส่วนธนาคารกรุงศรีอยุธยาก็รุกตลาดเอ็มอีด้วย “สินเชื่อตามใจคุณ” เน้นการเพิ่มสภาพคล่องแก่ลูกค้าในยามจำเป็น โดยลูกค้าที่ใช้เงินกู้ระยะยาวไม่เกิน 10 ล้านบาท สามารถขอสินเชื่อเพิ่มจากเงินกู้ที่ผ่อนคืนแล้ว เพื่อใช้เป็นวงเงินกู้ระยะยาว (T/L) เพิ่มเติม หรือเป็นวงเงินหมุนเวียนระยะสั้น (O/D หรือ P/N)

ความคึกคักในการรุกตลาดเอสเอ็มอีตั้งแต่ในช่วงต้นปีมาจากการคาดการณ์ว่า ต่อจากนี้น่าจะเป็นช่วงเวลาเบ่งบานของธุรกิจเอสเอ็มอีตามตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงปลายปีที่เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงมีปัจจัยบวกเรื่องรัฐบาลเดินหน้านโยบายค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอี ให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ช่วยค้ำประกันเอสเอ็มอีในการขอสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ต่างๆ โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมในปีแรก1.75% ของวงเงินค้ำประกันที่อนุมัติจริง จากนโยบายรัฐดังกล่าวหนุนให้ธนาคารพาณิชย์หลายค่ายหันมาจับตลาดเอสเอ็มอีอย่างจริงจัง

“จากปกติที่ถ้าเศรษฐกิจแย่ ความเสี่ยงสูงขึ้น ธนาคารจะไม่กล้าปล่อยกู้ เมื่อรัฐเข้ามาค้ำให้ จึงช่วยสร้างความมั่นใจให้ธนาคารในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เดิมปีที่แล้ว บสย. จะช่วยค้ำให้ ไม่คิดค่าธรรมเนียมเลย ส่วนปีนี้เป็นโครงการระยะ2 บสย. คิดค่าธรรมเนียม 1% ส่วนนี้เป็นปัจจัยหนุนให้ธนาคารลงมาเล่นตลาดเอสเอ็มอีมาก และสามารถทำโปรโมชั่นหรือลูกเล่นต่างๆ ดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หย่อนการพิจารณาเรื่องเครดิตในการปล่อยกู้ ” สยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารทหารไทย กล่าว

เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่เริ่มต้นจากการชุมนุมยืดเยื้อที่ราชประสงค์ จนห้างร้านในย่านดังกล่าวต้องปิดชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ยอมรับว่า ลูกค้าที่อยู่ในย่านดังกล่าวไม่ใช่กลุ่มใหญ่เมื่อเทียบกับพอร์ตลูกค้าเอสเอ็มอีทั้งหมด ลูกค้าเอสเอ็มอีบางส่วนมีการปรับตัวมาล่วงหน้าจึงไม่ได้รับผลกระทบ เพราะเน้นการส่งออกไปยังประเทศในแถบเอเชียมากกว่ายุโรป

สยามกล่าวว่า ธนาคารฯ มีลูกค้าในย่านราชประสงค์เพียง 20-30 รายเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีลูกค้าเข้ามาเจรจาขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระเงิน กรณีดังกล่าวมองว่าจะกระทบการจับจ่ายใช้สอยและความเชื่อมั่นของประชาชน เนื่องจากเป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอยขนาดใหญ่ของกรุงเทพฯ และกระทบภาคธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หากสถานการณ์ไม่ยืดเยื้อ เศรษฐกิจในปีนี้น่าจะยังเติบโตอยู่ โดยมีการส่งออกและงบประมาณภาครัฐเป็นตัวผลักดันหลัก แต่ถ้ายืดเยื้อนาน 2-3 เดือนจะเริ่มมีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ

ล่าสุดสถานการณ์ที่เริ่มยืดเยื้อทำให้ธนาคารฯ อาจปรับทบทวนเป้าตัวเลขการเติบโตของสินเชื่ออีกครั้ง แต่ในส่วนแคมเปญสินเชื่อเอสเอ็มอีก็ยังไม่ได้ลดความเข้มข้นในการทำตลาดลง

ปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ย้ำว่า สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อธุรกิจเอสเอ็มอีไม่มากนัก โดยมีลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง 52 ราย จำนวนเงิน 714 ล้านบาท คิดเป็น 0.2% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด ซึ่งธนาคารธนาคารได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือ เช่น ลูกค้าที่มีวงเงินกู้ ธนาคารจะผ่อนผันให้ลูกค้าชำระเฉพาะดอกเบี้ย หรือลดยอดการผ่อนชำระต่อเดือน ซึ่งธนาคารจะพิจารณาลูกค้าเป็นรายๆ ถึงผลกระทบที่ได้รับ แต่ละรายอาจจะได้รับการช่วยเหลือที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ปกรณ์คาดว่า หากสถานการณ์การเมืองจะสามารถยุติได้โดยเร็ว การเติบโตของสินเชื่อเอสเอ็มอีน่าจะกลับมาเป็นปกติตามภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

ตามแผนธุรกิจเดิมของเคแบงก์คาดว่า ตลาดสินเชื่อเอสเอ็มอีทั้งปีจะขยายตัวเพิ่ม8-10% ทั้งนี้เคแบงก์มีพอร์ตสินเชื่อเอสเอ็มอีในสัดส่วน 38% ของพอร์ตรวม ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับพอร์ตอื่นๆ โดยธนาคารมีเป้าหมายรักษาตำแหน่งผู้นำตลาด ด้วยสัดส่วนสินเชื่อเอสเอ็มอีไว้ที่ 38% เท่าเดิม แต่ถ้าสถานการณ์ยืดเยื้อคงมีความเป็นไปได้ว่าเคแบงก์อาจจะกลับมาทบทวนตัวเลขอีกครั้งเช่นกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us